วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รู้ทุกเรื่องกับ วิศกรรมเคมี

วิศวเคมี เรียน เกี่ยวกับอะไร เรียนอย่างไร หางานยากไหม เรียนยากป่าว ฯลฯ พี่ขอให้กระทู้นี้เพื่อนตอบคำถามน้องๆ นะครับ มีคำถามอะไรเกี่ยวกับ วิศวกรรเคมี โพสถามได้เลยนะครับ

ก่อนอื่น เรามาดูกันว่าวิศวกรรเคมี ที่สถาบันเทคโนโลยีพนระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังของเรา มีประวัติอะไรมาบ้างงง

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ในชื่อ "โครงการจัดตั้ง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี" โดยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม หรือ วิศวกรรมสารสนเทศในปัจจุบัน ได้เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2537 โดยมีที่ทำการอยู่ที่ชั้นที่ 9 ของอาคาร 12 ชั้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่อาคาร CCA ในปี พ.ศ. 2543 โดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะหน่วยเป็นชั้นโล่งที่มีความสูงเท่ากับตึก 3 ชั้นอยู่บริเวณชั้น 1-3 ห้องธุรการภาควิชา ห้องสัมมนา ห้องพักอาจารย์บางส่วนอยู่ที่ชั้น 4 ในส่วนของ ชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการรวมขนาดใหญ่ ในส่วนชั้นที่ 6 จะมี ห้องพักอาจารย์ ห้องทำงานวิจัย ห้องเรียน CCA-601 และ CCA-602


ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนในทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมีคณาจารย์ประจำ จำนวน 15 คนโดยมีวุฒิระดับปริญญาเอก จำนวน 12 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน โดยอาจารย์แต่ละท่านจะมีความชำนาญเฉพาะด้านที่หลากหลายอาทิ ตัวเร่งปฏิกิริยา พอลิเมอร์ พลังงานทดแทน ระบบควบคุม กระบวนการแยกสาร เทคโนโลยีสะอาด แบบจำลองมลภาวะอากาศ และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ภาควิชา จึงมีความพร้อมที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมเคมี ไปพร้อมทั้งดูแลสภาวะแวดล้อมให้ยังคงอยู่

ภาควิชาวิศวกรรมเคมีตระหนักถึงหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมด้วย ความรู้ ความสามารถ และมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพใน การแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ แนวทางการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนยัง ต้องหมายรวมถึงการมีความสามารถในการที่จะคิดค้นองค์ความรู้และประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการ เป็นเจ้าของเทคโนโลยีลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติอีกด้วย

น้องรู้แล้วใช่ไหมครับว่าภาค เคมีของเรา มีความเป็นมาเป็นไง เอาละต่อไป เรามาดูกันว่าเรียนอะไร จบไปทำอะไรมาได้บ้างกันนะ

วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) เกี่ยวกับอะไร? 
วิศวกรรมเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการผลิตสารเคมีในระดับอุตสาหกรรม ความรู้ด้านฟิสิกส์ที่นำมาประยุกต์ เช่น กลศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์การแลกเปลี่ยนความร้อน (heat transfer) และการแลกเปลี่ยนมวลสาร (mass transfer) ส่วนด้านเคมี เช่น จลศาสตร์ของปฏิกริยาเคมี (kinetic of reaction)ซึ่งจริงๆแล้วจะมีสัดส่วนของฟิสิกส์มากกว่ามากกว่าเคมีเสียอีก ดังนั้นน้องๆที่บอกว่าไม่ชอบเคมีแล้วกลัวว่าจะเรียนไม่ได้ก็ไม่ต้องห่วงครับ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยชอบ pure chemistry เท่าไหร่แต่กลับชอบวิศวกรรมเคมีครับ หลังจากเรียนวิชาพื้นฐานพวกนั้นแล้ว ก็เรียนรู้การออกแบบอุปกรณ์ต่างที่นำความรู้พวกนั้นมาประยุกต์ เช่นการเลือกใช้ปั๊ม การเลือกท่อ (พวกนี้จะคล้ายกับวิศวกรรมเครื่องกล) การออกแบบหอกลั่นเบื้องต้น การออกแบบreactor (ศัพท์จริงๆแปลว่าเครื่องปฏิกรณ์หรือเตาปฏิกรณ์ แต่คนทั่วไปมักนึกถึงเตาปฏิกรณ์ปรมาณู -ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า reactor เหมือนกัน) เป็นต้น เมื่อได้อุปกรณ์แต่ละตัวแล้วก็นำมาจัดสร้างเป็นกระบวนการผลิตแล้วประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นครับ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเรียนในระดับปริญญาตรีครับ ส่วนปริญญาโทหรือเอก ก็จะเจาะเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญญาต่างๆ หรือพัฒนาสมมติฐานใหม่ๆ
--------------------------------------------------------------------------------
จบวิศวกรรมเคมีแล้วทำงานอะไร?? 
เราสามารถแบ่งโรงงานอุตสาหกรรมได้คร่าวๆ 2 แบบ คือ แบบ line ผลิต (assembly line หรือ manufacturingline) เช่นพวกโรงงานประกอบรถยนต์ อีกแบบหนึ่งคือแบบกระบวนการผลิต (process industry) เช่นโรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานสบู่ ผงซักฟอก โรงงานเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้นซึ่งวิศวกรรมเคมีจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแบบหลังมากกว่า และพื้นฐานความคิดที่มองระบบเป็นกระบวนการ(process) ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตเหล่านี้ได้ง่าย ดังนั้นงานที่วิศวกรเคมีเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นกระบวนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ดังตัวอย่างในย่อหน้าก่อน
แต่ถ้าสรุปเป็นลักษณะของงานจะได้ดังนี้

(1) งานในกระบวนการผลิต เช่น วิศวกรผลิต (Production engineerหรือprocessengineer)
ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม ดูแล และปรับปรุง แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต หรืออาจเรียกว่าเป็นงานด้าน operationเช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงงานสารเคมีต่างๆซึ่งโรงงานเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมหนักจึงมักตั้งอยู่ในต่างจังหวัดซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้บัณฑิตจำนวนหนึ่งไม่ต้องการทำงานลักษณะนี้ตัวอย่างบริษัทที่มีวิศวกรที่ทำหน้าที่นี้ เช่น เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย
(กลุ่มบริษัทปิโตรเคมีของเครือซิเมนต์ไทย) บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) บริษัท ไทยออลย์ บริษัทเอสโซ่ บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (อันนี้โรงงานอยู่ใน กทม.) เป็นต้น

(2) งานโครงการ ได้แก่ วิศวกรโครงการ (Project engineer)
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงงานในลักษณะที่เป็นกระบวนการผลิตรวมไปถึงงานเตรียมความพร้อมของโรงงานก่อนเริ่มการผลิตจริง (Commissioning)ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้าน operation มาด้วย งานโครงการนี้อาจรวมไปถึงการบริหารโครงการด้วยและจะต้องประสานกับวิศวกรสาขาอื่นๆ เช่น โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เครื่องมือวัดซึ่งเป็นสาขาหลักๆที่จะเป็นในการสร้างโรงงานที่เป็นกระบวนการผลิต บริษัทที่จะมีวิศวกรเหล่านี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกที่เป็นบริษัทเจ้าของโรงงาน (เรียกว่า Owner) กับพวกที่เป็นผู้รับเหมา (Contractor)ซึ่งพวกเจ้าของโรงงานก็เป็นบริษัทเดียวกับในข้อ 1 ครับ วิศวกรของ Owner นี้ก็จะเป็นการควบคุมให้Contractor ทำงานตามที่เรากำหนดไว้ ตรวจสอบ และรับงาน โดยทำงานร่วมกับ Contractor ทั้งในช่วงออกแบบช่วงจัดซื้อเครื่องจักร ช่วงก่อสร้าง และช่วงรับงาน ส่วนบริษัทที่เป็น Contractor ก็จะมีทั้งรายใหญ่รายเล็ก ในกรณีของContractorรายใหญ่ๆ จะเป็นบริษัทต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีส่งเจ้าหน้าที่มาทำงานที่เมืองไทยเป็นครั้งคราว ไม่ได้มี engineering officeประจำที่นี่ ดังนั้นใครอยากทำงานกับพวกนี้คงต้องสมัครไปทำต่างประเทศแต่รับรองว่าได้ใช้ความรู้มาออกแบบเครื่องจักรอย่างสนุกสนานส่วนที่อยู่ในเมืองไทยจะเป็นบริษัทขนาดกลางหรือาจเป็นบริษัทลูกของพวกบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศแต่บริษัทเหล่านี้มักไม่สามารถออกแบบกระบวนการได้ มักเป็นเพียงผู้ก่อสร้างเสียส่วนใหญ่

(3) งานวางแผน พัฒนาธุรกิจ (planning, business development)
ในบริษัทใหญ่ๆจะมีหน่วยงานวางแผนเพื่อวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับการขายและ inventoryและอาจมีหน่วยงานพัฒนาธุรกิจเพื่อกำหนดทิศทางในการขยายกิจการหรือนโยบายขององค์กรซึ่งมักต้องใช้ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการตลาดเข้ามาร่วมด้วย

(4) งานขาย งานตลาด งานบริการเทคนิค (sales, marketing, technical service) งานเหล่านี้จะเกี่ยวกับcommercial มากกว่า technical (ยกเว้นบริการเทคนิค) ซึ่งบริษัทที่จะเกี่ยวข้องมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขายผลิตภัณฑ์เคมี และ กลุ่มที่ขายอุปกรณ์สำหรับโรงงาน

(5) งานวิจัย อาจารย์ ชื่อก็บอกอยู่แล้ว

(6) งานอื่นๆ เช่น งานสินเชื่อของธนาคารต่างๆ ในการให้สินเชื่อแก่โรงงาน งาบริษัทการเงิน

และ

“อย่างที่รู้ๆกันว่าวิศวกรทำงานได้ทุกอย่าง”(มีทุกวงการ) 
--------------------------------------------------------------------------------
ผู้หญิงเรียนได้ไหม?? 
แน่นอนว่าต้องเรียนได้อยู่แล้วครับ ในรุ่นผมมีผู้หญิงประมาณ 15-20%ซึ่งก็ค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับภาควิชาอื่นๆ และโดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะเรียนได้ดีกว่าผู้ชายด้วย(ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติในสถานศึกษาหลายๆแห่ง) ทีนี้เมื่อจบมาแล้ว งานที่ผู้หญิงทำก็เหมือนกับผู้ชายครับเพียงแต่หน้าที่อาจสมบุกสมบันน้อยกว่า เช่น ถ้าเป็นวิศวกรผลิตก็อาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ต้องทำงานเป็นกะเนื่องจากอาจไม่สะดวกที่จะทำงานในกะดึกที่มีพนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชายหรือถ้าเป็นวิศวกรโครงการก็ทำหน้าที่ด้านการออกแบบหรือวางแผนมากกว่าจะต้องลงไปอยู่หน้างาน เป็นต้นส่วนงานจำพวก sales งานวิจัย ฯลฯ แน่นอนว่าไม่มีปัญหาครับ
--------------------------------------------------------------------------------
หางานยากหรือไม่? 
ก่อนหน้าพิษเศรษฐกิจ ธุรกิจด้านปิโตรเคมีของไทยเฟื่องฟูมาก วิศวกรเคมี ทั้งผู้ที่จบวิศวกรรมเคมีโดยตรงหรือวท.บ. เคมีเทคนิค เป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่พอเศรษฐกิจทรุดตัวการจ้างงานในธุรกิจนี้ก็ชะลอลงหมดโครงการก่อสร้างที่ก่อนหน้านี้ผุดขึ้นอย่างกับดอกเห็ดก็หยุดลงเกือบทั้งหมด จนมาในช่วงสองปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆเริ่มหันกลับมารับพนักงานใหม่กันอีกครั้งอาจคาดการณ์ว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจะได้มีขุมกำลังเพื่อแซงหน้าคู่แข่งได้ก่อนก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าถามว่าขณะนี้การจ้างงานเป็นอย่างไร คงตอบว่ามีบ้าง แต่ย่อมเทียบไม่ได้กับช่วงก่อนเศรษฐกิจทรุดตัวส่งผลให้เกณฑ์ที่บริษัทต่างๆจะรับพนักงานเข้าทำงานก็จะยากขึ้นเพื่อแย่งตัวบุคลากรที่ดีที่สุดมาไว้ในองค์กรของตนฉะนั้นเราก็ควรจะสร้างตัวเองให้มีคุณภาพก่อนเพื่อที่เราจะได้เป็นผู้เลือก มิใช่ผู้ถูกเลือก

อ่าทีนี้น้องรู้แล้วใช่ไหมว่า เรียนเกี่ยวกับอะไร มีงานอะไรให้ทำ ที่นี้ เรามาดูกันเลยว่า ที่ สจล ของเรานี่ปี1 เรียนอะไรกันบ้างงงงง

ปี1เทอม1*เดี๋ยวคอมเม้นแต่ละวิชาจะตามมาน้ารอแปปนึงง
Engineering Mathematics1
ENGINEERING DRAWING
GENERAL CHEMISTRY
PRACTICES IN GENERAL CHEMISTRY
GENERAL PHYSICS 1
GENERAL PHYSICS LABORATORY 1
FOUNDATION ENGLISH 1

ปี1เทอม2
ENGINEERING PRACTICE
ENGINEERING MATERIALS
PRINCIPLES OF COMPUTER PROGRAMMING
ENGINEERING MATHEMATICS 2
GENERAL PHYSICS 2
GENERAL PHYSICS LABORATORY 2
FOUNDATION ENGLISH 2

การเข้าศึกษา
มี2แบบครับคือ
1.ผ่านระบบแอดมิชชั่น
2โควต้าต่างๆ

เนื่อจากน้องที่เข้าศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา2552 เป็นต้นไปจะใช้หลักสูตรใหม่ ซึ่งจะเรียนยากกว่าเดิมเล็กน้อยเพื่อคุณภาพ ส่วนเรื่องรายละเอียดเอาไว้จะหามาให้นะคร้าบบบ

ปล.เดี๋ยวถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะหามาให้เรื่อยๆ นะครับ มีอะไรโพสถามได้เลยน้องงงงงงงงงงงง

เพิ่มเติม

คับน้อง พี่ได้ไปถาม+หาข้อมูลมาแระ ต่างกันยังไงหรอครับ

โดยวิชาพื้นฐาน จะเรียนคล้ายๆ กันพวก ออเค็ม ฟิเค็ม แอนเค็ม พวกนี้อะครับ จะเรียนคล้ายๆ กัน แต่ที่แตกต่างคือวิศวเคมีจะเรียน พื้นฐานของวิศวกรด้วยเช่น โปรแกรมมิ่ง แมคคานิกซ์ แมททีเรีลย ฯลฯ และจะไปแตกต่างกัน ประมาณ ปี 3 4 แหละครับ

ง่ายๆนะ วิศวเคมีคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี) มาประยุกต์ใช้กับ ขนวบการทางวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ขนวนการ สร้างและออกแบบ โณงงานอุตสาหกรรม การผลิตโดย ขบวนการผลิต โดยเราจะใช้หลักการของเศรษฐศาสตร์มาช่วยด้วยครับ และยังดูเรื่องของคุณภาพการผลิตด้วยนะครับบบบ Zที่เค้าเรียกว่า QC ไง)

ง่ายๆ วิศวเคมี สารA + สารB ----> สารC หามาว่าใช้สารเอ สารบี เท่าไรจึงจะได้ สารBมากที่สุด โดยจะสนใจ ขบวนการผลิต

แต่วิทยาสาสตร์เคมีอุตสาหกรรม จะศึกษา เกี่ยวกับที่มาของสาร จะเรียนหาเหตุผลว่า สารตัวนี้ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร มีสมบัติทางเคมีและ กายภาพอย่างไร จะศึกษาถึงโครงสร้างโมเลกุล เลยยยย

ง่ายๆ วิดยาเคมี สารA คืออะไรหนอ มีโครงสร้างอย่างไร มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีอย่างไร

ประมาณนี้อะครับ พอจะเข้าใจไหม

ส่วนเรื่องของงาน

วิศวกรเคมี สามมารถทำงานได้หลายสาขาครับ ไม่ว่าจะทำงาในโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านเคมี งานเกี่ยวกับปิโตรเคมี(SCG) งานด้านปิโตรเลี่ยม(ปทต ปทตสผ เชฟร่อน)

วิทยาศาสตร์เคมีจะทำงานในสายเดียวกับวิศวเคมีแหละครับ แต่ โดยทางต่ำแหน่งและหน้าที่ จะต่างกันนั้นเอง วิทยาศษสตร์เคมีอาจะ ไม่ได้ลงไปที่แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ แต่อาจจะอยู่ในห้องแลปพัฒนาคุณสมบัติของก๊ากที่เราได้มา อย่างงี้เป็นต้นครับ

คงพอจะเข้าใจคร่าวๆ นะครับ ไว้เดี๋ยวจะหาข้อแตกต่างมาให้ดูใหม่นะครับ

สุดท้าย

นักวิทยาศษสตร์เป็นคนคิด แต่ วิศวกรเป็นคนนำไปใช้+ประยุกต์

...


ที่มา
http://www.reg.kmitl.ac.th
http://www.kmitl.ac.th/che/ (website ภาคเราเข้าไปเยี่ยมกันได้คร้าบ)


By P'Por 1X-->2X

ไม่มีความคิดเห็น: