วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคง่ายๆ สงบใจในห้องสอบ

วัน สอบใกล้เข้ามาทุกที โอย..ตื่นเต้น ตื่นเต้น หนังสือที่อ่านมาจะจำได้ไหม โจทย์เลขจะออกยังไง จะทำข้อสอบทันไหม ใจเย็นๆ ค่ะ การสอบแต่ละครั้ง นอกจากจะวัดความรู้ ความชำนาญ และความตั้งใจในห้องเรียนของเราแล้ว ยังวัดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของเราด้วย คราวนี้ 'คิดซี'ก็เลยมีเทคนิคสงบใจในห้องสอบมาฝากกันก่อนสอบไล่ หรือใครจะเอาไปใช้ตอนสอบเข้าก็ไม่ว่ากันเริ่มต้นก็หายใจเข้าลื้กกก..ลื้ก กก...ผ่อนลมหายใจออกยาวววว..ยาวววว...แล้วนำเอาเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้

ก่อนก้าวเท้าเข้าห้องสอบ

ตรวจสอบเรื่องวัน เวลา รวมทั้งสถานที่สอบให้แน่ใจ และไปให้ถึงห้องสอบก่อนเวลามากๆ จะได้ไม่ต้องตื่นเต้นลนลานว่าจะมาสอบไม่ทัน
เมื่อ ไปถึงสนามสอบแล้ว ใช้เวลาที่เหลือนึกทบทวนเนื้อหาหลักๆ จากความจำ แล้วตรวจสอบกับโน้ตย่อที่เตรียมไว้ อย่าใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จนกลายเป็นความกังวล เพราะรายละเอียดเหล่านี้เราได้ทบทวนมาอย่างดีแล้ว เมื่อความตื่นเต้นลดลง เราจะค่อยๆ นึกออกมาได้เองในห้องสอบ
การให้เหตุผลสำคัญกว่าการสรุป อย่าเขียนตอบยาวๆ แต่ไม่ตรงคำถาม หรือตอบในสิ่งที่ข้อสอบไม่ได้ถาม ยิ่งเขียนออกนอกเรื่องมาก แทนที่จะได้คะแนนเพิ่ม กลับจะถูกหักคะแนนได้
เขียน ให้เร็ว โดยใช้ลายมือที่ชัดเจน เป็นระเบียบ เพื่อให้ครูตรวจข้อสอบได้ง่ายขึ้น เพราะคำตอบที่ดีที่สุดจะไม่มีความหมายถ้าไม่มีใครอ่านออก
ก่อน เดินเข้าห้องสอบ นึกในใจหลายๆ ครั้ง ว่า เราทำได้ เราทำได้แน่นอนเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเอง การเตรียมตัวมาอย่างดีจะทำให้เราเดินเข้าสู่สนามสอบด้วยความมั่นใจ ความตึงเครียดน้อยๆ เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะช่วยให้เราตื่นตัว และพร้อมที่จะลงมือทำข้อสอบได้ดีขึ้นค่ะ
สร้างความมั่นใจในห้องสอบ

เมื่อได้รับแจกข้อสอบแล้ว ให้พลิกดูทั้งหมดก่อนว่าได้รับข้อสอบครบหรือไม่ จากนั้น คำนวณว่ามีข้อสอบทั้งหมดกี่ข้อ ต้องใช้เวลาทำเท่าไร จัดลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรก่อนหลัง จะแบ่งเวลาให้แต่ละข้อเท่าๆ กัน หรือเผื่อเวลาไว้มากหน่อยสำหรับข้อยาก หรือข้อที่ต้องตอบยาวก็ได้ แต่ควรเผื่อเวลาไว้สำหรับตรวจทานคำตอบในช่วงท้ายด้วย
อ่านคำสั่งให้ละเอียดก่อนลงมือทำ ขีดเส้นใต้คำหรือข้อความเฉพาะ เช่น จงเลือก ตอบเพียง 5 ข้อ ตอบข้อ 1และเลือกตอบอีก 3 ข้อ วงกลม(หรือกากบาท) ข้อที่ถูกที่สุด จงกาเครื่องหมาย / หรือ X หน้าข้อความที่กำหนดให้ การอ่านคำสั่งเสียเวลาไม่กี่วินาที แต่มีผลมากกับคะแนน เพราะถ้าทำผิดคำสั่ง แม้จะตอบคำถามถูกต้อง ก็อาจถูกหักคะแนนได้
ความ รู้สึกตื่นเต้นวิตกกังวลจะค่อยๆ หายไปตอนที่เราลงมือเขียนคำตอบข้อแรก ดังนั้นเทคนิคสำคัญก็คือ ให้เลือกทำข้อที่มั่นใจว่าทำได้แน่ๆ ก่อน เพราะพอเราคิดคำตอบออก ก็จะเป็นกำลังใจให้ตัวเองว่าสามารถตอบคำถามข้อที่ยากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำเรียงลำดับตามข้อที่ให้มา เพราะถ้าเจอข้อแรกเป็นข้อที่เราทำไม่ได้ ความเครียดและประหม่าจะยิ่งทวีคูณขึ้น
ใช้เวลาทำข้อสอบตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ถ้าทำไม่เสร็จ ให้เว้นช่องว่างไว้เพื่อมาทำต่อในภายหลัง แต่ถ้าไม่มีเวลากลับมาทำ ควรใช้เวลาในช่วงสุดท้ายตอบข้อสอบที่เหลือ โดยเขียนสรุปประเด็นสำคัญๆ ให้ครอบคลุม ไม่จำเป็นต้องเขียนขยายความโดยละเอียด
แต่ถ้าทำเสร็จก่อนเวลา ให้ใช้เวลาที่เหลือทบทวนคำตอบ หรือตรวจสอบตัวเลขที่คำนวณไว้อีกครั้ง ตรวจดูให้แน่ใจว่าเราได้ทำข้อสอบครบทุกข้อ มีหลายคนที่เสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย เพราะทำข้อสอบไม่ครบ ก่อนส่ง เช็กซ้ำอีกครั้งว่าเขียนชื่อ และเลขที่นั่งสอบเรียบร้อยแล้ว
ความแตกต่างระหว่างแบบฝึกหัดและการสอบ คือเวลาที่จำกัดดังนั้น ควรฝึกซ้อมทำข้อสอบเก่าๆ ในสถานการณ์ที่เหมือนการสอบจริงไว้บ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองใช้เวลามากน้อยเพียงใด และสามารถปรับปรุงตัวเองให้แบ่งเวลาได้ถูกต้องในการสอบจริง

ข้อสอบแบบไหน รับมือให้เหมาะ

ข้อสอบแต่ละลักษณะมีวิธีรับมือไม่เหมือนกัน ในที่นี้'คิดซี'มีเทคนิคทำข้อสอบ 2 ประเภทหลักๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่างข้อ สอบปรนัย เป็นการให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวจากตัวเลือกทั้งหมด หรือกาเครื่องหมาย / หรือ X หน้าข้อความที่กำหนดให้ ข้อสอบแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดความจำของเราเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปใน วิชานั้นๆ

ที่มา : http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น: