วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

วิศวไฟฟ้าอุตสาหการ ม.ธรรมศาสตร์ ( ป.ตรีควบ ป.โท หลักสูตรที่กล้าคิดต่าง)


ตอบโจทย์อนาคต
เรามีการทำผลสำรวจ นะครับ บัณฑิตที่จบจาก ธรรมศาสตร์ สาขา วิศวะ ไฟฟ้า ได้ไปทำงานใน section ไหนบ้าง  และโดยส่วนใหญ่ก็จะไปอยู่ในภาคของอุตสาหกรรม   แล้ว บัณทิตก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันว่าเรียนไปแล้ว ได้นำวิชาความรู้ไปใช้มากน้อยแค่ไหน   แต่เราก็ได้ข้อสรุปว่า เด็กที่จบไฟฟ้า เมื่อเข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม ก็จะเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมเช่น กระบวนการผลิต  ดังนั้นเด็กที่จบไฟฟ้าส่วนใหญ่ ก็ต้องไปศึกษาหาความรู้ทางด้านอุตสาหการเพิ่มเติม (  IE )   ส่วนใหญ่กว่า 70 % ก็บอกว่า  "อาจารย์ทำไมจบออกไปทำ งานทำไมความรู้ด้านไฟฟ้าใช้น้อยจัง"และ อีกอย่างนึ่งมีเด็กเข้าไปทำงานสักระยะนึง ส่วนใหญ่ก็จะเรียนต่อโทกัน ส่วนใหญ่ก็จะต่อ MBA ( เมื่อก่อนเรียนต่อด้านนี้เยอะมาก ) หรือ โทด้านวิศวะ อุตสาหการ  ( การจัดการ การบริหารโรงงาน ) ดังนั้นเอง ทางภาควิศวกรรมไฟฟ้า และ อุตสหกรรม  ของ ธรรมศาสตร์ จึงร่วมมือกันทำหลักสูตรนี้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน

ไฟฟ้า + อุตสาหการ
ปกติในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ทั่วไปถ้าเรียนไฟฟ้า ก็จะสาขาแยกย่อยต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้ากำลัง  ไฟฟ้าอิเลคโทรนิค คอนโทรลเลอร์  ซึ่งหลักสูตรไฟฟ้าอุตสาหการ ก็จะดึงบางสาขาวิชาออก และเพิ่มวิชาในส่วนของอุตสาหการลงไป  เช่น ไฟฟ้าสื่อสาร  ( เพราะเมื่อเข้าไปทำงานในภาคอุตสากรรมจะไม่ค่อยได้ใช้ )  และนำวิชา IE เข้ามาแทนการเรียนในส่วนอุตสาหการเราจะทำให้เด็กได้รู้ถึง กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม  การวางผังโรงงาน  ระบบQC  และเรื่องการบริหารจัดการโรงงาน ภาครวมหลักสุตรจะเน้นไปที่  ไฟฟ้า 60 % และ อุสาหการ 40 %
โดยปี 4 ก็จะมีให้เลือก  3 สาขาหลัก  ( เลือกได้เลยไม่มีการดูเกรด )
  • หมวดระบบไฟฟ้าในอุตสาหกรรม
  • หมวดระบบควบคุมอัตตาโนมัติ
  • หมวดระบบการจัดการอุตสาหกรรม

ปริญญาโท
โดยหลักสูตร ปริญญาโท ( ใช้เวลาประมาณ 1.5 ปี )  เน้นในเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ จะส่งเข้าที่ภาคอุตสาหกรรมเลย  คล้ายกับ สหกิจศึกษา  โดยถ้าเป็นระดับปริญญาตรีก็จะเป็นการแก้โจทย์อุตสหกรรมง่าย ๆ   แต่ ปริญญาโท จะเน้น  ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะเป็นการทำการวิเคราะห์ เชิงทำวิจัย เพื่อพัฒนาและต่อยอด
 ทำไมค่าเทอมแพง !!
ค่าเทอม 5 หมื่นต่อเทอม  เพราะว่าโครงการนี้ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจาก ทางภาครัฐเลย ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะต้องบริหารจัดการด้านการเงินเอง 

