วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!

(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ท่ามกลางเด็กนักเรียนจำนวนนับพันคน ต่างประชันความเก่ง ปะทะความสามารถ ฝ่าด่านฟาดฟันกันในสนามสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ในนาม "Monbusho" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นทุนแห่งเกียรติยศ และเสียงเล่าลือถึงความยากอันดับต้นๆ ของประเทศ ทว่าเธอคนนี้ “ซาเอะ ฬิษา สุวรรณเกษการ” ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทยฯ ศิริราชพยาบาล ชั้นปีที่ 4 สามารถสอบชิงทุน และได้เป็นหนึ่งในนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยอันดับ 1 แดนปลาดิบ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของสาวน้อยวัยใสที่เปี่ยมพร้อมด้วยความสามารถ
       
        ในช่วงบ่ายของวันธรรมดา อากาศหน้าร้อนเริ่มคืบคลานมา ราวกับว่าหน้าหนาวได้ยุติลงเสียแล้ว บ่ายวันนี้ทีมงาน Life on Campus มีนัดกับสาวนักศึกษาแพทย์มากความสามารถ “ซาเอะ ฬิษา สุวรรณเกษการ” แต่แล้ว อุณหภูมิก็ต้องเย็นลง เมื่อเธอได้ปรากฏกายด้วยท่วงท่าเป็นสง่า สมแล้วกับการเป็น (ว่าที่) คุณหมอในอนาคต อีกทั้งความสวยของเธอยังเจิดจรัสมีดีกรีติด 24 คนสุดท้ายเวทีนางสาวไทย และคว้ารางวัลขวัญใจหัวหินมาครอง เธอยิ้มทักทายพร้อมเอ่ยคำสวัสดี จากนั้นการสนทนาระหว่างเราจึงเริ่มต้นขึ้น..
      
       ทุน Monbusho-ทุนแห่งเกียรติยศ!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         “โตขึ้นอยากเป็นอะไร?” อีกหนึ่งคำถาม แต่หลายคำตอบ หากย้อนกลับไปในวัยเด็ก คำตอบที่ร่วงหล่นมาจากปากเด็กน้อยแววตาใสซื่อ คงหนีไม่พ้นตำรวจ หมอ คุณครู และนางสาวไทย ถือเป็นอาชีพฮิตติดอันดับที่เด็กไทยอยากเป็นมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เช่นเดียวกับซาเอะที่มีความฝันว่าอยากเป็นนางสาวไทย ก่อนที่ภาพนางสาวไทยค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา และถูกแทนทับด้วยอาชีพที่ต้องช่วยเหลือคนป่วย-รักษาคนไข้
      
        “ตอนเด็กๆ ตัวเองอยากเป็นนางสาวไทย เหมือนเด็กๆ ทั่วไปเลยค่ะ พอโตมารู้ว่ามันไม่ใช่อาชีพนะนางสาวไทย ก็เลยรู้สึกว่าอยากเป็นหมอ แต่ตอนม.ปลาย ตอนนั้นยังคิดไม่ออกค่ะ คิดแค่ว่าอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ตอนนั้นก็ดูอยู่ที่อังกฤษกับญี่ปุ่นค่ะ ถ้าเกิดไปญี่ปุ่นต้องสอบได้ทุนเท่านั้น เพราะมันไปยากมาก คือการที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นคือต้องสอบติดทุนของรัฐบาลอย่างเดียวเลย”
      
        “ส่วนมหาวิทยาลัยในไทยก็สอบแพทย์อย่างเดียวค่ะ ที่แรกคือศิริราช ที่สองคือจุฬาค่ะ แล้วก็ได้ที่ศิริราชเลย แต่ตอนนั้นสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่นได้พอดีเลยตัดสินใจพักเรียนที่ศิริราชไปก่อน”  เธอยังเล่าต่ออีกว่า ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่สอบได้นั้นถือเป็นทุนแห่งเกียรติยศ เพราะในประเทศไทยน้อยคนนักที่จะสามารถคว้าทุนนี้มาครอบครองได้ เธอเปรยด้วยท่าทีตื่นเต้น เผยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจสะท้อนผ่านเงาตาคู่นั้น
       
        “คือทุนนี้จะเป็นทุนที่ให้ทั้งปริญญาตรี โท เอก คือถ้าเราเรียนระดับปริญญาตรีแล้วอยากต่อโท ก็ให้ต่อโทอีก อยากต่อเอกก็ให้ต่อเอกได้อีก คือจะเป็นทุนที่ให้เปล่าและก็ไม่มีสัญญาผูกมัด ส่วนเกณฑ์ในการรับ คือทุนรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะมีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และของอาชีวะหลายๆ สายค่ะ แต่สำหรับปริญญาตรีเขาจะให้เด็กที่มีเกรดเฉลี่ย 3.80 ขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิสมัคร แล้วเด็กที่มีเกรดเฉลี่ย 3.80 ของทั้งประเทศก็จะมาสอบแข่งขันกันอีกทีหนึ่ง ซึ่งอัตราการแข่งขันประมาณ 1000 คน รับ 10 คนค่ะ คือไม่ต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น แต่ต้องได้ภาษาอังกฤษ”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ทางทีมงานจึงถามต่อไปถึงความยากของทุนรัฐบาลญี่ปุ่นมงบุโช และสิ่งที่ได้รับหลังจากสอบชิงทุนติด เธอเผยให้ฟังว่ากว่าจะสอบผ่านแต่ละขั้นตอนถือว่าหินและโหดสุดๆ แต่สิ่งที่ได้รับนั้นมีค่ามากมายมหาศาล เพราะได้เรียนในมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของญี่ปุ่น อีกทั้งยังก้าวเท้าเข้าไปยังบ้านท่านทูตญี่ปุ่นอีกด้วย
        
        “ถ้าเปรียบเทียบความยากของทุนในประเทศไทยก็จะมีอยู่ 2 ทุนหลักๆ คือทุนเล่าเรียนหลวง และอีกทุนคือทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งก็จะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของญี่ปุ่น คือตอนแรกเลยเขาจะให้เรียนพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นก่อนที่โตเกียวค่ะ 1 ปี หลังจากนั้นก็แล้วแต่เราว่าจะเลือกไปเรียนที่ไหน อย่างซาเอะเรียนเศรษฐศาสตร์ ก็เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยคิวชู และสำหรับคนที่สอบชิงทุนติดจะมีสิทธิเข้าไปในบ้านท่านทูตของญี่ปุ่น ได้รับเชิญไปงานเลี้ยง ทานข้าวกับท่านทูตสำหรับนักเรียนทุน ซึ่งในประเทศไทยจะมีไม่กี่คน”
      
        แต่แล้ว ช่วงเวลาการใช้ชีวิตในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องพลันจบลง เนื่องจากทางศิริราชได้แจ้งว่าหากไม่กลับมาเรียนหมอ เธอจะถูกตัดสิทธิ์ ประจวบกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ณ ขณะนั้น ทำให้ทางบ้านเริ่มกังวลและเป็นห่วง จึงอยากให้เธอกลับมาเรียนหมอที่เมืองไทยเสียมากกว่า
      
        “ช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์สึนามิพอดีค่ะ และทางมหาวิทยาลัยที่ศิริราชบอกว่าถ้าไม่กลับมาเรียนหมอ ก็จะตัดสิทธิ์เรา แล้วตอนนั้นที่บ้านก็อยากให้กลับมาอยู่ที่นี่ ก็มองว่าเรียนหมอที่ศิริราชก็มีเกียรติด้วย ญี่ปุ่นก็ดี แต่ที่นี่ก็ดี เหมือนคุณพ่อคุณแม่ก็แนะนำให้เรียนหมอ บอกว่าดีนะ จะได้ช่วยเหลือครอบครัว ช่วยดูแลพ่อแม่ได้ด้วย และก็เป็นอาชีพที่ดี ได้ทำบุญทุกวัน เลยตัดสินใจกลับมาเรียนหมอ หลังจากที่ได้ทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นได้ระยะหนึ่งค่ะ”
      
       ประสบการณ์นักเรียนทุนเริ่มต้น ณ แดนปลาดิบ!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตในแดนปลาดิบนั้น หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง การปรับตัวและการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเธอ รวมถึงการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เธอต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่กระนั้นก็ถือเป็นข้อดีอีกประการหนึ่งที่ทำให้เธอเรียนรู้ภาษาใหม่นี้ได้อย่างรวดเร็ว และไม่รู้สึกสับสน 
        
        “การไปประเทศญี่ปุ่นก็รู้สึกว่าไม่ได้ปรับตัวยากนะคะ เพราะรุ่นพี่ที่ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นทุกคนเขาจะช่วยเหลือเรา เหมือนกับเป็นครอบครัวเดียวกันเลยค่ะ และก็อำนวยความสะดวกทุกอย่างเลย เหมือนพี่ช่วยเหลือน้องค่ะ และก็ทำให้การเรียนที่ต่างประเทศมันค่อนข้างโอเค”
      
        “สำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่นตอนแรก มันจะเรียกว่าจุดอ่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ คือเราไม่เคยศึกษาภาษาตะวันออกเลย เราก็จะเหมือนเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์เลยค่ะ ไม่มีพื้นฐานไม่มีความรู้เลย มันก็จะเป็นข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ในทางเดียวกันเสียเปรียบคืออย่างเช่น คนที่ได้ภาษาจีน ภาษาเกาหลี เขาจะเรียนรู้เร็วกว่าเรา เขาจะรู้ว่ามันแนวๆ นี้ ไปเร็วกว่า แต่ว่าอย่างของเรา เราเริ่มจากศูนย์เลย เราไม่มีพื้นฐานอะไรเลย แต่มันก็จะมีข้อดีตรงที่เพราะเราเริ่มจากศูนย์ เราก็จะไม่เอามาปนกับภาษาอื่น อย่างเช่น ไม่เอาญี่ปุ่นมาปนกับเกาหลี ไม่เอาภาษาอื่นมาปนกัน”
      
        นอกจากนี้เธอยังเผยถึงเทคนิคในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นให้ฟังอีกว่า เธอได้เข้าร่วมชมรมที่ญี่ปุ่น เพื่อที่จะได้ฝึกภาษากับนักเรียนญี่ปุ่นตัวเป็นๆ ซึ่งทำให้เธอสามารถเรียนรู้ที่จะพูดภาษาญี่ปุ่นได้ในเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น นอกจากนี้การเข้าชมรมยังทำให้เธอได้ศึกษาวัฒนธรรม การใช้ชีวิตของนักเรียนญี่ปุ่นอีกว่าเป็นเช่นไร รวมถึงเข้าร่วมโครงการหาแม่บุญธรรม ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ดีๆ ในช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น
        
        “การฝึกภาษาของซาเอะคือ จะดูทีวีเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ และก็จะมีเข้าชมรม Bukatsu จะเป็นเหมือนชมรมให้นักเรียนญี่ปุ่นเข้าไปทำกิจกรรม เราก็เข้าไปทำกิจกรรมด้วย ก็จะทำให้รู้จักวัฒนธรรมของญี่ปุ่นด้วยว่านักเรียนในมหาวิทยาลัยเขาทำตัวยังไง เขามีชีวิต มีไลฟสไตล์ยังไง และเราก็จะได้ฝึกภาษา ฝึกการฟังในนั้นด้วย อย่างซาเอะก็ไปเข้าโครงการหนึ่งที่เขาจะหาแม่บุญธรรมให้เรา เราก็มีแม่บุญธรรมเป็นคนญี่ปุ่น แม่บุญธรรมก็จะช่วยเหลือเรา เวลามีกิจกรรมไปไหนมาไหนเขาก็จะชวนเรา ไปเที่ยว ไปกินข้าว เขาก็จะมองเราเหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ส่วนลูกๆ ของเขาก็อยากได้เด็กต่างชาติมา เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วย”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         สำหรับเรื่องค่าครองชีพที่ญี่ปุ่น เธอเล่าต่อว่าเธอได้รับเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นประจำทุกเดือน จึงทำให้ใช้เงินได้พอดีตัว พร้อมกันนี้เธอยังแนะนำคนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศอีกด้วยว่าให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด และสิ่งสำคัญที่สุดคือควรไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ดูบ้านเมืองเขาบ้าง เพื่อนำมาพัฒนาบ้านเมืองของเรา
        
        “เรื่องค่าครองชีพ คือของรัฐบาลญี่ปุ่นเขาจะให้เงินเดือน เดือนละ 50000 บาท ให้ทุกเดือนเลยค่ะ แต่ตอนนี้ก็แล้วแต่ค่าเงินนะคะ อาจจะขึ้นลงบ้าง ถือว่าพอใช้นะคะ ส่วนเรื่องเงินถ้าเราไม่ได้ชอปปิงเยอะ แค่ใช้จ่ายค่าหอพัก ค่ากิน ก็พอค่ะ แต่ถ้าฟุ่มเฟือยก็ไม่พอ แต่อย่างรุ่นพี่ที่เข้าปี 1 ถึง ปี 4 เริ่มใช้ชีวิตเด็กมหา’ลัยก็จะทำงานเสริม ทำงานขายเสื้อผ้าบ้าง เป็นเด็กเสิร์ฟบ้าง ก็จะได้เงินไว้ใช้จ่าย”
        
        “ส่วนที่อยากแนะนำคืออยากจะให้ประหยัด อย่าให้ใช้เงินชนเดือนพอแล้ว แต่อย่าประหยัดจนเกินไปจนไม่ได้ประสบการณ์ คืออยากให้ประหยัดให้มันใช้พอ แต่ไม่ใช่ประหยัดจนไม่ไปไหน ไม่ไปเที่ยว ไม่ได้ไปดูบ้านเมืองเขา คือการที่ไปเรียนมันไม่ใช่การเรียนแค่ในมหาวิทยาลัย แต่มันคือเรียนเรื่องการใช้ชีวิตด้วย ก็เลยอยากให้ลองไปเที่ยว ลองเปิดหูเปิดตาดูประเทศเขา เพื่อให้รู้ว่าประเทศเขาเป็นยังไง เราจะได้เอามาใชกับประเทศเรายังไง คือมันจะได้ประสบการณ์มากกว่าในห้องเรียน”
      
       ประเทศญี่ปุ่นมีอะไรดี !? 
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         “ทำไมถึงชอบการเรียนที่ญี่ปุ่น?” ทีมงานเอ่ยถามขึ้นด้วยคำถามที่หลายคนต่างฉงนสงสัยถึงความสนใจของเด็กไทยสมัยนี้ ว่าอยากไปเที่ยวและเรียนในประเทศญี่ปุ่น เธอตอบด้วยสีหน้ามั่นใจ และนัยน์ตาเป็นประกายสะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจบางอย่าง
       
        “อย่างแรกเลยสำหรับการไปเรียนต่างประเทศคงเป็นเหมือนกันทุกที่เลย คือจะฝึกเราให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ก็คือว่าทุกอย่างมันเหมือนทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ เพราะเหมือนมีเราอยู่คนเดียวที่อยู่ในวัฒนธรรมตรงนั้น เราทำอะไรผิดเราก็จะต้องรับผิดชอบเองหมดเลยค่ะ อย่างแรกก็จะเป็นเรื่องของการฝึกความรับผิดชอบ”
      
