วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เจ็บเลย ความแตกต่างระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่น


พอดีได้รับ FW มาอีกทีครับ เลยไม่ได้ลง cr. ต้องขออภัยเจ้าของบทความด้วยครับ

Think different, do different.

ญี่ปุ่นคนแรก เดินทางมามาถึงหมู่บ้านห่างไกล เปิดปั๊มน้ำมัน มีลูกค้าเยอะแยะ
ญี่ปุ่นคนที่สอง เดินทางมา เห็นมีคนเข้าปั๊มเติมน้ำมันกันเยอะแยะ คิดว่าน่าจะมีคนที่อยากทานข้าวด้วยแน่ จึงเปิดร้านอาหาร ธุรกิจก็เป็นไปด้วยดี
ญี่ปุ่นคนที่สาม เดินทางมา เห็นปั๊มน้ำมันผู้คนหลากหลาย ร้านอาหารก็เช่นกัน คิดว่าน่าจะมีคนต้องการพักผ่อนระหว่างเดินทาง จึงเปิดธุรกิจโรงแรม
ญี่ปุ่นคนที่สี่ เดินทางมา เห็นผู้คนหลากหลาย มีทั้งเติมน้ำมัน มีทั้งทานข้าว มีทั้งค้างแรม จึงคิดว่าน่าจะมีร้านสะดวกซื้อเอาไว้บริการเผื่อคนเดินทางมีอะไรขาดเหลือ
ญี่ปุ่นคนที่ห้า คนที่หก ......... เดินทางทางมาอย่างต่อเนื่อง จากหมู่บ้านเล็กๆ ก็กลายเป็นเมื่องที่กำลังเฟื่องฟู คนญี่ปุ่นต่างก็ร่ำรวยกันถ้วนหน้า

แต่!!!!

คนไทยคนแรก เดินทางมาถึงหมู่บ้านห่างไกล เปิดปั๊มน้ำมัน มีลูกค้าเยอะแยะ
คนไทยคนที่สอง เดินทางมา เห็นปั๊มน้ำมันธุรกิจดี ก็เปิดปั๊มน้ำมันบ้าง
คนไทยคนที่สาม เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้ำมัน ท่าทางจะไปได้ดี ก็เปิดบ้าง
คนไทยคนที่สี่ เดินทางมาถึง ก็เปิดปั๊มน้ำมันอีก แต่ต้องการแย่งลูกค้าก็ลดราคาน้ำมัน
คนไทยคนที่ห้า เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้มันกันเยอะแยะก็เอาบ้าง แล้วมีการลดแลกแจกแถมเพื่อดึงดูดลูกค้า
คนไทยคนที่หก คนที่เจ็ด ......... เดินทางมาถึงก็พากันแห่เปิดปั๊มน้ำมัน ผลสุดท้ายลดแลกแจกแถมจนไม่คุ้มทุน ทุกรายเจ๊งกันหมด หมู่บ้านก็กลับคืนสู่ความเงียบเหงาเหมือนเดิม

ความสำเร็จ ไม่ได้อยู่ที่คุณชนะคนมาเท่าไร
แต่อยู่ที่คุณได้แบ่งปันกับคนมาเท่าไร ได้ช่วยเหลือคนมาเท่าไรต่างหาก

รีวิว หอพัก หอใน (นอก) ม.เกษตรศาสตร์ ฉบับ อยู่จริง รกจริง

สวัสดีค่ะ ใครปีหนึ่งมั้ง ยกมือขึ้นเร้วววว เพราะมั่นใจได้ว่า ช่วงนี้น้องๆ คงกำลังวุ่นวายเรื่องการเตรียมตัวสัมภาษณ์ เอกสาร ค่าเทอม ชุด และอื่นๆ ที่สำคัญโดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัดหรือเด็กในกรุงเทพที่บ้านกับมหาลัยไกลมากๆ คงไม่พ้นต้องหาหอกัน แต่จะหาหอได้ที่ไหนดีนะ วันนี้หอมาแนะนำกันนะคะ
 
ส่วนวันนี้หอที่จะมาแนะนำคือ หอในนอก~
 
หอในนอกคืออะไร
หอในนอกคือ  หอซอยพหลโยธิน 45 เป็นหอของมหาลัย แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ภายในมหาลัย แต่อยู่ข้างนอกซะงั้น เด็กที่นี่เลยเรียกกันว่าหอในนอกค่ะ ส่วนถ้าถามว่าต่างจากหอในไหม คงต้องบอกว่ากฎระเบียบอะไรคงไม่ต่างกัน นอกซะจากความใหม่ของหอนั่นเอง โดยที่นี่จะมีทั้งหมด 7 หอ ได้แก่ หอพุทธชาด ขจีนุช ลีลาวดี เฟื่องฟ้า สุพรรณิการ์ แสงจันทร์
 
มาดูจากบรรยากาศโดยรอบของหอนะคะ หอพุทธชาดมีตึกสูง 7 ชั้น และ หอขจีนุชมีตึกสูง 9 ชั้น ส่วนพวกหอที่เพิ่งสร้างใหม่ ได้แก่ ลีลาวดี เฟื่องฟ้า สุพรรณิการ์ แสงจันทร์ มี 8 ชั้นค่ะ
 
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
มีที่จอดรถให้ด้วยนะเออ
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
มาอยู่แถวนี้ไม่อดตายแน่นอน ใต้หอก็มีร้านอาหาร และมีเซเว่นด้วย
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
เราขอยกตัวอย่างหอจากหอเฟื่องฟ้านะคะ ด้านหน้าหอก็จะมีพี่รปภ. ห้องอาจารย์ประจำหอ ส่วนใต้หอก็จะมีที่ม้านั่ง มีร้านสลัด และร้านซักรีด
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
ม้านั่งเยอะแยะเลย แต่เชื่อมะ วันสอบนี่โต๊ะเต็มตลอด
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
ประตูเป็นระบบคีการ์ด เดินมาหน้าลิฟต์ กดไปชั้นที่ต้องการ ออกมาจะเจอสองด้านนะคะ ห้อง 1-4 จะอยู่ขวามือ ห้อง 5-16 จะอยู่ท้างซ้าย
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
เอ้าหันขวา 
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
เอ้าหันซ้าย
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
ทุกๆ ชั้นจะมีห้อง study room ไว้อ่านหนังสือ ทำงานด้วย
 
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
มาดูในห้องดีกว่า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ผ่าง!!!
 
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
ห้องรกมากถึงมากที่สุด อยู่เองรีวิวเอง ขอภัยที่ไม่สามารถคัดสรรสิ่งดให้ท่านผู้ชมได้ //ในน้ำตามีเลขห้า
 
 
ตู้รองเท้าดี๊ดี แต่ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง มีกี่ตู้ก็ไม่พอ
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
เหนือตู้ก็วางของได้ระเกะระกะจริงๆ
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
มาดูในฝั่งตู้เก็บของและตู้เสื้อผ้า
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
ห้องน้ำล่ะ?
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
มาหลังระเบียงมั้ง
 
[review] หอพักเกษตร Part I หอใน (นอก) หออะไร ในหรือนอก
 
 
 
โดยรวมก็ประมาณนี้นะคะ ส่วนใครที่สนในหอพักพหลโยธิน 45 ก็สามารถมาติดต่ได้ที่หอพักสุพรรณิการ์ในเวลาราชการ โดยนำเอกสารมาพร้อมด้วยนะคะ รายละเอียด คลิ๊ก
 
สำหรับคราวหน้า เราจะมาแนะนำหออื่นๆ อีกนะคะ สวัสดีค่ะ
 
 
UniGang : เรามาชมรูปหอในนอก จากทางมหาวิทยาลัยกันบ้าง

อยากให้น้องที่จะสอบเข้าแพทย์ได้อ่าน เบื้องลึก เบื้องหลัง ของการเรียนแพทย์ !! เราจะเหมาะกับอาชีพนี้จริงไหม


กสพท ใกล้จะปิดรับสมัครแล้วนะครับ วันนี้ UniGang มีบทความดีดีมาให้อ่าน สำหรับคนอยากเป็นหมอ ลองมาอ่านบทความนี้ ที่เขียนโดยพี่หมอ ตอบถึงปมสงสัยในอาชีพแพทย์ ว่าหลังสอบเข้าไปแล้วชีวิตเราจะเป็นอย่างไร
..........................................................

สำหรับน้องๆที่กำลังตัดสินใจจะสมัครเรียนหมอ
พี่ตั้งใจเขียนให้อ่านนะครับ
เชื่อว่าน้องๆอาจจะค้นหาข้อมูลอะไรมาเยอะแล้ว
พี่เป็นหมอคนนึงที่หลายสิบปีก่อน
เคยเป็นอย่างน้องๆในรูปด้านล่าง
เคยปักธงชาติบนหน้าอก
เคยตั้งใจอยู่เอาทุนไปเรียนต่อวิศวะ
แต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้อยากเรียนแพทย์
ตอนนั้นสงสัยปนไม่แน่ใจว่าอาชีพแพทย์ หลังจากสอบเข้าไปได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้นกับเราต่อไป
แต่ก็ไม่มีใครมาอธิบายแบบตรงๆ
มีแต่มาอ้อมๆ แบบหล่อๆ เช่น
'เป็นหมอเหนื่อยนะ แต่เป็นอาชีพที่มีเกียรติ'
'เป็นหมอไม่รวยนะ แต่ก็ไม่จน'







- หมอเรียน 6 ปี จะได้จบเป็นแพทย์มีคำนำหน้า นายแพทย์ แพทย์หญิง

- ปีแรกเรียนคณะวิทย์
ปี 2-3 เรียนชั้น preclinic
ปี 4-6 เรียนชั้น clinic

- ปี 1 ยังใช้ทักษะคล้ายๆตอนม.ปลายอยู่บ้าง เรียนไป ทำกิจกรรมไป

- ปี 2 น้องจะได้เรียนศาสตร์ที่เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติ
ศัพท์แพทย์ ภาษากรีก ลาติน เป็นพันๆคำในช่วงเวลา 1 ปี
ส่วนใหญ่เป็นการท่องจำ ไม่ต้องไบรท์มากแต่ต้องขยัน สม่ำเสมอ
ใจต้องรัก เพราะต้องอยู่กับกลิ่นฟอร์มาลีนตลอดปี

- ปี 3 เรียนโรค เชื้อต่างๆ ร่างกายมนุษย์ที่ผิดปกติ
ท่องจำเป็นหลักเหมือนเดิม
คนที่สอบได้เกรดสูงๆ อาจจะไม่ใช่คนที่ได้คะแนนสูงตอนสอบเข้าก็ได้
เพราะรูปแบบการเรียนต่างออกไป

- ปี 4-6 คือการทำงาน
ต้องใช้ EQ มากกว่า IQ มากมายมหาศาล
ความรับผิดชอบ การเสียสละ รู้จักการทำงานเป็นทีม
ต้องทำงานกับพยาบาล รุ่นพี่ รุ่นน้อง
รูปแบบการเรียนฉีกออกไปจากที่น้องเคยรู้จักแบบสิ้นเชิง
เหมือนถูกถีบ ลงไปในมหาสมุทร
ความรู้มหาศาล ที่มองไปทางไหนก็ไม่เห็นฝั่ง
ก่อนสอบลงกอง (ไม่แก่จริงอาจจะไม่รู้จักคำนี้)
จะมีโพยข้อสอบลอยมาให้ท่องไปสอบ จากรุ่นพี่
น้องอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่โพยเหล่านั้น
คือสิ่งที่เค้าต้องการให้เรารู้ก่อนจบแพทย์ออกไป
ต้องเรียนให้เป็น 
จึงจะเอาตัวรอดได้ ในแต่ละภาควิชาที่วนผ่าน
อารมณ์ประมาณ เที่ยวญี่ปุ่นทุกจังหวัด ภายใน 30 วัน

- 5-6 ปีนี้น้องต้องจากที่บ้านมาอยู่หอพัก

- น้องต้องสามารถอดนอน สามารถทำงานได้ 36 ชั่วโมงต่อเนื่อง
อาจได้กินข้าววันละมื้อ
อาจต้องยืนในห้องผ่าตัด 10 ชั่วโมงไม่ได้นั่ง

- น้องอาจต้องเสียความสดใส ในชีวิตวัยรุ่นตอนปลายไป

- ถ้ามีแฟนต่างคณะ โอกาสที่ต้องจบด้วยการเลิกราค่อนข้างสูง

- น้องต้องทำเกรดให้ดีที่สุด
ถ้าพี่อยากสร้างภาพพี่จะพูดว่า
'เกรดไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตการเป็นแพทย์' ฟังแล้วหล่อมั๊ยครับ
แต่ในโลกความเป็นจริง
เกรดตอนเป็นนักเรียนแพทย์นี่แหละกำหนด ชีวิตมะ-รึงเลย


- กดดันมั๊ย? เวลาก็ไม่ค่อยมี งานก็หนัก ยังต้องพะวงเกรดอีก

- จบออกมา น้องต้องไปใช้ทุนต่างจังหวัด 3 ปี
ปีแรก มักจะอยู่รพ.ใหญ่ ทำงานเป็นควาย บางที่หนักชนิดถ่อยเถื่อนเลยหล่ะ
เดือนนึงอาจจะได้นอนแค่ 10 - 15 คืน
ปีสอง ปีสาม อาจจะสบายหน่อย ออกไปอยู่รพ. อำเภอ
แต่ไกลผู้ไกลคน

- มีไม่กี่คนในรุ่นที่ถูกเลือกเป็นอาจารย์ จะออกไปใช้ทุนแค่ 1 ปีและกลับมา
เรียนต่อเลย พิจารณาจากเกรด กับ เส้นสาย (ลูกอาจารย์ นามสกุลต่างๆ)

- สามปีนี้แหละ ที่น้องจะได้สัมผัสระบบสาธารณสุขของบ้านเราแบบเข้าไส้
ขาข้างนึง อยู่ในคุก พี่ไม่ได้พูดเกินเลย
ถ้าเกิดอะไรขึ้น หันไปรอบๆ อาจหาไม่เจอซักคนที่คอยช่วยเรา
นอกจาก ขยัน อดทน เสียสละ น้องต้องอยู่ให้เป็น
ทำอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุดต่อคนไข้และตัวเราเอง

- รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 6 หมื่นถึง 1 แสนนิดๆ
ถ้าคิดต่อชม. ต่ำกว่าแรงงานขั้นต่ำ
น้องต้องเก็บเงินส่วนนึงเอาไว้ ก่อนไปเรียนต่อด้วย
เพราะตอนเรียนต่อ เงินเดือนสองหมื่นนิดๆ

- น้องจากพ่อแม่มากี่ปีแล้วนะ ตอนนี้ ... 9 ปีแล้ว 

- จบ 6 ปี บวกใช้ทุนสามปี ถ้าน้องจะออกจากรพ. อำเภอ
กลับเข้ามาอยู่เมืองใหญ่
ไม่ต้องกรุงเทพ แค่จังหวัดใหญ่
พี่บอกเลยว่า ไม่พอ
น้องต้องเรียนต่อ ยิ่งยุคของน้องด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึง

- การจะเรียนต่อมีสองแบบ
1. เรียนต่อในโรงเรียนแพทย์
2. ทำงานใช้ทุนในรพ. ใหญ่ เช่น รพศ.หลักๆตลอดตอนใช้ทุน 3 ปี บวกเพิ่มอีกนิดหน่อย
สามารถไปสอบอนุมัติบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง
(ถ้าอยากทำแบบสอง น้องต้องสมัครตอนอยู่ปี 6 คนแย่งกันเยอะเหมือนกัน ดูเกรด กับ เส้น)

- ถ้าจะเรียนต่อในโรงเรียนแพทย์หลังใช้ทุนครบสามปี ทำได้สองแบบ
1. สมัครด้วยตนเอง เรียกว่า free train
2. สมัครแบบมีต้นสังกัดส่งให้มาเรียน เรียกว่า ทุนต้นสังกัด
คือน้องต้องกลับไปทำงานให้รพ.ต้นสังกัดหลังจากเทรนจบเป็นแพทย์เฉพาะทาง

- พื้นที่การได้เข้าเรียนต่อมีจำกัด ยิ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ดังๆ ยิ่งแข่งขันสูง
ถ้าเป็น free train น้องต้องได้เกรดสูงถึงสูงมาก
ทุนต้นสังกัด อาจไม่ต้องเกรดดีมาก แต่การจะได้ทุนต้นสังกัดนั้น
อาจต้องอาศัย เส้น และ ดวง ไม่ใช่ได้กันง่ายๆเช่นกัน

- การที่อาจารย์จะพิจารณารับว่าจะเอาใครมาเรียนต่อ
ไม่มีการสอบเข้า โดยทั่วไปจะดูสามอย่างตามลำดับดังนี้
1. เส้น
2. เกรด
3. ทุนต้นสังกัด
เค้าอาจจะเลือกกันตั้งแต่ก่อนเอาคุณไปสัมภาษณ์แล้วด้วยซ้ำ
(พี่พูดตรงไปมั๊ยวะเนี่ย)

- ไปๆมาๆมีแต่เส้น กับ เกรด

- การเทรนแพทย์เฉพาะทางใช้เวลา สามสี่ปี โดยเฉลี่ย
ต้องอดทนกับการโดนโขกสับ บางสาขาก็ถือว่าโหดมาก
ร้องไห้ ลาออก กันไปก็มี

- หลังจากจบแล้วก็ต้องอ่านหนังสือสอบบอร์ด

- จบแพทย์เฉพาะทางมาแล้วเราก็จะได้บอร์ด แต่ก็มักต้องเรียนต่อยอด
ในสาขานั้นๆอีก 2-3 ปี เพื่อให้ได้ subboard

- ช่วงที่เทรนอยู่ 3-6 ปีนี้จะค่อนข้างจนมาก เพราะรายได้สองหมื่น 
ต้องอยู่เวรเพิ่ม การจะมีรถมีบ้านเป็นของตัวเอง แทบจะลืมไปได้เลย

- หลังจากเข้าแพทย์มาถึงตอนนี้ก็ ... 12 - 15 ปีแล้ว
อายุประมาณ 30 - 33 ปี น้องก็จะจบไปเป็นแพทย์เฉพาะทาง
เพิ่งได้เริ่มต้นชีวิต ขณะที่เพื่อนๆที่เรียนอาชีพอื่นไปถึงไหนกันหมดแล้ว 

- การจะเชี่ยวชาญได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ทำงานอีกเป็นสิบปี
เพื่อที่จะมั่นใจมากพอในการรักษาคนไข้ซักคนนึง ให้ผิดพลาดน้อยที่สุด


รู้ด้านลบต่างๆแล้ว ทีนี้มาฟังด้านดีบ้าง

- แพทย์เปรียบเหมือนสื่อกลาง (media-) ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
เป็นคนที่อยู่บนเส้นของความเป็นกับความตาย
การตัดสินใจของเราบางครั้ง เลือกที่จะส่งวิญญาณไปสู่สุคติ หรือ เลือกที่จะให้เค้ามีชีวิตกลับคืนมา

- ศาสตร์ทางการแพทย์ มีไม่กี่คนในโลกที่มีโอกาสได้เรียน
'you are the chosen one'
อาจารย์ใหญ่ท่านอุทิศร่างท่านเพื่อแลกกับความรู้ในการสร้างแพทย์ขึ้นมา 1 คน
คนไข้มากมายในโรงเรียนแพทย์ที่เปรียบเหมือนครูที่สอนเรา ก่อนจะจบออกมา

- With great power comes great responsibility
... ความรู้อันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงส่ง
ไม่มี super hero คนไหนที่ไม่ลำบาก เศร้ามากถึงมากที่สุดเกือบทุกคน
เราอาจจะได้รับการคาดหวังจากสังคมที่สูงมาก
เราอาจจะรู้สึกว่า ดูแลแต่คนอื่น พ่อแม่กับคนรักเรา กลับไม่เคยได้เหลียวแล
เราอาจจะรู้สึกว่าช่างไม่ยุติธรรมอะไรเลย ที่หมอเสียภาษีเป็นแสน แต่โดนด่าทุกวันว่าชั้นเสียภาษีนะโว๊ย
เราอาจจะรู้สึกว่า ตั้งใจช่วยชีวิตคนเต็มที่ แต่ถ้าพลาดขึ้นมาโดนฟ้อง ขาข้างนึงเหมือนอยู่ในคุก
ไม่ว่าเราเลือกที่จะเป็นหรือถูกกำหนดให้เป็น จงภูมิใจที่ได้เป็น

- น้องอาจจะได้ช่วยชีวิตคนเกือบร้อยคน ตั้งแต่อายุแค่ 25
ถึงแม้เค้าอาจจะไม่ได้เห็นคุณค่าของน้อง แต่น้องจะรู้สึกภูมิใจที่สุดเชื่อพี่

- เงินทองของนอกกาย คนเราเกิดมาอายุไม่ได้ยืนยาว
แต่การที่เราได้คืนอะไรให้กับสังคม ได้ช่วยชีวิตคน พี่ว่ามันเป็นที่สุดแล้ว

ขอโทษที่ยาวไป
พี่ไม่เคยพิมพ์เรื่องพวกนี้มาก่อน นี่เป็นครั้งแรกนะครับ
แต่อยากให้เหล่าน้องๆที่เป็น candidate ในการเข้าแพทย์ได้อ่าน
ตอนนี้ยังเลือกได้ ... จงเลือกมันด้วยตัวเองครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เด็กเรียงคำ "ยายบัวเก็บดอก" แต่ครูให้ผิด-ตำหนิซ้ำ ชาวเน็ตถามผิดตรงไหน



เด็กเรียงคำ "ยายบัวเก็บดอก" แต่ครูให้ผิด-ตำหนิซ้ำ ชาวเน็ตถามผิดตรงไหน
 
เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ
 
          ชาวเน็ตตั้งคำถาม เรียงประโยค "ยายบัวเก็บดอก" ผิดตรงไหน หลังครูคอมเม้นท์ในกระดาษ "ยายคงรวย" วอนอย่าปิดกั้นทางความคิด

          วันนี้ (25 สิงหาคม 2558) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกโซเชียลกำลังพูดถึงภาพกระดาษคำตอบวิชาภาษาไทย เกี่ยวกับเรื่องการเรียงประโยคอย่างกว้างขวาง โดยเรื่องดังกล่าว ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ศุภสิน ดวงใจประเสริฐ ได้นำมาเผยแพร่ ระบุว่า การศึกษาไทยไม่ควรปิดกั้นทางความคิดของเด็ก อย่างกรณีภาพกระดาษคำตอบที่ใช้เด็กเรียงคำที่ให้มาเป็นประโยค ตัวอย่าง "ยายบัวเก็บดอก" แต่ปรากฏว่า ครูผู้ตรวจให้ผิด พร้อมแสดงความคิดเห็นเชิงตำหนิเด็ก พอเห็นแบบนี้ เชื่อว่า คงไม่มีเด็กคนไหนกล้าคิดนอกกรอบอีกแน่ ๆ เพราะกลัวที่จะผิด
 
เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ
 
          นอกจากนี้ เมื่อลองดูในส่วนของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ ก็พบว่า มีการทวีตภาพข้อความดังกล่าว พร้อมตั้งคำถามคล้าย ๆ กันว่า เรียงประโยค "ยายบัวเก็บดอก" ผิดที่ตรงไหน เพราะจริง ๆ แล้วเด็กอาจจะสื่อถึงยายบัวปล่อยเงินกู้ก็เป็นได้ หรือต้องเขียน ต้องคิดอย่างที่ครูสอนเท่านั้นจึงจะถูก ในขณะที่บางส่วน มองว่า ประโยคนี้อาจแต่งออกมาถูกต้องแล้ว แต่ความหมายอาจไม่ถูกใจครูก็เป็นได้
 
เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ

เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ
เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ

เด็กเรียงคำ ยายบัวเก็บดอ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก 

***จำไว้ให้ดี 4 สิ่งนี้บำรุงสมองได้เริ่ด***


1. ปลา     
       เคยได้ยินใช่ไหมที่เขาว่ากินปลาแล้วจะฉลาด ซึ่งเนื้อปลาอุดมไปด้วยกรดอะมิโนไทโรซิน เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ มีบทบาทในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง สามารถช่วยฟื้นฟูความจำ และสารดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid ) คือกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย สารดังกล่าวนี้จะช่วย ในการพัฒนาสมองและสายตา ช่วยเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ ทั้งนี้ยังช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย ซึ่งการรับประทานนื้อปลา ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเลน้ำลึกหรือว่าปลาน้ำจืดสามารถนำมาประกอบอาหารด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพอย่าง การต้ม การย่าง การนึ่ง ได้หลากหลายเมนู ซึ่งปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี อีกทั้งยังย่อยง่ายอีกด้วย
2. นมถั่วเหลือง   
       นมถั่วเหลืองจัดเป็นเครื่องดื่มบำรุงสมองที่ดีไม่แพ้กัน ในนมถั่วเหลืองประกอบไปด้วย วิตามินเอ, บี, บี 1, บี 2, บี 6, บี 12 คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไนอาซิน และเลซิตินที่เป็นสารบำรุงสมอง เสริมสร้างประสิทธิภาพในเรื่องของความจำ ป้องกันความจำเสื่อม และถ้าเป็นนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มแบบกล่อง บางยี่ห้อ เช่น ไวตามิ้ลค์ สูตรออริจินัล และสูตรโลว์ ชูการ์  ก็จะมีมี Omega 3, 6, 9 และ Vitamin B12 เพิ่มเข้ามาด้วย โดยเฉพาะยิ่งดื่ม 1 กล่องในทุกมื้อเช้าเป็นประจำ  ก็ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมองได้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=9IPEVjZs42o 

  3. ไข่
       ไข่จัดเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเพราะอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญประกอบด้วย โปรตีนถึง 6.3 กรัม ไขมัน วิตามิน เอ บี ดี อี ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม สังกะสี ไอโอดีน ซิลิเนียม ทั้งนี้ในไข่แดงยังประกอบไปด้วยโคลีนซึ่งโคลีนเป็นส่วนประกอบในเลซิตินเป็นสารจำเป็นที่ร่างกายจะนำไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท มีส่วนช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานด้านความจำ


4. พืชตระกูลถั่ว
       ถั่วจัดได้ว่าเป็นโปรตีนที่ดีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ถั่วลิสง อัลมอนด์ ฯลฯ ซึ่งในถั่วจะมีวิตามินอีที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความจำ

“ดาว์พงษ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ.เดินเครื่องลดชั่วโมงเรียน

 “ดาว์พงษ์” สั่ง สพฐ. นำร่องลดชั่วโมงเรียน 10% ของโรงเรียน 38,000 โรง เริ่มเทอม 2 ให้การบ้าน สอศ. ขยายการเรียนระบบทวิภาคีเน้นสถานบันที่เด็กตีกันบ่อย หวังลดปัญหาทะเลาะวิวาท 
       
       วันนี้ (26 ส.ค.) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ว่า ผู้บริหารองค์กรหลัก ของ ศธ.ได้รายงานข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้ฟังคิดว่าโครงการต่าง ๆ น่าจะเริ่มเห็นผลในทางปฏิบัติได้อีกไม่ช้านี้ โดยเฉพาะเรื่องการลดเวลาเรียนของนักเรียน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เริ่มไปบ้างแล้วในระดับประถมศึกษา แต่ยังมีบางจุดที่ต้องเติมเต็ม เพื่อให้เห็นผลชัดเจน เช่น การลดชั่วโมงในวิชาหลักลง เพื่อให้นักเรียนได้กลับบ้านหรือมีเวลาทำกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยได้มากขึ้น รวมถึงให้เน้นการอบรมครูให้เข้าใจและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เห็นผลภายในภาคเรียนที่ 2/2558 อีกทั้งให้โจทย์ สพฐ. ไปว่าให้นำร่องลดเวลาเรียนให้ได้ 10% ของโรงเรียนทั้งหมด 38,000 โรง โดยเน้นที่ระดับประถมศึกษาก่อน
       
       พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวต่อว่า ตนขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ขยายการเรียนการสอนระบบทวิภาคีเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นสถาบันที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทบ่อย ๆ หากเด็กมีทางเลือกที่ดีกว่า เรียนไปทำงานไปมีรายได้เด็กจะไม่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขอให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แต่ละแห่งมีจุดเด่นในการผลิตผู้เรียนในแต่ละสาขาอาชีพเฉพาะทางแตกต่างกันออกไป รวมถึงต้องวางแผนจัดระบบรองรับเด็กที่อยู่ห่างไกล และอยากเรียนในสาขาที่ มทร. มีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น การต่อเรือ ต้องมีสถาบันหลัก สถาบันรองรองรับในการสอนสาขาอาชีพดังกล่าว เป็นต้น
       
       “โดยภาพรวมการทำงานของแต่ละองค์กร ในขณะนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล ผมจึงเน้นเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นหลัก ส่วนการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันนั้น ต้องทำควบคู่กันไป โดยเร็ว ๆ นี้ จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) องค์การค้าฯ และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มาพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาของที่ผ่าน และต้องดูว่ามีอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการต่อไป” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559



โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559

            มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัคร นักเรียนที่กำลังศึกษา ม.6 หรือวุฒิเทียบเท่า ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใน 28 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชุมพร ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี เข้าศึกษาผ่านระบบรับตรง โควตาพิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559 มีรายละเอียดดังนี้

กำหนดการคัดเลือก
            - วันที่ 1 กันยายน 2558 –15 ตุลาคม 2558 :  รับสมัครคัดเลือกฯ ด้วยตนเองทางเว็บไซต์ www.quota.su.ac.th  ชำระเงินค่าสมัคร และ ส่งเอกสารการประกอบการสมัคร โดยอัพโหลดผ่านระบบออนไลน์ หรือ ส่งทางไปรษณีย์ หรือ ส่งผ่านโรงเรียน
            - วันที่ 1 มีนาคม 2559  :  ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
            - วันที่ 13 มีนาคม 2559  :  สอบสัมภาษณ์
            - วันที่ 1 เมษายน 2559  :  ประกาศรายชื่อผู้ผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์
            - วันที่ 26-29 เมษายน 2559  :  ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ ที่เว็บไซต์ สอท.
            - วันที่ 10 พฤษภาคม 2559  :  ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

คณะที่เปิดรับ
            - เปิดรับ 7 คณะ รวม 2,015 คน ได้แก่
             คณะอักษรศาสตร์ จำนวน 325 คน
             คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 110 คน
             คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 275 คน
             คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำนวน 140 คน
             คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 390 คน
             คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 550 คน
             คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 225 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร
            - นักเรียนที่กำลังศึกษา ม.6 หรือวุฒิเทียบเท่า ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใน 28 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชุมพร ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2559
            - ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำในการสมัคร ยกเว้น 
              คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และเทคโนโลยีอาหาร ต้องมี GPA กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ 4 ภาคการศึกษา รวมกันไม่น้อยกว่า 2.75
              คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ วัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี และธุรกิจวิศวกรรม ต้องมี GPA กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ  4 ภาคการศึกษา รวมกันไม่น้อยกว่า 3.00  

เกณฑ์การคัดเลือก
            - คะแนน GAT/PAT ครั้งที่ 1/2559 + วิชาสามัญ ประจำปีการศึกษา 2559 +วิชาเฉพาะที่จัดสอบโดยคณะ(เฉพาะคณะอักษรศาสตร์)
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559
โควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559


การสมัครและค่าสมัคร
            - ผู้สมัครเลือกสมัครได้ 1 สาขาวิชาเท่านั้น
            - ค่าสมัคร 450 บาท