คุณภาพอาจารย์ผู้สอน และ สถาบัน !!?
อาจารย์ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ที่สอนวิศวกรรมศาสตร์ในภาคปกตินนะครับ    แม้ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยไม่ได้เติมโตมา กับ สายวิทย์     แต่ น้องรู้ไหม  มธ ก็ เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย นะครับ  เพราะคุณภาพของงานวิจัย  ดังนั้นเรื่องคุณภาพอาจารย์ผู้สอนไม่ต้องห่วง   ถ้าพูดถึงเรื่องการวิจัย วิศวะ ไฟฟ้า ของทางธรรมศาสตร์ ก็เด่นไม่แพ้ใครนะ 
ขอเอาข้อมูลมาอ้างอิง  http://webboard.crsc.kmitl.ac.th/simple/index.php?t26826.html
ไฟฟ้า 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์  6990.0000  จุฬา (สอบแยกภาคตอนปี2)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ บางเขน(เคมี,คอมพิวเตอร์,เครื่องกล,ไฟฟ้า,อุตสาหการ,ฯลฯ )  6341.5000  เกษตร(สอบแยกภาคตอนปี2)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์  5817.3000  เชียงใหม่(สอบแยกภาคตอนปี2)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 5753.3000  ธรรมศาตร์ (สอบแยกภาคตอนปี2)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า,ไฟฟ้าสื่อสาร  5547.8000 มหิดล
คณะวิศวกรรมศาสตร์, กลุ่มวิศวกรรมไฟฟ้า (โทรคมนาคม,ไฟฟ้า,ฯลฯ)  5501.2000  ลาดกระบัง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า,ระบบควบคุมและเครื่องมือวัด,ฯลฯ 5436.7000 บางมด
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า,ควบคุม,สื่อสาร 5391.0000 พระนครเหนือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล,โยธา,โยธา-สิ่งแวดล้อม,ไฟฟ้า,อุตสาหกรรม 4759.8000 มศว(สอบแยกภาคตอนปี2)
 ห้องเรียน
หลักสูตรรับแค่ 60 คนเท่านั้น ในห้องเรียนปกติซึ่งถือว่า ok กำลังในการเรียนการสอน แต่ถ้าเป็นวิชา แลป ก็จะแยกย่อยกันออกไป   การที่หลักสูตรรับไม่เยอะเพราะต้องการควบคุม คุณภาพนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทาง โครงการการ IPEN วิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ ม.ธรรมศาสตร์ จึงได้จัดชั่วโมงกิจกรรมขึ้นมา โดยใน 1 สัปดาห์จะมีชั่วโมงเรียน 3 ชั่วโมง โดยจะสอดแทรกทั้งความรู้ ทักษะทางด้านวิศวะ รวมไปถึง ศิลธรรม จริยธรรม รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย  สำหรับชั่วโมงเรียนนี้จะแฝงไปด้วยการปลูกฝังความรู้ทางด้านวิศวกรรม


ประกอบหุ่นยนต์
ชั่วโมงเรียนต่อมาทางโครงการได้ซื้อหุ่นยนต์ประกอบเพื่อให้ นักศึกษาในโครงการได้ลองใช้กัน  เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าหุ่นยนต์คืออะไร  มีชุดควบอะไร  มีลักษณะการทำงานอย่างไร  หุ่นยนต์สามารถรับเข้ามูลยังไง และป้อนคำสั่งยังไง  โดยการเรียนชั่วโมงนี้ก็จะเป็นการปูทักษะ  ก่อนที่นักศึกษาจะได้เรียนของจริง ในปี ปี 2 เช่นไมโครคอนโทลเลอร์และ โปรแกรมมิ่ง.
 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม  การต่อชุดคิด  การเดินสายไฟ   โดยต่อไปก็จะมีการเชิญอาจารย์มาพูดเรื่องวิศวอุตสการให้ฟัง เพื่อให้ได้เข้าเกี่ยวกับการบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม  นอกจากนั้นจะมีค่ายรับน้องใหม่  ก็จะมีการแข่งขันประกอบหุ่นยนต์กันด้วย  และยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่รอน้องๆอยู่
 โครงการ IPEN หวังว่าห้องเรียนกิจกรรมเหล่านี้ เป็นการสร้างบรรยกาศในการเรียนรู้ เป็นการหล่อหลอมทางด้านทักษะและความคิดทางด้านวิศวกรรม รวมไปถึงทำให้เกิดการใฝ่รู้ และนำไปต่อยอดในอนาคต

การรับสมัคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555
ระเบียบการ เว็บไซต์หลัก ipen.engr.tu.ac.th
ย้ำไม่ตัดสิทธ์ Admissions นะครับ และไม่ได้เข้าร่วม Clearinghouse

ไม่มีความคิดเห็น: