วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคนิคทำแฟ้มผลงาน ให้เข้าตากรรมการ

ว่ากันต่อเรื่องของ การสอบแอดมิชชั่น แล้ว ขั้นต่อไปของการเข้าเรียน มหาวิทยาลัย คือ การสอบสัมภาษณ์และแน่นอนว่า น้องๆทุกคนคงกังวลกับการสอบสัมภาษณ์ในครั้งนี้ และ ไม่รู้จะเตรียมตัวยังไง วันนี้พี่จุ๊ มีทริคเด็ดเทคนิคทำแฟ้มผลงาน ให้เข้าตากรรมการ สำหรับเด็กแอดมิชชั่น ซึ่งแฟ้มผลงาน Portfolio มีผลต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการผู้สอบสัมภาษณ์ ด้วยนะจ้ะ จะบอกให้

เทคนิคทำแฟ้มผลงาน ให้เข้าตากรรมการ

ตัวช่วยเพื่อเพิ่มความมั่นใจในห้องสอบสัมภาษณ์
แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้คณะกรรมการได้รู้จักเรามากขึ้น แต่จะเป็นคะแนน หรือไม่นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการด้วย การสอบสัมภาษณ์นั้นใจความสำคัญหลักๆ อยู่ที่ตัวตนของเราที่จะพูดจา และมีทักษะการนำเสนอตัวเองมากน้อยแค่ไหน แต่หากเราไม่พูดไม่เก่ง พูดไม่รู้เรื่อง ก็ควรที่จะมีตัวช่วยอย่าง แฟ้มสะสมผลงา
แฟ้มสะสมผลงานที่ดีนั้น ไม่ควรมีแต่ตัวหนังสือ หรือตัวอักษรบรรยายอย่างเดียว เพราะคณะกรรมการท่านจะไม่ใส่ใจอ่านรายละเอียดต่างๆ อย่างแน่นอน กิจกรรมไหนที่เคยทำ หรือกิจกรรมไหนที่เคยเข้าร่วม หากมีรูปก็จัดการโพสลงไปเลยครับ แล้วค่อยอธิบายใกล้ๆ ว่างานนี้คือกิจกรรมอะไร ลองดูซิว่าในแฟ้มผลงาน 1 แฟ้ม จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไปดูกันเลยจ้า
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  1.หน้าปก           ควรออกแบบให้สะดุดตาไปเลย แบบเห็นปุ๊บแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไปได้ นำเสนอตัวเองให้เต็มที่ แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจง่าย และมีเนื้อหาครบถ้วน คือ เป็นของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง) ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาด่านแรกของน้องๆ เลยนะครับ หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมาก ก็เน้นทำแบบสะอาดๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อยครับ
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  2.ประวัติส่วนตัว          นำเสนอตัวเองเต็มที่เช่นกันครับ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นภาษาไทย และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด สุขภาพ นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเราที่ทำให้เขารู้จักตัวเรามากที่สุด ซึ่งจากหน้านี้แหละเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร ส่วนฟอนท์ตัวหนังสือ พี่ลาเต้ แนะนำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่มครับ โดยฟอนท์ที่ดูเรียบร้อยเป็นมืออาชีพ ก็จะมีพวก Angsana, Cordia เป็นต้น
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  3.ประวัติการศึกษา          ให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน โดยเพื่อความแสดงศักยภาพในการเรียน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจเว้นไว้ก็ไม่เป็นไรครับ รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้เต็มยศเลยนะครับ ไม่ควรที่จะย่อ ส่วนระดับก็สามารถแยกเป็น ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ          เขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับได้เลยครับ โดยจะกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าสนใจไม่น้อย เช่น พ.ศ. 2554 มีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราเข้าร่วม หรือได้รับรางวัลเกียรติบัตรอะไรบ้าง หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วย ก็ลงในส่วนนี้ได้เลย ซึ่งส่วนที่เป็นรายชื่อรางวัลที่ได้รับ กับส่วนที่เป็นประมวลภาพควรจะอยู่คนละส่วนกัน ไม่ควรนำมาปนกันในหน้าเดียวกันครับ ซึ่งในส่วนนี้เขียนเป็นผลงาน พร้อมรูปประกอบเท่านั้นนะครับ อย่าเพิ่งใส่ประกาศนียบัตรลงไป ส่วนที่เป็นใบประกาศจะมีอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านท้ายครับ
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  5.ผลงานที่ประทับใจ           ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไปครับ เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ ลักษณะการจัดการเขียนก็คล้ายๆ กับข้อก่อนหน้านี้ แต่สิ่งที่ควรเพิ่มควรจะมีการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากลำบากแค่ไหนกว่าจะได้มา ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการดูไปด้วยครับ
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน           น้องๆ คนไหนที่เป็นประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม หรือเครือข่ายกิจกรรมโรงเรียนต่างๆ ก็สามารถมานำเสนอได้ในส่วนนี้ครับ ส่วนใหญ่การทำกิจกรรมมักจะไม่มีประกาศนีบบัตร ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า ระดับ ม.1 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ม.2 ม.3 ม.4 ถึง ม.6ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ตรงส่วนนี้จะรวมถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ ข้อนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ โดยหากใครมีเยอะ ย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านมากๆ ครับ
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  7.ผลงานตัวอย่าง           หลายคนอาจจะบอกว่ามีความสามารถด้านจัดหน้า ออกแบบหนังสือ หรือผลงานด้านหัตถกรรม ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้ รูปแบบการใส่ขอให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพครับ ในที่นี่อาจรวมถึงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เราเคยทำไว้สมัยเรียนก็ได้ ปล.ไม่ต้องเซฟงานใส่ CD ไปให้กรรมการดูนะครับ เขาไม่มีเวลาเปิดดูหรอกคร้าบ
เทคนิคทำแฟ้มผลงาน  8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
           ในส่วนนี้แนะนำให้น้องๆ โชว์ความสามารถพิเศษของเราไปเลย อาจจะเป็นความสามารถพิเศษที่สอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อก็ได้ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือกีฬา ฯลฯ การเป็นพิธีกรหรือผู้นำเชียร์ ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษนะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็น เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ และ เทคนิคทำแฟ้มผลงาน ให้เข้าตากรรมการ ใครๆ ก็ทำได้ แต่ทำให้สวยน่าสนใจ สุดท้ายนี้ ก็ขอฝากให้น้องๆ จงเน้นความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด บางสิ่งในตัวเราที่เราคิดว่าไร้สาระ อาจจะน่าสนใจในสายตาคนอื่นๆ ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดี ผ่านการสอบสัมภาษณ์

ไม่มีความคิดเห็น: