วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โควต้าพิเศษสำหรับบุตรเกษตรกร ม.เกษตร กำแพงแสน

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้น คณะเกษตร กำแพงแสน เห็นควรให้การส่งเสริมนักเรียนมัธยมศึกษาและเป็นบุตรของเกษตรกร ได้เข้าศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของผู้ผลิตทางการเกษตร ให้สามารถแข่งขันในระดับมหภาคได้ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในคำสั่งสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 3/2554 ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554เรื่องแต่งตั้งรองอธิการบดี และคำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 401/2554 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เรื่องมอบหมายให้รองอธิการบดีปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี จึงให้กำหนดรายละเอียดโครงการส่งเสริมโอกาสศึกษาต่อในคณะเกษตร กำแพงแสน(โควตาพิเศษ-สำหรับบุตรเกษตรกร) ประจำปีการศึกษา 2555 ดังนี้

1. หลักสูตรที่รับเข้าศึกษา
1.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
สามารถที่จะประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยราชการ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชน
องค์กรต่าง ๆ หรือ ประกอบอาชีพส่วนตัว และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ทั้งใน
และต่างประเทศ ประกอบด้วย 6 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้
1.1.1 สาขาวิชากีฏวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านแมลง ประกอบด้วย แมลงที่เป็นโทษทางการเกษตร การแพทย์
สาธารณสุขและชุมชน ตลอดจนการป้องกันกำจัด นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับแมลงที่เป็น ประโยชน์และการใช้ประโยชน์จากแมลง
1.1.2 สาขาวิชาโรคพืช ศึกษาเกี่ยวกับโรคพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุต่างๆ เช่น รา แบคทีเรีย ไวรัส ไฟโตพลาสมา ไส้เดือน
ฝอย รวมทั้งโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตและการจัดการโรคพืช
1.1.3 สาขาวิชาปฐพีวิทยา ให้การศึกษาเกี่ยวกับดินและปุ๋ยเพื่อการผลิตพืช การวิเคราะห์ดินและพืชเพื่อประเมิน ความอุดม
สมบูรณ์ของดิน การผลิตและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ดิน การแก้ไขมลพิษของดินและ
สภาพแวดล้อม การสำรวจ จำแนก และทำแผนที่ดิน การวางแผนการใช้ที่ดิน การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) การ
พัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographical Information System, GIS) เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืช
เฉพาะที่ (Site specific nutrient management) และระบบการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture)
1.1.4 สาขาวิชาพืชไร่นา ให้การศึกษาเกี่ยวกับพืชไร่นา เช่น ธัญพืช พืชหัว พืชเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร พืช อาหารสัตว์ เริ่ม
ตั้งแต่กรรมวิธีการผลิต การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชผล สรีรวิทยาการผลิต การเก็บ รักษาพืชผล การปรับปรุงพันธุ์พืชเหล่านั้นให้
มีลักษณะและคุณสมบัติตามต้องการโดยใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
1.1.5 สาขาวิชาพืชสวน ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ และเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตพืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้
ประดับ และสมุนไพร วิทยาการขยายพันธุ์พืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว วิทยาการเมล็ดพันธุ์ สรีรวิทยาการเจริญเติบโต และพืชสวน
เพื่อสภาพแวดล้อม
1.1.6 สาขาวิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร ศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคนิค และวิธีการด้านงานส่งเสริมและ
พัฒนาการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตร และธุรกิจเกษตรในเชิงบูรณาการ มาใช้ในการ เพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
3. คุณสมบัติทั่วไปของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา
3.1 เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2554 เน้นการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์
ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
3.2 เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงและไม่เป็นผู้พิการ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสาขานั้น ๆ
3.3 มีสัญชาติไทยและเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3.4 เป็นผู้ที่เรียนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เน้นวิชาตามความต้องการของแต่ละหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยสะสม และ
คะแนนเฉลี่ยในกลุ่มสาระต่างๆ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงสิ้นสุดภาคต้นของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3.5 จะต้องเป็นบุตรของผู้ที่มีอาชีพทางการเกษตร โดยจะต้องมีหนังสือรับรองจากเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.) หรือสมาคมวิชาชีพทางการเกษตรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งดูแลพื้นที่ที่บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง (ในกรณีบิดา-มารดา เสียชีวิต)
ทำการเกษตร

รับสมัคร ภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2555
รายละเอียดทั้งหมด http://www.agri.kps.ku.ac.th/News/newsstudy/agri-2554-11-28-quotaUP.pdf

ไม่มีความคิดเห็น: