วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนะแนว เตรียมสอบ รับตรง โควตา Admissions 58,59 มารู้จัก GAT/PAT,O-NET,9 วิชาสามัญ,เครียร์ริ่งเฮ้าส์ คืออะไร !!?


ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา 58,59 หลัก ๆ จะมี 2 วิธีดังนี้
 รับตรง โควตา โดยใช้ผลของคะแนน สอบตรง โควตา + 9 วิชาสามัญ GAT/PAT + O-NET + GPAX  ตามเกณฑ์ของแต่ละสถานบันกำหนด  
 Admsisions กลาง โดยใช้ผลของคะแนน  GAT/PAT + O-NET + GPAX
         ( ไม่ใช้วิชาสามัญ 9 วิชานะครับ  และ Admissions กลาง GPAX ที่นำมาคิดจะไม่ใช้ O-NET มาถ่วงน้ำหนักจ้า )  
ตัวอย่างเกณฑ์ คัดเลือก Admissions กลาง
ตัวอย่างระเบียบการ Admisisons กลาง 2558  อันนี้แนะนำเลย !! จะได้รู้เกณฑ์คัดเลือกว่าต้องสอบวิชาอะไรบ้าง

ปล. สอบถามเกณฑ์คัดเลือก 2559 ไปที่ สอท พี่เค้าบอกว่าเหมือน 58 ครับ
 รับตรง โควตา ของแต่ละสถาบันจะเป็นคนกำหนดสัดส่วนการใช้คะแนนเองนะครับ เช่น
ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ ใช้ระบบสอบตรง
จุฬา คณะวิศวะใช้  GPAX+ GAT+ PAT1 + PAT3
จุฬา คณะอักษรศษสตร์  GPAX +PAT7 + วิชาสามัญ :ไทย สังคม อังกฤษ
มหิดล  7 วิชาสามัญ : ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
เกษตรศาสตร์ ใช้ :  GAT/PAT + 9 วิชาสามัญ
ถ้าสอบติดรับตรง ของ ม.สถาบันรัฐ  กสพท จะโดนส่งชื่อตัดสิทธ์ Admissions กลาง
ราชภัฎ เอกชน ราชมงคล  สอบติดจะไม่เสียสิทธิ Admissions กลางครับ
ระบบเคลียร์ริ่งเฮาส์ หรือศูนย์ประสานงานรับตรง ที่จะคอยรับรายชื่อของเด็กที่สอบติดรับตรงและโควตาของสถาบัน รัฐต่างๆที่เข้าร่วม ถ้าน้องท่านใดสอบติดมากกว่า 1 สถาบัน จะเลือกได้เพียง 1 สถาบัน หลังจากน้องๆมายืนยันสิทธ์ในระบบ เคลียร์ริ่งเฮ้า /// ถ้าไม่ยืนยันสิทธ์ถือว่าสละสิทธ์ แอดกลางได้จ้า
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมในโครงการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ (Clearinghouse)
ปี 2559 ยังไม่ประกาศนะครับ อันนี้เป็นข้อมูลเก่าจากปี 58
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น    (ไม่เข้าร่วม)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร  (ไม่เข้าร่วม)
มหาวิทยาลัยพะเยา (ไม่เข้าร่วม)
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศิลปากร 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กสพท
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิวาช  เกื้อการุณย์  (ไม่เข้าร่วม)
วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์   (ไม่เข้าร่วม)
วิทยาลัยพยาบาลทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ และตำรวจ   (ไม่เข้าร่วม)
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
สถาบันพระบรมราชชนก   (ไม่เข้าร่วม)
+ แม้บางสถาบันจะไม่เข้าร่วม เครียร์ริ้งเฮ้า แต่ก็ตัด Admissions กลางนะครับ  
+ สถาบันพระบรมราชนก ไม่ตัดแอด
+ ราชภัฏ ราชมงคล เอกชน ไม่ตัดแอด
+ เกื้อการุณย์ ไม่ตัดแอด
+ วิทยาลัยพยาบาล ทหาร ตำรวจ ไม่ตัดแอด
+ ภาคพิเศษ ของ ม.รัฐบาล ไม่ตัดแอด
+ นานาชาติ ม.รัฐ ไม่ตัดแอด
+ ยังไงก็ให้ดระเบียบการเป็นหลักอ่านให้ระเอียดนะครับ
+ แม้จะเป็น ม.รัฐ โครงการปกติ ไม่ตัดแอดกลางก็มีนะครับ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของช่วงเวลาการรับสมัครที่คาบเกี่ยว ส่งรายชื่อตัดสิทธ์ไม่ทัน

การสอบคัดเลือกระดับชาติ : GAT/PAT  O-NET และ วิชาสามัญ
GAT/PAT  จัดสอบปีละ 2 ครั้ง เก็บคะแนนใช้ได้ 2 ปี
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test)
คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ 
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %             
2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %
 
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test)
คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ
1.  PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์             
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู             
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์             
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
           PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส
           PAT 7.2  ภาษาเยอรมัน
           PAT 7.3  ภาษาญี่ปุ่น
           PAT 7.4  ภาษาจีน
           PAT 7.5  ภาษาอาหรับ
           PAT 7.6  ภาษาบาลี
GAT/PAT เราต้องสอบวิชาอะไรบ้าง 
 ถ้าใน Admissions กลาง ตามเอกสาร 2 ชุดนี้นะครับ
 ตัวอย่างเกณฑ์ คัดเลือก Admissions กลาง
ตัวอย่างระเบียบการ Admisisons กลาง 2558

+ จะเห็นหลายคณะในสายสังคมของ ของม.เกษตรศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จะใช้ PAT7 ด้วย แต่ถ้าเด็กสายวิทย์ที่สอบ PAT1 นั้น ใน Admissions คะแนนจะสู้สายภาษาไม่ได้เพราะคะแนน PAT1 ยากครับ หลายคนเลยไปสอบ PAT 7.6 ภาษาบาลี นั่นเอง  หลายคนสามารถทำคะแนนได้ดีกว่า PAT1 คณิตศาสตร์เยอะมากนะครับ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดของเรา

+ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นอะไรที่แปลกนิดนึง ถ้าระบบรับตรง หลายสถาบันจะใช้ PAT1 แต่ แอดกลางจะใช้ PAT2 ดังนั้นน้องๆต้องสอบ GAT PAT1 PAT2 PAT3   ยากเรียนวิศวะนี่มันเหนื่อยจริงๆ

+ คณะทันตแพทยศาสตร์ ใช้ PAT1 ด้วยนะครับ >..<

+ คณะเภสัชศาสตร์ บางสถาบันรับตรงจะใช้ PAT1 ด้วยเช่น  ตัวอย่างระเบียบการรับตรงเภสัชศาสตร์ 

+ คณะพยาบาล รับตรงบางสถาบันเช่น สภากาชาดไทย ใช้ PAT1 ตัวอย่างระเบียบการรับตรงสภากาชาดไทย

+ ครุศาสตร์ แต่ละสถาบันอาจจะใช้เกณฑ์คัดเลือกไม่เหมือนกันนะครับ บางสถาบันใช้ PAT5 อย่าง เดียว บางสถาบันใช้ PAT5 + PAT1/PAT2/PAT7 เป็นต้น

+ GAT/PAT มีการสอบ 2 รอบแต่ผมคิดว่ารอบแรกสำคัญที่สุด เพราะคะแนนสูงก็ติดรับตรงเลย ไม่ต้องมาลุ้น Admissions กลาง และยิ่งคะแนนดีในรอบแรกขวัญกำลังใจมา ไม่เครียด

+ GAT เป็นวิชาที่สำคัญที่สุดเพราะทุกคณะต้องใช้ในแอดกลาง  และเป็นวิชาที่ทำคะแนนได้สูงที่สุด โดยเฉพาะ GAT เชื่อมโยง นั้นข้อสอบไม่ยาก ใช้เวลาสั้นในการฝึก แค่ 1 สัปดาห์ก็สามารถทำคะแนนเต็มได้ เพราะข้อสอบไม่ใช้ความจำ ใช้แค่ความเข้าใจ ตามหลัก ค.ว.ย 55+  คิด วิเคราะห์ แยกแยะ อิอิ  ในส่วนของ GAT เชื่อมโยง 150 เป้าหมายของน้องๆ คือ 100 ขึ้นไปนะครับ แต่ใครเน้นติด จุฬา มหิดล ธรรมศาสตร์  ขอ 145+ เลย 

 เนื้อหาข้อสอบ GAT/PAT อิอิ อันนี้ได้ยินมาวันตอนไปประชุมแถลงข่าวแอดกลาง ได้ยินมาว่า การสอบ GAT/PAT รอบที่ 1 นั้นเค้าจะเน้นเนื้อหา 5 เทอม !!?  รอบที่ 2 ถึงจะครอบคลุมทั้ง 6 เทอม ไอ้หยะ !!

+ การวางแผนสมัครสอบแจ้งให้ทราบว่าควรสมัครสอบ ทุกวิชาที่ต้องใช้ทั้งรอบ 1 และ 2 เพราะความยากง่ายของข้อสอบไม่เท่ากัน เช่น ปี 2/58 ข้อสอบ PAT2 คะแนนสูงกว่า รอบ1/58 มากมาย  ดังนั้นน้องควรจะสอบทุกวิชาที่จำเป็น
รับสมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 1-20 กันยายน 2558
กำหนดการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 29 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2558
ประกาศผลการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 12 มกราคม 2559

รับสมัคร GAT/PAT ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 6-25 มกราคม 2559
กำหนดการสอบ GAT/PAT ครั้งที่2/2559 วันที่ 5-8 มีนาคม 2559
ประกาศผลการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 12เมษายน 2559


9 วิชาสามัญ จัดสอบปีละ 1 ครั้ง เก็บคะแนนได้เพียง 1 ปีเท่านั้น !!
รับสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ วันที่ 1-20 ตุลาคม 2558
กำหนดการสอบ 9 วิชาสามัญ วันที่ 26-27 ธันวาคม 2558
ประกาศผลการสอบ 9 วิชาสามัญ วันที่ 8กุมภาพันธ์ 2559
ปีการศึกษา 59 (สอบ 26-27 ธันวาคม 2558) จะมีการจัดสอบถึง 9 วิชาจากในอดีต จัดสอบเพียง 7 วิชาเท่านั้น >.<
 คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษาฯ 
 และ อีก 2 วิชาที่เพิ่มขึ้นมา วิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป และวิทยาศาสตร์ทั่วไป   ผมเดาว่าน่าจะเน้นของสายศิลป์ เป็นหลัก
9 วิชาสามัญ ต้องสอบอะไรบ้าง
ต้องแจ้งให้ทราบว่า วิชาสามัญนั้นใช้เฉพาะรับตรง โควตา เท่านั้นไม่ได้ใน Admissions กลาง นะครับ  โดยเชื่อว่าปีการศึกษา 2559 นี้หลายสถาบันจะหันมาใช้ วิชาสามัญมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากระเบียบการเก่านะครับ
ปีนี้เพิ่มเป็น 9 วิชาสามัญ เป็นครั้งแรกดังนั้นเกณฑ์คัดเลือกของหลายสถาบันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ แยกสาขารับมากกขึ้น
+สายวิทย์คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะต้องเตรียมสอบทุกวิชา อยุ่แล้ว
แต่สายศิลป์นี่สิครับ วิชาหลักๆ ยังคงเป็น ไทย สังคม อังกฤษ  และ น่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 
ยังไงก็รออีกไม่นานผมเชื่อว่าเกณฑ์คัดเลือกของหลายๆมหาวิทยาลัยน่าจะทยอยออกมาครับ

ตัวอย่างข้อสอบเก่า
 ปี 2555  
 วิชา55เฉลย
1ไทย
2สังคม
3อังกฤษ
4คณิตศาสตร์
5ฟิสิกส์
6เคมี
7ชีวะ

 ปี 2556  
 วิชา56เฉลย
1ไทย 
2สังคม 
3อังกฤษ
4คณิตศาสตร์
5ฟิสิกส์
6เคมี 
7ชีวะ 

 ปี 2557  
 วิชา57เฉลย
1ไทย
2สังคม
3อังกฤษ
4คณิตศาสตร์
5ฟิสิกส์ 
6เคมี
7ชีวะ 

O-NET  โอเน็ตสอบครั้งเดียว ใช้ได้ตลอดชีวิต !!
เป็นวิชาบังคัมที่ ม.6 ทุกคนจะต้องสอบ โดยไม่ต้องสมัคร เพราะทางโรงเรียนจะดำเนินการสมัครให้ครับ แต่น้องๆ ที่เทียบเท่า เช่น กศน. หรือ ปวช อันนี้ต้องสมัครเอง ในช่วงเดือน พฤษศจิกายน (เรียกปี ตาม ปีการศึกษา ของมัถยมศึกษา แต่ การรับตรงเรียก 2559 เพราะเรียกตาม ปีการศึกษาที่น้องจะได้เรียนตอนเข้ามหาวิทยาลัย)
สอบ O-Net ปีการศึกษา 2558 วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2559
ประกาศผลการสอบ O-Net ปีการศึกษา 2559 วันที่ 21 มีนาคม 2559
O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
4. คณิตศาสตร์
5. วิทยาศาสตร์
ปีนี้ ได้มีการลดการสอบ จาก  8 วิชา เหลือ 5 วิชา ตัดพวก สุขศึกษา ศิลปะ การงานและอาชีพ
+ O-NET ได้มีการนำมาใช้ถ่วงน้ำหนัก เกรดเฉลี่ย แต่ ใน Admissions หรือ รับตรง ของหลายๆสถาบันใช้เกรดเฉลี่ยสะสมที่เป็นคะแนนดิบ ไม่ได้คิดจากถ่วงน้ำหนัก O-NET
+ O-NET ห้ามขาดสอบแม้แต่วิชาเดียว ไม่งั้นจะทำให้ คุณสมบัติไม่ครบ ไม่สามารถแอดกลางได้
เกร็ดน่ารู้ ระบบรับตรง โควตา
+ รับตรง กับ โควตา คือระบบคัดเลือกนักศึกษาเหมือนกันนะครับ

+ โควตา อาจจะมีแตกต่างคือจะมีการระบุคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น จังหวัดที่ศึกษา , ความสามารถพิเศษ , ประกวด เป็นต้น

+ น้องๆสามารถสมัคร ได้ ทุกสถาบันแม้จะสอบติดสถาบันใดสถาบันหนึ่งไปแล้ว   รับตรงของแต่ละสถาบันจะไม่ตัดสิทธ์กันเพราะไม่มีระบบตรวจสอบ >.< แต่จะมีระบบ เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ ใน เดือน เมษา-พฤษภา ของปี 59 น้องจะเลือกได้เพียง 1 สถาบัน

+ รับตรง บางสถาบันอาจจะมีกำหนด ถ้าสอบติดรับตรงของ สถาบัน A ไปแล้ว จะไม่สามารถสมัครรับตรงโครงการอื่นๆของสถาบัน A ได้อีก

รับตรง ไม่จำเป็นต้องสมัครทุกสถาบันนะครับ เอาแค่สถาบันที่ชอบพอแล้ว

+ รับตรง การสัมภาษณ์ มีผลต่อการคัดเลือกบ้าง หลักๆ ยังจะอยุ่ที่คะแนนสอบ

รับตรง บางสถาบันเปิดหลายรอบเหมือนเกิน -*-

+ รับตรง สถาบันที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ จะมีทั้งรอบรับตรงโควตาจังหวัด และ รับตรงทั่วประเทศ

การสอบติด รับตรงเร็วๆ อาจจะไม่เป็นผลดีเสมอไป เพราะจะทำให้รู้สึกปลอดภัย ขาดความมุ่งมั่น ประหมาด ทั้งทีความสามารถเราไปได้ไกลกว่านั้น ควรตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน

+ ย้ำว่า GAT/PAT รอบแรกสำคัญมากเพราสามารถใช้ได้ทั้งรอบรับตรง และ แอดกลาง

+ ข้อดีของการสอบตรงเยอะ แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่จะทำให้เราตื่นตัว รู้จุดอ่อนของตัวเอง

ปัญหาหลักของน้องๆส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่เรื่องการสอบ แต่เป็นเรื่องไม่รู้จะเรียนอะไรดี ให้หาข้อมูลเยอะๆ ไม่ใช่แค่ถามว่าเราอยากเรียนอะไร คณะอะไร ต้องถามคำถามต่อไปว่าอยากทำงานแบบไหน 

+ มั่นติดตามข่าวสารอยุ่เสมอ แวะเข้า unigang ด้วยนะฮาฮา

+ น้องๆคนไหนที่ฐานการเงินไม่ได้มีพอมีพอใช้ อาจจะต้องวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี จำกัดเฉพาะโครงการที่น่าสนใจ  อย่าไปสมัครมั่วเยอะ โดยเฉพาะการสอบตรง มันมีใครใชจ่ายอื่นๆอีก ทั้งค่าเดินทาง ค่าทีพัก พยายามคุมค่าใช้จ่ายให้ดี ยิ่งถ้าสอบติดต้องมีนัดสัมภาษณ์ อีกถ้าสัมภาษณ์แล้วเราเกิดไม่อยากได้ก็เสียตังฟรี  ถึงยังไงก็ยังมีรอบแอดมิชชั่นกลาง ขอให้คะแนนเราพร้อม โอกาสติด ม.ดังๆยังมี

+ สอบติดรับตรงไปแล้ว บางสถาบันจะใช้วิธีให้เราชำระเงิน !! เพื่อยืนยันสิทธ์ เลย บางคนก็ยอมเสียเงินหลักพัน ถึงหลักหมื่นเพื่อรักษาสิทธ์ แต่สุดท้ายไปติดสถาบันที่ชอบมากกว่า โดยยอมเสียเงินค่ายืนยันสิทธ์ ทำใจ
ตัวอย่างระเบียบการรับตรง จุฬา 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรง ธรรมศาสตร์ 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรง เกษตรศาสตร์ 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรง ม.มหิดล 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรง ม.มศว 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรงทั่วประเทศ ม.บูรพา 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรงโควตาภาคเหนือ ม.เชียงใหม่ 58
ตัวอย่างระเบียบการรับตรงรับตรงทั่วประเทศ โควตาเรียนดี ม.เชียงใหม่ 58

สรุปปฎิทินสอบ 2559
*58 คือข้อมูลของปีการศึกษา 2558 นะครับ ปี 59 ยังไม่ประกาศ
- จะเห็นได้ว่าน้องๆ จะต้องเริ่มสอบใหญ่ ปลายเดือน ตุลาคม หลังจากนั้นการสอบจะเริ่มมาเรื่อยๆ >..<
- ตอนนี้เหลือเวลาแค่ 5 เดือนเท่านั้นก่อนสอบ GA/PAT 1/2559
- หลายมหาวิทยาลัยใช้ยื่นคะแนนมากขึ้นนะครับ  เมื่อนก่อน มศว เป็นสอบตรง ตั้งแต่ 58 เปลี่ยนเป็นยื่นคะแนนแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น: