วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

แนะนำสาขาวิชาน้องใหม่ ธุรกิจวิศวกรรม

น้องๆ หลายๆคนคงยังไม่ทราบว่าสาขาธุรกิจวิศวกรรมนั้น เรียนเกี่ยวกับอะไร จะไปประกอบอาชีพด้านไหน มีโอกาสเติบโตในสายงานเพียงใด วันนี้พี่ก็ขอแนะนำในบางส่วน ที่น่าสนใจ สำหรับหลักสูตรนี้นะครับ  
  หลักสูตรธุรกิจวิศวกรรม เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่นำการรวบรวมองค์ความรู้ ในวิชาทางด้านภาษา  บัญชี  วิศวกรรมทั่วไป และวิชาความรู้ทางด้านบริหารจัดการ  เพื่อให้สามารถไปกอบอาชีพต่างๆ เช่นการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว  ธุรกิจ SME การประกอบวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม  การประกอบอาชีพในหน่วยงานของรัฐ หรืออาชีพอื่นๆที่ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านการบริหาร บริการ ติดต่อประสานงาน ตรวจสอบ โดย บัณฑิตจะมีความรู้ความสามารถในการเชื่อมโยง หรือ ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่นการติดต่อกับต่างประเทศ การจัดซื้อจัดจ้าง การวางแผนและการจัดการการทำงานในองค์กร โดยเฉพาะเครื่องมือทางวิศวกรรมที่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเครื่องจักรกล การอ่านแบบเขียนแบบ  หลักสูตรนี้เปิดการเรียนการสอนรุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2552  น้องๆ ที่จะเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2554 จะเป็นรุ่นที่ 3 ครับ

หลักสูตรนี้ เหมาะกับใครบ้าง
  • เหมาะกับน้องๆที่มีเป้าหมายในการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต
  • เหมาะสำหรับน้องๆ ที่ต้องการประกอบอาชีพ  ในด้านบัญชี ภาษา บริหาร และความรู้ทั่วไปทางวิศวกรรม ซึ่งได้แก่ อาชีพในด้านการติดต่อ ประสานงานต้อนรับ จัดซื้อจัดจ้าง ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย  ตัวอย่างอาชีพดังกล่าวได้แก่  แอร์โฮสเตส, กราวน์โฮสเตส , PR, HR, QC , จัดซื้อ, ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
  • และอีกหลากหลายเหตุผล

วิชาเรียน มี 5 กลุ่ม ที่จะต้องเรียนให้ครบถ้วน ได้แก่
  1. วิชาทางด้านภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ,ภาษาไทย
  2. วิชาทางด้านทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต , การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม, คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  3. วิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  4. วิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ  ได้แก่ วิชาในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยจะเน้นทางด้านการติดต่อธุรกิจ และการนำเสนอ , วิชาทางด้านบัญชี, เศรษฐศาสตร์, วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น , การจัดการงานวิศวกรรม , กฏหมายวิศวกรรม , วิชาทางด้านพลังงาน และการจัดการพลังงาน , สถิติ , การตลาด , การจัดการโครงสร้าง , การประมาณราคา เป็นต้น
  5. วิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  ได้แก่ วิชาทางด้านการออกแบบระบบงานอาคาร , การอนุรักษ์พลังงาน , เทคโนโลยียานยนต์, แหล่งพลังงานทดแทน , คอมพิวเตอร์  เป็นต้น
การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สามารถศึกษาต่อในสาขาใดได้บ้าง (แต่ควรศึกษาข้อกำหนดของหลักสูตรนั้นๆ)
  • เศรษฐศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • บริหารรัฐกิจ
  • รัฐศาสตร์
  • การจัดการองค์กร
  • การจัดการภาครัฐและเอกชน
  • เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • บัญชีและสถิติ
  • ภาษาอังกฤษ
  • ฯลฯ

เมื่อศึกษาจากรายวิชาที่จะต้องเรียนแล้ว หลักสูตรนี้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการหน่วยงานขนาดย่อม ส่วนบริหารงานกลางในโรงงานอุตสาหกรรม และนอกจากนี้ความรู้ความสามารถที่ได้รับ เพียงพอที่จะเป็นผู้ประกอบการได้ทันที

ศึกษาหลักสูตรได้ที่นี่ http://www.eng.su.ac.th/me/curriculum/BTechEB2551.pdf

บทความโดย iMAC@SU 
บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
น้องสามารถเข้าไปคุยกับพี่พี่ ได้ที่

ไม่มีความคิดเห็น: