วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบ O-NET ม.6 5 ตัวเลือก !!!

มติบอร์ดสทศ.ยกเลิกโอ เน็ตฉบับสั้น ปรับรูปแบบข้อสอบเหลือเพียง 2 แบบ ปรนัย และเติมคำตอบเน้นวัดคิดวิเคราะห์เช่นเดิม แจ้งตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 สทศ.ไม่มีการนำข้อสอบหรือเฉลยขึ้นเว็บ ชี้เหตุสทศ.ต้องจัดทำคลังข้อสอบ หวังประกันคุณภาพของข้อสอบให้ดียิ่งขึ้น



(2มิ.ย.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติยกเลิกข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ตฉบับสั้นที่ใช้สอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อปีการศึกษา 2553 ที่ผ่านมา และได้มีการให้ปรับรูปแบบข้อสอบ ปีการศึกษา 2554 โดยบอร์ดสทศ.มีมติให้แต่ละวิชามีข้อสอบไปเกิน 2 รูปแบบ คือ 1. ข้อสอบแบบปรนัยเลือก1คำตอบเดียว โดยระดับป.6และม.3 มีแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนม.6 เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก และ2.ข้อสอบปรนัยแบบเติมคำตอบไม่เกิน 20%

อย่างไรก็ตาม รูปแบบข้อสอบ ยังเน้นการวัดผลในเชิงคิดวิเคราะห์อยู่ไม่ได้ทิ้ง โดยจะไปใช้เทคนิคเพิ่มคุณภาพในการออกข้อสอบแทน และตอนนี้มีหน่วยงานต่าง ๆนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายให้โรงเรียนใช้คะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งในการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2555 โดยเฉพาะชั้น ม.1 และ ม.4 ประมาณ 20% ส่วนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดให้นำคะแนนโอเน็ตไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น

รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า บอร์ดสทศ.ได้มอบหมายให้สทศ.จัดทำคลังข้อสอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพของข้อสอบ และหาค่าสถิติรองรับ ดังนั้น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 สทศ.จะไม่มีการนำข้อสอบหรือเฉลยขึ้นเว็บเพื่อเผยแพร่ จนกว่าการทำคลัง ข้อสอบจะเรียบร้อย และมีมติแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานของการทดสอบ(Standard Testing)เพื่อกำหนดเชิงนโยบาย และกำหนดกรอบรูปแบบแนวทางโอเน็ตทุกระดับช่วงชั้นและยกร่าง Examintion Bord โดยมีนายศิริชัย กาญจนวาสีคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานโดยบอร์ดชุดนี้จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายทั้งในเรื่องการผลิตข้อสอบ การจัดสอบ การตรวจข้อสอบ และการประกาศผล เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบการสอบโอเน็ตให้ได้มาตรฐาน โดยตั้งเป้าหมายต่อไปการสอบโอเน็ตจะต้องสามารถทำนายการประเมินผลระดับนานาชาติหรือPISA ได้

credit:unigang

ไม่มีความคิดเห็น: