การสมัครเข้าเรียนปริญญาตรีในต่างประเทศ บางมหาวิทยาลัย จะกำหนดให้เขียน หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย คือ เรียงความที่ตอบคำถามตามหัวข้อ นั้นๆ เพื่อใช้ในการคัดเลือก นักศึกษา ให้เข้ามาเรียนในสถาบัน ควบคู่กับกับผลการเรียนและคะแนนสอบต่างๆของแต่ละคน
วันนี้ teen.mthai ก็เลยนำตัวอย่าง ” หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ” ของแต่ละ มหาวิทยาลัย ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวัดสติปัญญา ไวพริบ เด็กๆ มาฝากกันคะ … เห็นแล้วจะอึ้ง !
อ้างอิง พี่สตางค์ เด็กดีคอทคอม
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 1
an a toad hear? Prove it.
” คางคกสามารถได้ยินมั้ย? จงพิสูจน์ “
” คางคกสามารถได้ยินมั้ย? จงพิสูจน์ “
( Bennington College, 2010 )
เจอหัวข้อนี้เข้าไป ใครล่ะจะไม่อึ้ง! แล้วใครจะไปรู้ล่ะคะว่าคางคกมันสามารถได้ยินมั้ย ?!! (ก็เคยไปลองส่งเสียงเรียกมันอยู่นะ แต่มันกระโดดหนีไปนี่นา T^T)
เมื่อเห็นคำถามเช่นนี้ แน่นอนว่าเราอาจจะเกิดความสับสนหรือวิตกกังวล แต่! สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่เราจะต้องคิดไว้ในใจเสมอก็คือ ” ไม่ต้องตกใจ! ” เพราะเป้าหมายของคำถามเหล่านี้นั้น ก็คือต้องการกระตุ้นคำตอบที่น่าสนใจ รวมถึงต้องการความคิดสร้างสรรค์ที่สนุกสนานและไม่ซ้ำใครจากเราค่ะ แต่จากประโยคที่ว่า ” จงพิสูจน์ ” นั่นก็หมายความว่า ในความคิดสร้างสรรค์นั้นเราก็จะต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผล และความเป็นไปได้ในการให้คำตอบของเราควบคู่ไปด้วยนั่นเองค่ะ
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 2
What would you do with a free afternoon tomorrow?
“คุณจะทำอะไร หากว่าพรุ่งนี้คุณว่างในช่วงบ่าย?”
“คุณจะทำอะไร หากว่าพรุ่งนี้คุณว่างในช่วงบ่าย?”
( Yale University, 2011 )
สิ่งที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังของคำถามนี้ น่าจะเป็นการเปิดกว้างให้เราได้พูดถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากกว่าค่ะ ซึ่งจุดนี้หลายคนอาจจะใช้ประโยชน์ในการโม้ถึงกิจกรรมที่น่าประทับใจของเรา เช่นการช่วยเหลือสังคม การแสดงความสามารถในด้านต่างๆ อะไรอย่างนี้ หรือหลายคนอาจจะแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนที่มีการจัดการชีวิตตัวเองอย่างไร มีการวางแผนการทำงานอย่างไร โดยแสดงให้เห็นจากแผนการทำงานในแต่ละอาทิตย์ เช่นนี้เป็นต้น นับว่าหัวข้อนี้เปิดกว้างให้เราได้แสดงความเป็นตัวเราเพื่อเอาชนะใจกรรมการได้เต็มที่เลยล่ะค่ะ
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 3
Write a haiku, limerick, or short poem that best represents you.
“จงเขียนกลอนไฮคุ, โคลงตลก หรือ กลอนสั้นๆ ที่แสดงความเป็นตัวคุณได้ดีที่สุด”
“จงเขียนกลอนไฮคุ, โคลงตลก หรือ กลอนสั้นๆ ที่แสดงความเป็นตัวคุณได้ดีที่สุด”
(New York University, 2009)
แค่เขียนเรียงความธรรมดาๆหลายคนก็แทบจะแย่แล้ว แต่ที่ NYU กลับให้แต่งเป็นกลอน! ซึ่งก็แน่นอนค่ะว่าหัวข้อแบบนี้เป็นหัวข้อที่ต้องการให้เราแสดงความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการแสดงความเป็นตัวตนและความคิดของเราภายใต้ข้อกำหนดหรือกฏเกณฑ์ต่างๆ (ซึ่งในหัวข้อนี้เป็นเรื่องข้อกำหนดทางภาษานั่นเอง) ว่าเราจะสามารถทำได้ดีแค่ไหนค่ะ
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 4
Are we alone?
“เราอยู่เพียงลำพังจริงหรือ?”
“เราอยู่เพียงลำพังจริงหรือ?”
(Tufts University, 2010)
เราอยู่เพียงลำพังจริงหรือ? ใครมาอ่านคำถามนี้ช่วงดึกๆในที่เงียบๆเปลี่ยวๆ อาจจะเกิดความหวาดผวาขึ้นสักเล็กน้อย แต่จริงๆแล้วความหมายของคำถามนี้ น่าจะมาจากประโยคเต็มๆว่า “Are we alone in the universe?” หรือ “เรา (มนุษย์) อยู่เพียงลำพังในจักรวาลจริงหรือ?”
ซึ่งคำถามนี้เป็นโจทย์ที่ต้องการจะให้พวกเราคิดนอกกรอบ ไปถึงข้อสรุปเกี่ยวกับหนึ่งในคำถามที่ยากที่สุดทางวิทยาศาสตร์ ว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากมนุษย์อยู่ในจักรวาลอีกมั้ยนั่นเองค่ะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่าจะตอบว่า “มี” หรือ “ไม่มี” และเราได้ให้เหตุผลต่อความเชื่อของเรานั้นอย่างไร จูงใจให้คณะกรรมการผู้อ่านเรียงความเห็นด้วยกับเราได้หรือไม่
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 5
Find X.
” จงหา X “
” จงหา X “
( University of Chicago, 2010 )
มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นหนึ่งในสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านการตั้งหัวข้อเรียงความได้แปลกประหลาดสุดๆ! และคำถามนี้ก็เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ
เจอหัวข้อนี้ครั้งแรกถึงกับอึ้ง..สาบานได้มั้ยว่านี่คือหัวข้อเขียนเรียงความ?! มันฟังดูเหมือนกับโจทย์ทางคณิตศาสตร์ ที่ต้องการให้เราตามหาตัวแปร x จากสมการข้างต้นอะไรแบบนี้มากกว่า (ซึ่งก็ไม่มีสมการข้างต้นมาให้อีกต่างหาก – -”) แต่ก็อย่างที่ทุกคนพอจะเดาได้ ว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของโจทย์ข้อนี้ เอ๊ย! หัวข้อเรียงความนี้ ก็คือต้องการเปิดโอกาสให้เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์กันได้อย่างเต็มที่!
x อาจจะไม่ใช่ตัวแปรทางคณิตศาสตร์ แต่อาจจะเป็นรูป x บนลายแทงสมบัติก็ได้ หรือบางที x อาจจะเป็นตัวแปรที่มีค่าที่สุดในชีวิตของเรา และเราก็สามารถแสดงความคิดเห็น และความเป็นตัวเราในการอธิบายถึง x นี้ได้อย่างเต็มที่ไปเลย!…สรุปว่าเป็นหัวข้อที่เปิดกว้างจริงๆเลยนะเนี่ย…
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 6
You have just completed your 300-page autobiography. Please submit page 217.
“คุณเพิ่งจะเขียนอัตชีวประวัติจำนวน 300 หน้าของตัวเองเสร็จ โปรดส่งหน้า 217 มาให้เรา”
“คุณเพิ่งจะเขียนอัตชีวประวัติจำนวน 300 หน้าของตัวเองเสร็จ โปรดส่งหน้า 217 มาให้เรา”
(University of Pennsylvania, 2010)
นี่เป็นหัวข้อที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการเป็นอย่างมาก! เชื่อมั้ยคะว่ามีผู้ปกครองถึงขั้นเขียนจดหมายถึงมหาวิทยาลัย เพื่อขอให้ยืดเวลาการส่งเรียงความออกไป เพราะลูกของเขาเขียนอัตชีวประวัติจำนวน 300 หน้าไม่ทัน! (คือตั้งใจจะเขียน 300 หน้าอย่างจริงจังมาก – -”)
แต่ถ้าอ่านหัวข้อดีๆจะเห็นว่า ทางนั้นต้องการเพียง “หน้าที่ 217” หน้าเดียวเท่านั้น ซึ่งมีคนตีความโจทย์นี้เอาไว้ว่า 217 จาก 300 หน้า นั่นหมายถึง ช่วงชีวิตประมาณ “สองในสาม” ของชีวิตเราทั้งชีวิต ดังนั้น 2/3 ของช่วงชีวิตอาจจะเป็นในขณะนี้ก็ได้ (เราอาจจะเล่าประสบการณ์ที่จะทำให้คณะกรรมการประทับใจ) หรืออาจจะเป็นช่วงชีวิตในอนาคตที่เราตั้งเป้าหมาย หรือคาดหวังเอาไว้ก็ได้ค่ะ (เช่นว่า เราอาจจะจบจากมหาวิทยาลัยที่เราสมัครไป และสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันอย่างยิ่งใหญ่…แบบนี้รับรองว่ารับเราเข้าเรียนชัวร์ 5555+)
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 7
How did you get caught? (Or not caught, as the case may be.)
“คุณถูกจับได้อย่างไร (หรือไม่ถูกจับอย่างไร ถ้าไม่โดนจับได้)”
“คุณถูกจับได้อย่างไร (หรือไม่ถูกจับอย่างไร ถ้าไม่โดนจับได้)”
(Chicago, 2009)
อีกหนึ่งคำถามนามธรรมจาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ที่เห็นแล้วหลายๆคนคงจะถึงกับมึนตึ้บ (- -”) …อยู่ดีๆก็มาหาว่าเราถูกจับได้ หรือไม่ถูกจับได้ อะไรก็ไม่รู้ค่ะ! แต่ข้อดีของหัวข้อแบบนี้ (เช่นเดียวกับ “จงหา x”) ก็คือมันเป็นหัวข้อที่เปิดกว้างมากๆ ก็ในเมื่อหัวข้อไม่ได้บอกว่าโดนจับได้เรื่องอะไร งั้นเราก็สามารถเขียนได้เลยเต็มที่!
โดยเราอาจจะพูดถึงประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ที่แสดงให้เห็นความเป็นตัวตน (ในทางที่ดี) ที่โดดเด่นของเรา เช่น อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความกล้า ความเสียสละ ความทุ่มเท ความมีศีลธรรม ความรักเพื่อนพ้อง ฯลฯ ซึ่งตรงนี้นี่แหละค่ะ ที่เราจะใช้มัดใจกรรมการให้เลือกเราเข้าเรียนในสถาบันนั้นๆได้!
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 8
Using a piece of wire, a car window sticker, an egg carton, and any inexpensive hardware store item, create something that would solve a problem. Tell us about your creation, but don’t worry: we won’t require proof that it works.
“ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่อไปนี้ : เส้นลวด, สติ๊กเกอร์ติดหน้าต่างรถ, ลังใส่ไข่, และวัสดุอื่นๆที่ราคาไม่แพงที่มีขายทั่วไป นำมาสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ จงอธิบายเรื่องสิ่งประดิษฐ์ของคุณ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เราจะไม่พิสูจน์ว่าสิ่งนั้นใช้การได้จริงหรือไม่”
(Johns Hopkins University, 1996)
สมกับที่ Johns Hopkins เป็นมหาวิทยาลัยที่โด่งดังในสาขาวิทยาศาสตร์ ถึงได้ตั้งหัวข้อคำถามที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อะไรแบบนี้! จู่ๆก็จะให้เรามาคิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ แถมยังใช้วัสดุที่ดูจะไม่น่าเข้ากันได้อย่าง เส้นลวด ลังไข่ และสติ๊กเกอร์! แบบนี้แสดงว่าเราจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มากพอ ถึงจะตอบคำถามอะไรแบบนี้ได้ (แม้จะบอกว่าจะไม่พิสูจน์ว่าใช้การได้จริงหรือไม่ก็เถอะ แต่อย่างน้อยๆมันก็ต้องเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์แหละเนอะ) เอาเถอะค่ะ ข้อนี้พี่ยอมแพ้ T^T
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 9
Tell us the question you think a selective college should ask.
How would you answer it?
“จงบอกเรามาว่า คำถามใดที่คุณคิดว่ามหาวิทยาลัยควรจะตั้ง (เพื่อใช้ในการเขียนเรียงความคัดเลือก) และคุณจะตอบคำถามนั้นว่าอย่างไร”
How would you answer it?
“จงบอกเรามาว่า คำถามใดที่คุณคิดว่ามหาวิทยาลัยควรจะตั้ง (เพื่อใช้ในการเขียนเรียงความคัดเลือก) และคุณจะตอบคำถามนั้นว่าอย่างไร”
(Haas School of Business at UC Berkeley, 2009)
นอกจากมหาวิทยาลัย UC Berkeley จะไม่ต้องคิดตั้งคำถามเองให้ปวดศีรษะแล้ว ยังจะได้เห็นความคิดของผู้สมัครในมุมต่างๆอีกหลากหลายด้วย เช่น ผู้สมัครคิดเกี่ยวกับการเขียนเรียงความเพื่อใช้ในการคัดเลือกเข้าเรียนนี้อย่างไร (เช่นเก็งว่าคำถามจะเป็นคำถามประเภทไหน) หรือ นักศึกษาแบบใดที่ผู้สมัครคนนั้นๆเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรจะรับ (ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านคำตอบของคนคนนั้น) รวมถึงได้เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงความเป็นตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ โดยที่ทางมหาวิทยาลัยไม่ต้องตั้งหัวข้ออะไรให้ยากเลย…ฉลาดมั้ยล่ะ!
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 10
If you could choose to be raised by robots, dinosaurs,
or aliens, who would you pick? Why?
“หากให้เลือก ระหว่างถูกเลี้ยงดูมาโดย หุ่นยนตร์, ไดโนเสาร์, หรือ เอเลี่ยน
คุณจะเลือกอะไร และทำไม”
or aliens, who would you pick? Why?
“หากให้เลือก ระหว่างถูกเลี้ยงดูมาโดย หุ่นยนตร์, ไดโนเสาร์, หรือ เอเลี่ยน
คุณจะเลือกอะไร และทำไม”
(Brandeis University, 2010)
หุ่นยนตร์? ไดโนเสาร์? เอเลี่ยน? ให้มาเลี้ยงดูเราเนี่ยนะ?! เอ่อ… คุณคนตั้งคำถามคิดอะไรอยู่ก็ไม่รู้เนอะ (= =’) แต่ถ้าจะมองในแง่มุมลึกๆลงไปสำหรับคำถามที่ฟังดูสนุกสนานหรือตลกขบขันเช่นนี้ ทางคณะกรรมการผู้คัดเลือกอาจจะต้องการเห็นถึงอารมณ์ขันของผู้สมัคร แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการที่จะเห็นความจริงจังและความมีเหตุผลในการอธิบายความคิดเห็นนั้นๆด้วยค่ะ ดังนั้นจุดสำคัญของการตอบคำถามแบบนี้ คือต้องไม่ลืมที่จะสร้างสมดุลระหว่างความสนุกสนานและความจริงจัง เพราะฉะนั้นเห็นคำถามอาจจะดูเล่นๆแบบนี้ก็เถอะ แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่จะเขียนตอบได้ง่ายๆเลยนะเนี่ย…
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 11
You step off an elevator and there are three doors
in front of you. Select a door and describe
what happens when you open it.
“หาก คุณก้าวออกมาจากลิฟท์ แล้วพบว่าด้านหน้าของคุณมีประตูอยู่ด้วยกัน 3 บาน จงเลือกประตูบานหนึ่ง แล้วบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปิดมันออก”
in front of you. Select a door and describe
what happens when you open it.
“หาก คุณก้าวออกมาจากลิฟท์ แล้วพบว่าด้านหน้าของคุณมีประตูอยู่ด้วยกัน 3 บาน จงเลือกประตูบานหนึ่ง แล้วบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปิดมันออก”
(Indiana University of Pennsylvania, 2011)
นี่มันไม่ใช่หัวข้อเรียงความค่ะ นี่มันคำถามจิตวิทยาชัดๆ!! (ใครเคยเล่นบ้างแบบปัญหาทายใจ ที่จะบอกว่าเราเป็นคนยังไงจากสิ่งที่เราเลือก > <) แต่ว่า…ถ้าหากลองคิดดูดีๆ คำถามนี้ก็เปิดโอกาสให้เราได้แสดงอะไรหลายๆอย่างเลยค่ะ ทั้งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นตัวเรา ความชอบ รวมไปถึงสิ่งที่เราจะบอกกับคณะกรรมการโดยตรงเกี่ยวกับตัวเอง
หัวข้อเรียงความสอบเข้ามหาวิทยาลัย สุดแปลก ข้อ 12
You have 150 words. Take a risk.
“คุณสามารถเขียนได้ 150 คำ ลองเสี่ยงดูแล้วกัน”
“คุณสามารถเขียนได้ 150 คำ ลองเสี่ยงดูแล้วกัน”
(University of Notre Dame, 2011)
มีใครอยากเห็นหน้าคนตั้งหัวข้อนี้เหมือนพี่บ้าง?! หัวข้อนี้มันอาจจะดูง่ายๆ สั้นๆ แต่มันได้ใจมากๆ! มันเหมือนคณะกรรมการต้องการจะบอกว่า “ใน 150 คำ อยากเขียนอะไรก็เขียนมาเถอะ” เขียนอะไรก็ได้ที่คิดว่าจะเอาชนะใจกรรมการอย่างเราได้ แล้วแถมทิ้งท้ายอย่างท้าทายด้วยว่า “ลองเสี่ยงดู” อุว้าววววววว! หัวข้อนี้มันเจ๋งมากๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นหัวข้อที่เขียนได้ยากที่สุดก็ตาม!
ก็จะไม่ยากได้ยังไงล่ะคะ เล่นตั้งคำถามปลายเปิดซะกว้างขนาดนี้เนอะ รับรองว่าผู้สมัครทุกคนต้องมานั่งปวดหัวกันอย่างหนักเลยว่า “จะเขียนอะไรดี?” ซึ่งจุดนี้แหละค่ะ เผยทั้งความคิดสร้างสรรค์ การประเมินสถานการณ์ การแสดงตัวตน ฯลฯ ตามแต่ที่ผู้สมัครแต่ละคนจะสรรค์สร้างขึ้นมาจากกระดาษเปล่าๆเพียงแผ่นเดียว…ยากสุดๆ!
อ่านแล้วก็ปวดหัวมึนตึบเอาเรื่องเลยทีเดียว ( แต่ชอบข้อสุดท้ายมากๆอ่ะ คิดได้ไงจ้ะ คนออกข้อสอบ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น