        “คนอื่นเขาไม่รู้จักคนไทยหรอก เขาเห็นคนไทยจากเรา เขาก็ตัดสินจากเรา” เธอเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่น เปรยให้เห็นถึงความคิดที่ว่าการวางตัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งอยู่ต่างแดนน้อยคนนักที่จะรู้ว่าคนไทยเป็นคนเช่นไร หากเราทำดีนั้นคือสิ่งที่เขาชื่นชม แต่เมื่อไหร่ที่ทำผิดพลาดหรือวางตัวไม่เหมาะสม นั้นคือสิ่งที่คนนอกเหมารวมทั้งประเทศ
      
        “อย่างที่สอง คือเราเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เราเป็นตัวแทนคนไทย มันเหมือนเป็นเกียรติยศอย่างหนึ่งที่เราได้แสดงความเป็นไทยออกไป ให้กับคนต่างชาติดู เพราะฉะนั้นเราต้องวางตัวดีๆ เพราะคนอื่นเขาไม่รู้จักคนไทยหรอก เขาเห็นคนไทยจากเรา และเขาก็ตัดสินจากเรา เราดีเขาก็ตัดสินว่าเราดี แต่ถ้าเกิดเราทำตัวไม่ดีเขาก็จะเหมารวมทั้งประเทศว่าเป็นคนอย่างงั้น ก็คือเราก็ได้ฝึกทั้งเรื่องความรับผิดชอบ การวางตัว”
       
        “อย่างที่สาม ก็คือได้ฝึกเกี่ยวกับความอ่อนน้อมถ่อมตนค่ะ เพราะว่าสังคมวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นเขาจะมีความเกรงใจมากๆ คือภาษาอังกฤษไม่มีคำว่าเกรงใจ ภาษาไทยยังมีคำว่าเกรงใจ ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำว่าเกรงใจ ก็คือเขาจะฝึกความเกรงใจ แล้วก็ฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตน พอไปอยู่ญี่ปุ่นรู้สึกได้ว่านิสัยเราจะอ่อนโยนมากขึ้น และมีความน่ารักมากขึ้น”
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         ทางทีมงานถามต่อไปถึงการเรียนการสอนระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง เธอขยายความให้ฟังว่าความจริงแล้วการเรียนการสอนของทั้งสองประเทศไม่ต่างกันมากนักในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันในห้องเรียน ซึ่งยังแฝงไว้ด้วยการป้อนข้อมูลอยู่ แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ต่างกันคือเรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
       
        “การเรียนการสอนไม่ค่อยต่างเลยค่ะ แต่การใช้ชีวิตจะต่างอยู่ คือซาเอะเคยไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โซนอเมริกา คือเขาจะเป็นแนวถกเถียง ทุกคนออกความคิดเห็น แต่ว่าการเรียนการสอนของทางญี่ปุ่นจะคล้ายๆ ของไทยอยู่ ก็คือเริ่มมีการถกเถียงแต่ก็ยังจะเป็นการป้อนให้ข้อมูลซะมากกว่า คือมีการป้อนข้อมูลและก็ถกเถียง แต่ของญี่ปุ่นจะต่างกับเมืองไทยตรงที่ว่าจะมีการทำรีเสิร์จเยอะ จะเน้นเรื่องการทำรีเสิร์จมากกว่า”
       
        “ส่วนเรื่องการใช้ชีวิตเขาจะต่างเพราะว่าเมืองไทยจะเน้นขอเงินพ่อแม่ แต่ของญี่ปุ่นพอขึ้นมหาวิทยาลัยแล้วคือจะโตเลย จะหาเงินเอง ให้แค่นี้นะแล้วก็จัดการชีวิตตัวเอง เพราะว่าคนต่างจังหวัดที่เขามาเรียนในโตเกียว เขาก็ไม่ค่อยได้อยู่จังหวัดตัวเอง เขาก็จะต้องจัดการชีวิตตัวเองเหมือนกันค่ะ ก็เหมือนเป็นสิ่งที่ต่างกันอยู่”
      
        ทางทีมงานถามต่อไปถึงการเรียนการสอนระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง เธอขยายความให้ฟังว่าความจริงแล้วการเรียนการสอนของทั้งสองประเทศไม่ต่างกันมากนักในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันในห้องเรียน ซึ่งยังแฝงไว้ด้วยการป้อนข้อมูลอยู่ แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ต่างกันคือเรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
       
        “การเรียนการสอนไม่ค่อยต่างเลยค่ะ แต่การใช้ชีวิตจะต่างอยู่ คือซาเอะเคยไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โซนอเมริกา คือเขาจะเป็นแนวถกเถียง ทุกคนออกความคิดเห็น แต่ว่าการเรียนการสอนของทางญี่ปุ่นจะคล้ายๆ ของไทยอยู่ ก็คือเริ่มมีการถกเถียงแต่ก็ยังจะเป็นการป้อนให้ข้อมูลซะมากกว่า คือมีการป้อนข้อมูลและก็ถกเถียง แต่ของญี่ปุ่นจะต่างกับเมืองไทยตรงที่ว่าจะมีการทำรีเสิร์จเยอะ จะเน้นเรื่องการทำรีเสิร์จมากกว่า”
       
        “ส่วนเรื่องการใช้ชีวิตเขาจะต่างเพราะว่าเมืองไทยจะเน้นขอเงินพ่อแม่ แต่ของญี่ปุ่นพอขึ้นมหาวิทยาลัยแล้วคือจะโตเลย จะหาเงินเอง ให้แค่นี้นะแล้วก็จัดการชีวิตตัวเอง เพราะว่าคนต่างจังหวัดที่เขามาเรียนในโตเกียว เขาก็ไม่ค่อยได้อยู่จังหวัดตัวเอง เขาก็จะต้องจัดการชีวิตตัวเองเหมือนกันค่ะ ก็เหมือนเป็นสิ่งที่ต่างกันอยู่”
      
        (ว่าที่) คุณหมอวัยใส หลากสไตล์-หลายบุคลิก!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         คงเป็นภาพที่เห็นจนชินตาสำหรับมนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเรา เมื่อพบเห็นคุณหมอตามคลินิค หรือโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยใบหน้าที่เรียบนิ่ง หลังตรงเป็นสง่า ดวงตามั่นใจพร้อมคำพูดคำจาแตกฉานชัดเจน ราวกับว่าภายใต้ชุดกราวชุดนั้นมีคาเรคเตอร์เฉพาะตัวของคุณหมอแอบซ่อนอยู่เสียนี่ ซึ่งสวมใส่เมื่อใดเป็นต้องรับบทคุณหมอลุคนิ่ง มาดเรียบร้อยเสียทุกที แต่เมื่อลองพูดคุยกับ (ว่าที่) คุณหมอคนนี้แล้ว ทำให้รู้เลยว่าความจริงแล้ว เธอก็คือคนธรรมดาๆ คนนึงเท่านั้นเอง
        
        “จริงๆ แล้วแต่สถานการณ์ค่ะ ถ้าอยู่กับคนไข้ก็จะเรียบร้อย มีคนถามเหมือนกันว่าบุคลิกเราเป็นคนยังไง เราก็จะตอบไปว่ามีหลายบุคลิก เช่น ถ้าอยู่กับเพื่อนจะฮาๆ เพื่อนไม่สนิทเรียบร้อย อยู่กับคนไข้ก็จะเรียบร้อย จะพูดจาเพราะๆ อยู่กับน้องชายก็จะออกแมนๆ ห้าวๆ คนส่วนใหญ่มองว่าคุณหมอจะต้องมีลุคนิ่งๆ เรียบร้อยๆ น่าเชื่อถือ จิตใจดี ทำให้คนไข้พ้นทุกข์ แต่แก่นแท้จริงๆ ก็คือคนทั่วไปค่ะ”
      
        “ในอีกมุมหนึ่งที่เขาอยู่กับครอบครัว อยู่กับคนใกล้ชิด มันก็คือนิสัยส่วนตัวเลย เขาก็จะเป็นคนตามที่เขาเกิดมาเป็นคนยังไง เขาก็จะเป็นคนอย่างงั้น อย่างในหน้าที่การงาน ในจุดที่เขาต้องดูแลคนอื่น บุคลิกภาพก็จะเป็นอย่างที่หมอควรจะเป็น แต่ถ้ามาเจอว่าไม่เห็นเหมือนตอนเป็นหมอเลย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็คือคนเหมือนกันค่ะ” เธอเปรยด้วยน้ำเสียงขำขัน พร้อมรอยยิ้ม
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         แน่นอนว่าการทำอาชีพที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องใกล้ชิดและคลุกคลีกับคนไข้ ผู้ป่วย หรือเรื่องสุขภาพต่างๆ นานาเสียหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ตัวซาเอะเองพึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอคือการรักษาสุขภาพ เพราะเธอมีความเชื่อที่ว่า หากคุณหมอไม่สบาย แล้วจะไปดูแลผู้อื่นได้อย่างไร
        
        “ส่วนตัวแล้วจะเป็นคนรักษาสุขภาพมากค่ะ เรารู้สึกว่าถ้าเราไม่แข็งแรงเราก็ไปดูแลใครไม่ได้ หรือไม่ก็ถ้าเราไม่แข็งแรง ต่อให้เราจะเรียนมา ยังไงเราก็ต้องมารักษาตัวเอง ซาเอะก็เลยต้องจัดเวลาออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนให้พอ คือจะยังไงก็ตามก็ต้อง 3 อย่างนี้ค่ะ ซึ่งตอนนี้ยังไม่เคยอยู่เวรค้างคืน ยังไม่เคยอยู่ห่ามรุ่งห่ามค่ำ มากสุดคือลงเรียนตอน 5 ทุ่ม เที่ยงคืนค่ะ อันนี้คือเรื่องพักผ่อน”
        
        “ส่วนเรื่องออกกำลังกายคือถ้าว่างเมื่อไหร่ต้องออกกำลังกาย และก็เรื่องของจิตใจก็สำคัญค่ะ คือต้องคิดดี ทำดี พูดดี อย่างซาเอะนับถือศาสนาพุทธก็ต้องทำบุญ เพราะรู้สึกว่าการทำบุญ การปฏิบัติธรรม และการสวดมนต์ ต้องสวดทุกวันก่อนนอน การทำสมาธิก็เพื่อบังคับตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องหาเวลาไปทำบุญก็ต้องจัดอาทิตย์ละครั้งค่ะ ไปต่างประเทศไปแสวงบุญก็ไปปีละครั้งค่ะ”
      
       ความสำเร็จที่ได้มา..ต้องตอบแทนสังคม!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         หากเปรียบมนุษย์เป็นอาหารจานพิเศษจานหนึ่ง พ่อครัวแม่ครัวที่หมั่นปรุงรส หยิบจับวัตถุดิบนานาชนิดมาใส่คลุกเคล้าลงในจาน จนออกมาเป็นอาหารหน้าตาสวยงามน่ารับประทาน ทว่า รสชาติของมันจะดีหรือเลวนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ได้จากพ่อ (ครัว) แม่ (ครัว) ทั้งนั้น เช่นเดียวกับสาวซาเอะที่เธอเชื่อว่าทุกสิ่งอันที่หลวมรวมเป็นตัวเธอได้ถึงทุกวันนี้ คงเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ ผู้ซึ่งเป็นเชฟฝีมือดีประจำบ้าน
        
        “ที่เป็นเราในทุกวันนี้ มีการปลูกฝังจากพ่อแม่สองอย่างก็คือ คุณพ่อจะสอนให้เรายืนด้วยลำแข็งตัวเองให้ได้ จะสอนตั้งแต่เด็กเลยว่า ทำอะไรก็ตามจะต้องประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องไม่พึ่งพาใคร ต้องเป็นคนที่แกร่ง และต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ส่วนตัวคุณแม่เอง คุณแม่ซาเอะจะเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือสังคม เราก็จะโดนปลูกฝังว่าจะทำอะไรก็ตามในชีวิตต้องทำให้สังคมด้วย เราอาจจะทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิตตัวเองด้วย แต่ว่าเราก็ต้องเป็นผู้ให้ด้วย” 
      
        บนเส้นทางของความสำเร็จนั้น เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จที่ได้มา ย่อมมีคุณค่าและคุณประโยชน์ หากผู้ได้มานั้นรู้จักและเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ เช่นเดียวกับเธอที่มีความเชื่อมาตลอดว่า เมื่อใดที่ประสบความสำเร็จแล้ว การตอบแทนให้สังคมคืออีกวิธีหนึ่งที่ผู้ให้ควรจะกระทำ
        
        “คำสอนของคุณพ่อคุณแม่ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก เราก็เลยเหมือนกับว่าจะทำอะไรก็ตามต้องให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จของตัวเองต้องทำด้วย และในทางกลับกันถ้าเราสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว แล้วไม่คิดจะตอบแทนอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเหมือนกัน เราก็ต้องหาอะไรทำให้รู้สึกว่าเราได้ช่วยเหลือสังคม”
      
       เก่งภาษา..มีชัยไปกว่าครึ่ง!!
(ว่าที่) คุณหมอสุดน่ารัก “ซาเอะ-ฬิษา” ดีกรีนักเรียนทุนมงบุโช แดนปลาดิบ!!
         เป็นความจริงที่ว่า ทุกคนล้วนมีความสามารถและสติปัญญาที่แตกต่างกัน บางคนมีจุดเด่นจุดด้อยไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสามารถมีได้นั้นคือ “ความเพียรพยายาม” และจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการเรียน หรือการใช้ชีวิตนั้นต้องอาศัย “ความมีวินัย” เป็นตัวผลักดัน 
        
        “สำหรับเรื่องเรียน คิดว่าต้องมีวินัย คือคำเดียวเลย มีวินัยนี่ไม่ใช่แค่วินัยนอกห้องเรียนเท่านั้น แต่ในห้องเรียน เข้าเรียน อย่าโดดเรียน และตั้งใจในสิ่งที่อาจารย์สอน เก็บเกี่ยวเวลาที่มีค่าในห้องเรียนให้มากที่สุดค่ะ”
      
        นอกจากนี้ เธอยังกระซิบบอกเทคนิคการเตรียมตัวสำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากสอบชิงทุนเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศว่า หากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ นั่นเท่ากับว่าได้ก้าวขาสู่ประตูความสำเร็จไปก้าวหนึ่งแล้ว ส่วนที่เหลือคือความกล้าที่จะต้องหยิบออกมาใช้
      
        “สำหรับเรื่องทุนนะ ก็คงต้องฝึกภาษาอังกฤษค่ะ เพราะว่ามันเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าคนนี้จะได้รับทุนหรือเปล่าค่ะ คือถ้าได้ภาษาอังกฤษดีก็เหมือนก้าวขาเข้าไปข้างหนึ่งแล้วในการที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ ส่วนสำหรับคนที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ก็อาจจะไม่ต้องใช้ภาษา แต่อาจจะต้องใช้ความกล้า ถ้าเรามีความกล้า พอเราไปต่างประเทศมันจะทำให้เราได้ทุกอย่างเอง ภาษาก็ได้ ประสบการณ์ก็ได้ คืออยากให้มีสองอย่างนี้ ก็คือเรื่องภาษากับความกล้าค่ะ”
       
       เรื่องโดย : พิมพรรณ มีชัยศรี
       ภาพโดย : วรวิทย์ พานิชนันท์
       

ไม่มีความคิดเห็น: