สวัสดีครับ..ช่วงนี้หลายๆมหาวิทยาลัย หลายสถาบันที่เปิดรับตรง และก็เริ่มที่จะสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์กันแล้ว..วันนี้ พี่ลาเต้ ก็เลยมี วิธีการทำแฟ้มผลงาน หรือ Portfolio อาวุธสำคัญในการสอบสัมภาษณ์มาฝากกันครับ..น้องๆ จะได้ทำกันถูก และเข้าตากรรมการ จนเข้ารอบไปเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้เลยคร๊าบ..
การสอบสัมภาษณ์ หากพูดตรงๆ ตามที่เคยผ่านมา เป็นแค่เพียงการพูดคุยรู้จักเท่านั้นเอง..ไม่มีได้ซีเรียส ไม่ได้หนักหนาวิชาการอะไรมากมาย..ส่วนใหญ่อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการก็จะให้เราแนะนำตัว และถามประวัติของเรา..และในส่วนตรงนี้แหละหากใครที่มีผลงานเยอะๆ ก็สามารถนำเสนอในช่วงนี้ได้เลย..
โดยการนำเสนอผลงานนั้นก็จะต้องถูกจัดรูปแบบไปอย่างสง่ามีระเบียบ ไม่ใช่เป็นเอกสารหลายๆ แผ่นไปยื่น แต่ถึงขนาดต้องเป็นแฟ้มสวยงาม และสร้างสรรค์ วันนี้พี่ลาเต้ก็เลยมีขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน หรือ Portfolio มาฝากน้องๆ กันครับ..ลองดูซิว่าในแฟ้มผลงาน 1 แฟ้ม จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง..ไปดูกันเลยครับบบบ..
1.หน้าปก
ควรออกแบบให้สะดุดตาไปเลย แบบเห็นปุ๊บแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไปได้ นำเสนอตัวเองให้เต็มที่..แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจง่ายและมีเนื้อหาครบถ้วน คือ เป็นของใครชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ [แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง]..ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาด่านแรกของน้องๆ เลยนะครับ..หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมากก็เน้นทำแบบสะอาดๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อยครับ..
2.ประวัติส่วนตัว
2.ประวัติส่วนตัว
นำเสนอตัวเองเต็มที่เช่นกันครับ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นภาษาไทย และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น..โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด สุขภาพ นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเราที่ทำให้เขารู้จักตัวเรามากที่สุด..ซึ่งจากหน้านี้แหละเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร..ส่วนฟอนท์ตัวหนังสือ พี่ลาเต้แนะนำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่มครับ..โดยฟอนท์ที่ดูเรียบร้อยเป็นมืออาชีพ ก็จะมีพวก Angsana, Cordia เป็นต้นครับ...
3.ประวัติการศึกษา
3.ประวัติการศึกษา
ให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน โดยเพื่อความแสดงศักยภาพในการเรียน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจก็เว้นไว้ก็ไม่เป็นไรครับ..รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้เต็มยศเลยนะครับ..ไม่ควรที่จะย่อ ส่วนระดับก็สามารถแยกเป็น ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้นครับ..
4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ
4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ
เขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับได้เลยครับ..โดยจะกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าดูไม่ใช่น้อย เช่น พ.ศ. 2550 มีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราเข้าร่วม หรือได้รับรางวัลเกียรติบัตรอะไรบ้าง..หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วย ก็สามารถลงในส่วนนี้ได้เลยครับ ซึ่งส่วนที่เป็นรายชื่อรางวัลที่ได้รับ กับส่วนที่เป็นประมวลภาพควรจะอยู่คนละส่วนกัน ไม่ควรนำมาปนกันในหน้าเดียวกันครับ ซึ่งในส่วนนี้เขียนเป็นผลงาน พร้อมรูปประกอบเท่านั้นนะครับ..อย่าเพิ่งใส่ประกาศนียบัตรลงไป..ส่วนที่เป็นใบประกาศจะมีอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านท้ายครับ..
5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจ
ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไปครับ..เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ..ลักษณะการจัดการเขียนก็คล้ายๆ กับข้อก่อนหน้านี้..แต่สิ่งที่ควรเพิ่มควรจะมีการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากอดทนแค่ไหนกว่าจะได้มา..ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย..จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยทีเดียวครับ..
6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
น้องๆ คนไหนที่เป็นประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม หรือเครือข่ายกิจกรรมโรงเรียนต่างๆ ก็สามารถมานำเสนอได้ในส่วนนี้ครับ..ส่วนใหญ่การทำกิจกรรมมักจะไม่มีประกาศนีบบัตร ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า ระดับ ม.1 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ม.2 ม.3 ม.4 ถึง ม.6 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ตรงส่วนนี้จะรวมถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ..ข้อนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ โดยหากใครมีเยอะ ย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านเยอะเช่นกันครับ..
7.ผลงานตัวอย่าง
หลายคนอาจจะบอกว่ามีความสามารถด้านจัดหน้า ออกแบบหนังสือ หรือผลงานด้านหัตถกรรม ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้..รูปแบบการใส่ของให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพครับ..ในที่นี่อาจรวมถึงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เราเคยทำไว้สมัยเรียนก็ได้..
8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
ในส่วนนี้แนะนำให้น้องๆ โชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ การเป็นพิธีกรหรือผู้นำเชียร์ ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษนะครับ..
จากส่วนประกอบต่างๆ ของแฟ้มสะสมผลงาน พี่ลาเต้ ก็ขอต่อกันด้วยอีกเนื้อหาหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เป็นเรื่องของคณะกรรมการคนหนึ่งท่านคือ อาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เราลองมาดูซิว่า ท่านมีหลักเกณฑ์ในการดูแฟ้มสะสมผลงานอย่างไร..ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในการพิจารณา เปรียบเทียบ Portfolio ของนักเรียนสองคน..
- Portfolio คนที่หนึ่ง เป็นนักเรียนที่เข้าร่วมประกวดถ่ายภาพ และได้รับรางวัล จากการประกวดมีหลักฐานรางวัลต่างๆ แสดงไว้มากมาย..
- Portfolio คนที่สอง ถึงแม้ไม่เคยรับรางวัลแต่ก็ส่งเข้าร่วมประกวดมากมายเหมือนกัน พร้อมมีรูปงานแสดงภาพถ่ายต่างๆที่ตนเองเข้าร่วมประกวด
ทำแฟ้มผลงาน อย่างไรให้สอบสัมภาษณ์ผ่าน
ทันที่ที่เลือกดูแฟ้ม Portfolio ทั้งสองฉบับ ท่านได้ตัดสินใจว่า.."ผมคงพิจารณาว่า เจ้าของPortfolio ที่สองน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่า ถ้าต้องคัดเอาเพียงคนเดียวเพื่อเข้าเรียนสาขาการถ่ายภาพบางทีแค่การไปร่วมงาน ไปดูงานนิทรรศการที่เราสนใจก็นำมาบันทึกได้ เพราะ Portfolio คือสิ่งที่จะบ่งบอกความสนใจในตัวเรา บางคนสนใจเรื่องวิชาการ ก็เอาเกรด เอารายงานที่ทำระหว่างเรียน เอาเรื่องราวของการทำโครงงานด้านวิชาการต่างๆ ที่เคยทำมาแสดง มาสรุป หรือนำภาพถ่ายของตนเองในงานนั้นๆ มาบันทึกไว้ใน Portfolio ก็ดูน่าสนใจดีครับ"
"คนที่สนใจด้านสังคมก็เอากิจกรรมที่ทำมาลง บางทีอาจให้เพื่อนเขียนถึงเราก็ได้ว่าเราดีตรงไหนประทับใจอะไรเรา ให้ครู พ่อแม่ หรือคนที่เรารู้จักเขียนถึงเราก็ได้ทั้งนั้น ไม่ผิดกติกามีนักเรียนถามว่า การบันทึก Portfolio ต้องมีหลักฐานหรือไม่..สำหรับผมคิดว่าถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าผู้อ่านสนใจเขาก็มาถามเราต่อได้ เช่นถ้าเราเคยร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่เราไม่มีรูป เราก็อาจเขียนความประทับใจในงานนั้น โดยไม่มีหลักฐาน ไม่มีคนเซ็นรับรอง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ"
นักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยี อาจทำ Portfolio แบบดิจิตอล คือทำเป็นเว็บ หรือโปรแกรมนำเสนอ ก็ดูน่าสนใจ ใส่ภาพ เสียง ผมว่าน่าจะสนุกครับ เป็นการบ่งบอกความสนใจของเราได้อย่างดีคำถามที่ว่าจะใช้กระดาษอย่างไร ความหนาเท่าไร หรือจำนวนกี่หน้า ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเรานะPortfolio ที่แสดงความเป็นตัวเราได้นั่นคือ Portfolio ที่ดี เคยเห็น Portfolio ของนักเรียนที่สนใจด้านศิลปะ ทำออกมาไม่กี่หน้าแต่ออกแบบน่าสนใจ มีทั้งภาพกราฟฟิก และภาพถ่ายที่ตั้งใจทำอย่างดี อย่างนี้เอาไปสมัครเข้าเรียนต่อด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ ก็น่าจะประสบความสำเร็จ"
"การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้ Portfolio เป็นส่วนหนึ่งของการคัดนักเรียนเข้าเรียนต่อ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าส่งเสริมมากครับ น่าจะมีผลดีกว่าการคัดนักเรียนจากการสอบเพียงอย่างเดียว บางคนไม่เคยคิดเคยทำประโยชน์อะไรให้สังคมส่วนรวมเลย แต่สอบเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะหวังให้จบมาทำงานด้านนี้ คงยากครับ การคัดเลือกโดยใช้ Portfolio เป็นส่วนประกอบจึงน่าจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้คัดเอาผู้ที่มีความสนใจ ในสาขาวิชานั้นๆ เข้าไปเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนต่อ หรือ การทำงานในอนาคตครับ"
ทั้งหมดนี้ก็เป็น ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน หรือ Portfolio นะครับ..ทำขึ้นมาใครๆ ก็ทำได้..แต่ทำให้สวยให้น่าสนใจ..ทำไม่ได้ทุกคนครับ..สุดท้ายนี้ พี่ลาเต้ ก็ขอฝากให้น้องๆ จงเน้นความเป็นตัวของตัวเองนะครับ..บางสิ่งในตัวเราที่เราคิดว่าไร้สาระ อาจจะน่าสนใจในสายตาคนอื่นๆ ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดี ผ่านข้อเขียน ผ่านการสอบสัมภาษณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น