วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Admissions มั่ว ทำเด็ก-ผู้ปกครองเครียด ม.รับตรง รวย !!

วันนี้( 11 ต.ค.) ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย จัดโดยสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตนเห็นว่าระบบแอดมิขชั่นที่เหมาะสมกับสังคมไทยคือจะต้องมีเครื่องมือที่จะสามารถวัดเด็กได้จริงและมีคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือที่ว่าคือให้ทุนความรู้ที่ติดตัวมากับเด็กคือจีพีเอเอ็กซ์ สามารถคัดเด็กได้ว่ามีศักยภาพที่จะเรียนอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเรียนจนสำเร็จ ส่วนระบบการคัดเลือกน่าจะมี 2 รอบ ๆละ 50 % คือ รอบที่ 1 เปิดให้เด็กทั่วประเทศเข้าสอบแข่งขันกัน และรอบที่ 2 ให้เด็กในแต่ละพื้นที่แข่งขันกันเองเฉพาะในกลุ่ม ซึ่งทำให้เด็กไม่ต้องวิ่งรอก
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬา ฯกล่าวว่า การคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยยังไม่นิ่งและมั่วมาก สอบหลายครั้งหลายวิชาจนทำให้เด็กเครียด ต้องไปกวดวิชาและเสียเงินจำนวนมาก อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังหาผลประโยชน์จากการจัดรับตรงเอง ทำให้บางแห่งได้เงิน 20-30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรผีเต็มไปหมดคือหลักสูตรที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยและด็กต้องไปกวดวิชาเท่านั้น เพราะในโรงเรียนไม่มีสอน ตนฝากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องการคัดเลือกทางออกของกาการคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัยคือขอให้ลดจำนวนและวิชาที่จะสอบให้น้อยลง ดูความสามารถของเด็กและให้เข้าเรียนโดยไม่ต้องมาสอบ ที่สำคัญผู้ใหญ่ต้องรู้จักฟังเสียงของเด็กบ้าง นอกจากนี้ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เด็กมีความสุขในการเรียนไม่ใช่เครียดตลอด

อาจารย์เกศกร กาฬแก้ว หัวหน้าแนะแนว โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม กล่าวว่า ปัญหาที่ตนเคยเจอตอนจะเข้ามหาวิทยาลัยกับปัญหาที่เด็กเจอตอนนี้เหมือนกันคือกังวลว่าจะเป็นหนูทดลอง เพราะระบการคัดเลือกเปลี่ยนตลอด และสอบหลายอย่างจนต้องไปต้องกวดวิชา และที่ผ่านมาตนถามนิสิตปี 1 บอกว่าแม้เข้ามหาวิทยาลัยแล้วต้องกวดวิชาการอีก

นายเปรม ผลวิไล นิสิตคณะวิศกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เด็กไทยยังมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่มาก คนมีฐานะดีจะมีโอกาสมาก เช่น กวดวิชา และเลือกสอบหลายๆที่ แต่ถ้าจนจะไม่ค่อยมีโอกาส ดังนั้นตนอยากจะถามว่าการศึกษาคือการลงทุน แล้วใครควรจะลงทุน อย่างตอนนี้พ่อแม่ลงทุนเด็กลงแรง จึงไม่เป็นธรรมกับเด็ก ดังนั้นรัฐบาลต้องลงทุนและเด็กลงแรง ขณะที่รัฐบาลนำเงินไปลงทุนเรื่องอื่น ๆจำนวมากเช่น สร้างรถไฟฟ้าหลายพันล้านบาท น่านำมาลงทุนคน
น.ส.นวียา ขุนนาม นักเรียน ม.6รร.เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ กล่าวว่า หลักสูตรที่เรียนกว้างมาก แต่ความรู้ตื้น เน้นท่องจำ เพื่อกากาบาท และทำให้เด็กเครืยดมาก ต้องไปกวดวิชา และในการสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพหรือแพต ตนเห็นเพื่อนต่างโรงเรียนนั่งร้องไห้ พอสอบเสร็จตนถามว่าเป็นอะไร เพื่อนบอกว่าข้อสอบยาก และต้องไปกวดวิชาให้ตายไปกันข้างหนึ่ง เพื่อแก้ตัวใหม่ ทำให้รู้สึกเครียด ทั้งที่จริง ๆแล้วตนอยากให้หลักสูตรที่เรียนนั้นเรียนอย่างสนุก มีความสุขและทำได้ดี และถ้าเราอยากเห็นผู้ใหญ่มีคุณภาพ การศึกษาต้องมีคุณภาพด้วย เพื่อไปสอนเด็กได้มีคุณภาพ
ด้านนายชินภัทร มณีรินทร์ นักเรียนม.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายมัธยม. กล่าวว่า ตนไม่ได้เรียนพิเศษเลยแต่ผลกาเรรียนอยู่ในระดับที่ดี เพียงแต่ตั้งใจเรียนให้ห้องเรียน และถ้ามีการเรียนพิเศษหรือกวดวิชากันมากๆแล้วเราจะมีโรงเรียนปกติไว้ทำไม
ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/160371

ไม่มีความคิดเห็น: