วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สุดยอด “แฮมเบอร์เกอร์” (Hamburger) ในอเมริกา

ถ้าพูดถึง แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หลายคนคงกินเป็นครั้งคราว หรือบางคนก็กินอยู่บ่อยๆ เจ้าเบอร์เกอร์กลมๆนี้ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เริ่มจากในคนอเมริกันและแพร่หลายไปทั่วโลกค่ะ และถึงแม้ว่าหลายคนจะรู้ดีว่าแฮมเบอร์เกอร์เป็นอาหารขยะ (Junk Food)ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มันก็ยังเป็นอาหารสุดยอดฮิตติดอันดับในอเมริกาอยู่ดีค่ะ เหตุผลหลักน่าจะเป็นราคาถูก เหมาะกับการพกพาเพื่อแก้หิวแบบง่ายสุดของคนอเมริกัน และที่สำคัญหาได้ง่ายมาก ไม่ว่าเราจะไปรัฐไหน เมืองไหนอะไรๆก็จะต้องเห็นแฮมเบอร์เกอร์วางให้ลูกค้าเข้าไปซื้อหา อยู่ในร้านแมคโดนัลด์ (Mcdonald),เบอร์เกอร์คิง(Burger King), เวนดี้ (Wendy’s) และร้านอื่นๆ เกือบทุกแห่งก็ว่าได้
แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ถือว่าอยู่ในประเภทเดียวกับแซนวิชค่ะ ประกอบด้วยเนื้อสัตว์บด เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลาทอด หรือเป็นเนื้อสัตว์หลายประเภทผสมกันนำมาปรุงรส แล้วทำเป็นแผ่นกลมๆบางๆ เพื่อให้เป็นแผ่นสอดไส้อยู่ตรงกลาง ประกบบนล่างด้วยขนมปังแผ่นกลม มีการสอดไส้ด้วยผักชนิดต่างๆ ที่เห็นเป็นประจำจะใช้ มะเขือเทศ ผักกาดหอม หัวหอมใหญ่ ใส่แผ่นชีส (Cheese) รวมทั้งเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น มัสตาร์ด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
ในกรณีที่ใส่เนื้อเป็น 2 ชั้นก็จะเรียกว่า ดับเบิ้ลเบอร์เกอร์ (Double Burger) ขนาดจะใหญ่เอามากๆ เหมาะกับปากคนเมกันตัวใหญ่ ปากใหญ่ดีแท้!
แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายอย่างมากในอเมริกา ในวันชาติของอเมริกาเราจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนอเมริกันจะนิยมทำแฮมเบอร์เกอร์เพื่อฉลองกันเกือบทุกบ้าน เจ้าแฮมเบอร์เกอร์(Hamburger)นี้ ก็เลยถือเป็นอาหารประจำชาติคนอเมริกันไปโดยปริยายค่ะ 55
เบอร์เกอร์ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ไม่ใช่เบอร์เกอร์ธรรมดาราคาถูกตาม fast food นะจ๊ะ เบอร์เกอร์นี้มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับอาหารชั้นเลิศ ถูกเสริฟอยู่ในร้านอาหารอย่างดีเลยล่ะ แน่นอนว่าเค้าใช้วัตถุดิบอย่างดีในการทำ ซึ่งราคาจะค่อนข้างแพงมากเลยค่ะ เอาล่ะ คราวนี้เราจะมาตามหา “เบอร์เกอร์ที่ดีที่สุด” ของอเมริกากัน (The Best Burgers in America) ว่าอยู่ที่ไหนกันบ้างค่ะ
จากการสำรวจร้านทั่วอเมริกาโดย จากเว็บไซต์ epicurious.com เค้าได้จัดอันดับ เบอร์เกอร์ที่ดีที่สุดในอเมริกา (The Best Burgers in America) มีดังนี้ค่ะ

New York: DuMont Burger

The Best Burgers in America: Dumont Burger, Brooklyn, New York
แฮมเบอร์เกอร์ มีชื่อเรียกว่า DuMont Burger ขายในร้านย่านเมือง Brooklyn นิวยอร์ก แฮมเบอร์เกอร์ชนิดนี้ มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ขั้นตอนการทำอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่กระบวนการทำขนมปัง เพื่อให้ขนมปังออกมานุ่มพอดี ไม่ฟูหนาจนเกินไป หรือบางไม่น่ากิน แต่สัดส่วนพอเหมาะให้น้ำซอสและน้ำหวานจากเนื้อวัว ซึมเข้าขนมปังได้อย่างพอดี แล้วใช้เนื้อวัวบดชั้นเลิศทำเป็นใส้ แล้วเพิ่มผักสด หรือผักดองแล้วแต่เรา ตบท้ายให้ลูกค้าเลือกเพิ่มชีสตามชอบ เช่น อเมริกัน, Cheddar, Monterey Jack

Miami: Kingdom Burger

The Best Burgers in America: Kingdom, Miami

แฮมเบอร์เกอร์ มีชื่อเรียกว่า KingDom Burger ขายในร้านเมือง miami ฟอริดา แฮมเบอร์เกอร์ชนิดนี้เป็นขนมปังแบบโฮมเมดเช่นเดียวกัน ที่นี่ใช้เนื้อวัวบดทำเป็นใส้ ใส่ผักกาดหอม หัวหอมแดง มะเขือเทศ และใส่ชีส ที่กำลังเริ่มละลายได้ที่ เห็นแล้วน้ำลายไหล!!

Washington, DC: Palena Café

The Best Burgers in America: Palena Caf?, Washington, DC
แฮมเบอร์เกอร์จากร้าน Palena Café ในวอชิงตันดีซี ว่ากันว่าเจ้าของร้านเคยเป็นเชฟให้กับประธานาธิบดีที่ทำเนียบขาว ก่อนจะออกมาเปิดร้านอาหารเอง โอ้ ดีกรีระดับนี้ใครแวะมาดีซี อย่าลืมไปลิ้มลองความอร่อยจากร้านนี้ได้

Seattle: Lunchbox Laboratory

The Best Burgers in America: Lunchbox Laboratory, Seattle
ใครกินเบอร์เกอร์นี้จะรู้ได้ถึงความหอมหวานของหัวหอมอบจนเหลืองหวาน, รสเข้มของ Gorgonzola ครีมซอส, เนื้อสันนอกสดๆผสมกับเนื้อซี่โครง จากวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าเท่านั้น, ทั้งหมดนี้จะอยู่บนขนมปังkaiser ที่เกรียมนิดๆด้านนอก แต่ด้านในนุ่มแสนอร่อย

San Francisco: Zuni Café

The Best Burgers in America: Zuni Caf?, San Francisco
ถ้าถามถึงเบอร์เกอร์ที่ดีที่สุดใน San Francisco แล้วหละก็ ชื่อ Zuni Café ก็ขึ้นมาเลยในทันที เจ้าของร้านนี้ Judy Rodgers เค้าจะหมักเนื้อก้อนอย่างใหญ่กับเกลือก่อนจะกลับบ้านในตอนกลางคืน วันรุ่งขึ้นก็เธอและลูกน้องก็จะมาบดเนื้อ กับเกลือ เกลือนั้นจะปรุงแต่งรสชาติให้ยอดเยี่ยม และเมื่อย่างก้อนเนื้อหนาๆเสร็จพร้อมเสริฟแล้ว จะมีน้ำหวานของเนื้อและน้ำซอสไหลพรั่งพรูออกมาในทุกๆคำที่กัด! แต่ร้านนี้แปลกอยู่นิด เพราะเบอร์เกอร์นี้จะเสริฟแค่เฉพาะช่วง lunch และหลังสี่ทุ่ม !?!

Los Angeles: Pie ‘n Burger

The Best Burgers in America: Pie 'N Burger, Los Angeles
บรรยายกาศร้านนี้ดีมาก ส่วนเบอร์เกอร์ร้านนี้เค้าบอกว่ามันช่างสวยงาม! ขนมปังก็อบบนตะแกรง มีชั้นของผักกาดและผักดองให้เห็นแบบเน้นๆ เดรสซิ่ง Thousand Island ก็นำรสให้เบอร์เกอร์นี้แสนเพอร์เฟค!

Philadelphia: Rouge

The Best Burgers in America: Rouge, Philadelphia
ดูซะก่อนว่ามีร้านนี้มีลูกค้าเยอะขนาดไหน! เนื้อวัวอย่างดีเลิศ แล้ววางพร้อมกับชีสGruyère ให้ละลายพอดีอยู่ข้างบน และหัวหอมที่อบให้หอมจนหวานเป็นสีน้ำตาล เสริฟพร้อมกับกองเฟร้นฟรายกรอบๆ ร้อนๆ..

Atlanta: Holeman & Finch

The Best Burgers in America: Holeman & Finch, Atlanta
เบอร์เกอร์นี้จะเสริฟตอนสี่ทุ่ม คนจำนวนมากจะพากันมารอซื้อเบอร์เกอร์นี้! เพราะเค้าขายในเวลาเฉพาะ และจำนวนจำกัด! มีส่วนประกอบเป็น ขนมปังที่อบสดใหม่จากร้านข้างๆนี้เอง, เนื้อวัว 2 ชั้น (ใช้เฉพาะวัวที่กินหญ้าเท่านั้น), Kraft American ชีส, หัวหอมแดง, ผักดองกับเนย, ซอสมะเขือเทศ Homemade, มัสตราส และเสริฟพร้อมกับ French Fries สีเหลืองกรอบ ใครพลาดอดกินคืนวันเสาร์ ยังมากินตอนสายวันอาทิตย์ได้อีก แต่จะทำแค่ 72 ชิ้นเท่านั้นนะจ๊ะ

Boston: Radius

The Best Burgers in America: Radius, Boston
ตอนแรกร้านขายเบอร์เกอร์นี้เค้าเป็นแค่ร้านเล็กๆ ไม่มีที่นั่งกินด้วยซ้ำค่ะ แต่คนคิดค้นเบอร์เกอร์นี้ในที่สุดเค้าได้รางวัลเบอร์เกอร์ยอดเยี่ยมในเทศกาลอาหารค่ะ เบอร์เกอร์เค้าเป็นเนื้อบดครึ่งปอนด์ แล้ววางชีสให้ละลายอยู่ข้างบน ราดด้วยซอส horseradish แล้วก็โปะด้วยหอมทอดกรอบๆ

Chicago: Rosebud Steakhouse

The Best Burgers in America: Rosebud Steakhouse, Chicago
เริ่มจากเนื้อชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นเนื้อล้วนๆ 80 เปอร์เซ็นต์ ปรุงเหมือนดั่งเนื้อสเต๊ก และวางลงบนขนมปังแบบ pretzel ที่ถือง่ายสำหรับเบอร์เกอร์ที่หนักไปด้วยน้ำหวานจากเนื้อที่ชุ่มฉ่ำ เนื้อนั้นค่อนข้างหวานหน่อยๆจากรสเข้มข้นของเนื้อ และชีสที่กำลังละลาย
โอ๊ย! เห็นภาพและคำบรรยายแล้วหิวจริงๆเลยค่ะ ขนาดไม่ได้เป็นคนชอบกิน burger ยังหิวเลย 55 เราเองยังไม่เคยกินอันไหนเลยค่า เพื่อนๆเคยกินอันไหนมาแล้วบ้างหรือชอบแบบไหน มาเล่าให้เราฟังบ้างนะคะ

มารู้จักกับ วิศวกรรมปิโตรเลียม ว่าคืออะไร



วิศวกรรมปิโตรเลียม คืออะไร??

         วิศวกรปิโตรเลียม คือ วิศวกรผู้ทำงานเกี่ยวกับ การเจาะและการผลิต น้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บใต้ผิวดิน ลักษณะงานมีทั้งภาคออกแบบ ศึกษา วางแผน และภาคสนาม

วิศวกรรมปิโตรเลียม เรียนอะไรบ้าง??

           หมวดธรณีวิทยา เรียนทางด้านธรณีวิทยาทั่วไป และธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม เพื่อจะได้เข้าใจถึงโครงสร้าง และลักษณะของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมประเภทต่าง ๆ 

           หมวดเจาะหลุม เรียนการออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการเจาะ การป้องกันการพลุ่งของปิโตรเลียม การลงอุปกรณ์ที่ใช้ในหลุม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บบันทึกระหว่างหรือหลังการเจาะ

           หมวดการผลิต เรียนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต การกระตุ้นการผลิต การผลิตโดยแรงดันธรรมชาติ การช่วยการผลิตเมื่อแรงดันลดลง การคำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง

           หมวดแหล่งกักเก็บ เรียนรู้ลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ ของปิโตรเลียมและแหล่งกักเก็บ การไหลของปิโตรเลียมเข้าสู่หลุม การคำนวณปริมาณสำรอง การลดลงของอัตราการผลิต การผลิตขั้นทุติยภูมิโดยการอัดน้ำแทนที่

วิศวกรปิโตรเลียมต่างจากนักปิโตรเคมีอย่างไร 

          ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ upstream กับ downstream สำหรับ upstream นั้น เริ่มตั้งแต่ การสำรวจ การขุดเจาะ และการผลิตปิโตรเลียม ในการสำรวจนั้นจะใช้นักธรณีฟิสิกส์เป็นหลัก ในการเจาะและผลิตปิโตรเลียมนั้นจะใช้วิศวกรปิโตรเลียม เมื่อน้ำมันหรือก๊าซถูกขนส่งมาถึงโรงกลั่นแล้ว ช่วงนี้จะเรียกว่า downstream วิศวกรเคมีจะทำหน้าที่กลั่นปิโตรเลียมออกเป็นองค์ประกอบต่างๆ จากนั้น นักปิโตรเคมีจะนำส่วนประกอบที่ได้จากการกลั่นไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เม็ดพลาสติก และ PVC เป็นต้น


 หลักสูตรของวิศวกรรมปิโตรเลียมกับปิโตรเคมีต่างกันอย่างไร

          วิศวกรรมปิโตรเลียมจะเน้นหนักไปทาง คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เรียนเคมีน้อยมาก ที่เรียนก็ออกไปทาง physical chemistry เสียส่วนใหญ่ ส่วนทางด้านปิโตรเคมี จะมีเรียนด้านเคมีและเคมีอินทรีย์ เสียส่วนใหญ่


 จบไปแล้วจะมีงานทำไหม

          ที่ผ่านมา 2-3 ปี นิสิตที่จบไปมีงานทำมากกว่า 95% ซึ่งตลาดงานช่วงนี้ยังดีอยู่มาก ยังมีความต้องการวิศวกรปิโตรเลียมอยู่อีก เนื่องจากมีการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขึ้นมาเรื่อย ๆ อีกทั้งบริษัทน้ำมันหลาย ๆ แห่ง รับคนไทยทดแทนตำแหน่งชาวต่างชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณงานจะค่อนข้างขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน ถ้าน้ำมันราคาตก ก็จะหางานยากกว่าปกติ


 เอ! แล้วเงินเดือนเท่าไร

          ที่ผ่านมาอยู่ในระดับ 25,000 - 35,000 บาท สำหรับ base salary ถ้าออก field ก็มีเงินพิเศษให้อีก หลายคนบริษัทจองตัวล่วงหน้าถึง 4 เดือนก่อนจบ แถมให้ sign-up bonus อีกนับแสนบาท บางคนได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติ ซึ่งส่งไปทำงานต่างประเทศ เงินเดือนก็เกือบ ๆ 2 แสนบาท


 จบวิศวกรรมปิโตรเลียมแล้วไปทำอย่างอื่นได้หรือไม่

          ต้องขอตอบว่า ค่อนข้างยาก เพราะวิศวกรรมปิโตรเลียมเป็นอะไรที่เฉพาะเจาะจง จะนำสิ่งที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้กับสาขาอื่นได้ค่อนข้างน้อย


 ถ้าไม่จบวิศวกรรมปิโตรเลียมจะทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมได้หรือไม่

          ตอบว่าได้ แต่จะไม่ได้ดูแลการเจาะ การผลิตปิโตรเลียมโดยตรง อาจมีหน้าที่ในการดูแลงาน operations บางอย่าง หรือการใช้เครื่องมือบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเจาะและผลิตปิโตรเลียม ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมก็มีนักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล วิศวกรเคมี วิศวกรไฟฟ้า และวิศวกรสิ่งแวดล้อม


 ผู้หญิงทำงานด้านนี้ได้หรือไม

          ผู้หญิงก็สามารถทำงานใน field นี้ได้เหมือนกัน ไม่มีปัญหา งานบางอย่างผู้หญิงทำได้ดีกว่าผู้ชายเสียอีก อย่างไรก็ตาม จำนวนวิศวกรปิโตรเลียมที่เป็นผู้หญิงมีจำนวนค่อนข้างน้อย


 เมื่อเรียนจบแล้ว ต้องทำงานอยู่บนแท่นเจาะหรือแท่นผลิต เสมอไปหรือไม่

          ส่วนใหญ่วิศวกรปิโตรเลียมจะไม่ได้ทำงานที่แท่นเจาะหรือแท่นผลิต ตลอดเวลา งานส่วนมากจะอยู่ภาคพื้นดินที่บริษัท จะออก site งานบ้างเป็นครั้งคราว มีบางส่วนที่จะต้องออก offshore เป็นประจำ เวลาเดินทางไปแท่น ก็จะไปได้ 2 วิธี คือ นั่งเรือ หรือ นั่งฮอลิคอปเตอร์


 จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง

          (1) ราชการ หรือ หน่วยงานในกำกับของรัฐ ได้แก่ กองเชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี, กรมพลังงานทหาร, อาจารย์มหาวิทยาลัย
          (2) บริษัทน้ำมัน ได้แก่ ปตท. สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron
          (3) บริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน บริษัทจำพวก service companies ได้แก่ Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling และอื่น ๆ

วิศวกรรมปิโตรเลียม , สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม , วิศวกรรมปิโตรเลียม คือ , คณะวิศวกรรมปิโตรเลียม , วิศวกรรมปิโตรเลียมมีที่ไหนบ้าง ,     อยากเรียนวิศวกรรมปิโตรเลียม
ที่มา nisit.eng.chula.ac.th

เรื่องจริงของ "วิศวะคอม" ที่คนอยากเรียน ควรรู้

 
1.  จบวิศวคอมมาต้องซ่อมคอมได้ใช่มั้ย,อยากเรียนซ่อมคอมมาเรียนวิศวะคอมดีกว่า ?
              นั่นมันเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงครับ จบมาไม่ใช่ว่าจะซ่อมได้ครับ แต่วิศวะคอมจะสอนให้รู้จักการคิดเป็นและคิดอย่างมีระบบ มีเหตุและมีผล วิเคราะห์ระบบต่างๆ ส่วนเรื่องทักษะการซ่อม,Overclock ต่างๆ ต้องเรียนรู้กันเอาเองครับ
 
2.  ชอบเขียนเว็บ กราฟฟิก โฟโต้ช๊อบ 3D ทำเวป เรียนวิศวะคอมดีกว่า ?
         ไม่มีสอนโดยตรงนะครับ บางที่อาจจะมีบ้าง เรือง Graphic,Animation แต่ก็ไม่ได้ลงลึกอะไรมาก ก็ต้อง เรียนรู้เองอีกเช่นกัน (ไปเรียนมัลติน่าจะเวิกกว่า)
 
3.  วิศวะคอม ไม่มี ?ใบประกอบวิชาชีพ?
          หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า จบวิศวะแล้วจะได้ใบประกอบวิชาชีพ แต่ สำหรับ วิศคอมพิวเตอร์ และสาขาทางไอทีทุกสาขาไม่มี ใบประกอบวิชาชีพ ครับ คือ มันไม่ได้เป็นวิชาชีพ แต่มันคือความรู้ที่เราเรียนมาเพื่อนำไปประกอบอาชีพเท่านั้น เนื่องจากมันไม่ได้จบไปแล้วทำงานตายตัวเหมือนคณะ สาขาอื่น
          แต่ จริงๆแล้ว ทางสายไอที จะมีกระดาษแผ่นหนึ่ง ที่เขาเรียกว่า ใบCert หรือ ถ้าเรียกแบบไทยๆ ก็ ใบ เซ่อ(ไม่ได้มาจากคำว่า เซ่อร์ซ่า นะ ) หรือ ถ้าภาษาอังกฤษ เขาใช้คำว่าCertification คล้ายๆใบประกอบวิชาชีพนั่นแหล่ะ  โดย เจ้าใบ Cert  นี้ เราจะต้องสอบเพื่อเป็นการการันตีว่า เรารู้ในเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้ง เช่น ใบ Cert ของ JAVA   เพื่อการันตีว่า เรามีความรู้ในเรื่องของ Java Programing จริงๆ (เสียเงินค่าไปสอบเองนะ เหมือน TOELF TOEIC)
 
4.  ชอบเขียนโปรแกรมมากๆ  เรียนวิศวะคอมดีกว่า ?
          จริงอยู่ว่าวิศวะคอม มีเรียนเขียนโปรแกรม แต่ถ้าชอบเขียนโปรแกรมอย่างเดียว ไม่อยากเรียนสายอื่น แนะนำว่าไปเรียน IT  หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์(CS)  จะดีกว่าครับ ไม่งั้นอาจจะต้องเจอวิชาบทโหดของวิชาวิศวะมากมาย เช่น   Drawing , Workshop , Material , Circuit , Digital , Signal ฯลฯ (ปล. วิศวะคอม บางมด ไม่มี Drawing , Workshop , Material นะครับ หุหุ)
 
5. สังคมไทย ยกย่องว่า ถ้าจะทำงานได้เงินเดือนสูงๆในสายไอที ต้องจบ วิศวะคอม เท่านั้น!!! ?
             อย่างที่กล่าวไปหลายรอบแล้วว่า สังคมไทย ยกย่อง สายวิศวะเป็นอย่างมาก แต่ความเป็นจริงที่ พวกเราควรรู้อีกข้อก็คือในไทยเรา ไม่ว่าจะจบ วิศวะ วิทยา หรือสายอื่นใด ในสายไอที  การทำงาน มักเกี่ยวเนื่องหรือซ้อนทับกัน เนื่องจาก อุตสาหกรรมในสายไอทีบ้านเรา เน้นไปทางด้านซอฟท์แวร์ หรือ การเขียนโปรแกรม ที่เป็นสายทางทั่วๆไป ของไอที ไม่เน้นเฉพาะ วิศวะคอม วิทยาคอม เท่านั้น
 
6.  ไม่รู้จะเรียนอะไร เข้าวิศวะคอมละกัน + ตามเพื่อน + ตามกิ๊ก + ตามแฟน + ตามแฟนเก่า ?
             เหตุผลตามข้อ 4. เลยครับ ถ้าไม่ได้ชอบ อย่าเรียนดีกว่าครับ เสียเวลาครับ อาจจะต้องตกนรกไปถึง ๔ ปีทีเดียว  เรียนตามที่ตัวเองชอบดีที่สุดครับ
 
Credit : http://www.zone-it.com/stocks/data/13/138691.html

อยากเรียน พยาบาลทหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไร !!

น้องๆหลายคนที่ฝันอยากเป็นพยาบาลทหาร แต่ไม่รู้จะต้องทำอย่างไรเตรียมตัวอย่างไร  UniGang เลยขอจัดทำบทความแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสอบเข้า พยาบาลได้  โดยพยาบาลทหารบก,ทหารอากาศ,ทหารเรือ นั้นใช้เกณฑ์คัดเลือกคล้ายๆกัน
คุณสมบัติผู้สมัคร
- กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต
- เป็นสตรีโสด อายุ 17—25 ปี
- มีสัญชาติไทย บิดาและมารดาผู้ให้กำเนิดต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
- สุขภาพแข็งแรง เหมาะสมต่อการรับราชการทหารและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- น้ำหนักไม่น้อยกว่า 42 กก. แต่ไม่เกิน 65 กก.
- ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. BMI ไม่เกิน 25 กก./มม2
- ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
จำนวนรับสมัครของแต่ละกองทัพ
- จำนวนนักเรียนที่รับต่อปี 60 คน เป็นทุนส่วนตัว
- จำนวนนักเรียนที่รับต่อปี 20 คน เป็นทุนกองทัพ
ช่วงรับสมัคร  มกราคม ถึงเดือน มีนาคม ของที่ปี
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก  GAT  PAT2  ONET
จากข้อมูลรุ่นพี่ๆปีก่อนๆ เอาแบบติดชิวๆ
GAT  230    คะแนน
PAT2  120  คะแนน
O-NET  อังกฤษ น้องๆต้องทำให้ไม่ตำกว่า 30 คะแนนด้วยนะครับ
เรื่องเกณฑ์คัดเลือกแต่ละปีคะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นกับความยากง่ายของข้อสอบด้วย

จากปีล่าสุดใช้คะแนน GAT-PAT ได้แค่รอบแรกนะครับ เพราะประกาศผลมันประกาศก่อนผล GAT-PAT รอบ 2 ออกอีก อันนี้ยังไม่ฟันธงนะครับเพราะระเบียบการปีนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ 

ไม่มีทดสอบร่างกายนะครับ มีแค่ตรวจสุขภาพ และการทดสอบสุขภาพจิต
ค่าเทอมโดยประมาณปีการศึกษาแรก
ค่าใช้จ่าย นักเรียนทุนกองทัพ จำนวนทั้งสิ้น 17,785.00 บาท
นักเรียนทุนส่วนตัว จำนวนทั้งสิ้น 58,835 บาท ( แบ่งชำระ เป็น 2 งวด งวดแรกชำระในวันทำสัญญา จำนวน 33,960 บาท งวดที่ 2 ชำระภายในเดือน ต.ค. จำนวน 24,875 บาท )

ค่าใช้จ่ายในชั้นปีที่ 2 – 4
1 ชั้นปีที่ 2 ทุน ทอ. 9,500 ทุนส่วนตัว 38,550
2 ชั้นปีที่ 3 ทุน ทอ. 9,500 ทุนส่วนตัว 35,750
.3 ชั้นปีที่ 4 ทุน ทอ. 9,500 ทุนส่วนตัว 34,350 (อัตราค่าธรรมเนียมนี้ กำหนดไว้เมื่อ พ.ศ.2544 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม )
ตัวอย่างระเบียบการรับสมัครปีการศึกษา 56

{ครั้งหนึ่งในชีวิต, เมื่อฉันติดอักษรฯ จุฬา} ๑. ความฝันกับแรงบันดาลใจ


ครั้งหนึ่งในชีวิต, เมื่อฉันติดอักษรฯ จุฬา {๑}
อ่านก่อนสักนิด*
บทความนี้เป็นเพียงไดอารี่เล็กๆ ที่อยากแชร์ประสบการณ์ของเด็กม.หกคนหนึ่ง
ให้กับรุ่นน้องและผู้ที่สนใจได้อ่าน
ดังนั้นรายละเอียดด้านวิชาการจะมีค่อนข้างน้อย
หากน้องคนไหนสนใจ สามารถเข้าไปดูหลักสูตรของคณะก่อนได้ ที่นี่ ค่ะ
หรือทิ้งคำถามไว้ก็ได้ จะพยายามตอบนะคะ ฮา  - v -
----------------

เมื่อก่อนตอนพี่อยู่ม.ต้น หลายคนถามพี่ว่า อยากจะเข้าสายอะไร
พี่บอกเพื่อนว่า พี่จะเรียนสายศิลป์-ฝรั่งเศส, เพื่อนพี่ทำหน้าตกใจ
ไม่แปลกหรอก เพราะโรงเรียนพี่ สายศิลป์-ภาษาเป็นสายที่โดนดูถูกว่าเป็นแหล่งรวมของคนไม่เรียนหนังสือ
พวกไม่เอาถ่าน พวกเกรดไม่ถึง หรืออะไรทั้งหลายที่แย่ๆ ก็มักจะมาอยู่ในนี้หมด
ตัวพี่เองก็โดนปลูกฝังค่านิยมแย่ๆ แบบนี้ จนพี่เกือบจะล้มเลิกที่จะเรียนสายนี้ไปแล้ว

....แต่รู้อะไรไหม แรงผลักดันไปสู่ความฝันของใครหลายคน มักจะเกิดจากถ้อยคำสบประมาทเหล่านี้แหละ

พี่ไม่เคยรู้จักคณะที่ชื่อ 'อักษรศาสตร์' มาก่อนเลย จนกระทั่งพี่ได้เลือกเรียนสายศิลป์-ภาษา
แล้วมานั่งหาข้อมูลว่า เส้นทางในอนาคต พี่จะเลือกเรียนอะไรได้บ้าง
นิติศาสตร์? เอ่อ ท่องจำกฎหมายเป็นเล่มๆ เซลล์สมองมีไม่ถึงแน่
รัฐศาสตร์? ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การปกครองเนี่ยนะ คงไม่ใช่เราแฮะ
ครุศาสตร์? อันนี้น่าสน แต่สอนตัวเองยังไม่รอดเลย จะให้ไปสอนใคร
อักษรศาสตร์ โอ๊ะ ชื่อคณะฟังดูน่าสนใจ เรียนเกี่ยวกับภาษาแน่ๆ เลย

หลังจากที่พี่นั่งศึกษาหาข้อมูล เปิดดูหลักสูตรของคณะอักษรศาสตร์แล้ว
ความจริงข้อหนึ่งที่พี่ค้นพบคือ คณะนี้เรียนภาษาอย่างที่คิดไว้จริงๆ ...แต่ ไม่ได้เรียนแค่ภาษาอย่างเดียว
คณะอักษรศาสตร์ สอนให้เราเรียนรู้ถึงความเป็น 'มนุษย์'
ทั้งความคิด พฤติกรรม การแสดงออก และอีกหลากหลายองค์ประกอบที่หล่อหลอมให้มนุษย์คนหนึ่ง
มีความเป็น 'ปัจเจกชน' ซึ่งตัวเราเองก็ถือเป็นปัจเจกชนคนหนึ่งเช่นกัน
การเรียนรู้มนุษย์ เท่ากับเป็นการเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้คนรอบข้าง และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้
โดยที่ภาษานั้น เป็นเพียงหนึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้เราเข้าถึงความเป็นมนุษย์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

และความจริงอีกข้อที่พี่ค้นพบคือ คณะนี้แหละที่จะเป็นเป้าหมายในอนาคตของเรา :)

พี่เป็นคนชอบเรียนภาษา ไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม เพราะพี่รู้สึกว่า แค่เราเรียนรู้เพิ่มอีกหนึ่งภาษา
ก็เหมือนเราคุยกับเพื่อนร่วมโลกได้อีกหลายล้านคนทีเดียว
ดังเช่นสุภาษิตฝรั่งเศสทึ่กล่าวไว้ว่า Apprendre une langue, c’est vivre de nouveau.
แปลได้ว่า เริ่มเรียนอีกหนึ่งภาษา ก็เท่ากับว่าคุณได้รับชีวิตใหม่อีกหนึ่งชีวิต นั่นเองค่ะ :)
นอกจากนี้ พี่ยังชอบเรียนประวัติศาสตร์ พี่ชอบศึกษาเรื่องราวและความคิดของคนในอดีต
ถ้าถามว่าทำไม มันสนุกออก เวลาเราได้อ่านอะไรที่มันฟังดูยิ่งใหญ่ผ่านทางหนังสือสักเล่ม
แถมยังเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นอีกด้วย

โดยส่วนตัวแล้ว พี่โชคดีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เคยบังคับหรือกดดันให้เรียนอะไรเลย
ท่านแค่บอกว่า เรียนในสิ่งที่ชอบ แล้วเราจะมีความสุข
อิสรภาพนี้เองที่ทำให้พี่รู้สึกว่า ในเมื่อพี่ได้เลือกในสิ่งที่พี่ชอบแล้ว พี่ก็อยากทำให้ท่านภูมิใจ

ดังนั้น พี่เลยไม่ลังเลที่จะบอกคนอื่นว่า คณะที่พี่อยากเข้า คือ
'คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

ทีนี้ หลังจากที่มีเป้าหมายคืออักษรจุฬาแล้ว พี่ก็หาข้อมูลต่อ ว่ามันจะต้องทำยังไงถึงจะเข้าไปเรียนได้
เนื่องจากเรายังตกอยู่ในวังวนของระบบแอดมิชชั่น ซึ่งมีการสอบเยอะแยะมากมาย
การมีข้อมูลเกี่ยวกับการสอบที่ดีจึงมีชัยไปกว่าครึ่ง

ดูไปดูมา สรุปแล้วคือ คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ เปิดรับสองรอบ
รอบแรก คือรับตรง ใช้คะแนน แพทเจ็ด 25% วิชาภาษาไทย อังกฤษ สังคม ในเจ็ดวิชาสามัญ อย่างละ 25%
รวมเป็น 100% พอดี โดยรับทั้งหมด 240 คน
...240 คน จากคนสมัครเป็นหมื่น โหดได้อีกกกกก
รอบสอง คือแอดมิชชั่นกลาง ใช้ gpax โอเน็ต แกท และแพทเลข รับ 50 คนค่ะ
(ไม่นับรวมอักษร เอกภูมิศาสตร์ ที่รับอีก 25 คน)
ค่ะ พี่ไม่ได้พิมพ์ผิด และน้องอ่านถูกแล้ว ใช้แพทเลข ถ้าถามว่าทำไม
คือรอบแอดมิชชั่นตั้งใจเปิดให้เพื่อเด็กวิทย์หัวใจศิลป์น่ะค่ะ สายศิลป์ภาษาเพียวๆ อย่างเรา
สู้รอบรับตรงเลยดีกว่าเยอะ ตรงกับที่เราเรียนมาด้วย

พี่เลยตัดสินใจ เอาน่ะ เป็นไงเป็นกัน สู้รอบรับตรง แล้วเข้าไปเป็นหนึ่งในสองร้อยสี่สิบคนให้ได้
สู้สู้ อักษร จุฬา อยู่ใกล้แค่เอื้อม!

พี่เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง ตั้งใจเรียนในห้อง โดยเฉพาะวิชาภาษาฝรั่งเศส
เพราะพี่ถือว่าเป็นภาษาใหม่ที่ยังไม่เคยเรียนมาก่อน และทุกคนมีต้นทุนเท่าๆ กัน
ขยันกระจายแว๊บ (คล้ายๆ การผันเวิร์บในภาษาอังกฤษค่ะ แต่ฝรั่งเศส แต่ละประธานจะผันต่างกัน)
พยายามฝึกทำ ฝึกเขียนภาษาฝรั่งเศสด้วยตัวเอง นึกอะไรก็นึกเป็นศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เรียกได้ว่าฝรั่งเศสไปหมด
ผลที่ออกมาคือ สอบกลางภาคครั้งแรกของม.4 ได้ฝรั่งเศส 39/40
โห ตอนนั้นคือดีใจมากและงงมาก ไม่คิดว่าคะแนนตัวเองจะขนาดนี้ ฮา
ทีนี้ ยิ่งเรียน พี่ก็ยิ่งรู้สึกชอบภาษาฝรั่งเศสขึ้นไปอีก พี่เลยเข้าใจที่เขาบอกกันว่า ชอบในสิ่งที่ทำ มันเป็นแบบนี้นี่เอง
ส่วนวิชาอื่น เช่น ไทย อังกฤษ สังคม พี่ก็ให้ความสำคัญกับมันเช่นกัน
อย่างว่าแหละ เวลาได้เรียนอะไรที่เราชอบ เราก็มักจะมีความสุขเป็นธรรมดา :)

พี่มาเริ่มทบทวนอย่างจริงจังตอนปิดเทอมตุลา ม.5 จำได้ว่าตอนนั้นกวาดหนังสือฝรั่งเศสทุกเล่มที่มีขาย
เอามานั่งเปิด นั่งสรุป นั่งจด ทำความเข้าใจกับเนื้อหาแกรมม่าร์
พี่ได้คุยกับรุ่นพี่ที่ตั้งใจจะเข้าอักษรจุฬาเหมือนกัน เขาก็แนะนำ ให้กำลังใจว่าเราทำได้
รวมถึงเพื่อน ญาติพี่น้อง พ่อแม่ก็คอยเชียร์เรา พี่เลยมีไฟขึ้นมาเลยตอนนั้น
เห็นมั้ย รอยยิ้มและกำลังใจของคนรอบข้างเป็นสิ่งที่สำคัญนะ ขาดไม่ได้เชียวล่ะ

รู้ตัวอีกที อ้าว นี่มันม.6 แล้วนี่
พี่ทิ้งทุกอย่างที่ไม่จำเป็นหมดเลย ทั้งนิยาย หนังสืออ่านเล่น เฟซบุ๊กหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เล่นน้อยลง
พยายามแบ่งเวลา เพราะพี่เองก็เป็นสภานักเรียน งานโรงเรียน การบ้าน หนังสือที่ต้องอ่าน ตีกันยุ่งไปหมด
พี่คิดว่าการจัดตารางเวลาและลำดับความสำคัญเป็นสิ่งจำเป็นนะ เพราะถ้าเราไม่ได้วางแพลนอะไรไว้เลย
การอ่านหนังสือของเราก็จะไร้ทิศทาง เรียบเรียงเนื้อหา และจับประเด็นไม่ได้
ดังนั้น เราควรต้องวางแผนให้ดี เริ่มตั้งแต่นับว่าเราเหลือเวลาอีกกี่เดือน แล้วจะอ่านอะไร อ่านยังไง วันละกี่ชั่วโมง
มันจะทำให้ชีวิตน้องมีระเบียบขึ้นเยอะเลย
เชื่อพี่เถอะ มันอาจจะลำบาก แต่พอผ่านจุดนั้นมาได้
ก็ทำให้รู้เลยว่ามันคุ้มค่ากับที่เราเหนื่อยไปจริงๆ

ได้เวลาลุยสนามสอบแรกแล้ว แกทแพท....

----------------

ปล. ไม่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับตัวเองมานานมากแล้ว เขียนไปก็เขินไปค่ะ ฮา
จริง ๆ คือแต่งไว้ให้ตัวเองด้วย คาดว่าจะเก็บไว้อ่าน หากเรียนไปแล้วเกิดหมดไฟค่ะ
น่าจะทำให้พอฮึดได้บ้าง 55555555555
เดี๋ยวพรุ่งนี้มาต่อค่า ขอบคุณทุกคนที่หลงเข้ามาอ่าน ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ฮี่ :)

ขอขอบคุณประสบากรณ์ดีดีจาก  http://little-frog.exteen.com/20130419/entry