วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น


เพื่อนๆ หลายคนมีปัญหากับการอ่านหนังสือสอบกันเป็นจำนวนมากที่เดียว ไม่มีสมาธิบ้าง ไม่รู้จักเริ่มต้นอ่านตรงไหน โฟกัสจุดไหนดี วันนี้ ทีนเอ็มไทยมี เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น มาฝากกันคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ^^ 
8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยัง
1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่

ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งในเวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆของเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ คือการเลิกไฮไลต์ เนื่องจากครูผู้สอนกล่าวถึงแทบทุกอย่างในหน้าหนังสือ เลยไฮไลต์ตาม ปรากฏว่าไฮไลต์ไปหมดทั้งหน้า ซึ่งกลายเป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ไป จึงขี้เกียจไฮไลต์อีก และเลิกทำไปในที่สุด
ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
และยังทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ เทคนิคนี้ช่วยป้องกันอาการ “ตามองอ่านตัวหนังสือทุกบรรทัด แต่ใจความไม่เข้าหัวเลย” อ่านออกแต่สมองไม่ตอบรับว่าสิ่งที่อ่านไปนั้นคืออะไร เพราะเกิดจากการอ่านสิ่งที่เราไม่อยากอ่านนั่นเอง
 
4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
แต่ขึ้นชื่อว่าหนังสือเรียนก็รู้ๆ กันอยู่อ่านไปหลับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นการหาความรู้ข้างนอกมาเสริมจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่าย และเข้าใจมากขึ้น บางทีอาจรู้ลึกกว่าที่เรียนในคาบเสียอีกนะ หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ที่มีอยู่ในห้องสมุดอาจจะอ่านแล้วสนุกน่าอ่านกว่าหนังสือที่ใช้เรียนอยู่ก็ได้ การอ่านไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สนุกได้โดยอัตโนมัติ หากเราไม่มองหาสิ่งที่เราอยากอ่านจริง ๆ เสียก่อน การอ่านจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราไป
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าวอธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูลหลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบทต่อไปเถอะ
แม้แต่หนังสือประเภทนวนิยายก็อาจทำให้เราเบื่อได้เช่นกัน ในบางตอนที่ผู้เขียนอธิบายฉากอย่างละเอียดยิบ ให้ใช้วิธีการอ่านผ่าน ๆ (skimming) จนกว่าจะเจอฉากที่น่าสนใจและอ่านอย่างตั้งใจอีกครั้ง การทำเช่นนี้อาจจะทำให้พลาดส่วนสำคัญบางอย่างไป แต่ก็ทำให้เราอ่านต่อไปได้มาก ดีกว่าเบื่อและหยุดอ่านไป
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง หากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราสามารถอ่านรีวิวหนังสือจากผู้อ่านคนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ เช่น Amazon เป็นการเสริมข้อมูลในมุมมองของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นเช่นกัน
 

7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านข่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
8. จดคำ
เพื่อนๆ หลายคนมีปัญหากับการอ่านหนังสือสอบกันเป็นจำนวนมากที่เดียว ไม่มีสมาธิบ้าง ไม่รู้จักเริ่มต้นอ่านตรงไหน โฟกัสจุดไหนดี วันนี้ ทีนเอ็มไทยมี เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น มาฝากกันคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ^^ 
8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น

8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยัง
1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
 
ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งในเวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆของเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ คือการเลิกไฮไลต์ เนื่องจากครูผู้สอนกล่าวถึงแทบทุกอย่างในหน้าหนังสือ เลยไฮไลต์ตาม ปรากฏว่าไฮไลต์ไปหมดทั้งหน้า ซึ่งกลายเป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ไป จึงขี้เกียจไฮไลต์อีก และเลิกทำไปในที่สุด
ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
และยังทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ เทคนิคนี้ช่วยป้องกันอาการ “ตามองอ่านตัวหนังสือทุกบรรทัด แต่ใจความไม่เข้าหัวเลย” อ่านออกแต่สมองไม่ตอบรับว่าสิ่งที่อ่านไปนั้นคืออะไร เพราะเกิดจากการอ่านสิ่งที่เราไม่อยากอ่านนั่นเอง
 
4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
แต่ขึ้นชื่อว่าหนังสือเรียนก็รู้ๆ กันอยู่อ่านไปหลับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นการหาความรู้ข้างนอกมาเสริมจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่าย และเข้าใจมากขึ้น บางทีอาจรู้ลึกกว่าที่เรียนในคาบเสียอีกนะ หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ที่มีอยู่ในห้องสมุดอาจจะอ่านแล้วสนุกน่าอ่านกว่าหนังสือที่ใช้เรียนอยู่ก็ได้ การอ่านไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สนุกได้โดยอัตโนมัติ หากเราไม่มองหาสิ่งที่เราอยากอ่านจริง ๆ เสียก่อน การอ่านจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราไป
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าวอธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูลหลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบทต่อไปเถอะ
แม้แต่หนังสือประเภทนวนิยายก็อาจทำให้เราเบื่อได้เช่นกัน ในบางตอนที่ผู้เขียนอธิบายฉากอย่างละเอียดยิบ ให้ใช้วิธีการอ่านผ่าน ๆ (skimming) จนกว่าจะเจอฉากที่น่าสนใจและอ่านอย่างตั้งใจอีกครั้ง การทำเช่นนี้อาจจะทำให้พลาดส่วนสำคัญบางอย่างไป แต่ก็ทำให้เราอ่านต่อไปได้มาก ดีกว่าเบื่อและหยุดอ่านไป
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง หากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราสามารถอ่านรีวิวหนังสือจากผู้อ่านคนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ เช่น Amazon เป็นการเสริมข้อมูลในมุมมองของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นเช่นกัน
 

7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านข่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
  • ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
    หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
    ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
    ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องกระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย และจดจำประเด็นสำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียวเท่านั้นเองจ้ะ

ที่มา LifeHack.org และ ที่มาและรูป http://teen.mthai.com/education/79713.html

สามารถติดตามข่าวการศึกษาเพิ่มเติม กลุ่มแอดมิชชั่น
https://www.facebook.com/groups/admissionez/ถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
  • ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
    หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
    ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
    ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องกระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย และจดจำประเด็นสำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียวเท่านั้นเองจ้ะ

ที่มา LifeHack.org และ ที่มาและรูป http://teen.mthai.com/education/79713.html

สามารถติดตามข่าวการศึกษาเพิ่มเติม กลุ่มแอดมิชชั่น
https://www.facebook.com/groups/admissionez/

ไม่มีความคิดเห็น: