วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย

หลังโดนพิษการเมืองเล่นงาน จนเป็นเหตุให้นิสิต นักศึกษา ทั้ง 2 สถาบัน อย่าง “จุฬา-ธรรมศาสตร์” จำต้องประกาศเลื่อนงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 ออกไป จากเดิมมีกำหนดจัดงานในวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพ เป็นวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองสถาบันยังคงเตรียมสีสันและความสุขไว้เช่นเคยภายใต้คอนเซ็ปต์ “Get Give & Go(al)" 
      
       เมื่อพูดถึงงานฟุตบอลประเพณีฯแน่นอนว่าต้องมีการขึ้นแสตนด์เชียร์และเพื่อให้แสตนด์เชียร์มีความสวยงามพร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกันสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือเสื้อเชียร์
      
       ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีทุกปีนั้น ทั้งสองสถาบันจะจัดทำเสื้อเชียร์เพื่อให้นิสิตนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปได้ซื้อไปสวมใส่ เพื่อแสดงถึงความสามัคคี ทั้งยังสร้างสีสันและความสวยงามให้แก่แสตนด์เชียร์อีกด้วย ในแต่ละปีนั้นจะมีความสวยงามแตกต่างกันออกไปโดยมีความหมายบอกความเป็นจุฬา-ธรรมศาสตร์และสะท้อนความคิดต่อสังคมในช่วงนั้นๆ ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นเสื้อสวยๆในแต่ละปี ต้องเกิดจากมันสมองของเพื่อนๆหลายคนที่ส่งแบบเสื้อและโลโก้เข้ามาประกวดกัน จนกระทั่งถูกคัดสรรออกมาเป็นแบบเสื้อที่สวยงามที่สุด
      
       สำหรับในปีนี้ ผู้ออกแบบเสื้อเชียร์ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 เป็นฝีมือขอ“นายสรนภ โพธารส” นิสิตชั้นปีที่ 1คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนผู้ออกแบบโลโก้นั้น คือ นายสิทธิโชค น้อยสี นิสิตชั้นปีที่ 2คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       เริ่มต้นที่ เสื้อเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยออกแบบให้บนเสื้อมีลายหมายเลข 70 ขนาดใหญ่ สามารถดึงดูดสายตาผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี และเพื่อต้องการสื่อให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ทันทีว่านี่เป็นเสื้อประจำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 หรือหากผู้ที่ไม่รู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ได้เห็นเสื้อ อาจเกิดความสงสัยและหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เสื้อสีชมพูที่มีหมายเลข 70 ตัวใหญ่ๆ โดดเด่นสะดุดสายตา เป็นเสื้อที่เกี่ยวข้องกับอะไร ทำไมชาวจุฬาฯ ถึงได้ใส่กัน เมื่อได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก็ทำให้คนที่ไม่รู้จักงานบอลฯ ได้รู้จักงานบอลฯ เพิ่มขึ้น และที่สำคัญผู้ออกแบบได้นำเสนอรูปแบบเสื้อที่มีความเรียบง่าย สามารถใส่ได้ทุกวัย ไม่ตกเทรนด์ หวังว่าคงสวยถูกใจชาวจุฬาฯ
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
      
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       ส่วนสัญลักษณ์ (Logo) ของเสื้อเชียร์จุฬา ได้ใช้แนวคิดการถ่ายทอดเรื่องราวและวัฒนธรรม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวจุฬาฯ ความบริสุทธิ์และความเรียบง่าย ผ่านลายเส้น Signature line ที่มีลักษณะเป็นริบบิ้น เป็นการเขียนเลข 70 แบบลายมือโดย หางเลข 7 จะต่อกับ เลข 0 และผสานกัน เพื่อแสดงถึงเรื่องราวและความสำเร็จของงานฟุตบอลประเพณีฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผ่านลายเส้นนี้ อีกทั้งยังสื่อถึงความสมัครสมานสามัคคีกันของชาวจุฬาที่มีต่องานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งนี้ด้วย สำหรับการใช้สี เลือกใช้สีที่มีสีสันสดใส โดยใช้สีชมพูเป็นหลักแต่สลับความเข้มกันไป เพื่อเพิ่มความมีมิติแก่ Logo เพื่อให้มีลักษณะเข้ากับยุคสมัยที่เน้นในเรื่องความเรียบง่าย “the simplest things mean a lot” นั่นเอง
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       ถัดมาที่ เสื้อเชียร์ธรรมศาสตร์ ที่มาพร้อมกับแนวคิด: “Twelve Player” เกิดจากการนำลักษณะสำคัญของเสื้อนักฟุตบอลธรรมศาสตร์มาใช้เทคนิคการตัดเย็บเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ของเสื้อเชียร์ที่รวมเอาเสื้อนักฟุตบอลและเสื้อเชียร์มารวมกันได้อย่างลงตัว แถบสีสลับเหลือง-แดง ด้านหน้า คาดเหลื่อมจากปกเสื้อไปยังรอยต่อของแขนเสื้อ ด้านหลัง คาดพาดด้านบนของหลัง มีลักษณะเป็นแนวโค้งบรรจบกัน
      
       “แทบสีสลับสีแดง-เหลือง ถือเป็นความหมายสีของเสื้อนักฟุตบอลธรรมศาสตร์ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งแรกในปี 2477 ซึ่งได้นำมาพาดไว้บนบ่าและด้านบนของหลัง ของผู้เชียร์ เป็นการประยุกต์จากลักษณะสำคัญของเสื้อนักฟุตบอลธรรมศาสตร์ นำไปเป็นลักษณะที่โดดเด่นของเสื้อเชียร์ (ซึ่งหากทำเป็นลายทางทั้งหมดจะทำให้ซ้ำกับเสื้อนักฟุตบอลและเสื้อที่ธรรมศาสตร์เคยจำหน่ายก่อนหน้านี้) ซึ่งนำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกับทุกโอกาส ทันสมัยและมีความแปลกตา ในตัวของเสื้อนั้น จะทำให้ผู้สวมใส่ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เหมาะกับลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน และยังทำให้สมส่วน กระฉับกระเฉงและมีความโดดเด่นเมื่ออยู่บน Stand เชียร์
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       จากหลักคิด “พวกเรา คือ นักบอลธรรมศาสตร์” ลักษณะการ Design ของเสื้อแบบดังกล่าว จะสามารถตอบโจทย์ได้อย่างดี ซึ่งไม่สามารถทำให้เสื้อเชียร์มีลักษณะแบบเดียวกันกับนักฟุตบอลได้ แต่สามารถนำลักษณะสำคัญมาบรรจุลงในเสื้อของผู้เชียร์ได้ เปรียบเสมือน ผู้เชียร์ไม่ได้ทอดทิ้งนักฟุตบอลให้ต่อสู่อยู่เพียงลำพัง แต่ผู้เชียร์จะช่วยแบกรับอุปสรรค และร่วมต่อสู้ไปด้วยกันในฐานะ “นักฟุตบอลคนที่ 12” จึงจะทำให้นักฟุตบอลมีแรงใจในการแข่งขันและผู้เล่นคนที่ 12 อยู่ทั่วสนาม
      
       ด้านหลังของเสื้อ มีรูปสกรีนโดมและตัวอักษรลักษณะไทย “เป็นธารทางธำรงไทยให้เป็นชาติ ๘๐ ปี ธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร์ไทย” เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับปีที่ ๘๐ ของการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใช้ตัวอักษรที่ไม่ทันสมัยจนเกินไปและมีความเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ใส่ที่ แตกต่างกัน ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดความฉูดฉาดของลายเสื้อให้ สมดุล ระหว่าง ความเป็นนักฟุตบอล กับความเป็นธรรมศาสตร์ อย่างลงตัว
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       SIZE หลังคอเสื้อ เป็นรูปดาวทั้งหมด 22 ดวง คาดบน Keyword “22 wins 82 goals I am Thammasat Football Player” หมายถึง ดาวทั้ง 22 ดวงบ่งบอกถึงชัยชนะทั้ง 22 ครั้งของธรรมศาสตร์ (ซึ่งมากกว่าจุฬาฯ คือ 13 ครั้ง) และ Keyword ต่างๆ แสดงถึงจำนวนครั้งที่คว้าชัย จำนวนประตูที่สามารถยิงได้ทั้ง 69 นัด และวลีที่บ่งบอกถึงความภาคภูมิใจในตัวนักฟุตบอล ว่า “ฉันคือนักฟุตบอลธรรมศาสตร์” ซึ่ง Keyword เหล่านี้ นักศึกษาธรรมศาสตร์น้อยคนนักที่จะทราบถึงข้อมูลที่สำคัญ อันจะเป็นแรงใจให้กับนักฟุตบอล รวมถึงชี้ให้เห็นผลงานของ “นักฟุตบอลธรรมศาสตร์” ที่ดีเยี่ยมตลอด 69 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องได้มอง Size เสื้อของตนอย่างแน่นอน Keyword ที่สำคัญเหล่านี้จะทำให้ลูกแม่โดมได้ตระหนักถึงความสำคัญและยังเพิ่มความน่าสนใจในการติดตามเชียร์ฟุตบอลประเพณีในครั้งต่อๆ ไปอีกด้วย
      
       TAG ข้างเสื้อ หมายถึง วันที่จัดการแข่งขัน ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งแรก ในวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งลูกแม่โดมหลายคนทราบแต่ ปี พ.ศ. 2477 แต่ไม่ทราบวันที่ของการแข่งขัน อีกฝั่ง เป็นเลข ๗๐ แสดงครั้งที่ 70 ของการแข่งขันในปีนี้
      
       สำหรับโลโก้นั้นมีที่มาด้วยConcept จากสัญลักษณ์ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 ประกอบด้วย ตัวเลข 2 ตัวคือ เลข 7 เเละ เลข 0 บ่งบอกถึงจำนวนครั้งในการจัดงานฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ดำเนินมาช้านานเป็นเวลาถึง 70 ปี ประกอบกับรูปสามเหลี่ยมอันหมายถึง 3บูรพาจารย์ที่ชาวธรรมศาสตร์ทุกคนเคารพรัก คือ อ.ปรีดี พนมยงค์ อ.ป๋วย อึ๊งภากร เเละ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทจิตวิญญาณธรรมก่อเกิดเป็น ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของประชาชนทุกคนเฉกเช่นทุกวันนี้ โดยจัดวางให้มองภาพรวมคล้ายรูป ตึกโดม สัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวเลข 70 เป็น สีเหลืองเเละสีเเดง สีประจำมหาวิทยาลัย
      
       โดยเลข 0 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายประตูฟุตบอลภายในประกอบด้วยสัญลักษณ์ลูกฟุตบอล บนพื้นสีเหลืองอันหมายถึง ธรรม ที่นักบอลธรรมศาสตร์เเละชาวธรรมศาสตร์ทุกคนยึดมั่น ดังคำที่ว่า เหลืองของเราคือ ธรรมประจำจิต เเสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นเเละตั้งใจของนักบอลธรรมศาสตร์ที่ทุ่มเททั้งเเรงกายเเละเเรงใจหวังทำประตูชัยให้ชื่อ ธรรมศาสตร์ประกาศก้อง ซึ่งทั้งนักบอลธรรมศาสตร์ เเละพวกเราชาวธรรมศาสตร์ทุกคนก็ต่างทำหน้าที่ไม่ต่างกันคือ ร่วมเเรงร่วมใจนำลูกบอลกลมๆ ที่รวมทุกจิตวิญญาณธรรมศาสตร์เข้าประตูเเห่งชัยชนะไปพร้อมกัน
 
เสื้อเชียร์งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ “70” เลขนี้มีความหมาย
       พลาดไม่ได้!! เสื้อเชียร์ งานบอล'70 (จุฬาฯ) จัดจำหน่ายในราคาตัวละ 220 บาท หาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาศาลาพระเกี้ยว จามจุรีสแควร์ และสยามสแควร์ สำหรับเสื้อเชียร์งานบอล '70 (ธรรมศาสตร์) จัดจำหน่ายในราคาตัวละ 200-220 บาท หาซื้อได้ที่ บร.1 มธ.รังสิตและศูนย์หนังสือท่าพระจันทร์ หรือสามารถซื้อได้ที่หน้างานวันที่ 29 มีนาคมนี้

ไม่มีความคิดเห็น: