วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

“ความจริงสัตวแพทย์”


1. จบมาเงินเดือนน้อย ทั้งๆที่เรียนนานถึง 6ปี แต่ได้เงินน้อยกว่าคณะที่เรียน4ปีอย่างวิศวะ สหเวชสาขาต่างๆด้วยซ้ำ  ยิ่งเทียบกับแพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งเรียน6ปีเท่ากัน แต่เงินเดือนแพทย์และทันตแพทย์ในภาคเอกชน มากกว่าสัตวแพทย์เป็น10เท่า
2. สัตวแพทย์ หลายคนต้องทำงานถึง 1 ปี ถึงจะได้รายได้รวมเท่าแพทย์หรือทันตแพทย์ทำงานแค่ 1 เดือน
3. เรียนจบมามีอ อัตราการว่างงาน สูงกว่าคณะอื่นๆที่มีคะแนนตอนสอบเข้าใกล้เคียงกันหรือน้อยกว่าอย่างคณะสหเวชและวิทยา
4. บางคนจบมาแล้วเปิดคลินิกรัษาสัตว์เอง แต่รักษาไม่เก่ง ก็ไม่มีคนพาสัตว์มารักษา และในที่สุดก็ต้องปิดกิจการ และว่างงานในที่สุด
5. โรคร้ายหลายๆโรคในปัจจุบันสามารถติดจากสัตว์สู่คน หลายโรคเป็นอันตรายถึง ชีวิต และปฏิเสธไม่ได้ว่า สัตวแพทย์จะต้องทำงานเกี่ยวกับเชื้อโรคร้ายเหล่า นี้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า
6. คนที่รักสัตว์แล้ว อยากเป็นสัตวแพทย์ แต่เมื่อมาเรียนแล้วกลับพบว่า การที่ตนเรียนนั้นกลับกลาย เป็นการทำร้ายสัตว์ เพราะสัตว์ที่ใช้เรียนนั้น เป็นสัตว์ที่ถูกจับมา เช่น สุนัขไม่มีเจ้าของ การเรียนสัตวแพทย์จ ะต้องใช้ชีวิตและร่างกายของสัตว์ เหล่านั้นเพื่อการศึกษา สัตว์เหล่านั้นก็รักชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ บางตัว ต้องถูกวางยาสลบ แล้วนำมาผ่าเพื่อดูหัวใจเต้น ซึ่งแน่นอนว่าสัตว์เหล่านั้น ต้องบาดเจ็บมาก และจะถูกปล่อยให้ตายหลังจากนำมาเรียนเสร็จ ไม่มีการรักษา เพราะไม่ใช่คน และไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายในประเทศไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์อย่างสุนัขหรือแมว
7. หากเทียบระหว่างสัตวแพทย์กับเภสัช ซึ่งมีคะแนนในการสอบเข้าใกล้เคียงกัน จะ พบว่าเภสัชจะมีรายได้ดีกว่าสัตวแพทย์มาก และทำงานที่สะอาด ปลอดภัย  อยู่แต่ในห้องแอร์ แต่สัตวแพทย์ต้องทำงานตามที่สกปรก ร้อน เหม็น และอยู่ท่ามกลางเชื้อโรค และได้ผลตอบแทนต่ำ เช่น ทำงานต่างจังหวัดในฟาร์ม หรือทำงานในโรงงานเลี้ยงหรือชำแหละสัตว์
8. คนที่จะเลือกเรียนสัตวแพทย์เพราะชอบเลี้ยงสัตว์นั้นควรคิดใหม่ เพราะ ระหว่างเรียนที่ต้องทำร้ายชีวิตสัตว์แล้วนั้น การเป็นสัตวแพทย์จะไม่ได้มี สัตว์เลี้ยงเป็นของตนเอง เพราะต้องไปดูแลสัตว์เลี้ยงของคนอื่น
9. คนที่ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสุนัข หรือ แมว เจ้าของฟาร์มเหล่านั้นไม่ได้เป็นสัตวแพทย์ แต่เป็นคนที่มีเงิน มีเวลา ลองดูตามนิตยสารสัตว์เลี้ยงต่างๆได้ คนเหล่านั้น ไม่ได้เป็นสัตวแพทย์ แต่ทำไมเขาเลี้ยงสัตว์แล้วประสบความสำเร็จได้
10. คนที่รียนเก่ง พอที่จะคิดเรียนสัตวแพทย์ ควรเลือกเรียนเภสัช ทันตแพทย์ หรือแพทย์มากกว่า เพราะเมื่อจบมาแล้วมีงานทำแน่นอน และมีเงินเดือนระดับที่ สูง รวมทั้งมีเวลาเลี้ยงสัตว์ที่คุณรัก
11. ถ้าคุณเป็นคนรักสัตว์ แต่เมื่อมาเป็นสัตวแพทย์ คุณต้องพบกับสัตว์ที่เจ็บ ป่วยและทุกข์ทรมาน บางตัวต้องตายไปต่อหน้าต่อตาเพราะเกินจะรักษาได้  เช่น สุนัขที่ถูกรถชนหรือกินสารเคมี ชีวิตของสัตวแพทย์นั้นไม่ได้มีความสุขเลยเพราะต้องมาเห็นการบาดเจ็บของ สัตว์  เพราะโดยพื้นฐานนั้นสัตวแพทย์มาจากคนที่รักสัตว์อยู่แล้ว ยิ่งมาเจอแบบนี้ ยิ่งทุกข์ สัตว์บางตัวขณะนำมารักษานั้นบางทีมีหนอนไชแผลที่เน่าๆ  บางทีมีหนอนตัวใหญ่ ไชแผลที่เน่าๆ มีกลิ่นเหม็นอย่างที่สุด สัตวแพทย์หลายคน ต้องจบอาชีพ ลงเพราะไม่สามารถรับสภาพเหล่านี้ได้
12.คิดดูให้ดีนะ ว่าอยากเป็นสัตวแพทย์จริงๆ หรือเพราะเป็นคนรักสัตว์แล้วเลยอยากเรียนสัตวแพทย์ คิดให้ดีนะ
เพราะหลายอย่างมันไม่มักเหมือนที่ฝัน เพราะ “เรียนที่ฝันไว้ แต่กลับจบไปทำงานที่ไม่ชอบ หรือได้รับเงินเดือนที่ไม่มาก”
ลองคิดให้ดีนะครับว่า “คุณอยากเลี้ยงสัตว์หรืออยากรักษาสัตว์”
>> ข้อมูลจากเว็บ exteen ด้วย คนเป็นสัตวแพทย์ทำงานมาแล้ว เขาบอกเองเลยอ่ะ
- อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
มี…ข้อควรคำนึง ก่อนนึกอยากเรียนสัตวแพทย์ มาฝากจ้ะ
1. คิดภาพตัวเองไว้ว่าอีก 6 ปี ข้างหน้า เราจะอยู่ที่ไหน
ตัวเราในชุดกาวน์สีขาว รักษาพูดเดิ้ลตัวน้อย ที่นอนให้น้ำเกลืออยู่บนโต๊ะตรวจ
ผ่าตัดลูกกระสุนออกจากสุนัขอัลเซเชี่ยน ด้วยเลือดที่เปื้อนเต็มมือในภาวะวิกฤติ
นอนอยู่กลางทุ่งหญ้า ใต้ท้องฟ้าสีคราม รั้้วฟาร์มกว้างสุดลูกหูลูกตา มีวัวเดินเล็มหญ้า ฝูงแกะ อยู่ลิบๆ
ตรวจแถวม้าทหาร ก่อนออกปฎิบัติิราชการ
ออกพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ในท้องถิ่นทำงานด้านสาธารณสุข
เสนอเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
อยู่ในห้องแลบ ทดลอง และค้นคว้า เพื่อให้มนุษย์เข้าใจสัตว์มากขึ้น และเพื่ออยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร
ท่องเที่ยวไปทั่ว พบเจอสัตว์ป่าตัวเป็นๆ แบบ สารคดีพวก national geographic
ถ้าคิดภาพอะไรแบบนี้ออกล่ะก็ มาเถอะ มาเรียนสัตวแพทย์กัน!…. ข้อหนึ่งนับว่าสำคัญที่สุดแล้ว เพราะถ้ามีปณิธานเท่ากับคุณเดินมาได้ครึ่งทางแล้วล่ะ ข้ออื่นๆ ก็คงเป็นแค่เรื่องรองๆลงไปเท่านั้น
2. พูดคุยกับครอบครัวให้เข้าใจ
เพราะเป็นการเรียนที่หนัก ไม่มีเวลาพัก ไปsummer ต่างประเทศ หรือ ท่องเที่ยวกับครอบครัวมากนัก ปิดเทอมก็ต้องฝึกงาน ทำค่าย เรียนภาคฤดูร้อน ทำวิจัยก่อนจบ ข้อนี้ไม่ค่อยเท่าไรนะ อยู่ที่เราแบ่งเวลายังไงมากกว่า
เพราะเป็นชีวิตที่เสี่ยงอันตราย ถูกม้าเตะ  วัวขวิด หมากัด เป็ดไล่จิก โดนกงเล็บ แมวข่วน งูฉก ฯลฯ รวมทั้งต้องสัมผัสกับสัตว์ป่วยตลอดเวลา พิษสุนัขบ้าเอย แท้งติดต่อเอย ปากเปื่อยเท้าเปื่อย วัณโรค หิดเหา ฉี่หนู พยาธิ โน่น นี่ นั่น เยอะแยะไปหมด จะรับได้ไหมถ้าบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้อีก
ที่จริงก็มีการป้องกันอยู่แล้ว เช่น ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าประจำปี ใส่ชุดป้องกัน สวมถุงมือ ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ แต่ความเสี่ยง หมายถึง มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดอันตรายได้อยู่นั่นเอง
3. ถามใจว่าแข็งแกร่งพอมั้ย
บางทีเราอาจคิดว่าสิ่งสำคัญของสัตวแพทย์คือการโอบอุ้มชีวิตสัตว์ ไว้ด้วยสองมือของเราเอง แต่มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น จริงๆแล้ว อาชีพเราเหมือนเป็นตาชั่ง
มือข้างนึงแบกรับความรู้สึกของเจ้าของ / ผลประโยชน์ของเกษตรกร / ความปลอดภัยของชุมชน
ในขณะที่มืออีกข้างแบกรับความเมตตา และจริยธรรมต่อสัตว์
มีสถานการณ์หลายๆอย่างให้ต้องลำบาก …ต้องตัดสินชีวิต ให้อยู่หรือตาย , ต้องช่วยเหลือผู้คน , ต้องคิดถึงประชาชนหมู่มาก ถ้าตัดสินใจผิดเข้าคุก ต่อให้ตัดสินใจถูกก็อาจจะรู้สึกผิดไปจนตายก็ได้
ต้องเผชิญกับความสกปรก เลือด มูล ซากสัตว์ เป็นสิ่งที่ต้องสัมผัสพบเจอในการเรียน ถึงจบมาแล้วจะเลี่ยงได้ แต่ก็ต้องเจออยู่บ้างเหมือนกัน ขึ้นกับว่าทำงานสายไหน (แต่สายไหนก็เจอทั้งนั้นแหละเนาะ)
เช่นเอามือล้วงเข้าไปในก้นวัว ค่อยๆโกยขี้วัวออกมา ผ่านหน้าเราเอง ก่อนจะไหลลงพื้น …ตรงที่เป็นรองเท้า เรานั่นแหละ  บางที ขี้พุ่งปรี๊ดดดดดออกมา ยืนรับมันอยู่อย่างนั้น “เอาเล้ย…เต็มที่ ขี้เต็มตัว”
หรือต้องลุยเข้าไปจับลูกหมูในคอกลื่นๆ ที่เต็มไปด้วยขี้หมู เหม็นๆ กลับบ้านแม่แทบจะไล่ออกนอกบ้าน เสื้อผ้าก็ต้องแยกซักกับเค้า เพราะกลิ่นมันติดสุดทนทาน
อยู่กับกลิ่นคาวเลือดในโรงฆ่าสัตว์ ได้เห็น วัว ถูกผ่าออกเป็นสองซีก เลือดไหลลงสู่เบื้องล่างอย่างกับน้ำประปา หัวถูกตัดแยกออกมา ไส้กองไปทาง เครื่องในไปทาง แล้วเดินตรวจดูว่ามีชิ้นส่วนไหนไม่ผ่านมาตรฐานบ้าง ตอนเรียนก็ต้องไปควานหาพยาธิในนั้นออกมาส่งอาจารย์บ้าง เอาชิ้นส่วนที่เค้าไม่ใช้มาเรียนมาศึกษากัน
ต้องผ่าซากเองบ้างล่ะ กรีดเปิดหัวใจ ผ่ากะโหลกเปิดสมองดูบ้างล่ะ โดยเฉพาะซากเก่าๆที่แช่ฟอร์มาลินเป็นอาจารย์ใหญ่ให้นักศึกษามาหลายต่อหลาย รุ่น…..ใครเป็นไซนัสก็ซวยไป ใครไม่เป็นก็จะเป็นมันตอนนี้แหละ
โดยหน้าที่การงานแล้ว เราจะมีลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งคนเหล่านี้มักจะมีประสบการณ์มากกว่า พูดง่ายๆคือ เก๋ากว่าเรา ในขณะที่เราไม่มีทางไล่ตามความเก๋านั้นได้ทันเพราะมันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โดยระบบแล้วแม้คนที่เพิ่งเรียนจบสัตวแพทย์ออกมา ก็ได้เป็นเจ้านายคนที่ทำงานมาหลายปี ดังนั้นก็ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้ได้ทั้งที่เป็นเด็กจบใหม่นั่นแหละ
4. จำเป็นต้องหารายได้เพื่อส่งเสียครอบครัวรึเปล่า
อย่างแรกเลยตอนเรียน จะมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาสูง เพราะต้องใช้อุปกรณ์แพทย์ ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือ นอกเหนือจากค่าเทอมที่ค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน ต้องประเมินดูว่า เราจ่ายไหวมั้ย แต่ก็มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ และมีทุนเรียนดี เรียนฟรี ให้เป็นทางเลือก อันนี้ต้องสรรหาไขว่คว้ากันเองนะคะ
เพราะว่าเรียนหนัก ฝึกงานเยอะ เริ่มฝึกงานตั้งแต่ปิดเทอมใหญ่ก่อนขึ้นปีสอง ดังนั้นถ้าจะเจียดเวลาไปทำงานพิเศษ อาจจะลำบากหน่อย แต่ ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลยนะ เพื่อนที่ทำงานไปเรียนไปก็มี ส่วนใหญ่จะขาดเรียนบ่อย ทำให้ตามไม่ทัน ก็อาศัยพึ่งพาเพื่อนที่มุเรียนอย่างเดียวกันไป
เมื่อจบมาทำงานแล้ว ขณะนี้เงินเดือนโรงบาลเอกชนอยู่ที่ประมาณ 15000-18000 บาท อาจมีสูงต่ำได้กว่านี้ โดยเฉลี่ย 16,000 บาท กรณีเกรดดีมากหรือเก่งอังกิด ถ้าไปทำงานฟาร์มต่างจังหวัด อาจได้มากกว่านี้ สูงสุดที่ 30,000 บาท
ส่วนเงินเดือนราชการก็ประมาณ เงินเดือนเริ่มแรกของสัตวแพทย์ภาครัฐตอนนี้ 12600 บาท ในปี 2555 (กรมปศุสัตว์)
ชั่วโมงทำงาน ภาคเอกชน ส่วนใหญ่มากกว่าวันละ 10 ชั่วโมง “ไม่มีโอที” ทำงาน สัปดาห์ละ 5-6 วัน และมักจะไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์
ลองถามตัวเองว่าคุ้มมั้ยกับความเสี่ยง กับงานหนักขนาดนี้ จะค้ำจุนครอบครัวได้หรือเปล่า
ด้วยนโยบายการศึกษาต่อเนื่อง จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับ เป็นสมาชิกชมรมนู่นนี่ ค่าใช้จ่ายเพื่อไปอบรม-สัมมนา เราอาจเลี่ยงได้โดยทำข้อสอบกับสมาคมก็จริง แต่ถ้าไปประชุมวิชาการซะบ้างก็จะได้อัพเดทความรู้ใหม่ๆตลอด ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ค่อนข้างแพง เดือนละหลายพันทีเดียว (อย่างที่บอกว่าเลือกได้)
5. เราแค่รักสัตว์หรืออยากรักษาสัตว์
มีสาขาวิชาใกล้เคียงกันกับสัตวแพทยศาสตร์เยอะแยะ ได้แก่ สัตวบาล / สัตวรักษณ์ / สัตววิทยา / ประมง / วนศาสตร์ / เทคนิคการสัตวแพทย์ ฯลฯ ลองศึกษาดูหลักสูตรให้แน่ใจ ก่อน เพราะสัตวแพทย์นั้นค่อนข้างจับฉ่ายเรียนสัตว์หลากหลายประเภท แต่ที่โดดเด่นก็คือการรักษาโรค ถ้าเราไม่ได้อยากรักษาโรค แค่อยากใกล้ชิด ดูแล หรือ สนใจเฉพาะด้าน ก็มีทางเลือกอื่นๆอีก เรียนจบออกมาก็ภาคภูมิใจเหมือนกัน และได้มีประสบการณ์ที่เรียนสัตวแพทย์ไม่ได้เจอก็มี

ไม่มีความคิดเห็น: