วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

8 ข้อ ที่น้องๆควร "เตรียม" ก่อนการสอบตรง

การเตรียมตัวดี ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จแน่นอนครับ ยิ่งกับการสอบด้วยแล้วยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่น้องๆควรจะเตรียมตัวให้ดี เพราะอย่าลืมนะครับคู่แข่งในสนามสอบของเรานั้นมีหลายหมื่นคนร่วมแสน หากเราไม่มีการเตรียมตัวแล้วละก็รับรองว่าเสียเปรียบคนอื่นที่เป็นคู่แข่งของเราแน่นอนครับ เพราะฉะนั้นแล้วน้องๆมาดู 8 ข้อ ที่น้องๆควร "เตรียม" ก่อนการสอบตรง กันดีกว่าครับ
 
8 ข้อ ที่น้องๆควร เตรียม

 
1.เตรียมหัวจิตหัวใจ

สิ่งแรกที่น้องๆควรจะต้องเตรียมก่อนลุยการสอบก็คือ การเตรียมใจครับ น้องๆควรเตรียมใจให้พร้อมกับการสอบ อย่าไปเครียดกังวล อย่าไปฟังคำจากคนรอบข้างมากครับ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพราะนั่นอาจเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับตัวเราได้ และอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรอบข้าง เพราะอาจเป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจเราได้ พยายามทำใจให้สงบ เชื่อมั่นในตัวเอง ท่องไว้ว่า "เราต้องทำได้ครับ"

2.เตรียมร่างกาย

นอกจากใจพร้อมแล้วร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากครับ ที่จะทำให้เราสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายเราไม่พร้อมแล้วคงยากครับที่จะทำข้อสอบให้ดีได้ เพราะฉะนั้นแล้วน้องๆควรจะรักษาร่างกายรักษาสุขภาพ อย่าหักโหมมากเกินไป แบ่งเวลาไปออกกำลังกาย หาเพื่อนๆ ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อความพร้อมที่สุดในการสอบครับ เพราะอย่าลืมว่าเส้นทางการสอบของน้องๆนั้นค่อนข้างสาหัสเอาการ ทั้งสอบในโรงเรียน การสอบข้อสอบกลาง การสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะงั้นบอกได้เลยครับ ใครไม่พร้อมแย่แน่นอนครับ

3.เตรียมดูข้อมูลคณะ/มหาวิทยาลัย ที่อยากจะเข้า

กายพร้อมใจพร้อมแล้ว สิ่งต่อไปคือการเตรียมดูเตรียมหาข้อมูลของคณะและมหาวิทยาลัยที่เราอยากจะเข้าศึกษาครับ เพราะว่าการที่เรารู้ว่าเราจะเดินไปทางไหน จะเป็นการได้เปรียบคนอื่นอย่างแน่นอน  เพราะหากน้องๆไม่รู้ว่าจะเข้าอะไรเรียนที่ไหนแล้วละก็ น้องๆอาจจะต้องสอบแบบหว่านครอบจักรวาล ทั้ง GAT PAT/9วิชาสามัญ/ข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออก นี่ยังไม่รวมข้อสอบในโรงเรียน ข้อสอบ O-NET นะครับ แต่ถ้าหากเรารู้เป้าหมายของเราแล้ว เราก็จะสามารถเตรียมข้อมูลต่างๆได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รู้ว่าคณะที่เราอยากจะเข้าใช้ข้อสอบอะไรในการสอบหรือยื่น เราก็จะสามารถลดเวลาเพิ่มโอกาสของเราเองได้ครับ

4.เตรียมตารางอ่านหนังสือ

เมื่อรู้ข้อสอบแล้วสิ่งต่อไปที่ต้องเตรียมก็คือ ก็เตรียมจัดตารางอ่านหนังสือครับ ซึ่งการจัดตารางอ่านหนังสือนั้น จะช่วยเราได้มากในการเตรียมตัวเพราะอย่าลืมว่าหนังสือนั้นมีหลายเล่มหลายวิชา หากเราไม่จัดก็จะเป็นการอ่านแบบสะเปะสะปะ ไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง โดยการจัดตารางอ่านหนังสือนั้นควรจัดให้เหมาะสมกับเวลาในชีวิตประจำวันของตัวเอง จัดให้เหมาะสม ดูที่เนื้อหา กำหนดเวลา กำหนดการสอบในแต่ละเทอม แต่ละช่วง

5.เตรียมตารางสอบ

อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าสำคัญและน้องควรจะต้องเตรียมก็คือ การเตรียมตารางสอบ เพราะน้องๆ ม.6 ต้องเจอกับการสอบหลายอย่างมากมายอีกทั้งช่วงเวลาของการสอบรับตรงจะอยู่ในช่วงใกล้เคียงกันหลายมหาวิทยาลัยจะเปิดพร้อมๆกัน หากน้องๆไม่จัดตารางสอบ อาจลืมวันสอบ จำวันสอบสลับกัน หรือเจอการสอบที่ชนกันได้ เพราะฉะนั้นแล้วน้องๆควรจะมีสมุดพกเล็กๆไว้จดบันทึกพวกวันเวลาสอบหรือใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถช่วยน้องๆได้ครับ

6.เตรียมตะลุยทำโจทย์ข้อสอบ

เมื่อรู้ตัวเอง รู้ข้อสอบที่จะสอบแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่น้องๆต้องเตรียมคือการตะลุยโจทย์ข้อสอบครับ โดยน้องๆสามารถลองทำข้อสอบจริงและจับเวลาทำเหมือนจริงเลยครับ จะได้รู้ศักยภาพของตัวเอง ว่าทำได้ไหม ทำทันหรือไม่เป็นการประเมินตัวเอง โดยข้อสอบทุกข้อสอบสามารถโหลดมาทำได้หรือจะทำออนไลน์ก็ได้ครับ ในเว๊บEduzones ของเราก็มีให้ทำ ซึ่งถ้าน้องๆเตรียมทำตั้งแต่เนิ่นก็จะมีเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรีกษาผู้รู้ต่างๆได้ทัน ในส่วนที่เรายังไม่เข้าใจครับ

7.เตรียมข้อมูลทำพอร์ตโฟลิโอ

การสอบตรงน้องๆบางคนคิดว่าแค่มีพอร์ตก็พอแล้ว แต่ทว่าพอร์ตของเราจะไม่ได้ช่วยอะไรเราเลยครับถ้ามันมีแค่ประวัติส่วนตัว ประวัติการเรียน ขาดซึ่งผลงานหรือกิจกรรมใดๆในพอร์ต เพราะฉะนั้นแล้วน้องๆควรจะเตรียมทำผลงานหรือทำกิจกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อน ม.6 ได้ยิ่งดีครับ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในโรงเรียน งานวิชาการ กีฬาสี งานไหว้ครู หรือการประกวดต่างๆ ซึ่งนั่นจะนำมาเป็นผลงานของเราได้ การไปดูงาน open house ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งก็มีการจัดขึ้นบ่อยๆ การไปเข้าค่ายกิจกรรมที่ตามคณะของมหาวิทยาลัยหรือองค์กรต่างๆจัด นั่นก็จะเป็นประโยชน์กับน้องๆมาก เพราะน้องๆจะได้ทั้งประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อนใหม่ และก็ใบประกาศนียบัตร ซึ่งนั่นสามารถนำมาไว้ในพอร์ตโฟลีโอของเราได้ครับ 

8.เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม

ปัญหาอย่างหนึ่งที่พี่แฮนด์เจอบ่อยๆระหว่างการไปสนามสอบต่างๆก็คือ การลืมอุปกรณ์การสอบของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นปากกา ดินสอ ยางลบ หรือแม้กระทั่งบัตรสอบ บัตรประชาชน ซึ่งการลืมบัตรเหล่าอาจทำให้น้องๆหมดสิทธิสอบได้เลย เพราะฉะนั้นคืนก่อนการสอบน้องๆควรจะรีเช็คอุปกรณ์ต่างๆบัตรสอบให้พร้อม เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในวันสอบครับ

นี่ก็คือ 8 สิ่ง ที่น้องๆควร "เตรียม" ก่อนการสอบตรง นะครับ ก็หวังว่าน้องๆที่กำลังจะสอบตรงทุกคน จะมีการเตรียมความพร้อมเพื่อลุยการสอบในปีนี้นะครับ อย่าลืมว่า โอกาสจะเป็นของคนที่เตรียมตัวมาดีก่อนเสมอ ครับ 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธารา อิสสระ  (พี่แฮนด์)
facebook : handyman eduzones
twitter : Handy_hotspurs

รู้หรือไม่ แต่ละคณะใน มศว เรียนที่ไหนกันบ้าง?



     น้องๆหลายคนที่อยากเรียนที่ มศว คงเคยมีคำถามว่า คณะนี้เรียนที่ไหนนะ เรียนที่องครักษ์ หรือเรียนที่ประสานมิตร บางคณะเรียนที่องครักษ์และกลับมาเรียนที่ประสานมิตร วันนี้พี่ได้ไปเจอสุดยอดแรร์ไอเทมมา คืออินโฟที่จะบอกน้องๆได้ว่า คณะไหนของ มศว เรียนที่ไหนบ้าง มาดูกันเลยดีกว่า

รู้หรือไม่ แต่ละคณะใน มศ


ขอบคุณที่มา PRswu

 

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความพยายามทำให้มีวันนี้! ตามรอย "พี่วิทย์" เด็ก กศน. คนแรกของไทย ที่สอบติดหมอ!

        
ความพยายามทำให้มีวันนี้! ตามรอย "พี่วิทย์" เด็ก กศน. คนแรกของไทย ที่สอบติดหมอ!
แนะนำตัว
            สวัสดีครับ ชื่อ วรวิทย์ คงบางปอ ครับ นิสิตเตรียมแพทย์ชั้นปีที่1 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ครับ จบการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ครับ ต้องเล่าว่าตอนม.4- ม.5 เรียนสายสามัญครับ แต่มีเหตุให้ต้องย้ายที่เรียน แล้วไม่สามารถไปเข้าเรียนได้ ทำให้ตัดสินใจเรียน กศน. แล้วเทียบโอนวิชาที่เรียนมาแล้ว ทำให้สามารถจบพร้อมๆ กับเพื่อนๆ ในหลักสูตรได้ 
            (นิสัยส่วนตัวเป็นคนยังไง) โดยปกติแล้วถ้ากับคนที่ไม่รู้จักกันจะคิดว่าผมเป็นคนเงียบๆ พูดน้อยครับ เพราะเป็นคนเริ่มคุยก่อนไม่ค่อยเก่ง แต่ถ้ารู้จักหรือสนิทแล้วจะพูดมากครับ
 
เรียน กศน. ส่งผลต่อการสอบมากกว่าเด็กสายสามัญ?
            ถ้าถามว่าส่งผลมั้ย ก็มีบ้างที่ส่งผลครับ เพราะการเรียนนอกระบบถ้าอยากรู้หรืออยากเรียนอะไรต้องขวนขวายหาเองหมด ไม่มีเพื่อนให้ปรึกษา ไม่มีอาจารย์ให้ถาม ไม่มีสังคมกับเพื่อนๆ ในโรงเรียนที่จะทำให้เรารู้สึกว่าเห้ย เรามีคนที่ร่วมชะตากรรมนะ เลยทำให้บางครั้งก็มีท้อครับแต่ต้องสู้ต่อไป แล้วผมอยู่ต่างจังหวัดด้วยทำให้ไม่ค่อยมีที่ติวดัง ก็เรียกว่าลำบากพอตัวเลย
 
ความพยายามทำให้มีวันนี้! ตามรอย "พี่วิทย์" เด็ก กศน. คนแรกของไทย ที่สอบติดหมอ!
เตรียมตัว หนัก ทำข้อสอบซ้ำๆ จนกว่าจะได้!!
            ตัวผมเองไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด หรือ เก่งกว่าใคร ผมเลยต้องเตรียมตัวให้มากโดยเริ่มอ่านหนังสืออย่างจริงจัง ประมาณ 1 ปีครึ่ง ก่อนสอบครับ (เอาแบบละเอียดๆ รายวิชาเลย)
วิชาคำนวณพวกฟิสิกส์ เคมี คณิต
- ผมจะอ่านเนื้อหาทีละบทก่อน
- พอจบเนื้อหาหนึ่งบทก็จะไปทำโจทย์ของบทนั้นๆ
- พอครบทุกบทก็จะไปทำโจทย์ข้อสอบรวมย้อนหลัง
- พอทำเสร็จหนึ่งชุดเอามาตรวจแล้วก็ทำซ้ำ ข้อที่ทำได้แล้วทำซ้ำ 1 รอบ
- ข้อที่ยังทำไม่ได้ทำซ้ำ 3 รอบ ครับ
วิชาจำอย่างชีวะ 
- พออ่านจบหนึ่งหน้าก็จะปิดสมุดแล้วก็อธิบายคอนเซปให้ตัวเองฟัง
- ถ้าอธิบายได้เข้าใจและได้ทั้งหมดถึงจะขึ้นหน้าต่อไป มันอาจจะช้าหน่อยแต่ชัวร์ครับ
- พอจบหนึ่งบทก็จะไปทำสรุปและโจทย์บทนั้นๆครับ
- พอจบทุกบทค่อยขึ้นข้อสอบรวมครับ
- ทุกครั้งที่เฉลยข้อสอบแล้วรู้ว่าเราผิดตรงไหนผมจะมีสมุดเล่มเล็กๆ ไว้จดข้อผิดพลาดเสมอครับ เพราะมันเป็นจุดที่ข้อสอบมักใช้หลอกเราบ่อย
ภาษาอังกฤษ
- ผมอ่านแกรมม่าแล้วก็ท่องศัพท์ซะส่วนใหญ่ครับ
- ช่วงก่อนสอบก็พยายามดูหนังก็จะฟังเป็นภาษาอังกฤษ อ่านนิยายภาษาอังกฤษ ฟังเพลงภาษาอังกฤษครับ
ไทย - สังคมฯ
- อ่าน 1 เดือนสุดท้ายก่อนสอบครับ 
 
            ส่วนช่วงเวลาที่ผมอ่านหนังสือ วันนึงผมจะเลือกอ่านแค่ 3 วิชาครับ วิชาละ 2 ชม. สลับๆ กันไป ทริคสำคัญสำหรับผม คือ ผมชอบอ่านช่วงกลางคืนมากกว่าช่วงกลางวันครับเพราะรู้สึกว่าทุกอย่างมันเงียบสงบและอากาศก็สบาย
            อีกอย่างที่สำคัญคือ ลักษณะการอ่านของผม ผมจะวางแผนก่อนเสมอเริ่มตั้งแต่แผนระยะสั้นไประยะยาว เช่น อาทิตย์นี้ต้องอ่านจบบทไหน เดือนนี้ต้องอ่านจบบทไหน แล้วก่อนสอบ 2 เดือนจะต้องจบทุกบท เพื่อให้สองเดือนที่เหลือใช้ทวนจุดยิบย่อยที่ข้อสอบอาจจะหลอกเราครับ ประมาณนี้ครับ
 
"ติว" ไม่ใช่แค่ใช้เงิน ใช้ใจล้วนๆ
            อย่างที่ผมได้บอก จังหวัดที่ผมอยู่ไม่ได้มีที่ติวมากมาย บ้านผมอยู่ที่จังหวัดระนองนะครับ แต่ต้องไปติวที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปเรียนได้แค่เนื้อหา ไม่สามารถเรียนต่อพวกตะลุยโจทย์หรือทำโจทย์ต่างๆ ได้เพราะจะไม่มีรถกลับบ้าน รีบเรียน แล้วก็ต้องรีบกลับบ้าน ทำอย่างนี้ตลอดช่วงเลา 1 ปี ที่เรียน กศน. ไปด้วย เตรียมตัวสอบไปด้วย ไม่ง่ายเลยครับ ผมเคยมองตัวเองเทียบกับหลายๆ คนที่มีที่ติวใกล้ๆ มีที่เรียนพิเศษไม่ไกลบ้าน เค้าโชคดีครับ ผมไม่มีอะไรไปสู้ นอกจากความพยายาม
 
ความพยายามทำให้มีวันนี้! ตามรอย "พี่วิทย์" เด็ก กศน. คนแรกของไทย ที่สอบติดหมอ!
            (แล้วผลออกมาเป็นยังไง) ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับผม อยากเป็นหมอ ก็ต้องผ่านระบบรับตรงของ กสพท. ครับ ใช้คะแนน 7 วิชาสามัญ + วิชาเฉพาะแพทย์ ซึ่งผมได้คะแนนน่าพอใจ เรียกว่าคุ้มค่ากับที่พยายาม (เท่าไหร่บ้าง)
  • คณิตศาสตร์ 60 คะแนน 
  • สังคมศึกษา 40 คะแนน 
  • ภาษาไทย 78 คะแนน 
  • ภาษาอังกฤษ 55 คะแนน 
  • เคมี 70 คะแนน 
  • ชีววิทยา 65 คะแนน 
  • ฟิสิกส์ 64 คะแนน 
คะแนนวิชาเฉพาะ กสพท. ได้ 20.6111 % 
รวมได้ 63.5444 %
            (ปลื้มวิชาไหนที่สุด) สำหรับคะแนน ผมปลื้มวิชาเคมีเพราะตอนแรกรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยชอบวิชานี้ เลยเริ่มฟิตด้วยการปูพื้นฐานเนื้อหา แล้วทุกครั้งที่อ่านจบ 1 บทก็จะทำโจทย์บทนั้นๆเพื่อให้เข้าใจครับ พอจบทุกบทก็จะตะลุยโจทย์รวมข้อสอบเก่าครับ
 
รอบสัมภาษณ์ผิดคาดจากที่เตรียมมา
            ด้วยความที่ผมตั้งใจ พอถึงตอนสัมภาษณ์เข้าเรียน ผมก็ไปหาข้อมูล แล้วก็ท่องข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าไปพอสมควรครับ แต่อาจารย์ท่านไม่ถามเลย ท่านกลับถามเรื่องเหตุผลที่ทำให้ผมเรียน กศน. และถามถึงช่วงชีวิตตอนเรียน กศน. ครับ เป็นคำถามที่ทำให้รู้สึกว่าอบอุ่นกับความใส่ใจต่อตัวนักศึกษาตัวเล็กๆ อย่างเรา
 
เรื่องยากๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย
            ตัวผมเองไม่ได้มองว่าการเรียนเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในรั้วมหาลัย สำหรับผมไม่ใช่เลยครับ แต่ผมกลับมองว่าเรื่องที่ยากที่สุดกลับเป็นการปรับตัวเข้าให้กับคนหลายรูปแบบ สังคมใหม่ๆ คนใหม่ๆ เพื่อนใหม่ ทุกอย่างใหม่หมดเลย และอีกอย่างที่ผมมองว่ายากก็คือ การบริหารเวลาทำงานกับเรียน ให้ไปด้วยกันได้ เนื่องจากผมเป็นประธานรุ่นนิสิตเตรียมแพทย์ชั้นปีที่1 ทำให้ต้องทำงานต่างๆ เพิ่มขึ้นและติอต่อสื่อสารกับหลายๆ คนครับ ทำให้ผมคิดว่าเนี่ยแหละเรื่องยากสำหรับผม แต่ตอนนี้ก็เป็นไปได้ด้วยดีครับ มีความสุขในรั้วมหาวิทยาลัย และก้รู้สึกคุ้มค่าที่ทุ่มเทมา
 
ฝากถึงเด็กแอด
            สำหรับผม ผมอยากฝากถึงน้องๆ ที่กำลังรอแอดมิดชั่นนะครับ คนเราถ้ายังไม่ตายความหวังมันก็ยังมีเสมอครับ เมื่อถึงวันประกาศจะมีทั้งคนสมหวังและผิดหวัง น้องๆ ที่สมหวัง ผมก็ยินดีด้วย สำหรับคนที่ผิดหวังจำไว้นะครับว่าล้มเองได้ ก็ต้องลุกเองให้ได้ น้องเสียใจผิดหวังยังมีพ่อแม่ที่เสียใจกว่าน้องหลายเท่า สู้เพื่อพ่อแม่นะครับ วันนี้อาจไม่ใช่วันของน้องแต่วันข้างหน้าขอให้เชื่อมั่นตัวเองว่าน้องต้องทำได้ "ความฝันไม่จำเป็นต้องตรงใจใคร ขอแค่มันตรงใจเราก็พอ"
 
ความพยายามทำให้มีวันนี้! ตามรอย "พี่วิทย์" เด็ก กศน. คนแรกของไทย ที่สอบติดหมอ!
             ตัวอย่างไอดอลของเราวันนี้ คงเป็นอีกคนที่ทำให้น้องๆ เห็นว่า กว่าจะทำตามฝันได้มันไม่ง่ายเลยเนอะ มีทั้งสมหวัง ผิดหวัง พยายาม และตั้งใจ ขนาดไหน ถ้าอยากได้สิ่งที่หวังก็ต้องทุ่มเทและพยายาม ไม่มีอะไรเป้นไปไม่ได้หรอกเนอะ

ระเบียบการรับสมัคร และ ตารางสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2559

นับจากนี้เหลือเวลาเพียง 4 เดือนครึ่งเท่านั้นครับ น้องจะต้องสอบ ครั้งใหญ่ที่สุดของชีวิต !!!
การสอบ GAT/PAT 1/2559 ในวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2558

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

20 อย่างต้องรู้ เมื่อก้าวขึ้นม.6

ช่วงนี้หลายโรงเรียนต่างทยอยเปิดเทอมกันแล้ว
น้องๆ ม.5 ก็ขึ้นสู่ม.6 นับเป็นการเรียนมัธยมปีสุดท้าย และสำคัญมากๆ 
gพราะจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย บางคนอาจจะยังตั้งตัวไม่ทันด้วยซ้ำ 
มีหลายเรื่องที่น้องๆ ที่เพิ่งขึ้นม.6 ควรรู้ (บางคนยังหลงคิดว่าตัวเองอยู่ ม.5  อารมณ์แบบไม่อยากยอมรับความจริง ว่าแก่ขึ้นอีกปี 5555)
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สิ่งที่น้องๆ ม.5 ที่เพิ่งขึ้นม.6 ควรรู้ และควรเตรียมตัวรับมือ มีหลายอย่างด้วยกัน  


1.    ระวังสิวบุก เพราะความเครียด คนที่เป็นสิวอยู่แล้วก็จะเป็นมากขึ้น ส่วนคนที่ไม่ค่อยเป็น ก็อาจจะได้สัมผัสอารมณ์ของคนเป็นสิ่วได้ในช่วงนี้ 
2.    ผมหงอก ก็อาจเพิ่มขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน อย่าชะล่าใจเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น อย่าเครียดๆ ท่องไว้ 555
3.    เป็นโค้งสุดท้ายในการปั่นเกรด เพราะจะใช้เกรดเฉลี่ยทั้งหมด 5 เทอม ม.6 เทอม 1 จึงเป็นเทอมสุดท้าย ที่จะมีโอกาสในการทำ GPAX ให้สูงที่สุด 
4.    เป็นช่วงที่นอนน้อยมาก เพราะต้องเอ่านหนังสือแบบเต็มเหนี่ยว แต่ก็แล้วแต่คนนะ บางคนก็นอนปกติเหมือนเดิม เพราะขี้เกียจอ่าน ออกแนวปลง 555
5.    ถ้าง่วงมากๆ แนะนำให้กิน M150 + แบรนด์ซุปไก่ (ไม่ได้ค่าโฆษณาแต่อย่างใด เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)
6.    อย่าอ่านหนังสือช่วงที่เราง่วงมากๆ หรือช่วงที่เราไม่มีสมาธิ ลองสังเกตตัวเองดู ว่าอ่านหนังสือช่วงไหน แล้วรู้เรื่องมากที่สุด บางคนตี่นมาอ่านตอน ตี4-5 ซึ่งปกติไม่เคยจะตื่น ก็หลับคาหนังสือตั้งแต่หน้าแรก สรุปไม่ได้ผลอะไรเลย เพราะฉะนั้น อย่าฝืนอ่าน
7.    บางโรงเรียนม.6 ยังต้องทำกิจกรรมต่างๆอยู่ ต้องแบ่งเวลาดีๆ ส่วนบางโรงเรียน กิจกรรมทุกอย่างจะงด ให้น้องๆ ม.5 ทำทั้งหมด ก็โชคดีไป
8.    เวลาจะผ่านไปเร็วมาก การสอบต่างๆ จะประดังกันเข้ามา ร้อยแปดพันเก้า ตั้งสติดีๆ  หายใจเข้าลึก    ๆ 
9.    วิชาไหน พาร์ทไหน ที่เราถนัดหรือมั่นใจ พยายามเก็บคะแนนให้ได้เต็ม หรือเยอะที่สุด เพื่อไปชดเชยในส่วนที่เราอ่อน
10.    พยายามดูว่าเราไม่ถนัดจุดไหน  บทไหนที่ได้คะแนนน้อย ให้หัดทำข้อสอบ ทำความเข้าใจกับมันมากหน่อย
11.    หาข้อสอบมาทำบ่อยๆ การอ่านอย่างเดียว อาจจะไม่ช่วยอะไร พอไปเจอข้อสอบ ทำไม่ได้เลยก้มี เพราะไม่เคยลองทำ ไม่รู้แนวข้อสอบมาก่อน อาจตายได้ บอกเลยยยย
12.    พยายามอย่าไปเปรียบเทียบกับเพื่อน บางทีโดนเพื่อนไซโค ว่าอ่านครบหมดแล้ว ทำข้อสอบได้ เราเองจะเครียด แข่งกับตัวเอง ทำให้ดีที่สุดก็พอ
13.    หาตัวเองให้เจอ สำหรับคนที่ยัง งงๆ ลองไปงาน Open house ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ดู จะทำให้ช่วยค้นหาตัวเองได้ง่ายขึ้น 
14.    พ่อแม่จะเข้ามามีอิทธิพลกับเรามากเป็นพิเศษ ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ใจเย็นๆ ค่อยๆคุย ทำความเข้าใจกันให้ได้ เลือกในสิ่งที่เราชอบมากที่สุด 
15.    การอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าหัว ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ลองอ่านแล้วเล่าให้เพื่อนฟังดู จะช่วยให้จดจำได้ดีขึ้น เพี่อนก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วย ถือว่าได้บุญก่อนสอบ ผลบุญนี้ อาจจะทำให้สอบได้ก็ได้ 55555 
16.    ถ้าหาตัวเองเจอแล้ว จงมุ่งมั่น อย่าหวั่นไหว อย่าเลือกตามเพื่อน ตามกระแส เพราะสุดท้ายจะไปไม่รอด 
17.    อย่าหมกมุ่น หรือเคร่งเครียดจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ หาเวลาผ่อนคลาย ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกายบ้าง สมองจะได้ปลอดโปร่ง 
18.    หาข้อมูลให้มากที่สุด อย่าพึ่งคนอื่นมาก การสมัครสอบ เงื่อนไขในการสมัคร ควรอ่านดีๆ รอบคอบ บางทีให้เพื่อนสมัครให้ ข้อมูลผิด ลำบากเลยทีนี้  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
19.    ถ้าไม่มั่นใจในการสมัครสอบ หรือคุณสมบัติต่างๆ โทรถามมหาวิทยาลัยนั้นๆ ชัวร์ที่สุด 
20.    จดจำช่วงเวลาเหล่านี้ให้ดี เพราะเป็นประสบการณ์อันล้ำค่า ที่หาที่ไหนไม่ได้ 
ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดี ได้เข้าคณะที่ใช่ สาขาที่ชอบ กันทุกคนนะคะ ^^

ประโยชน์ของน้ำมะนาว+น้ำอุ่น



 

ชน์ ของน้ำมะนาว+น้ำอุ่น




 

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รับตรง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 58 รอบ 2 เปิดรับ 8-12 มิ.ย. นี้

รับตรง  คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 58 รอบ 2
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นสมควรดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตร ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2558 รอบที่ 2
สาขาที่เปิดรับ
- สาขาวิชาทัศนศิลป์  14 คน
-  สาขาวิชานฤมิตศิลป์  เอกเรขศิลป์ 4 คน
-  สาขาวิชานฤมิตศิลป์  เอกมัณฑศิลป์ แฟชั่นและสิ่งทอ 4 คน
-  สาขาวิชานฤมิตศิลป์  เอกนิทรรศการศิลป์ 4 คน
- สาขาวิชานาฏยศิลป์ เอกนาฏศิลป์ไทย 1 คน
- สาขาวิชานาฏยศิลป์ เอกนาฏยศิลป์ตะวันตก 1 คน
เปิดรับสมัคร  8-12 มิถุนายน 2558

(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!

(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ท่ามกลางเด็กนักเรียนจำนวนนับพันคน ต่างประชันความเก่ง ปะทะความสามารถ ฝ่าด่านฟาดฟันกันในสนามสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ในนาม "Monbusho" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นทุนแห่งเกียรติยศ และเสียงเล่าลือถึงความยากอันดับต้นๆ ของประเทศ ทว่าเธอคนนี้ “ซาเอะ ฬิษา สุวรรณเกษการ” ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทยฯ ศิริราชพยาบาล ชั้นปีที่ 4 สามารถสอบชิงทุน และได้เป็นหนึ่งในนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยอันดับ 1 แดนปลาดิบ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของสาวน้อยวัยใสที่เปี่ยมพร้อมด้วยความสามารถ
       
        ในช่วงบ่ายของวันธรรมดา อากาศหน้าร้อนเริ่มคืบคลานมา ราวกับว่าหน้าหนาวได้ยุติลงเสียแล้ว บ่ายวันนี้ทีมงาน Life on Campus มีนัดกับสาวนักศึกษาแพทย์มากความสามารถ “ซาเอะ ฬิษา สุวรรณเกษการ” แต่แล้ว อุณหภูมิก็ต้องเย็นลง เมื่อเธอได้ปรากฏกายด้วยท่วงท่าเป็นสง่า สมแล้วกับการเป็น (ว่าที่) คุณหมอในอนาคต อีกทั้งความสวยของเธอยังเจิดจรัสมีดีกรีติด 24 คนสุดท้ายเวทีนางสาวไทย และคว้ารางวัลขวัญใจหัวหินมาครอง เธอยิ้มทักทายพร้อมเอ่ยคำสวัสดี จากนั้นการสนทนาระหว่างเราจึงเริ่มต้นขึ้น..
      
       ทุน Monbusho-ทุนแห่งเกียรติยศ!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         “โตขึ้นอยากเป็นอะไร?” อีกหนึ่งคำถาม แต่หลายคำตอบ หากย้อนกลับไปในวัยเด็ก คำตอบที่ร่วงหล่นมาจากปากเด็กน้อยแววตาใสซื่อ คงหนีไม่พ้นตำรวจ หมอ คุณครู และนางสาวไทย ถือเป็นอาชีพฮิตติดอันดับที่เด็กไทยอยากเป็นมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เช่นเดียวกับซาเอะที่มีความฝันว่าอยากเป็นนางสาวไทย ก่อนที่ภาพนางสาวไทยค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา และถูกแทนทับด้วยอาชีพที่ต้องช่วยเหลือคนป่วย-รักษาคนไข้
      
        “ตอนเด็กๆ ตัวเองอยากเป็นนางสาวไทย เหมือนเด็กๆ ทั่วไปเลยค่ะ พอโตมารู้ว่ามันไม่ใช่อาชีพนะนางสาวไทย ก็เลยรู้สึกว่าอยากเป็นหมอ แต่ตอนม.ปลาย ตอนนั้นยังคิดไม่ออกค่ะ คิดแค่ว่าอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ตอนนั้นก็ดูอยู่ที่อังกฤษกับญี่ปุ่นค่ะ ถ้าเกิดไปญี่ปุ่นต้องสอบได้ทุนเท่านั้น เพราะมันไปยากมาก คือการที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นคือต้องสอบติดทุนของรัฐบาลอย่างเดียวเลย”
      
        “ส่วนมหาวิทยาลัยในไทยก็สอบแพทย์อย่างเดียวค่ะ ที่แรกคือศิริราช ที่สองคือจุฬาค่ะ แล้วก็ได้ที่ศิริราชเลย แต่ตอนนั้นสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่นได้พอดีเลยตัดสินใจพักเรียนที่ศิริราชไปก่อน”  เธอยังเล่าต่ออีกว่า ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่สอบได้นั้นถือเป็นทุนแห่งเกียรติยศ เพราะในประเทศไทยน้อยคนนักที่จะสามารถคว้าทุนนี้มาครอบครองได้ เธอเปรยด้วยท่าทีตื่นเต้น เผยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจสะท้อนผ่านเงาตาคู่นั้น
       
        “คือทุนนี้จะเป็นทุนที่ให้ทั้งปริญญาตรี โท เอก คือถ้าเราเรียนระดับปริญญาตรีแล้วอยากต่อโท ก็ให้ต่อโทอีก อยากต่อเอกก็ให้ต่อเอกได้อีก คือจะเป็นทุนที่ให้เปล่าและก็ไม่มีสัญญาผูกมัด ส่วนเกณฑ์ในการรับ คือทุนรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะมีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และของอาชีวะหลายๆ สายค่ะ แต่สำหรับปริญญาตรีเขาจะให้เด็กที่มีเกรดเฉลี่ย 3.80 ขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิสมัคร แล้วเด็กที่มีเกรดเฉลี่ย 3.80 ของทั้งประเทศก็จะมาสอบแข่งขันกันอีกทีหนึ่ง ซึ่งอัตราการแข่งขันประมาณ 1000 คน รับ 10 คนค่ะ คือไม่ต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น แต่ต้องได้ภาษาอังกฤษ”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ทางทีมงานจึงถามต่อไปถึงความยากของทุนรัฐบาลญี่ปุ่นมงบุโช และสิ่งที่ได้รับหลังจากสอบชิงทุนติด เธอเผยให้ฟังว่ากว่าจะสอบผ่านแต่ละขั้นตอนถือว่าหินและโหดสุดๆ แต่สิ่งที่ได้รับนั้นมีค่ามากมายมหาศาล เพราะได้เรียนในมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของญี่ปุ่น อีกทั้งยังก้าวเท้าเข้าไปยังบ้านท่านทูตญี่ปุ่นอีกด้วย
        
        “ถ้าเปรียบเทียบความยากของทุนในประเทศไทยก็จะมีอยู่ 2 ทุนหลักๆ คือทุนเล่าเรียนหลวง และอีกทุนคือทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งก็จะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของญี่ปุ่น คือตอนแรกเลยเขาจะให้เรียนพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นก่อนที่โตเกียวค่ะ 1 ปี หลังจากนั้นก็แล้วแต่เราว่าจะเลือกไปเรียนที่ไหน อย่างซาเอะเรียนเศรษฐศาสตร์ ก็เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยคิวชู และสำหรับคนที่สอบชิงทุนติดจะมีสิทธิเข้าไปในบ้านท่านทูตของญี่ปุ่น ได้รับเชิญไปงานเลี้ยง ทานข้าวกับท่านทูตสำหรับนักเรียนทุน ซึ่งในประเทศไทยจะมีไม่กี่คน”
      
        แต่แล้ว ช่วงเวลาการใช้ชีวิตในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องพลันจบลง เนื่องจากทางศิริราชได้แจ้งว่าหากไม่กลับมาเรียนหมอ เธอจะถูกตัดสิทธิ์ ประจวบกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ณ ขณะนั้น ทำให้ทางบ้านเริ่มกังวลและเป็นห่วง จึงอยากให้เธอกลับมาเรียนหมอที่เมืองไทยเสียมากกว่า
      
        “ช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์สึนามิพอดีค่ะ และทางมหาวิทยาลัยที่ศิริราชบอกว่าถ้าไม่กลับมาเรียนหมอ ก็จะตัดสิทธิ์เรา แล้วตอนนั้นที่บ้านก็อยากให้กลับมาอยู่ที่นี่ ก็มองว่าเรียนหมอที่ศิริราชก็มีเกียรติด้วย ญี่ปุ่นก็ดี แต่ที่นี่ก็ดี เหมือนคุณพ่อคุณแม่ก็แนะนำให้เรียนหมอ บอกว่าดีนะ จะได้ช่วยเหลือครอบครัว ช่วยดูแลพ่อแม่ได้ด้วย และก็เป็นอาชีพที่ดี ได้ทำบุญทุกวัน เลยตัดสินใจกลับมาเรียนหมอ หลังจากที่ได้ทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นได้ระยะหนึ่งค่ะ”
      
       ประสบการณ์นักเรียนทุนเริ่มต้น ณ แดนปลาดิบ!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตในแดนปลาดิบนั้น หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง การปรับตัวและการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเธอ รวมถึงการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เธอต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่กระนั้นก็ถือเป็นข้อดีอีกประการหนึ่งที่ทำให้เธอเรียนรู้ภาษาใหม่นี้ได้อย่างรวดเร็ว และไม่รู้สึกสับสน 
        
        “การไปประเทศญี่ปุ่นก็รู้สึกว่าไม่ได้ปรับตัวยากนะคะ เพราะรุ่นพี่ที่ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นทุกคนเขาจะช่วยเหลือเรา เหมือนกับเป็นครอบครัวเดียวกันเลยค่ะ และก็อำนวยความสะดวกทุกอย่างเลย เหมือนพี่ช่วยเหลือน้องค่ะ และก็ทำให้การเรียนที่ต่างประเทศมันค่อนข้างโอเค”
      
        “สำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่นตอนแรก มันจะเรียกว่าจุดอ่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ คือเราไม่เคยศึกษาภาษาตะวันออกเลย เราก็จะเหมือนเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์เลยค่ะ ไม่มีพื้นฐานไม่มีความรู้เลย มันก็จะเป็นข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ในทางเดียวกันเสียเปรียบคืออย่างเช่น คนที่ได้ภาษาจีน ภาษาเกาหลี เขาจะเรียนรู้เร็วกว่าเรา เขาจะรู้ว่ามันแนวๆ นี้ ไปเร็วกว่า แต่ว่าอย่างของเรา เราเริ่มจากศูนย์เลย เราไม่มีพื้นฐานอะไรเลย แต่มันก็จะมีข้อดีตรงที่เพราะเราเริ่มจากศูนย์ เราก็จะไม่เอามาปนกับภาษาอื่น อย่างเช่น ไม่เอาญี่ปุ่นมาปนกับเกาหลี ไม่เอาภาษาอื่นมาปนกัน”
      
        นอกจากนี้เธอยังเผยถึงเทคนิคในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นให้ฟังอีกว่า เธอได้เข้าร่วมชมรมที่ญี่ปุ่น เพื่อที่จะได้ฝึกภาษากับนักเรียนญี่ปุ่นตัวเป็นๆ ซึ่งทำให้เธอสามารถเรียนรู้ที่จะพูดภาษาญี่ปุ่นได้ในเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น นอกจากนี้การเข้าชมรมยังทำให้เธอได้ศึกษาวัฒนธรรม การใช้ชีวิตของนักเรียนญี่ปุ่นอีกว่าเป็นเช่นไร รวมถึงเข้าร่วมโครงการหาแม่บุญธรรม ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ดีๆ ในช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น
        
        “การฝึกภาษาของซาเอะคือ จะดูทีวีเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ และก็จะมีเข้าชมรม Bukatsu จะเป็นเหมือนชมรมให้นักเรียนญี่ปุ่นเข้าไปทำกิจกรรม เราก็เข้าไปทำกิจกรรมด้วย ก็จะทำให้รู้จักวัฒนธรรมของญี่ปุ่นด้วยว่านักเรียนในมหาวิทยาลัยเขาทำตัวยังไง เขามีชีวิต มีไลฟสไตล์ยังไง และเราก็จะได้ฝึกภาษา ฝึกการฟังในนั้นด้วย อย่างซาเอะก็ไปเข้าโครงการหนึ่งที่เขาจะหาแม่บุญธรรมให้เรา เราก็มีแม่บุญธรรมเป็นคนญี่ปุ่น แม่บุญธรรมก็จะช่วยเหลือเรา เวลามีกิจกรรมไปไหนมาไหนเขาก็จะชวนเรา ไปเที่ยว ไปกินข้าว เขาก็จะมองเราเหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ส่วนลูกๆ ของเขาก็อยากได้เด็กต่างชาติมา เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วย”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         สำหรับเรื่องค่าครองชีพที่ญี่ปุ่น เธอเล่าต่อว่าเธอได้รับเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นประจำทุกเดือน จึงทำให้ใช้เงินได้พอดีตัว พร้อมกันนี้เธอยังแนะนำคนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศอีกด้วยว่าให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด และสิ่งสำคัญที่สุดคือควรไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ดูบ้านเมืองเขาบ้าง เพื่อนำมาพัฒนาบ้านเมืองของเรา
        
        “เรื่องค่าครองชีพ คือของรัฐบาลญี่ปุ่นเขาจะให้เงินเดือน เดือนละ 50000 บาท ให้ทุกเดือนเลยค่ะ แต่ตอนนี้ก็แล้วแต่ค่าเงินนะคะ อาจจะขึ้นลงบ้าง ถือว่าพอใช้นะคะ ส่วนเรื่องเงินถ้าเราไม่ได้ชอปปิงเยอะ แค่ใช้จ่ายค่าหอพัก ค่ากิน ก็พอค่ะ แต่ถ้าฟุ่มเฟือยก็ไม่พอ แต่อย่างรุ่นพี่ที่เข้าปี 1 ถึง ปี 4 เริ่มใช้ชีวิตเด็กมหา’ลัยก็จะทำงานเสริม ทำงานขายเสื้อผ้าบ้าง เป็นเด็กเสิร์ฟบ้าง ก็จะได้เงินไว้ใช้จ่าย”
        
        “ส่วนที่อยากแนะนำคืออยากจะให้ประหยัด อย่าให้ใช้เงินชนเดือนพอแล้ว แต่อย่าประหยัดจนเกินไปจนไม่ได้ประสบการณ์ คืออยากให้ประหยัดให้มันใช้พอ แต่ไม่ใช่ประหยัดจนไม่ไปไหน ไม่ไปเที่ยว ไม่ได้ไปดูบ้านเมืองเขา คือการที่ไปเรียนมันไม่ใช่การเรียนแค่ในมหาวิทยาลัย แต่มันคือเรียนเรื่องการใช้ชีวิตด้วย ก็เลยอยากให้ลองไปเที่ยว ลองเปิดหูเปิดตาดูประเทศเขา เพื่อให้รู้ว่าประเทศเขาเป็นยังไง เราจะได้เอามาใชกับประเทศเรายังไง คือมันจะได้ประสบการณ์มากกว่าในห้องเรียน”
      
       ประเทศญี่ปุ่นมีอะไรดี !? 
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         “ทำไมถึงชอบการเรียนที่ญี่ปุ่น?” ทีมงานเอ่ยถามขึ้นด้วยคำถามที่หลายคนต่างฉงนสงสัยถึงความสนใจของเด็กไทยสมัยนี้ ว่าอยากไปเที่ยวและเรียนในประเทศญี่ปุ่น เธอตอบด้วยสีหน้ามั่นใจ และนัยน์ตาเป็นประกายสะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจบางอย่าง
       
        “อย่างแรกเลยสำหรับการไปเรียนต่างประเทศคงเป็นเหมือนกันทุกที่เลย คือจะฝึกเราให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ก็คือว่าทุกอย่างมันเหมือนทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ เพราะเหมือนมีเราอยู่คนเดียวที่อยู่ในวัฒนธรรมตรงนั้น เราทำอะไรผิดเราก็จะต้องรับผิดชอบเองหมดเลยค่ะ อย่างแรกก็จะเป็นเรื่องของการฝึกความรับผิดชอบ”
      
        “คนอื่นเขาไม่รู้จักคนไทยหรอก เขาเห็นคนไทยจากเรา เขาก็ตัดสินจากเรา” เธอเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่น เปรยให้เห็นถึงความคิดที่ว่าการวางตัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งอยู่ต่างแดนน้อยคนนักที่จะรู้ว่าคนไทยเป็นคนเช่นไร หากเราทำดีนั้นคือสิ่งที่เขาชื่นชม แต่เมื่อไหร่ที่ทำผิดพลาดหรือวางตัวไม่เหมาะสม นั้นคือสิ่งที่คนนอกเหมารวมทั้งประเทศ
      
        “อย่างที่สอง คือเราเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เราเป็นตัวแทนคนไทย มันเหมือนเป็นเกียรติยศอย่างหนึ่งที่เราได้แสดงความเป็นไทยออกไป ให้กับคนต่างชาติดู เพราะฉะนั้นเราต้องวางตัวดีๆ เพราะคนอื่นเขาไม่รู้จักคนไทยหรอก เขาเห็นคนไทยจากเรา และเขาก็ตัดสินจากเรา เราดีเขาก็ตัดสินว่าเราดี แต่ถ้าเกิดเราทำตัวไม่ดีเขาก็จะเหมารวมทั้งประเทศว่าเป็นคนอย่างงั้น ก็คือเราก็ได้ฝึกทั้งเรื่องความรับผิดชอบ การวางตัว”
       
        “อย่างที่สาม ก็คือได้ฝึกเกี่ยวกับความอ่อนน้อมถ่อมตนค่ะ เพราะว่าสังคมวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นเขาจะมีความเกรงใจมากๆ คือภาษาอังกฤษไม่มีคำว่าเกรงใจ ภาษาไทยยังมีคำว่าเกรงใจ ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำว่าเกรงใจ ก็คือเขาจะฝึกความเกรงใจ แล้วก็ฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตน พอไปอยู่ญี่ปุ่นรู้สึกได้ว่านิสัยเราจะอ่อนโยนมากขึ้น และมีความน่ารักมากขึ้น”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ทางทีมงานถามต่อไปถึงการเรียนการสอนระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง เธอขยายความให้ฟังว่าความจริงแล้วการเรียนการสอนของทั้งสองประเทศไม่ต่างกันมากนักในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันในห้องเรียน ซึ่งยังแฝงไว้ด้วยการป้อนข้อมูลอยู่ แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ต่างกันคือเรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
       
        “การเรียนการสอนไม่ค่อยต่างเลยค่ะ แต่การใช้ชีวิตจะต่างอยู่ คือซาเอะเคยไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โซนอเมริกา คือเขาจะเป็นแนวถกเถียง ทุกคนออกความคิดเห็น แต่ว่าการเรียนการสอนของทางญี่ปุ่นจะคล้ายๆ ของไทยอยู่ ก็คือเริ่มมีการถกเถียงแต่ก็ยังจะเป็นการป้อนให้ข้อมูลซะมากกว่า คือมีการป้อนข้อมูลและก็ถกเถียง แต่ของญี่ปุ่นจะต่างกับเมืองไทยตรงที่ว่าจะมีการทำรีเสิร์จเยอะ จะเน้นเรื่องการทำรีเสิร์จมากกว่า”
       
        “ส่วนเรื่องการใช้ชีวิตเขาจะต่างเพราะว่าเมืองไทยจะเน้นขอเงินพ่อแม่ แต่ของญี่ปุ่นพอขึ้นมหาวิทยาลัยแล้วคือจะโตเลย จะหาเงินเอง ให้แค่นี้นะแล้วก็จัดการชีวิตตัวเอง เพราะว่าคนต่างจังหวัดที่เขามาเรียนในโตเกียว เขาก็ไม่ค่อยได้อยู่จังหวัดตัวเอง เขาก็จะต้องจัดการชีวิตตัวเองเหมือนกันค่ะ ก็เหมือนเป็นสิ่งที่ต่างกันอยู่”
      
        ทางทีมงานถามต่อไปถึงการเรียนการสอนระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง เธอขยายความให้ฟังว่าความจริงแล้วการเรียนการสอนของทั้งสองประเทศไม่ต่างกันมากนักในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันในห้องเรียน ซึ่งยังแฝงไว้ด้วยการป้อนข้อมูลอยู่ แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ต่างกันคือเรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
       
        “การเรียนการสอนไม่ค่อยต่างเลยค่ะ แต่การใช้ชีวิตจะต่างอยู่ คือซาเอะเคยไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โซนอเมริกา คือเขาจะเป็นแนวถกเถียง ทุกคนออกความคิดเห็น แต่ว่าการเรียนการสอนของทางญี่ปุ่นจะคล้ายๆ ของไทยอยู่ ก็คือเริ่มมีการถกเถียงแต่ก็ยังจะเป็นการป้อนให้ข้อมูลซะมากกว่า คือมีการป้อนข้อมูลและก็ถกเถียง แต่ของญี่ปุ่นจะต่างกับเมืองไทยตรงที่ว่าจะมีการทำรีเสิร์จเยอะ จะเน้นเรื่องการทำรีเสิร์จมากกว่า”
       
        “ส่วนเรื่องการใช้ชีวิตเขาจะต่างเพราะว่าเมืองไทยจะเน้นขอเงินพ่อแม่ แต่ของญี่ปุ่นพอขึ้นมหาวิทยาลัยแล้วคือจะโตเลย จะหาเงินเอง ให้แค่นี้นะแล้วก็จัดการชีวิตตัวเอง เพราะว่าคนต่างจังหวัดที่เขามาเรียนในโตเกียว เขาก็ไม่ค่อยได้อยู่จังหวัดตัวเอง เขาก็จะต้องจัดการชีวิตตัวเองเหมือนกันค่ะ ก็เหมือนเป็นสิ่งที่ต่างกันอยู่”
      
        (ว่าที่) คุณหมอวัยใส หลากสไตล์-หลายบุคลิก!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         คงเป็นภาพที่เห็นจนชินตาสำหรับมนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเรา เมื่อพบเห็นคุณหมอตามคลินิค หรือโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยใบหน้าที่เรียบนิ่ง หลังตรงเป็นสง่า ดวงตามั่นใจพร้อมคำพูดคำจาแตกฉานชัดเจน ราวกับว่าภายใต้ชุดกราวชุดนั้นมีคาเรคเตอร์เฉพาะตัวของคุณหมอแอบซ่อนอยู่เสียนี่ ซึ่งสวมใส่เมื่อใดเป็นต้องรับบทคุณหมอลุคนิ่ง มาดเรียบร้อยเสียทุกที แต่เมื่อลองพูดคุยกับ (ว่าที่) คุณหมอคนนี้แล้ว ทำให้รู้เลยว่าความจริงแล้ว เธอก็คือคนธรรมดาๆ คนนึงเท่านั้นเอง
        
        “จริงๆ แล้วแต่สถานการณ์ค่ะ ถ้าอยู่กับคนไข้ก็จะเรียบร้อย มีคนถามเหมือนกันว่าบุคลิกเราเป็นคนยังไง เราก็จะตอบไปว่ามีหลายบุคลิก เช่น ถ้าอยู่กับเพื่อนจะฮาๆ เพื่อนไม่สนิทเรียบร้อย อยู่กับคนไข้ก็จะเรียบร้อย จะพูดจาเพราะๆ อยู่กับน้องชายก็จะออกแมนๆ ห้าวๆ คนส่วนใหญ่มองว่าคุณหมอจะต้องมีลุคนิ่งๆ เรียบร้อยๆ น่าเชื่อถือ จิตใจดี ทำให้คนไข้พ้นทุกข์ แต่แก่นแท้จริงๆ ก็คือคนทั่วไปค่ะ”
      
        “ในอีกมุมหนึ่งที่เขาอยู่กับครอบครัว อยู่กับคนใกล้ชิด มันก็คือนิสัยส่วนตัวเลย เขาก็จะเป็นคนตามที่เขาเกิดมาเป็นคนยังไง เขาก็จะเป็นคนอย่างงั้น อย่างในหน้าที่การงาน ในจุดที่เขาต้องดูแลคนอื่น บุคลิกภาพก็จะเป็นอย่างที่หมอควรจะเป็น แต่ถ้ามาเจอว่าไม่เห็นเหมือนตอนเป็นหมอเลย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็คือคนเหมือนกันค่ะ” เธอเปรยด้วยน้ำเสียงขำขัน พร้อมรอยยิ้ม
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         แน่นอนว่าการทำอาชีพที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องใกล้ชิดและคลุกคลีกับคนไข้ ผู้ป่วย หรือเรื่องสุขภาพต่างๆ นานาเสียหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ตัวซาเอะเองพึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอคือการรักษาสุขภาพ เพราะเธอมีความเชื่อที่ว่า หากคุณหมอไม่สบาย แล้วจะไปดูแลผู้อื่นได้อย่างไร
        
        “ส่วนตัวแล้วจะเป็นคนรักษาสุขภาพมากค่ะ เรารู้สึกว่าถ้าเราไม่แข็งแรงเราก็ไปดูแลใครไม่ได้ หรือไม่ก็ถ้าเราไม่แข็งแรง ต่อให้เราจะเรียนมา ยังไงเราก็ต้องมารักษาตัวเอง ซาเอะก็เลยต้องจัดเวลาออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนให้พอ คือจะยังไงก็ตามก็ต้อง 3 อย่างนี้ค่ะ ซึ่งตอนนี้ยังไม่เคยอยู่เวรค้างคืน ยังไม่เคยอยู่ห่ามรุ่งห่ามค่ำ มากสุดคือลงเรียนตอน 5 ทุ่ม เที่ยงคืนค่ะ อันนี้คือเรื่องพักผ่อน”
        
        “ส่วนเรื่องออกกำลังกายคือถ้าว่างเมื่อไหร่ต้องออกกำลังกาย และก็เรื่องของจิตใจก็สำคัญค่ะ คือต้องคิดดี ทำดี พูดดี อย่างซาเอะนับถือศาสนาพุทธก็ต้องทำบุญ เพราะรู้สึกว่าการทำบุญ การปฏิบัติธรรม และการสวดมนต์ ต้องสวดทุกวันก่อนนอน การทำสมาธิก็เพื่อบังคับตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องหาเวลาไปทำบุญก็ต้องจัดอาทิตย์ละครั้งค่ะ ไปต่างประเทศไปแสวงบุญก็ไปปีละครั้งค่ะ”
      
       ความสำเร็จที่ได้มา..ต้องตอบแทนสังคม!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         หากเปรียบมนุษย์เป็นอาหารจานพิเศษจานหนึ่ง พ่อครัวแม่ครัวที่หมั่นปรุงรส หยิบจับวัตถุดิบนานาชนิดมาใส่คลุกเคล้าลงในจาน จนออกมาเป็นอาหารหน้าตาสวยงามน่ารับประทาน ทว่า รสชาติของมันจะดีหรือเลวนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ได้จากพ่อ (ครัว) แม่ (ครัว) ทั้งนั้น เช่นเดียวกับสาวซาเอะที่เธอเชื่อว่าทุกสิ่งอันที่หลวมรวมเป็นตัวเธอได้ถึงทุกวันนี้ คงเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ ผู้ซึ่งเป็นเชฟฝีมือดีประจำบ้าน
        
        “ที่เป็นเราในทุกวันนี้ มีการปลูกฝังจากพ่อแม่สองอย่างก็คือ คุณพ่อจะสอนให้เรายืนด้วยลำแข็งตัวเองให้ได้ จะสอนตั้งแต่เด็กเลยว่า ทำอะไรก็ตามจะต้องประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องไม่พึ่งพาใคร ต้องเป็นคนที่แกร่ง และต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ส่วนตัวคุณแม่เอง คุณแม่ซาเอะจะเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือสังคม เราก็จะโดนปลูกฝังว่าจะทำอะไรก็ตามในชีวิตต้องทำให้สังคมด้วย เราอาจจะทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิตตัวเองด้วย แต่ว่าเราก็ต้องเป็นผู้ให้ด้วย” 
      
        บนเส้นทางของความสำเร็จนั้น เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จที่ได้มา ย่อมมีคุณค่าและคุณประโยชน์ หากผู้ได้มานั้นรู้จักและเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ เช่นเดียวกับเธอที่มีความเชื่อมาตลอดว่า เมื่อใดที่ประสบความสำเร็จแล้ว การตอบแทนให้สังคมคืออีกวิธีหนึ่งที่ผู้ให้ควรจะกระทำ
        
        “คำสอนของคุณพ่อคุณแม่ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก เราก็เลยเหมือนกับว่าจะทำอะไรก็ตามต้องให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จของตัวเองต้องทำด้วย และในทางกลับกันถ้าเราสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว แล้วไม่คิดจะตอบแทนอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเหมือนกัน เราก็ต้องหาอะไรทำให้รู้สึกว่าเราได้ช่วยเหลือสังคม”
      
       เก่งภาษา..มีชัยไปกว่าครึ่ง!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         เป็นความจริงที่ว่า ทุกคนล้วนมีความสามารถและสติปัญญาที่แตกต่างกัน บางคนมีจุดเด่นจุดด้อยไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสามารถมีได้นั้นคือ “ความเพียรพยายาม” และจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการเรียน หรือการใช้ชีวิตนั้นต้องอาศัย “ความมีวินัย” เป็นตัวผลักดัน 
        
        “สำหรับเรื่องเรียน คิดว่าต้องมีวินัย คือคำเดียวเลย มีวินัยนี่ไม่ใช่แค่วินัยนอกห้องเรียนเท่านั้น แต่ในห้องเรียน เข้าเรียน อย่าโดดเรียน และตั้งใจในสิ่งที่อาจารย์สอน เก็บเกี่ยวเวลาที่มีค่าในห้องเรียนให้มากที่สุดค่ะ”
      
        นอกจากนี้ เธอยังกระซิบบอกเทคนิคการเตรียมตัวสำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากสอบชิงทุนเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศว่า หากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ นั่นเท่ากับว่าได้ก้าวขาสู่ประตูความสำเร็จไปก้าวหนึ่งแล้ว ส่วนที่เหลือคือความกล้าที่จะต้องหยิบออกมาใช้
      
        “สำหรับเรื่องทุนนะ ก็คงต้องฝึกภาษาอังกฤษค่ะ เพราะว่ามันเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าคนนี้จะได้รับทุนหรือเปล่าค่ะ คือถ้าได้ภาษาอังกฤษดีก็เหมือนก้าวขาเข้าไปข้างหนึ่งแล้วในการที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ ส่วนสำหรับคนที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ก็อาจจะไม่ต้องใช้ภาษา แต่อาจจะต้องใช้ความกล้า ถ้าเรามีความกล้า พอเราไปต่างประเทศมันจะทำให้เราได้ทุกอย่างเอง ภาษาก็ได้ ประสบการณ์ก็ได้ คืออยากให้มีสองอย่างนี้ ก็คือเรื่องภาษากับความกล้าค่ะ”
       
       เรื่องโดย : พิมพรรณ มีชัยศรี
       ภาพโดย : วรวิทย์ พานิชนันท์