วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ

       ใกล้เข้าสู่เทศกาลรับปริญญาเข้ามาอีกแล้ว วันแห่งความสำเร็จที่บัณฑิตใหม่ต่างรอคอยที่จะได้สวมชุดครุยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญาหรือวิทยฐานะที่ได้จากการสำเร็จการศึกษา ถือเป็นเกียรติยศ และความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว  ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ชุดครุยจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุดครุยเป็นแบบโบราณพระราชพิธีไทย เนื้อผ้าโปร่ง สีขาว เรียกว่า “ครุยเทวดา” ซึ่งชุดครุยลักษณะนี้ นอกจากจุฬาฯ แล้ว ยังมีสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งที่สวมใส่ครุยประเภทนี้ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น ส่วนชุดครุยอีกประเภทที่นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะเป็นชุด “ครุยแบบตะวันตก” มีลักษณะเป็นชุดครุยคลุม และมีสีดำ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยในลักษณะนี้ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น รวมถึงมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ที่ใช้ชุดครุยแบบตะวันตกเช่นกัน  ทั้งนี้ Life On Campus ถือโอกาสย้อนอดีตถึงต้นกำเนิด “ชุดครุย” เริ่มต้นที่สมัยใด มหาวิทยาลัยใดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและใช้ชุดครุยเป็นที่แรก และชุดครุยของแต่ละสถาบันเป็นอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกัน
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
ประวัติชุดครุยสมัยก่อน
       เริ่มต้นที่ “ประวัติชุดครุย"ชุดครุยรับปริญญา เป็นเสื้อคลุมทับด้านนอก ใช้สวมเพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ แสดงถึงหน้าที่ในพิธีการ หรือแสดง วิทยฐานะ ธรรมเนียม การสวมเสื้อครุยของไทยเรานั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าได้รับแบบมาจากที่ใด แต่การคาดคะเนกันว่า การสวมเสื้อครุย น่าจะเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนที่พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ขณะนั้นท่านราชทูตแต่งกายด้วยการสวมเสื้อเยียรบับ มีกลีบทอง ดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย
       ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่6 มีพระราชกำหนดเสื้อครุย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ. 130 กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ 3 ชั้น เรียกว่าครุยเสนามาตย์แบ่งเป็นชั้น ปริญญาเอก เรียกว่า”ดุษฎีบัณฑิต“ ปริญญาโท เรียกว่า “มหาบัณฑิต“ และปริญญาตรี เรียกว่า “บัณฑิต“
      
และนอกจากนี้ยังมีครุยวิทยฐานะ สำหรับผู้สำเร็จวิชาการจาก มหาวิทยาลับ หรือ วิทยาลัยชั้นสูง เสื้อครุยวิทยฐานะ มีขึ้นครั้งแรกใน ประเทศไทยประมาณ ร.ศ. 116 ในสมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์พระเจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 5 ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็น เนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย โดยเรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
       ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ พระราชกำหนด เสื้อครุยบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2473 แก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แล้วหลังจากนั้นต่อมา บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จึงได้มีการสวมครุยในวันเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมากระทั่งทุกวันนี้ วันที่ 25 ตุลาคม 2473เมื่อ 84ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมา พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก (พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประเทศไทย) และนับเป็นต้นเค้าของ ประเพณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯไปใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยต่างๆในทุกวันนี้
      
       ท้ายนี้ ไลฟ์ ออน แคมปัส จะพาไปดูชุดครุยของแต่ละมหาวิทยาลัยกันบ้างดีกว่า เริ่มต้นที่
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยมหิดล
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
3 พระจอม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
สถาบันพลศึกษา
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยทักษิณ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยพายัพ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยพะเยา
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยรังสิต
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลันยศรีปทุม
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยสยาม
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
      
 
เปิดตำนาน “ชุดครุย” เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น: