วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิกฤตหรือโอกาส อาชีพ ทันตแพทย์ หลังเปิด AEC ??

หมอฟันเป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่จะเปิดเสรีอาเซียน ทพ.ทองนารถ คำใจ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมีขึ้นในปี 2558 กับอาชีพทันตแพทย์ไว้ว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นที่หนึ่งในอาเซียนในด้านทันตกรรมและ มีความสามารถเป็นอันดับ ของโลก นอกจากนี้ยังมีราคาถูกกว่า ชาวต่างชาติทั้งยุโรป อเมริกา ลงทุนบินมาทำฟันที่เมืองไทยมากมาย เพราะประหยัดกว่า
   ประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมหรือ MRA (Mutual Recognition Arrangement) ในวิชาชีพทันตแพทย์อาเซียนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายบริการในส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม โดยมีการกำหนดคุณสมบัติผู้ให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรม เพื่อทำให้แน่ใจว่าเมื่อมีการเปิดเสรีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมที่จะเข้ามาทำงานในแต่ละประเทศ เป็นผู้มีความสามา รถในวิชาชีพทันตกรรมอย่างแท้จริง

รูปแบบบริการวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทยแบ่งออกเป็น
รูปแบบที่ 1 บริการข้ามพรมแดน
รูปแบบที่ 2 การใช้บริการวิชาชีพในต่างประเทศ
รูปแบบที่ 3 การเปิดสถานพยาบาลในประเทศไทย
 กำหนดว่า
   1. ต้องจัดตั้งเป็นคลินิกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล
   2. ดำเนินการได้คนละ 1 แห่ง เท่านั้น
   3.ผู้ดำเนินการต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทย จากทันตแพทยสภา
   4. ถ้าเป็นนิติบุคคล สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ไม่เกิน 49 % ตั้งแต่ ปี 2558 ได้ถึง 70%
   5. ผู้ขอต้องมีถิ่นอยู่ในประเทศไทย
   6. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลของประเทศไทย ไม่มีข้อห้าม หรือ ข้อบังคับให้ต้องไปเปิดสถานพยาบาลทันตกรรมในพื้นที่ท้องถิ่นใดโดยเฉพาะเท่านั้น จะไปเปิดสถานพยาบาลทันตกรรม ในพื้นที่ท้องถิ่นใดๆ ตามที่ต้องการได้
   7. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมือง กฎหมายทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงาน ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ และกฎระเบียบอื่นของประเทศไทย
รูปแบบที่ 4 การเข้ามาให้บริการทันตกรรมของทันตแพทย์ประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศไทย โดยกำหนดว่าทันตแพทย์อาเซียนจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาที่ทันตแพทยสภาไทยรับรอง  มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องในประเทศแหล่งกำเนิด ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาไทย โดยต้องสอบผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม จากข้อสอบที่เป็นภาษาไทย เป็นต้น
   ส่วนหมอฟันไทยคนไหนอยากออกไปทำงานในประเทศอาเซียนนอกจากต้องสำเร็จการศึกษาวิชาชีพทันตแพทย์ ซึ่งได้รับการรับรอง หรือยอมรับจากองค์กรผู้มีอำนาจกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพทันตกรรม (Professional Dental Regulatory Authority: PDRA): ทันตแพทยสภา หรือ องค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นแล้ว ยังต้องขึ้นทะเบียน และ หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศสมาชิกอาเซียน ต้องมีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติทางวิชาชีพทันตกรรมไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อเนื่องในประเทศแหล่งกำเนิด ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียน หรือขอรับใบอนุญาต ต้องมีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development :CPD) ต้องได้รับใบรับรอง และไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับและกฎเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของประเทศที่เข้าไปประกอบวิชาชีพ (Domestic Regulation) ต้องเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา ต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ตามกฎหมายไทย

   ตัวอย่างกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของประเทศอาเซียนที่หมอฟันต้องปฏิบัติตามก็อย่างเช่น ที่มาเลเซียให้เฉพาะทันตแพทย์เฉพาะทาง ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญได้ไม่เกิน 2 คน ต่อ 1 แห่งเท่านั้น หรือในพม่า ทันตแพทย์ชาวต่างประเทศ จะประกอบวิชาชีพดังกล่าวต้องได้รับใบอนุญาต “Limited Medical License” หรือ “Dental License” ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวมีระยะเวลา 3 เดือน เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เรายังขาดแคลนทันตแพทย์เป็นจำนวนมาก มีแต่หมอฟันต่างชาติเท่านั้นแหละที่จะหลั่งไหลกันเข้ามาทำงานในประเทศเรา นี่เป็นเรื่องที่ต้องตั้งรับให้ดี ที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของภาษา ไม่ว่าจะเป็นหมอฟัน พยาบาล หรือผู้ช่วยทันตแพทย์ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรี เนื่องจากชาวต่างชาติจะเดินทางเข้ามาทำงาน ส่งผลในทีมงานมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษา ผู้ที่สามารถสื่อสารภาษากับหัวหน้างานได้ ก็จะมีโอกาสเติบโตทางหน้าที่การงานมากกว่า อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาชีพหมอฟันอาเซียน คลิก http://www.thaidentalmag.com/dent-stream-detail.php?type=10&id=313
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบการให้ความรู้จาก
ภาพหมอฟัน  http://nanamwit.blogspot.com/2010/08/blog-post.html
ภาพกราฟฟิกหมอฟัน http://www.clipartguide.com/_pages/0511-0905-2017-2763.htm
รียบเรียง  http://kbeautifullife.askkbank.com/

ไม่มีความคิดเห็น: