วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

8 สูตรเด็ด!! อ่านหนังสือสอบแอดมิชชั่นให้ "เข้าหัว"


    สวัสดีครับ.. เคยเป็นไหมอ่านหนังสือยังไงก็ไม่เขาหัว = =" พอหันไปทำโจทย์ก็ทำไม่ได้ ยิ่งทำให้หมดกำลังใจในการอ่านการสอบไปอีก เฮ้อ T T วันนี้ พี่ลาเต้ มีตัวช่วยมาบอกแล้วครับ เป็น 8 สูตรเด็ดจากรุ่นพี่ที่ใช้แล้วได้ผลจริงมาบอก ไปฟังกันเลย ชอบสูตรไหนก็ใช้สูตรนั้นนะ
สูตรที่ 1 ติวให้เพื่อนซิ แม่นกว่าอ่านเอง
           พี่ปอนด์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : วิธีอ่านหนังสือที่ดีที่สุดสำหรับพี่คือ "การติว"  ติวให้เพื่อน เป็นทั้งการอ่านไปในตัว และทบทวนความรู้อย่างซ้ำๆ แม่นกว่านั่งอ่านเองคนเดียวซะอีกหล่ะ แนะนำเลยเพราะใช้แล้วได้ผลจริงทั้งตอนสอบแอดมิชชั่น และสอบขอมหาวิทยาลัย


สูตรที่ 2 ว่ายทวนน้ำ = อ่านทวนโจทย์
           พี่โบ๊ท คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : วิธีอ่านของพี่จะมี 2 วิธีครับ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการเตรียมตัวสอบว่ามีเวลาเยอะ หรือน้อย แบบแรกคือที่ยังมีเวลาอันมากโขอยู่ ให้เราทบทวนย้อนการอ่านทุกครั้ง (งง กันมั่ยครับ = =” ) ก็คือสมมติว่าวันแรกเราอ่านหน้าที่ 1 – หน้าที่ 27 วันต่อไปก่อนที่เราจะอ่านหน้าที่ 28 ต่อ ให้เราทวนของเดิมจาก 1-27 อีกรอบครับ แล้วก็อ่านทวนทุกครั้งๆ หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเห้ย !!! เสียเวลาแต่เชื่อเถอะครับว่าหน้าที่น้องๆ เปิดอ่านซ้ำๆ ทวนๆ บ่อยๆ เพื่อนๆจะอ่านแปปเดียวเท่านั้นก็ผ่านไปแล้ว ไม่ได้เสียเวลาอย่างที่คิดเลย (เนื่องด้วยเราอ่านบ่อย ทวนทุกครั้ง เรื่องเดิมๆ ยังไงก็ชินและเข้าใจแน่นอนครับ) ส่วนแบบที่ 2 เวลาเหลือน้อยมากกก ให้ทำ Over view + ข้อสอบเก่า เป็นวิธีที่ได้ผลค่อนข้างเร็ว แต่จะมีข้อเสียที่ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ครับ ^^


สูตรที่ 3 แต่ละวิชาอ่านแค่ 50 นาทีเท่านั้น!!
           พี่วอร์ม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : วิธีอ่านที่ดี คือน้องอย่ากดดันตัวเองนะ ผ่อนคลายบ้าง ห้ามทิ้งงานอดิเรกที่ดูไร้สาระกว่าการอ่านหนังสือโดยไม่มีเยื่อใย เช่น เลิกเล่น facebook ทุบคอมทิ้ง ปิดโทรศัพท์ ไม่ไปเที่ยวกับเพื่อนเลย แบบนี้เวอร์ไปครับ แถมน้องจะเครียดกว่าคนอื่น ขาดสังคมอีก ชีวิต ม.ปลายไม่สมบูรณ์ แย่ๆ อ่านหนังสือแต่ละครั้งห้ามน้อยกว่าหรือเกิน 50 นาทีนะน้อง เพราะเป็นระยะเวลาที่เราจะจดจำได้ดีที่สุด (สังเกตว่าที่ ร.ร.จะให้เรียนคาบละ 50 นาที) อย่าตะบี้ตะบันอ่าน ต้องมีเวลาพัก ให้รางวัลตัวเอง และคุมตัวเอง แบ่งเวลาให้ถูกแค่นั้น และอย่าไปมองคนเก่งกว่าแล้วมาท้อ มัวแต่ท้อ สุดท้ายไม่ได้อ่าน เพื่อนพี่หลายคนเป็นแบบนี้ ขอแค่เข้าใจธรรมชาติของแต่ละวิชา เช่น เลขต้องรู้สูตรแล้วฝึกทำ ชีวะต้องอ่านทำความเข้าใจ แล้วใช้ใจในการอ่าน แค่นี้ก็โอเคแล้วน้อง
สูตรที่ 4 อ่านดังๆ คนฟังช่วยได้
           พี่ขวัญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : ตัวพี่เอง ชอบอ่านหนังสือกับสัตว์เลี้ยง เพราะมันเงียบ และตอบอะไรเราไม่ได้ และพี่ชอบอ่านหนังสือแบบออกเสียง เพราะคิดว่าการออกเสียงก็เหมือนเราได้อธิบายให้ตัวเราเข้าใจเอง และเวลาเราเข้าใจเนื้อหาผิด คนที่เขาได้ยินจะได้แก้ไขให้ด้วย


สูตรที่ 5 อ่านไป จดโน้ตไป
            พี่เบนซ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : วิธีอ่านให้เข้าหัวจริงๆ คืออ่าน และจดโน้ตว่าอ่านอะไรไป แล้วกลับมาอ่านใหม่ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือตะลุยโจทย์ เพราะถ้าอ่านแล้วไม่เจอโจทย์ก็จะทำไม่ได้ บางคนก็เบื่อกับการอ่านหนังสือ แต่ลองใช้เวลากับมันแล้วจะชินเอง อย่าพูดคำว่า "พรุ่งนี้ค่อยอ่าน" (เพราะมันจะเป็นวันพรุ่งนี้ แล้วก็พรุ่งนี้ตลอด - -")


สูตรที่ 6 อ่านอย่างเดียวไม่พอ ขอทำโจทย์
            พี่กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : สำหรับพี่การทำข้อสอบเก่าๆ เป็นวิธีลัดที่ดีที่สุดแต่ถ้าสักแต่ว่าทำมันจะเข้าหัวที่ไหนล่ะ มันต้องทวนกลับมาอ่าน อ่าน และอ่าน นี่แหล่ะคือสิ่งที่สำคัญที่สุด พี่เป็นคนที่ไม่ค่อยถนัดอ่าน ก็เลยต้องใช้วิธีลัดคือการทำข้อสอบเก่าถึง 25พ.ศ. เรียกได้ว่าอ่านข้อสอบจนเหนื่อยเลยล่ะ


สูตรที่ 7 จินตนาการบทเรียน.. เป็นนิทาน
             พี่ฝ้าย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : อย่างแรกต้องตัดตัวเองออกจากเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดที่ไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิ วอกแวก และอ่านไม่เข้าหัว จริงมั้ย? ต่อมาก็ต้องสนุกกับเรื่องที่อ่าน อย่างเช่นถ้าเป็นสังคม หรือชีววิทยาก็จินตนาการภาพให้เหมือนนิทานไปเลย และอีกวิธีที่อ่านแล้วจำเข้าหัวก็คือ อ่านกับกลุ่มเพื่อน แล้วผลัดกันถาม ผลัดกับตอบ :) สุดท้ายที่อยากแนะนำตอนอ่านหนังสือ คือถ้าง่วงให้ไปล้างหน้า หรือทำอย่างอื่นแป๊ปนึง แล้วค่อยมาอ่านต่อ อย่าฝืนอ่านทั้งๆ ที่ง่วงนะเพราะเดี่ยวจะโดนหนังสืออ่าน ไม่ได้อ่านหนังสือ:P
สูตรที่ 8 จำดีกว่าจด ถ้าจำไม่หมด จดดีกว่าจำ
              พี่ลูกพลับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ก่อนอื่นเลยค่ะ ในแต่ละวิชาที่จะอ่าน เราควรจะมีหนังสือที่สรุปดีๆ ไว้สักหนึ่งเล่ม ที่คิดว่าเล่มนี้แหละใช่เลย สามารถพกพาไปได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อเจอแล้วก็จัดการเอาเนื้อหาจากที่เรียนมาจากห้องเรียนที่โรงเรียน จากที่เรียนพิเศษ จากหนังสือเล่มอื่นๆ หรือจากข้อสอบก็ได้ สรุปลงไปให้หมด ถ้าจะให้ดีก็คือจดให้มันเป็นภาษาของเราค่ะ เอาที่เน้นๆ ไม่ใช่ว่าลอกทุกอย่างที่มีบนโลกนี้ใส่ลงไปนะ ถ้าตรงไหนที่สำคัญจริงๆ ก็ใส่กรอบ ใส่สี แปะโพสอิทให้มันเลย จะได้จำง่ายๆ และเพื่อสะดวกต่อการอ่านจะเอาไปเข้าเล่มให้เปิดง่ายๆ ก็ยิ่งดีเลยค่ะ จะได้รู้สึกอยากอ่านมันมากขึ้น จากนั้นเราก็จะได้หนังสือสุดวิเศษที่เป็นเหมือนอาวุธคู่มือเอาไว้ต่อกรกับข้อสอบเลยทีเดียว

               นอกจากจะมีหนังสือแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือสมาธิในการอ่านค่ะ บางคนก็ชอบอ่านเงียบๆ มีเสียงอะไรนิดหน่อยก็จะไม่มีสมาธิ แต่สำหรับพี่ ถ้าไม่ใช่ใกล้สอบมากจริงๆ แอร์ต้องเย็น ต้องมีคน ไม่ก็มีเพลง อยู่เงียบๆ ไม่ได้จริงๆ เพราะอ่านเงียบๆ ทีไรเป็นอันว่าหลับทุกที แต่มันจะมีสมาธิเหรอ? มันก็มีนะคะ เพราพี่อ่านแบบเหมือนคุยกับตัวเอง จำลองว่าเราเป็นครู สอนตัวเอง ตรงไหนจำไม่ได้ก็อ่านออกเสียง ไม่ก็ลองเขียนลงกระดาษ ถามตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเข้าใจไหม จำได้หรือยัง ตรงนี้อ่านตั้งหลายรอบแล้วทำไมยังจำไม่ได้อีกห๊ะ ไหวปะเนี่ย - -" มันอาจจะดูเหมือนคนบ้าที่นั่งคุยกับตัวเอง แต่พี่ว่ามันก็เป็นวิธีที่ทำให้เราอ่านหนังสือได้สนุก แต่ที่สำคัญคือว่ามันไม่หลับ หรือไม่ก็นั่งอ่านนั่งติวกับเพื่อน จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ (ถ้าไม่ชวนกันออกนอกเรื่องจนไม่เป็นอันติวซะก่อนนะ 555+)

               เอาล่ะครับ สูตรไหนเข้าท่าบ้างเอง สำหรับ พี่ลาเต้ แล้ว ตอนเรียนมัธยมใช้สูตร 1 กับ 3 บ่อยมากกกกกกก แต่พอเข้ามหาวิทยาลัยต้องปรับมาใช้สูตร 8 แทน (เพราะเนื้อหาเยอะมาก บางวิชามาเป็น Eng หากไม่จดก็อย่าคิดว่าจะอ่านออกเลย T T) ยังไงลองเอาไปปรับใช้กันได้นะครับ ช่วง ก.ย.-พ.ย.นี้ ถือเปฌ็นมรสุมของเด็กแอดฯ เลยก้ว่าได้ เพราะมีทั้งสอบตรง สอบปลายภาค และสอบแอดมิชชั่น หากมีสูตรการอ่านหนังสือที่ดี และมีระบบก็ช่วยให้เรามีชัยไปกว่าครึ่งครับ สู้ๆ
credit:dekd

ไม่มีความคิดเห็น: