วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้องรู้ก่อนสอบ O-NET 2555 สำคัญมาก !!!


1. การสอบ O-NET สามารถสอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นนะครับ คะแนน O-NET สามารถนำคะแนนไปใช้ได้ตลอดกาล ( จนกว่าจะยกเลิกระบบนี้ ) อย่าหวังมีจะกลับมาสอบใหม่ในปีการศึกษาหน้านะครับ ดังนั้นห้ามกามั่วโดยเด็ดขาด
2. จะ มีการนำ คะแนน O-NET ไปถ่วงน้ำหนัก GPAX จริง  และจะแสดงผลใน ปพ.1 (ระเบียนแสดงผลการเรียน)   แต่โชคยังดีที่จะไม่มีการนำไปใช้จริงใน Admissions โดยใน ปพ.1  จะมีแสดงผล ทั้ง GPAX ปกติ ที่น้องๆทำได้ในโรงเรียน และ แบบ  มี O-NET ถ่วงน้ำหนัก 20%
สำหรับการนำไปใช้ถ้าเกิดซิ่ว อันนี้ก็ขึ้นกับ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้วนะครับว่าจะใช้แบบไหน  แต่ผมยังเชื่อว่าส่วนใหญ่จะใช้แบบปกติอยู่
3. โครงการรับตรงที่ใช้ O-NET เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก อ้างอิงจากปีการศึกษาก่อนนะ เช่น
-  รับตรง ม.บูรพา รอบหลัง Admissions
-  รับตรง หลัง Admissions ม.สงขลานครินทร์
- รับตรง หลัง Admissions เทคโนโลยีสารสนเทศ ศิลปากร
- รับตรงภาคปกติ และ ภาคพิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
-  รับตรง รอบหลัง Admissions ม.พะเยา  ( ไม่ต้องใช้ O-NET  แต่ต้องเข้าสอบนะ )
-  Admissions ของสถาบันพระบรมราชนก
-  รับตรง หลัง Admissions พระจอมเกล้าธนบุรี  ( บางคณะใช้ บางคณะไม่ใช้)
- รับตรงเพิ่มพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร 2555
- รับตรง พยาบาลทหาร
ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.unigang.com/Article/10990
4. ในการคัดเลือก Admissions บางคณะจะมีการกำหนด คะแนนขั้นต่ำของ O-NET ด้วยนะเธอ  อย่างเช่น เภสัช จุฬา ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่ละวิชาจะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ 30 คะแนน ขึ้นไป นะครับ ดังนั้นแล้ว โดยสามารถเอาไปตรวจสอบ เกณฑ์ต่าง ๆ ของปีการศึกษา 2556 ได้ที่  http://www.cuas.or.th/place_university.htm
5. ใครที่สอบติดรับตรงไป ขอบอกเลยว่าห้ามทิ้งคะแนน O-NET เด็ดขาดนะครับ เพราะ มีหลายคนสอบตรงติดไปแล้ว หลายคนเข้าห้องสอบโดยทำแบบนี้
พอได้เข้าเรียนแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ หรือ เรียนไม่ไหว อยากมาเริ่มต้นใหม่
พอกลับมาดูคะแนนที่เคยกามั่วไว้ .................  จบกัน  ไปเรียนเอกชน >...<
6. มหาวิทยาลัยหลายแห่ง จะนำคะแนน O-NET ภาษาอังกฤษ มาเป็นคะแนนในการวัดระดับความรู้ทางด้านภาษา ตัวอย่าง ถ้าได้คะแนนถึง 30 ก้ไม่ต้องเรียนอังกฤษเวล1 ไปเรียนเวล2 ได้เลย คับมากกว่า 59 ไปเรียนเวล3 ดังนั้นดังใจข้อสอบ O-NET กันหน่อย สำหรับมหาวิทยาลัยที่นำคะแนน O-NET ไปใช้แน่นอน ได้แก่ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น
7.  UniGang ทำคลังข้อสอบ O-NET ให้ทดลองใช้แล้วนะ เข้าไปลองกันยัง http://www.unigang.com/exam
8. คะแนน O-NET สามารถนำไปใช้ยื่นรับตรงตามแต่มหาวิทยาลัยกำหนด และ ยื่น Admissions จ้า โดยใน Admissions กลางจะนำคะแนนไปใช้ แบ่งเป็น GAT-PAT 50 % , GAPAX 20 % และ ONET 30 %โดยคิดสัดส่วนย่อยดังนี้
ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ วิชาละ 5 % รวมเป็น 25 %
ศิลปะ สุขศึกษา และ วิชการงาน 5 %
9. คะแนนเฉลี่ย O-NET

 
จะเห็นได้ว่า คณิตศาสตร์ เด็กไทยจะทำคะแนนได้น้อยสุดนะครับ วิชาที่เราน่าจะเก็บคะแนนกันได้จริงๆก็คงเป็นภาษาไทย

10. วันประกาศผล แม้ระเบียบการหลักจะบอกว่าประกาศผล 11 เมษายน ของทุกปี แต่ในความจริงแล้ว สทศ มักประกาศผลก่อนนะครับปีก่อนนี่ประกาศแบบว่าไวสุดๆ  วันที่ 23 มีนาคม ก็ประกาศผลแล้ว
แถมตารางสอบ  O-NET

ขอบคุณข่าวจาก : Unigang.com

ไม่มีความคิดเห็น: