วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

คะแนนสูง-ต่ำ’โอเน็ต-GAT-PAT’ คณิต-อังกฤษได้ไม่ถึง20นับแสน

 สทศ.แถลงรายละเอียดผลคะแนนต่ำสุด-สูงสุด สอบโอเน็ต-GAT-PAT ให้นักเรียน ม.6 ใช้คำนวณ-วิเคราะห์เลือกคณะ/สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยก่อนสมัครแอดมิสชั่นส์ ปี 2554 เผย'คณิตโอเน็ต'สอบได้ไม่เกิน 10 คะแนนถึงกว่า 1.6 แสนคน ภาษาอังกฤษ ได้แค่ 10-20 คะแนน ร่วม 2 แสนคนในขณะที่วิทย์ได้สูงสุด 90-100 คะแนน แค่ 5 คน   
          เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. แถลงผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ประจำปีการศึกษา
          2553 ทั้งแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ของนักเรียนระดับชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 และผลการสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ครั้งที่ 1/2554 สอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ว่า ผลสอบโอเน็ตชั้น ม.6 สทศ.ได้ประกาศผลทางเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมาส่วนผลสอบ GAT และ PAT เพิ่งประกาศไปเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 6 เมษายน เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.6 มีเวลาคำนวณคะแนนล่วงหน้าในการเลือกคณะ/สาขาวิชา และมหาวิทยาลัย
          ก่อนนำไปใช้สมัครรับคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ ประจำปีการศึกษา2554
          ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า สำหรับผลสอบโอเน็ตชั้น ป.6 เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พบว่าวิชาหลัก คือ ภาษาไทย อังกฤษ และคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำลงเรื่อยๆ โดยทั้ง 3 ปี แต่ละวิชาได้ไม่ถึง 50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ส่วนผลสอบโอเน็ตชั้น ม.3 เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พบว่าวิชาหลักได้คะแนนต่ำโดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ต่ำลงเรื่อยๆ และทั้ง 3 ปี มีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50%
          ในขณะที่ผลสอบโอเน็ตชั้น ม.6 เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พบว่าต่ำลงเช่นกัน โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
          นายสัมพันธ์กล่าวว่า ช่วงคะแนนสอบโอเน็ตชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2553 นี้ ซึ่งมีนักเรียนเข้าสอบแต่ละวิชาในจำนวน 8 วิชา ประมาณ350,000 คน วิชาภาษาไทย มีช่วงคะแนนต่ำสุด0.01-10.00 จำนวน 77 คน สูงสุด 90.01-100.00 จำนวน 2 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน30.01-40.00 จำนวน 92,100 คน, วิชาสังคมศึกษา ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนนจำนวน 21 คน สูงสุด 80.01-90.00 คะแนน 52 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 40.01-50.00 จำนวน17,252 คน, วิชาภาษาอังกฤษ ช่วงคะแนนต่ำสุด0 คะแนน 21 คน สูงสุด 90.01-100.00 คะแนน148 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 10.01-20.00 จำนวน 206,611 คน, วิชาคณิตศาสตร์ ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน 1,274 คน สูงสุด90.01-100.00 คะแนน 1,056 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 00.01-10.00 จำนวน 164,372 คน, วิชาวิทยาศาสตร์ ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน 3 คนสูงสุด 90.01-100.00 คะแนน 5 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 20.01-30.00 จำนวน 183,055 คน,วิชาสุขศึกษาฯ ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน 4 คน สูงสุด 90.01-100.00 คะแนน 5 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-70.00 จำนวน 153,151 คน, วิชาศิลปะ ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน 9 คน สูงสุด 60.01-70.00 คะแนน 64 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 30.01-40.00 จำนวน 156,763 คน, วิชาการงานอาชีพฯ ช่วงคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน 60 คน สูงสุด 80.01-90.00 คะแนน 7 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 40.01-50.00 จำนวน114,228 คน
          นายสัมพันธ์กล่าวอีกว่า จากช่วงคะแนนดังกล่าวพบว่ามีนักเรียนได้ 0 คะแนน ในวิชาคณิตศาสตร์สูงถึง 1,274 คน ส่วนนักเรียน ม.6 ที่สอบได้คะแนนสูงสุดในแต่ละวิชามีดังนี้วิชาภาษาไทย คะแนนสูงสุด 92 คะแนน จำนวน1 คน, สังคมฯ สูงสุด 87 คะแนน 1 คน, ภาษาอังกฤษ สูงสุด 100 คะแนน 1 คน, คณิตศาสตร์สูงสุด 100 คะแนน 92 คน, วิทยาศาสตร์ สูงสุด92 คะแนน 1 คน, สุขศึกษาฯ สูงสุด 92.50 คะแนน 5 คน, ศิลปะ สูงสุด 67 คะแนน 2 คน,การงานอาชีพฯ สูงสุด 82 คะแนน 4 คน
          ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ส่วนผลสอบGAT/PAT ครั้งที่ 1/2554 สอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีช่วงคะแนนสอบของแต่ละวิชาจากคะแนนเต็ม 300 คะแนน ดังนี้ GAT เข้าสอบ 95,767 คน ได้ 0 คะแนน 9 คน คะแนนสูงสุด 270.01-300.00 จำนวน 415 คน ส่วนใหญ่ทำได้ 180.01-210.00 คะแนน 25,899 คน, GAT ตอน 1 เข้าสอบ 95,767 คน ได้ 0 คะแนน 493 คน คะแนนสูงสุด 120.01-150.00 จำนวน 55,983 คนซึ่งเป็นช่วงคะแนนที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ด้วย, GAT ตอน 2 เข้าสอบ 95,767 คน ได้ 0 คะแนน 11 คน คะแนนสูงสุด 120.01-150.00 จำนวน 589 คน ส่วนใหญ่ทำได้ 30.01-60.00 คะแนน59,087 คน
          PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เข้าสอบ53,809 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน313 คน สูงสุด 270.01-300.00 จำนวน 1 คนส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน26,109 คน, PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์เข้าสอบ 57,979 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 4 คน สูงสุด 210.01-240.00 คะแนน 6 คน ส่วนใหญ่ทำได้ 60.01-90.00 คะแนน22,566 คน, PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เข้าสอบ 13,877 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 22 คน สูงสุด240.01-270.00 คะแนน 22 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน 4,797 คน, PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เข้าสอบ4,151 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 1 คน สูงสุด 240.01-270.00 คะแนน 53 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 150.01-180.00 จำนวน 1,395 คน, PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู เข้าสอบ26,971 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 1 คน สูงสุด 210.01-240.00 คะแนน 21 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 120.01-150.00 จำนวน 12,246 คน, PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ เข้าสอบ 4,362 คน คะแนนต่ำสุด 30.01-60.00 จำนวน 7 คน สูงสุด 180.01-210.00 คะแนน 1 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 90.01-120.00 จำนวน2,480 คน
          PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส เข้าสอบ 2,186 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 1 คน สูงสุด 240.01-270.00 คะแนน 3 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน1,210 คน, PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมันเข้าสอบ 790 คน คะแนนต่ำสุด 30.01-60.00 จำนวน 54 คน สูงสุด 240.01-270.00 คะแนน8 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน456 คน, PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น เข้าสอบ 1,764 คน คะแนนต่ำสุด 0.01-30.00 จำนวน 1 คน สูงสุด 270.01-300.00 คะแนน 1 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน849 คน, PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน เข้าสอบ 2,401 คน คะแนนต่ำสุด 30.01-60.00 จำนวน 179 คน สูงสุด 270.01-300.00 คะแนน1 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน1,290 คน, PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับเข้าสอบ 137 คน คะแนนต่ำสุด 30.01-60.00 จำนวน 9 คน สูงสุด 210.01-240.00 คะแนน 3 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 60.01-90.00 จำนวน81 คน, PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี เข้าสอบ 363 คน คะแนนต่ำสุด 30.01-60.00 จำนวน 7 คน สูงสุด 150.01-180.00 คะแนน 7 คน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 90.01-120.00 จำนวน183 คน
          ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการสอบเดือนตุลาคม 2553 พบว่าส่วนใหญ่ช่วงชั้นทำคะแนนมากที่สุดจะอยู่ในช่วงชั้นเดียวกับการสอบครั้งนี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า การสอบ GAT ทั้งตอน 1 และตอน 2 คะแนนเต็ม300 ไม่มีผู้ทำคะแนนได้เต็มเลย ขณะเดียวกันGAT ตอน 1 ซึ่งเป็นข้อสอบคิดวิเคราะห์ มีผู้ได้ 0 คะแนน มากถึง 493 คน อย่างไรก็ตาม จะเปิดให้นักเรียนยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบGAT/PAT เดือนมีนาคม 2554 ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายนนี้ และเปิดให้ตรวจกระดาษคำตอบในวันที่ 22-23 เมษายน ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีนักเรียนร้องเรียนเรื่องเฉลยข้อสอบผิด เพราะสทศ.ได้มอบให้คณะกรรมการออกข้อสอบได้ทบทวนข้อสอบและเฉลยคำตอบอีกครั้งแล้ว ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด
          ส่วนผลสรุปการสอบโอเน็ตทั้งชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 เมื่อเทียบคะแนนทั้ง 3 ระดับ พบว่าส่วนใหญ่จะมีปัญหาในวิชาหลัก โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ที่โรงเรียนจะต้องเร่งปรับปรุง เพราะโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งในตัวบ่งชี้ความสำเร็จของนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งตั้งเป้าหมายว่า ในปี พ.ศ.2561 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า คะแนนโอเน็ต 5 วิชาหลักประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยนักเรียนทั่วประเทศ 50% ขึ้นไป ดังนั้น ทุกโรงเรียนต้องนำผลคะแนนสอบโอเน็ตไปวางเป้าหมายว่า จะทำอย่างไรให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กขยับขึ้น นอกจากนี้ อยากให้นักเรียนชั้นม.3 และ ม.6 นำผลสอบโอเน็ตไปประเมินตนเองเพื่อเลือกเรียนสาขาวิชาที่เหมาะสมด้วยผู้อำนวยการ สทศ.กล่าว
          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

เด็กแอดฯ 55 เหนื่อย !! รับตรงกลางสอบเพิ่ม 7 วิชา

จากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อวันที่ 23 เม..ที่ผ่านมา ทปอ.ได้สรุปว่า ระบบรับตรงในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จะมีการสอบเพิ่มอีก วิชา คือ  เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยจะจัดสอบในช่วงต้นเดือนมกราคม 2555 และมอบให้ สทศ.เป็นผู้ดูแลการจัดสอบค่ะ

         หลังจากสอบแล้วจะใช้เวลาประมวลผลไม่เกิน สัปดาห์ นั่นหมายความว่าน้องๆ ก็จะสามารถรู้ผลคะแนนสอบรับตรงได้เร็ว คือ ไม่เกินวันที่ 10 ..55  สรุปรวมแล้วน้องๆ เด็กแอดฯ 55 หรือ นักเรียนม.6 ปี54 ก็จะมีผลสอบ ชุดด้วยกัน คือ คะแนน GAT/PAT ที่สอบในเดือนตุลาคม54 และผลการสอบตรง ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนสามารถนำผลสอบทั้ง 2 ครั้งไปใช้คัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ ได้


         เห็นกำหนดการสอบที่มีแต่เพิ่มขึ้นแบบนี้แล้วก็แอบมึนเหมือนกันแฮะ ดังนั้นพี่มิ้นท์ก็เลยจะสรุปเป็นตารางการสอบแบบคร่าวๆมาให้น้องๆ ได้ดูกัน จะได้จัดระเบียบชีวิตตัวเองได้ดีขึ้น^^

เด็กดีดอทคอม :: เด็กแอดฯ 55 เหนื่อย !! รับตรงกลางสอบเพิ่ม 7 วิชา

        
        จากตารางที่พี่มิ้นท์สรุปมาให้ดู น้องๆ จะต้องสอบทั้งหมด ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกก็คือ GAT/PAT ครั้งที่1 ที่จะเริ่มในเดือนตุลาคม54 นี้แล้ว ส่วนที่เหลือก็จะโยนไปสอบกันในต้นปีหน้าทั้งสอบรับตรง O-NET และGAT/PAT ครั้งที่2 เพราะฉะนั้นน้องๆ เองต้องแบ่งเวลาอ่านหนังสือให้ดีนะคะ เริ่มอ่านตั้งแต่ตอนนี้ยิ่งดีเลย ไม่ยังงั้นจะไปเครียดเอาตอนต้นปีแน่นอน!!




credit:Dekd

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

รวมสิ่งที่ควรรู้ ข้อสงสัย และเทคนิคในการคัดเลือก ADMISSIONS 2554 อ่านแล้วสมหวังถ้วนหน้า



  
 

I. สิ่งที่ควรรู้

1. 
คะแนน GAT & PAT มีอายุ 2 ปี สำหรับระบบแอดมิชชั่นส์ 2554 จะใช้เลือกคะแนน GAT & PAT ได้ตั้งแต่รอบกรกฎาคม 2552 จนถึงรอบมีนาคม 2554 รวม 6 ครั้ง โดยระบบจะเลือกรอบที่คะแนนดีที่สุดในแต่ละวิชา (แยกพิจารณารายวิชาได้นะครับ เช่น GAT สูงสุดในรอบมีนาคม 2554 PAT5 สูงสุดในรอบกรกฎาคม 2552 เป็นต้น)

2.
 คะแนนโอเน็ตใช้ 30% รหัส 01-05 วิชาละ 5% ส่วนรหัส 06-08 ต้องนำมาบวกกันแล้วหาร 3 เป็นอีก 5%

3. บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำ ถ้าเป็นโอเน็ตให้ดูเป็นรายวิชา ไม่ใช่คะแนนเฉลี่ยทุกวิชา โดยน้องมีสิทธิ์ได้ แต่ระบบประมวลผลให้เฉพาะผู้ที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้าน้องจะยื่นคณะที่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่น้องมีบางวิชาที่คะแนนไม่ถึงขั้นต่ำ ก็ถือว่า
เลือกเสียอันดับฟรีๆ โดยคะแนนขั้นต่ำจะกำนหนดเป็น % ดังนั้นถ้าเป็นคะแนน GAT & PAT เปลี่ยนจาก % เป็น 300 คะแนนเต็มต้องคูณ 3 

4. น้องต้องมีองค์ประกอบทุกส่วนของคณะหรือสาขาวิชาที่น้องจะเลือก หากขาดวิชาใดวิชาหนึ่ง แม้ว่าคะแนนรวม 30
,000 คะแนนน้องจะถึงคะแนนต่ำสุดเมื่อประมวลผลมาแล้ว ก็ไม่ถูกตัดชื่อออกจากรหัสคณะนั้น เนื่องจากองค์ประกอบไม่ครบ ก็ถือว่าเลือกเสียอันดับฟรีๆ
5. อันดับคณะให้เลือกได้สูงสุด 4 อันดับ จะเลือก 1 อันดับก็ได้ 2 หรือ 3 อันดับก็ได้

6. หาก
อันดับสุดท้ายมีคนคะแนนเท่ากันหลายคน ถ้าเป็นคณะทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงคณะที่เน้นการปฏิบัติการจะไม่รับหมด เพราะมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ทางการศึกษาที่อาจไม่เพียงพอ แต่ทางเป็นคณะทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะรับมาทั้งหมด

7. 
แอดมิชชั่นส์จะประมวลผลคณะที่น้องเลือกแค่เพียง 1 คณะเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่าคะแนนน้องผ่านคณะไหนบ้างแล้วให้เลือก โดยคณะอันดับ 1 ที่น้องเลือกจะถูกประมวลผลก่อน และมีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกก่อน อันดับที่ 2 3 และ 4 ก็รองลงมา ดังนั้นการเลือกอันดับคณะควรเรียงจากคณะที่อยากเรียนมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1 แล้วรองๆ ลงมาถึงอันดับ 4 แต่ 4 อันดับคณะนั้นเราต้องชอบและถนัดหมดนะ

เพิ่มเติม

8. การเลือกคณะที่มีแบ่งเป็นพื้นฐานวิทย์ พื้นฐานศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เลือกที่ถนัดด้านวิทย์ กับด้านศิลป์ ได้คัดเลือกเข้ามาเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งไม่ได้ห้ามนะครับว่าจะต้องเลือกตามแผนการเรียนที่น้องเรียนมา น้องสายศิลป์เลือกสอบพื้นฐานวิทย์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนด น้องสายวิทย์ก็เลือกสอบพื้นฐานศิลป์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนดเช่นกัน

9. การสมัครคัดเลือกระบบแอดมิชชั่นส์ จะสมัครกี่รอบก็ได้ แต่ระบบจะยึดเอาการสมัครที่ชำระเงินครั้งล่าสุดไปใช้ประมวลผลครับ แสดงว่า น้องสมัครไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะชำระเงินหรือไม่ก็ตาม อยากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็สมัครใหม่ แล้วชำระเงิน ใครแก้บ่อยก็สมัครบ่อย จ่ายหลายรอบนะครับ แต่ระบบจะยึดเอาการชำระเงินครั้งล่าสุด

10. การสอบสัมภาษณ์เป็นเพียงการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ และวัดทัศนคติเบื้องต้น จะไม่มีการให้คะแนน เพื่อคัดออกแล้ว นอกจากที่จะแสดงกิริยาก้าวร้าว ไม่น่ารักมากๆ ส่วนแฟ้มสะสมงานไม่บังคับว่าต้องมีทุกคน เพราะไม่มีผลต่อการพิจารณาครับ ถ้ามีก็ดีตรงที่ถ้าอาจารย์กรรมการเปิดอ่านก็จะหาเรื่องคุยจากแฟ้มสะสมงานของเราได้ แต่ถ้าไม่มีเวลาเตรียมก็ไม่เสียหายอะไรครับ


II. วิธีการคำนวณคะแนนแอดมิชชั่นส์

ง่ายที่สุด น้องดาวน์โหลดโปรแกรมคำนวณคะแนนของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยจะสมบูรณที่สุดครับ กด 
Downlaod เลย http://www.cuas.or.th/document/ADM54SUMSCORE_RAR.rar หากน้องได้หนังสือระเบียบการสมัครมาแล้วก็ใช้ประกอบกัน สำหรับดูรหัสคณะ

III. การเตรียมตัวก่อนเลือกอันดับแอดมิชชั่นส์

การที่เราจะได้ศึกษาต่อในคณะที่ใช่ สาขาวิชาที่ชอบ แล้วมีอนาคตที่สดใสนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ข้อนี้ครับ

1. 
สำรวจตัวเอง ก่อนเลยว่า เราชอบเรียนทางด้านไหนมากที่สุด ถนัดอะไร ม.6 แล้วหนูต้องหาให้ได้นะ อย่าคิดเพียงว่า เรียนได้อยู่ละ หรือคิดเพียงว่าให้ติดจุฬาฯ เรื่องเรียนค่อยไปเริ่มต้นใหม่ เพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยถ้าเราชอบเรียน มีความมุ่งมั่น มีความฝัน แน่นอนหนักยังไงก็ทำได้ ทำอะไรในสิ่งที่ชอบมันย่อมสำเร็จเสมอ และอย่าลืมว่าสิ่งที่จะตัดสินใจเรียนไปอย่างน้อย 4 ปีเนี่ย มันเป็นอนาคตทั้งชีวิตของเราได้เลย  หากเลือกเรียนในสิ่งที่ไม่ได้ชอบจริงๆ มันอึดอัดนะ เช่น การเรียนครุศาสตร์ น้องต้องชอบในด้านการศึกษาและการสอน เนื่องจากเป็นคณะที่ภาระงานมาก และต้องมีความรับผิดชอบ หากน้องไม่ได้ชอบจริงๆ เมื่อมาเรียนก็จะรู้สึกอึดอัด เหนื่อย การเป็นครูไม่ใช่ว่าใครจะเป็นได้ครับ ต้องมีใจรักในวิชาชีพถึงจะเรียนและมีอนาคตที่มีความสุข ดังนั้นอยากให้น้องหาตัวเองให้เจอจริงๆ ก่อนตัดสินใจนะครับ

2.
 ศึกษาข้อมูล น้องๆ ลองค้นหาข้อมูลการศึกษาในคณะหรือสาขาวิชาที่น้องสนใจดู ง่ายที่สุดคือ เว็บไซต์สถาบันครับ หรือจะสอบถามในบอร์ดการศึกษาของเว็บเด็กดีก็ได้ เพื่อให้รู้แนวทางการศึกษาของคณะหรือสาขาวิชานั้นว่า เรียนอย่างไร มีหลักสูตรเป็นอย่างไร ดูรายวิชาที่เรียนว่าเป็นแบบที่เราสนใจหรือถนัดหรือไม่ บรรยากาศการเรียนดีหรือไม่ ขอบเขตการศึกษาเหมาะกับตัวเรามากน้อยเพียงใด เพื่อจะช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกคณะนะครับ
 
 
IV. หลักการเลือกอันดับแอดมิชชั่นส์

มาถึงเรื่องที่น่าปวดหัวที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจสมัครคัดเลือกแล้ว นั่นคือการเลือกคณะทั้ง 
อันดับ พี่มีคำแนะนำดังนี้นะครับ

1. คณะอันดับ 1 ให้จริงใจกับตนเองไว้ว่าใจเราสนใจเรียนทางด้านไหน คณะไหน สาขาวิชาไหน  เป็นความใฝ่ฝันจริงๆ เลือกไว้อันดับ 1 เลยครับ อย่าได้แคร์คะแนน คนอื่นจะคะแนนสูง รับจะน้อยเพียงใด ขอแค่เราเลือกเพื่อโอกาสอันมีค่าแม้จะน้อยนิดก็ตาม อันดับ เค้าให้เลือกตามความฝันของเราครับ อย่าทำตัวเป็นแม่หมอ หมอเดา ชอบดูถูกตัวเองว่าคะแนนน้อยอ่ะ ไม่ติดหรอก ไม่เลือกดีกว่า ถ้าคนคิดแบบนี้ 1,000 คน คะแนนจะที่คิดว่าสูงมันก็ตกลงได้นะ อะไรก็คาดเดาไม่ได้หรอก ปาฏิหาริย์มีเสมอในแอดมิชชั่นส์ "รู้ว่าเสียงแต่คงต้องขอลอง" ถ้าไม่เลือกเสี่ยงแล้วประกาศผลมา คะแนนเรากลับเข้าคณะนี้ได้ นอกจากเสียใจแล้วจะเสียดายนะ

2. 
คณะอันดับ 2 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่สนใจหรือชอบในระดับหนึ่งรองลงมาจากคณะอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสนใจ แนะนำว่าให้นำคะแนนของตนไปเทียบกับคะแนนต่ำสุดของแอดมิชชั่นส์ปี 2553 แค่ปีเดียว เพราะย้อนไปปี 2552 มันคนละองค์ประกอบ จำนวนรับก็แตกต่างจากระบบใหม่ อันดับ ควรเกิน 100-1,000 คะแนน

3. คณะอันดับ 3 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่พอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่อาจจะคะแนนรองลงมาจากคณะอันดับ 2 ก็ได้ โดยเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่คะแนนไม่สูงมาก อย่าเลือกที่สูงเกินไปในอันดับนี้เพราะจะเกิดความเสี่ยงมากขึ้น อันดับ 3 ควรเกิน 1,000-2,500 คะแนน

4. 
คณะอันดับ 4 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่เราพอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนไม่สูงแล้วเราสะดวกที่จะไปเรียน ควรเป็นคณะที่เรียนได้ มีความสนใจอยู่นะ ไม่ใช่เลือกไว้ให้อันดับมันเต็มนะ เลือกอะไรที่เรียนได้ แล้วคะแนนของเรามีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดชัวร์ๆ อันดับ 4 เกิน 2,500 คะแนนขึ้นไปยิ่งดี จะได้ปลอดภัยมากขึ้น และอย่าลืมว่าหากอันดับ 1 และ 2 หลุดเราต้องเรียนคณะที่เลือกอันดับนี้นะ ต้องคิดให้ดีนะครับ และอย่าหวังสูงมากเกินไปนะ เลือกให้เราติดชัวร์ หากเลือกสูงเกิน แล้วพลาดหลุด อันดับ มันเศร้ายิ่งกว่าไม่จบ ม.อีกนะ แนะนำให้น้องพิจารณาดีๆ

คำถามต้องห้าม
1. หนูจะติดมั้ยคะ คิดซะว่าเราต้องติดสิ คำถามนี้ไม่มีใครตอบได้หรอกครับ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการคัดเลือกเอง เค้าจะรู้ก็ต่อเมื่อประมวลผลแล้ว
2. คะแนนหนูได้เท่านี้มีความหวังมั้ยคะ เอ๋า ถ้าเราตัดสินใจเสี่ยงเราต้องหวังเป็นธรรมดาครับ เรามีความสุขได้เพราะเราสมหวัง แต่กว่าจะสมหวังได้เราก็ต้องผ่านความทุกข์เพราะความหวัง จุดเริ่มต้นของความสมหวังอยู่ที่ว่าเรากล้าที่จะ เสี่ยง หรือไม่
3. คิดว่าแนวโน้มปีนี้คะแนนจะสูงขึ้นหรือต่ำลง มันตอบยากนะครับ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างมากที่จะทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกของน้องๆ ที่ไม่มีใครทราบก่อนการประมวลผลว่า คนเลือกมากน้อยเพียงใด ได้คะแนนเท่าไหร่บ้าง

V. ปัจจัยที่ทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง

1. 
คะแนนเฉลี่ยโอเน็ต และ GAT & PAT ที่อาจจะเฟ้อขึ้น โดยเฉพาะ GAT รอบล่าสุดมีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 172 คะแนน แต่ถ้าย้อนไปดูเด็กแอดมิชชั่นส์ 2553 รอบที่คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เป็นรอบมีนาคม 2553 แค่ 131 คะแนน ต่างกันเยอะมาก

2. 
กระแสนิยมในปีนั้นๆ มีผลมากเหมือนกันว่าคนจะไปเลือกอะไร เช่น ระยะนี้คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ บูมขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้น

3. 
คะแนนต่ำสุดของปีก่อนหน้านั้น อันนี้มีผลทางจิตวิทยามากเลยล่ะ โดยเฉพาะคณะที่คะแนนต่ำสุดเวอร์ๆ ของสถาบันชื่อดัง เช่น คณะนิติศาสตร์ เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น คณะที่คะแนนต่ำสุดน้อยๆ แบบนี้ คนที่อยากเรียนจุฬาฯ มักจะแห่ไปเลือก ระวังให้มากเลย

4. 
จำนวนรับที่เปลี่ยนแปลง น้องๆ ไม่ใช่แค่เอาคะแนนต่ำสุดไปเทียบอย่างเดียวนะ น้องต้องตรวจสอบดูว่าจำนวนรับเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่ เช่น คณะครุศาสตร์ รูปแบบรับรวม จุฬาฯ ปีที่แล้วรับ 360 คน ปีนี้ลดเหลือ 245 คน ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้นได้

5. 
เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่เปลี่ยน บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำขึ้นมาในปีนี้ หรืออาจจะยกเลิกไปในปีนี้ ให้น้องตรวจสอบดูก่อน เพราะอาจมีผลต่อคะแนนต่ำสุดด้วย


VI. คณะที่ใช่กับมหาวิทยาลัยที่ชอบ

คนที่ 1

อันดับ 1 รัฐศาสตร์ 
IR จุฬาฯ
อันดับ 2 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 3 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 4 จิตวิทยา จุฬาฯ

คนที่ 2
อันดับ 1 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 2 นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
อันดับ 3 สังคมศาสตร์ (นิติศาสตร์) ม.เกษตร
 
อันดับ 4 นิติศาสตร์ มช.

น้องคิดว่าคนไหนจะเรียนในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบในอนาคต อย่างคนที่ 1 ตกลงเค้าสนใจด้านไหน อยากเรียนด้านไหนเหรอ หรือขอให้ได้เป็นนิสิตจุฬาฯ พี่อยากจะบอกว่า อย่าได้เลือกเพราะอยากอยู่สถาบันดังๆ เพราะน้องจะดีใจ ภูมิใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ติดเท่านั้น แต่พอเรียนไปๆ น้องจะเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมมันยาก ทำไมคนอื่นเค้าเรียนแล้วมีความสุข คนอื่นเรียนแล้วเรียนดีกว่าเรา ก็เพราะเค้าได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบและเป็นความถนัดของเค้าครับ น้องจะได้แต่ดูคนอื่นเค้าเรียนอย่างมีความสุข แต่น้องก็ทุกข์ไปวันๆ คิดไม่ต้องว่าเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัด จบไปก็ได้ทำงานที่ไม่ได้ชอบจริงๆ

อนาคตที่ดีและมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันครับ แต่ขึ้นอยู่กับใจว่าเราได้หาในสิ่งที่ชอบให้กับตัวเองหรือไม่ อย่างถ้าน้องคนที่ 1 เค้าได้อันดับ 3 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์ กับคนที่ 2 เค้าได้อันดับที่ 4 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์เหมือนกัน คนที่ 2 จะมีความสุขกับหน้าที่การงานมากกว่า ทำงานอย่างมีความสุข ผลงานออกมาดี มีความก้าวหน้ามากกว่า คนที่ 1 ก็ทำงานด้วยความจำทน เพราะจบมาแล้ว ก็ต้องทำในสายที่จบมา หรือไม่ก็ฉีกแนวไปเลย

เด็กจุฬาฯ ไม่ว่าจะคณะไหน คณะดังๆ ก็มีเด็กซิ่วไม่น้อย ก็เพราะเค้าเป็นคนที่ 1 ที่เลือกเข้าจุฬาฯ มาเพราะใช้สถาบันตอบสนองคุณค่าทางจิตใจ แต่ 1 ปีที่ผ่านไปตัวเองกลับรู้สึกสุขไม่จริง เรียนไปวันๆ ก็ไร้ทิศทางและแรงบันดาลใจ เพราะไม่ได้ชอบด้านนี้จริงๆ หลังๆ เริ่มเรียนไม่เต็มที่เพราะเตรียมตัวซิ่วไปด้วย ซิ่วได้ก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ซิ่วไม่ได้ตามที่หวังก็ต้องกลับมารับความจริงที่อยู่ข้างหลังอีกครั้ง ดังนั้นโอกาสแรกของเราครั้งนี้ คิดให้ดีดีกว่านะครับ

สรุปจะเห็นว่า การจะมีความสุขหรือประสบความสำเร็จในอนาคต สถาบันไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเท่าใจเรา คนไม่จบปริญญาตรีจุฬาฯ ก็ประสบความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้ไม่ต่างกัน อยากจะเตือนน้องๆ ที่กำลังเหมือนคนที่ 1 ว่า น้องคิดดีหรือยังที่จะให้ความสำคัญกับสถาบันโดยไม่ได้คิดถึงความชอบที่มากที่สุดของตัวเอง เพราะน้องจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ไม่มีความสุขอย่างแท้จริง จุฬาฯ อยู่แล้วจะไม่มีความสุขถ้าไม่ได้เรียนในคณะที่ถนัดจริงๆ แต่สถาบันอื่นๆ แม้ว่าชื่อเสียงไม่ดัง แต่ก็มีเอกลักษณ์ มีความน่าอยู่ในแบบฉบับของสถาบันนั้นๆ ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ เราจะปรับตัวแล้วใช้ชีวิตในสถาบันอย่างมีความสุขได้เองครับ

ลองไปคิดดีๆ นะครับ 


VII. วิธีการประมวลผลคะแนนแอดมิชชั่นส์

น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า 4 อันดับที่เลือกไปแล้วเค้าประมวลผลอย่างไร ทำไมคะแนนติดกันแต่เราเลือกอันดับ 1 ไม่ติด คนเลือกอันดับ 2 ติดซะงั้น วิธีเป็นเช่นนี้ครับ

1. ระบบจะจัดเรียงคะแนนผู้สมัครที่เลือกอันดับ 1 ของทุกรหัสคณะเป็น 
list ให้ครบตามจำนวนรับของรหัสคณะนั้นเป็นขั้นตอนแรก เช่น รหัส 0036 รับ 245 คน ก็เรียงอันดับ 245 คนแรกที่เลือกรหัสนี้เป็นคณะอันดับ 1 ดังนั้นก็จะมีคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอันดับตามจำนวนรับ

ที่นี้ล่ะครับ มันจะเกิดเหตุการณ์แทรกอันดับ แล้วดันคนตกอันดับลงมาเรื่อยๆ

2. ระบบจะนำคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอับดับตามจำนวนรับของทุกรหัสคณะ มาพิจารณาอันดับ 2 ก็จะดูว่าคะแนนคณะอันดับ 2 มากกว่าต่ำสุดของคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ของรหัสคณะนั้นหรือไม่ ถ้าเกินก็จะเอารายชื่อไปแทรก 
list ดังนั้นมีคนตกอันดับ 1 แล้วยิ่งมาแทรกมาก คนที่เลือกอันดับ 1 แล้วมีอันดับอยู่ท้าย list ในขั้นตอนที่ 1 ก็ถูกคนกลุ่มอันดับ 2 ที่ไม่ติดอันดับ 1 มาแทรกอันดับบนใน list จนตก list ไปในที่สุด ระบบจะพิจารณาเรื่อยๆ จนคณะประมวลคณะอันดับที่ 2 ของคนที่ไม่อยู่ใน list ขั้นตอนที่ 1 และคนที่ถูกแทรกในขั้นตอนที่ 2 เบียดตกลงมาพิจารณาคณะอันดับที่ 2 ใหม่อีก

3. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 3 ของคนที่ถูกเบียดตก 
list ขั้นตอนที่ 2 หรือไม่เคยอยู่ใน list ทั้ง 2 ขั้นตอน โดยจับแทรกอันดับใน list อีก ก็จะมีคนที่ตก list มาอีก

4. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 4 ครั้งสุดท้ายครับ อันดับ 4 ถ้าถูกเบียดตก หรือไม่ได้รับการพิจารณาก็พลาดการคัดเลือกในที่สุด

ดังนั้นถ้าชื่อน้องอยู่ใน 
list ขั้นตอนที่ 1 คือเลือกคณะอันดับ 1 แล้วอยู่อันดับบนๆ คะแนนสูงมาก เช่น นิติศาสตร์ ได้ 25,000 ต่อให้ผ่าน 4 ขั้นตอน จะถูกคนอื่นแทรกยังไงก็ไม่ตก list แน่นอน กลายเป็นเทวดา นางฟ้า บน list อยู่วันยังค่ำ

แต่ถ้าเราอยู่ท้ายๆ 
list ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ก็จงภาวนาว่าอย่าให้คนอื่นมาเบียดจนตก list ไป

สรุป คือ 
คะแนนสำคัญกว่าอันดับคณะ แม้ว่าเราจะเลือกคณะนี้อันดับ 1 ถ้าคะแนนเราน้อยกว่าอีกคนที่เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 2 ถ้าเค้าไม่ถูกจัดใน list ขั้นตอนแรก คือ คณะอันดับ 1 ที่เค้าเลือกคะแนนไม่ถึง เค้าจะมีมาแทรกอันดับบนใน list ที่เราอยู่ อันดับเราก็ตกลงมา และมีโอกาสติดสูงกว่าเรานะ 


VIII. วันประกาศผล

ประกาศก่อนทุกปีครับ ก่อนวันประกาศผลทางการที่แจ้งวัน 4-5 วันเลย วันประกาศผลยอดฮิต คือ 4-7 พฤษภาคม ต้นเดือนพฤษภาคมเมื่อไหร่ น้องๆ เกาะติดหน้าจอคอมพิวเตอร์รอฟังข่าวได้เลย แต่ก็อย่าลืมพักผ่อน ไม่กดดันตัวเอง อย่าไปกังวลมาก คนจะติดอันดับ 1 อะไรก็ฉุกไม่อยู่นะ


IX. เทคนิคการสัมภาษณ์

"
มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์" เป็นคำที่น้องๆ ทุกคนอยากเห็นเมื่อประกาศผลมากที่สุด เมื่อวันสอบสัมภาษณ์มาถึงเราควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้นะครับ
1. แต่งกายด้วยชุดนักเรียนที่ดูเรียบร้อย น่ารัก เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน
2. ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะผม เล็บ อย่ามาแบบเหงื่อโชกนะครับ
3. เดินทางมาที่สถานที่สอบสัมภาษณ์ก่อนเวลาสัก 15-30 นาที
 เพื่อทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย และสำรวจสถานที่ต่างๆ 
4. เตรียมเอกสารให้ครบ อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องนะครับ
5. สิ่งแรกที่เจออาจารย์กรรมการ อย่าลืมมารยาทอันดีงาม "การไหว้"
6. ทำตัวเป็นนางงามเข้าไว้นะครับ "ยิ้ม พูดเพราะ แอ๊บน่ารักไว้แต่พองาม"
7. ตอบคำถามที่เป็นตัวเอง ซื่อสัตย์ ไม่สร้างภาพ และสำรวม
8. ก่อนกลับก็อย่าลืมลาด้วย "สวัสดีครับ/ค่ะ" หากน้องมีอะไรสงสัยประการใดถามอาจารย์กรรมการได้เลยนะครับ แต่อย่ายาวนะ สั้นๆ พอ
คำถามที่มักจะพบเจอในการสอบสัมภาษณ์
- แนะนำตัวเอง
- ข้อมูลการศึกษา
 
- สิ่งที่สนใจ
- สภาพครอบครัว รายได้ ความจำเป็นต่างๆ
- แสดงเหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อในคณะนี้
- ทำไมถึงอยากเรียนคณะนี้
- ทำไมถึงต้องเรียนที่นี่
- หากไม่ได้เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 1 ก็จะถามว่าทำไมถึงอยากเรียนในคณะอันดับ 1 แล้วจะเรียนคณะที่ติดได้ไหม
- หากอยู่ต่างจังหวัดก็อาจจะถูกถามว่า ทำไมไม่เรียนสถาบันใกล้บ้าน
- ตั้งโจทย์ตุ๊กตาถามทรรศนะตามบริบทของแต่ละสาขาวิชา เช่น ภาษาฝรั่งเศสก็อาจจะให้แสดงความคิดเห็นเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือสังคมศึกษาก็ให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
- คำถามท้าทาย กดดัน หรือกวนประสาท ยั่วโมโห
 เช่น มันหนักนะ ต้องเจอสิ่งนี้นะ จะไหวเหรอ
- การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง
ทั้งนี้ การสอบสัมภาษณ์ในระบบแอดมิชชั่นส์จะไม่มีการคัดออก ตอบได้เป็นพอ ไม่ต้องเครียดว่าให้ดีเลิศ ตราตรึงใจอาจารย์กรรมการ พยายามทำเหมือนว่าเค้าชวนเราคุย เราก็คุยด้วยอาการปกติ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษากึ่งสนทนา เหมือนเราคุยกับผู้ใหญ่




อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2121497#ixzz1KWWAUVZd

ปฏิทินแอดมิชชั่น และรับตรงปี 55

ปฏิทินแอดมิชชั่น และรับ
   
   ตรงปี 55 (แบบคร่าวๆ)
   
   - ต.ค.54 - สอบ GAT PAT
   
   ครั้งที่ 1 (แอดมิชชั่นกลาง)
   
   - ม.ค.55 - สอบ 7 วิชารับตรง
   
   (รับตรงกลาง)
   
   ...
 - ก.พ.55 - สอบ O-NET
   
   (แอดมิชชั่นกลาง)
   
   - มี.ค.55 - ประกาศผลรับตรง
   
   กลาง
   
   - มี.ค.55 - สอบ GAT PAT
   
   ครั้งที่ 2 (แอดมิชชั่นกลาง)
   
   - เม.ย.55 - ยื่นคะแนนแอดมิ
   
   ชชั่นกลาง
   
   - พ.ค.55 - ประกาศผลแอดมิ
   
   ชชั่นกลาง

นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น

มัธยมศึกษาปี่ที่5และ6 เตรียม

ตัวอ่านหนังสือเยอะๆ

เพราะผลสอบนี้จะเป็นคะแนน

ในการคัดเลือกนักเรียนเข้า

ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

นะครับ สู้ๆนะทุกคน

 Credit: www.Dekd.com

2012 หายนะของโลก กับแอดมิชชั่นปี 55

อันที่จริงมันแทบไม่เกี่ยวกันเลยนะผมว่า 555 แล้วมันกอาจไม่เกี่ยวกับบอร์ด แกทแพท แอดมิชชั่นใดๆ แต่มันเป็นเรื่องที่ผมแต่งขึ้นมา ส่วนนึงเพราะชอบคิดแบบนี้ เชื่อว่า ถ้าหลายคนได้อ่านแล้วน่าจะมีกำลังใจขึ้น ถ้าว่างก็ลองอ่านดูนะครับ
แด่...ผู้ที่กำลังเครียด และหมดหวังกับแอดมิชชั่นปีนี้ แด่ผู้ซิ่วไม่ติดปีนี้ และแด่ผู้ที่จะซิ่วปีหน้า
....
 
จ๋อม จ๋อม
ชายคนหนึ่งที่สวมเสื้อกันฝนสีเขียวกำลังวิ่งผ่านถนนปูนที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำสีขุ่นข้น
ซึ่งตอนนี้น้ำสูงขึ้นจนจะถึงเข่าแล้ว เขารีบวิ่งลุยน้ำมาที่ร้าน อินเตอร์เน็ตคาเฟ่แห่งหนึ่ง มันอยู่ไม่ไกลจากบ้านเขานัก และมันก็ดูเหมือนเป็นที่พักพิงที่สุดท้ายของเขาด้วย
ถึงแม้ว่าร้านนี้จะสร้างมาหลายปี จนสีผนังเริ่มลอกแล้วแต่มันก็ยังคงดูสวยและน่าใช้บริการเหมือนอย่างเคย ในร้านมีคนบางตา ต่างจากที่ผ่านๆมา
ใช่สิ นี่ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมเลยที่จะมานั่งเล่นอินเตอร์เน็ต บางคนกำลังร้องไห้ บางคนก็หน้าซีดเผือด จนเขาแอบสังเกตไม่ได้ว่า ทุกคนกำลัง สนทนากับคนที่รักอยู่ผ่านโลกไซเบอร์ที่กำลังจะสลายในอีกไม่ช้า
เปรี้ยง!” ฟ้าข้างนอกที่มืดครึ้ม และอัสนีฟาดลงมาดังสนั่นอีกครั้ง
โต๊ะที่ 4 ครับภุชชงค์ถอดฮู้ทเสื้อกันฝนออกแล้วพูดกับพนักงาน
แต่พนักงานไม่เดินมาปลดล็อคเครื่องให้ เขานั่งตัวสั่นอยู่กับผู้หญิงและเด็ก 2คน 
ช..เชิญเลยครับ ร..เราคงไม่มีโอกาส อ.อะไรอีกแล้วพนักงานตะโกนข้ามห้องมา เสียงสะอื้นดังลั่น
ภุชชงค์เดินไปปลดล็อคเครื่องด้วยตัวเอง เขาเดินมานั่งโต๊ะคอมที่อยู่กลางห้อง เขาเองก็มีจิตใจที่ไม่ต่างจากคนอื่น สิ้นหวัง ท้อแท้ เศร้า ตกใจ และโดดเดี่ยว เขาคิดถึงทุกคนเหลือเกิน คิดถึงช่วงเวลาที่ผ่านมาทุกๆอย่าง ทุกเสียงหัวเราะ ทุกหยดน้ำตาที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา
ภุชชงค์เป็นเด็กวัยรุ่นผิวขาว ใบหน้าแหลม เขาใส่แว่นตาตกยุค ผมยาวหยิกถึงปลายติ่งหู เขาเป็นคนอารมณ์ดี ใช้ชีวิตเรียบง่าย แต่ตอนนี้ก็คงไม่ใช่เลย
เสียงผู้ประกาศข่าวจากโทรทัศน์ ดังลั่นออกมาก่อนที่ภุชชงค์จะได้จับเม้าส์เสียอีก
ขณะนี้น้ำได้ไหลท่วมสูงอย่างต่อเนือง ระดับน้ำสูงขึ้น 1 เซนติเมตรต่อนาที คลื่นสึนามิสูง 12 เมตรที่พัดมาจากทิศใต้ได้เข้ามาผ่านบางรัก ดินแดง และคาดว่าอีก10 นาทีกระแสน้ำจะพัดไปทางแจ้งวัฒนะแน่นอน บุคคลในพื้นที่โปรดเตรียมตัวให้พร้อม...
ใช่แล้วนี่คือ วันสุดท้ายของ 2012 วันสิ้นโลกนั่นเอง ใครๆก็รู้ว่าวันนี้ต้องมาถึง และในขณะที่เราหลีกเลี่ยงอะไรไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น พวกเขาไม่หลบหนีหากแต่ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว
ทำในสิ่งต้องการ ในเวลาสั้นๆ ภุชชงค์ก็เช่นกัน
เขากดแป้นพิมพ์ www.cuas.or.th วงกลมที่บาร์เริ่มหมุน วันนี้มันหมุนนานเกินไป...แล้วขึ้น error
บ้าจริงเขาคิด สงสัยตอนนี้ระบบคงล่มไปแล้ว ก็คงเหมือนทุกครั้งที่เขาเข้าดูคะแนน แกทแพทของตัวเอง
ภุชชงค์หันซ้ายหันขวา เด็กคนข้างๆกำลัง คุยกะแฟนในวาระสุดท้ายของชีวิต
ภุชชงค์ กดรีเฟรชอยู่หลายครั้งแต่ไม่เป็นผล
ผ่านไปหลายนาที
เขาก็สะดุ้งขึ้นมาเหมือนผีเข้า
สร้างความตกใจให้กับโต๊ะข้างๆ
เขาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา
โทรศัพท์สั่นนี่เอง อะตอมโทรเข้า
ฮ..ฮัลโหลลลลลล
อะตอมคือเพื่อนสนิทที่สุดของเขา เขาดีใจที่อะตอมโทรมา เสียงอะตอมสั่นมาก
ปกติเขาก็เป็นคนที่พูดเร็วจนฟังแทบไม่ออกแล้ว  ชชช..ชี่ชั้นกำลังจะตายแล้ว....ตอนนี้ชั้นอยู่ ท.ทที่ ถนนแจ้งวัฒนะกับที่บ้านนน ชั้นรักแกนะ ฮือๆ และเราจ..เจอกันอีกเมื่อเราต้องการ ลาก่อนนะ ชั้นจะไม่ลืมแกเ-----------@(#*$+^__+)#$+_)
คุณคงนึกภาพไม่ออกเลยว่า จะรู้สึกอย่างไรที่ความตายรออยู่ข้างหน้าแล้ว คนที่คุณรักโทรมาบอกคุณเพื่อบอกลา เราจะได้ยินเสียงกันเป็นครั้งสุดท้าย แล้วจะไม่มีวันได้เจอกันอีก ตลอดกาล
เสียงโทรศัพท์ขาดไป
ภุชชงค์คงเดาได้แล้วว่า สัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ ล่มไปแล้ว
เขาไม่มีวัน
ไม่มีวันที่จะติดต่อใครได้อีก
ทั้งแม่ซึ่งอยู่ที่บริษัท
หรือพี่ที่ยังอยู่ที่โรงเรียน
หรือพ่อ
ตอนนี้ใครบางคนอาจจะจากเขาไปแล้ว
พัดไปกับน้ำ เราจะไม่มีวันได้เจอกันอีก ตายไปอย่างกะทันหัน เป็นการจากลาที่ไม่ปรารถนาให้มันเกิดขึ้น
ไม่อยากเชื่อเลยว่าโลกจะถึงจุดกัลปาวสาน เขายังไม่ไดทันได้เตรียมใจ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าวันนี้จะมาถึง
วันนี้ 8 .. 2555
เขากดรีเฟรชอีกครั้ง
แล้วเว็บ ก็ใช้งานได้เหมือนเดิม
เขากำลังพิมพ์เข้าระบบของตัวเอง
ด้วยมือที่สั่นเทา
ตอนนี้ชีวิตเขาไม่มีอะไรที่ต้องคิดอีกแล้ว
ตอนนี้เขากังวลอยูเรื่องเดียว เรื่องที่เขาสามารถทำได้
ว่าเขาจะได้อยู่มหาลัยที่เขาใฝ่ฝันรึเปล่า
ทั้งๆที่ความจริงเขารู้ตัวอยู่ ใช่สิเขามันโง่นี่
เขาอาจจะติดอันดับสุดท้าย นั่นก็คงถือเป็นบุญแล้ว
ภุชชงค์เป็นคนที่เก่งการใช้ชีวิต เขาทำอาหารเก่ง เย็บปักถักร้อย ประณีต ละเอียดอ่อน รักสัตว์เท่ากับรักชีวิตของเขา เขารักธรรมชาติ เขาสอบติดอันดับที่ 3 ในคณะวนศาสตร์ในปีที่แล้ว มันเป็นคณะที่เขาเคยคิดว่าใช่
แต่ตอนนี้เขากลับคิดตรงข้าม มันไม่ใช่เลย
มันแตกต่างจากความรู้สึก เขายังรู้สึกผิดหวังกับอันดับ 1 ที่คะแนนห่างมากและเป็นอาชีพที่เขาใฝ่ฝันมาตลอด เขาชอบตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย
แต่เขาขี้เกียจ และใช้ชีวิตไปอย่างไร้ค่า
1 ปีที่ผ่านมานี้ก็ไม่ดีนัก
เด็กกิจกรรมอย่าง นาย ภุชชงค์ ตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะทำกิจกรรมในรั้วมหาลัย ความตั้งใจที่เขาจะซิ่วก็ค่อยๆหายไป เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เรียนเท่าที่เขาต้องการ สนุกเท่าที่เป็นไปได้และผิดหวังกับความงี่เง่า เหลวไหล ที่จะซิ่วของตัวเองเป็นครั้งคราว ก็หลายครั้งที่เขาสลัดควายจากตัวมาอ่านหนังสือบ้าง มันไม่มากมาย...แต่มันก็ไม่น้อยเกินไป
เขากดเมาส์อย่างช้าๆ
ไปตามวิธีของ สอท
......................
ด้วยหัวใจที่เต้นแรงถี่
.....................
ด้วยความหวังสุดท้ายในชีวิต
.............................
ความสำเร็จของชีวิต ตอนนี้มันอยู่ที่ ผลนี้เท่านั้น
..........................
ไร้สาระว่ะ 555” เขาคิด..........................
.
.
.
.
.
ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่
ที่เขานั่งนิ่งไป
สึนามิคงพัดมาในอีกไม่กี่นาทีนี้
เขาไม่สนใจอะไรอีกแล้ว ลมเย็นพัดมาผ่านใบหน้า
ทุกสิ่งทุกอย่างมันจบแล้ว
เขานั่งนิ่ง ทั้งๆในสมองที่ไม่ได้คิดอะไร
เขาไม่อาจพูดอะไรกับใครได้อีก เขาสั่งปริ้นท์กระดาษแผ่นนี้มาดูเป็นครั้งสุดท้าย ดูผลที่เขาพยายามทำมาตลอดภายใน 1 ปีนี้
1ปีที่ผ่านมา
ที่ไร้ค่าและพากเพียร
เขาก้มหน้ามองกระดาษแผ่นนั้นอีกครั้งและเดินออกมาจากร้าน ยืนรอความตายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่นาที
ฝนที่ตกและน้ำตาของเขา หยดแหมะๆจนหมึกกระดาษเริ่มละลายจนอ่านแทบไม่ออก
ควายอย่างเขา
ทั้งที่ๆผลมันจะต้องออกมาเป็นแบบที่เขาคิด
ก็แหงอยู่แล้ว
ไม่ว่ายังไง มันก็ต้องออกมาเป็นอย่างนี้
“555555555555”เขาหัวเราะอย่างบ้าคลั่งท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก
เขาเห็นมันแล้ว สึนามิพัดมาทางคลองประปาแล้ว
เขาโยนกระดาษแผ่นนั้นไว้บนพื้น มันลอยอยู่บนผิวน้ำที่สูงถึงจะถึงเอว
ไม่จำเป็นที่จะต้องมองดูอีก
ทุกอย่างหมดสิ้น
คลื่นอยู่ใกล้ตัวเขาไม่เกิน 10 เมตร
เขาหลับตา
กลั้นหายใจ
คลื่นพัดมาอีก 5 เมตร
เขารู้สึกดื่มด่ำกับแวดล้อมรอบตัว
เขารู้สึกถึงคุณค่าของลมหายใจ คุณค่าของความเป็นคน
ธรรมชาติช่างสรรสร้าง แต่ก็ช่างทำลาย
เขาขอบคุณทุกสิ่งบนโลกนี้ที่ทำให้เขาเกิดมา ขอบคุณทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต
ขอบคุณเวลา  ขอบคุณทุกๆคน ขอบคุณทุกๆสิ่ง
ขอบคุณที่สร้างทั้งความสำเร็จและความผิดหวัง
ขอบคุณที่ทำให้เขารู้ว่าเขาก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง....

เขาหายใจเฮือกสุดท้าย และกางแขนขึ้น
สายน้ำก็ทับโถมลงมาที่ร่าง
และเขาก็ไม่เห็นอะไรอีกเลย
กระดาษแผ่นนั้นลอยขึ้นมาเหนื่อคลื่น หมึกและโคลนลบคำที่เขียนว่า
"ติดอันดับ 1 0138 คณะ สัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์"

.....ทำให้เขารู้ว่าเขาเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง...ที่พยายามแล้วประสบความสำเร็จ


อาจจะดูแปลกๆ และตลกไปบ้าง ผมก็รู้สึกยินดีที่ได้เขียนมันออกมา บางทีอาจใช้ไวยากรณ์ หลักภาษา และการสะกดผิด ต้องอภัยไว้ที่นี้ และผมขอน้อมรับคำติชมและข้อคิดเห็นทุกประการเพื่อใช้พัฒนาฝีมือต่อไป


Credit:Dekd