วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทัศนมาตรศาสตร์ คืออะไร


ทัศนมาตรศาสตร์ คืออะไร

ตอนที่เขียนบันทึก นิทรรศการภาพถ่ายขาวดำอินฟราเรด “รากไทย”  ตอนที่ (3) ได้อ่านประวัติของศิลปินเจ้าของผลงานที่ชื่อ คุณสมศักดิ์ พัฒนพิฑูรย์  และพบว่าคุณสมศักดิ์กำลังศึกษาอยู่ที่ สาขาทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ทัศนมาตรศาสตร์คืออะไร  เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน  จากนั้นจึงเข้า Google ไปค้นหา  และได้ความมาจากสารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย ว่า...
ทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) เป็นสาขาวิชาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เริ่มก่อร่างขึ้นตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 13 จากกลุ่มของผู้ประกอบแว่นสายตาซึ่งในระยะเริ่มแรกมีลักษณะเป็นองค์กรทางการค้าและธุรกิจ การรวมตัวในลักษณะของผู้ประกอบวิชาชีพไม่ได้เกิดขึ้น จนกระทั่งประมาณปลายศตวรรษที่ 18 ที่เริ่มมีการรวมตัวและจัดระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของวิชาชีพนี้อย่างชัดเจน จนมีการจัดระบบขึ้นทะเบิยนบุคลากรในวิชาชีพนี้ในฐานะผู้ประกอบโรคศิลปะทั้งในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในประเทศที่พัฒนาแล้วบุคลากรในสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ยังมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขการแพทย์ในลักษณะหน่วยการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Health Care)
การใช้เครื่องมือทางทัศนมาตรศาสตร์หรือเครื่องมือวัดสายตา (Optical refractor) เพื่อประกอบแว่นสายตาในปัจจุบัน
สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์เป็นสาขาวิชาประยุกต์ทางด้านคลินิกสายตาและระบบการเห็นที่มีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และฟิสิกส์ด้านแสง-เลนส์สายตามาใช้ในการตรวจ วินิจฉัย และแก้ไขปัญหาของระบบการเห็นของมนุษย์ สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์มี "ปริญญาทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry,O.D.)" เป็นปริญญาโดยตรงสำหรับผู้ประสงค์จะประกอบโรคศิลปะในสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ซึ่งไม่ใช่ปริญญาที่มีคุณวุฒิทางการวิจัยเทียบเท่าปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy, Ph.D.) ตามปกติแล้วนักศึกษาต้องใช้เวลาในการศึกษาหลังจบการศึกษาชั้นมัธยมการศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตไม่น้อยกว่า 6 ปีการศึกษา หลังได้รับปริญญาทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตแล้ว บุคลากรเหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบขึ้นทะเบียนภายใต้กฎหมายการประกอบโรคศิลปะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะตามมาตรฐานที่คณะกรรมการประกอบโรคศิลปะในสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์เป็นผู้กำหนด ผู้ที่ได้รับปริญญาทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตและผ่านการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะอย่างถูกต้อง เรียกว่า นักทัศนมาตรวิชาชีพ (Optometrist)
สภาทัศนมาตรศาสตร์โลก (World Council of Optometry) ได้ให้คำจำกัดความของการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์ไว้ ดังนี้ "Optometry is a healthcare profession that is autonomous, educated, and regulated (licensed/registered), and optometrists are the primary healthcare practitioners of the eye and visual system who provide comprehensive eye and vision care, which includes refraction and dispensing, detection/diagnosis and management of disease in the eye, and the rehabilitation of conditions of the visual system."
นักทัศนมาตรวิชาชีพไม่ใช่จักษุแพทย์ ในความเป็นจริงแล้วนักทัศนมาตรวิชาชีพก็ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบแว่นสายตาเพียงอย่างเดียว แม้ว่าการประกอบแว่นสายตาจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาสายตา แต่โดยทั่วไปแล้วนักทัศนมาตรวิชาชีพจะฝึกบุคลากรหรือจ้างบุคลากรระดับช่างฝีมือในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะซึ่งที่รู้จักกันดี นั่นคือ ช่างประกอบแว่นสายตา (Optician) ทั้งนี้เพราะช่างประกอบแว่นสายตาทำงานกับแว่นสายตาและธุรกิจการจำหน่ายแว่นสายตาและอุปกรณ์ หลักการปฏิบัติงานตามปกติของช่างประกอบแว่นสายตาก็ไม่ได้จัดว่าเป็นการปฏิบัติงานกับมนุษย์โดยตรง อีกทั้งช่างประกอบแว่นสายตาก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสุขภาพด้านอื่นๆของผู้มาใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบโรคศิลปะในการปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างจากนักทัศนมาตรวิชาชีพที่มีการปฏิบัติงานโดยตรงกับมนุษย์และยังต้องคำนึงถึงความเป็นไปของระบบต่างๆในร่างกายผู้ป่วยด้วย เนื่องจากเหตุผลนี้เอง ลักษณะการปฏิบัติงานของช่างประกอบแว่นสายตาและนักทัศนมาตรวิชาชีพจึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

การเรียนการสอน

การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ เกิดขึ้นครั้งแรกอย่างเป็นระบบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415 ซึ่งดำเนินการเรียนการสอนและพัฒนาเรื่อยมาจนเป็น Illinois College of Optometry ใน สหรัฐอเมริกาเริ่มมีการประสิทธิ์ประสาทปริญญาเฉพาะของสาขาวิชานี้ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ที่ Philadelphia Optical College [1]
สำหรับในประเทศไทย มี สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในสาขานี้ คือ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ - Optometrist)

ไม่มีความคิดเห็น: