วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

บร๊ะเจ้า ! เด็กสวนกุหลาบ ม.6 เทพแห่ง O-NET"ทำคณิตได้ 100 เต็ม"



 "กิตติภูมิ ทศพรพงศ์ หรือพีซ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"หนึ่งในนักเรียนผู้พลิกประวัติศาสตร์ O-NET ม.6 ประเทศไทยปี 2555 ที่สามารถทำคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งถือว่าสูงสุดของประเทศ โอ้วววว งานนี้เขาจะกินอะไรเป็นอาหาร ชาติที่แล้วทำบุญด้วยเครื่องคิดเลขหรือไม่ และมีการเตรียมสอบยังไงถึง "เก่งเทพ" ขนาดนี้ วันนี้เว็บเด็กดีไปคว้าตัวมาสัมภาษณ์แล้วครับ



ตอน สทศ.ประกาศผล O-NET ทำอะไรอยู่ ?
ตอนนั้นผมกำลังนอนหลับอยู่ครับ นอนอยู่ดีๆ คุณแม่ก็เข้าปลุกแล้วบอกว่า "โอเน็ตประกาศแล้วนะ" ตอนนั้นตื่นเต้นมาก น้ำไม่อาบ ฟันไม่แปรง เปิดคอมพิวเตอร์เช็คผลทันที วินาทีตอนนั้นก็ค่อนข้างลุ้นครับ ในหัวคิดอยู่ตลอดว่าคะแนนรวมโอเน็ตทั้ง 5 วิชาหลักของเรา จะต้องผ่านเกณฑ์ 60% ของ กสพท.หรือเปล่าครับ แต่พอเปิดผลออกมา ก็โล่งเลยครับ

คิดไหมว่าตัวเองจะได้ 100 คะแนนเต็ม ?
555 ผมสารภาพตามตรงๆ ก็มีแอบคิดไว้บ้างครับ แต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะมีข้อที่เป็นทฤษฎีบท ผมไม่ค่อยมั่นใจในเนื้อหาเท่าไหร่ แต่พอรู้ว่า ตัวเองได้ O-NET คณิตศาสตร์เต็ม ก็แบบดีใจมากครับ ตาสว่างเลย พอทางครอบครัวรู้ว่าผมได้คะแนน 100 คะแนนเต็ม คุณพ่อคุณแม่ก็มาแสดงความดีใจกับผมครับ เพื่อนๆ ก็มาแสดงความยินดีกับผม ทั้งโทรศัพท์ และ Facebook เต็มไปหมด มีการแซวให้ผมพาไปเลี้ยงข้าวด้วย = =" 555 เนื่องจากผมจะได้เงินรางวัลจากทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 10,000 บาทครับ

มีเคล็ดลับในการทำข้อสอบ O-NET คณิตศาสตร์ยังไงบ้าง ?
ข้อสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ เขาเน้นความแม่นยำในทฤษฎีบทครับ ห้ามทำแต่โจทย์โดยไม่อ่านเนื้อหาครับ ส่วนการเตรียมตัวผมขอแบ่งเป็น 3 สเต็ปดังนี้ก็คือ......

1.ต้องดูว่า O-NET ในปีก่อนๆ และปีนี้เน้นออกเรื่องอะไรบ้าง
2.อ่านเนื้อหาให้ครบถ้วนในแต่ละบท รวมถึงทำโจทย์ในบทนั้นๆ
3.จับเวลาทำข้อสอบ O-NET เก่า ย้ำว่าต้องจับเวลานะครับ


เมื่อทำครบทั้ง 3 ข้อ เราก็มาสังเกตดูว่าบทไหนที่เรายังไม่แม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทฤษฎีบท หรือว่าทางด้านเทคนิคต่างๆ ก็ให้ไปปรับปรุงพัฒนาในบทนั้นๆ ครับ


ทำข้อสอบเก่า O-NET สำคัญมากไหม ? เรียนพิเศษบ้างเปล่า ?
สำคัญที่สุดเลยครับ ผมจะบอกว่าการทำข้อสอบเก่ามีประโยชน์มาก คือ 1.ช่วยฝึกทางด้านความเร็วในการทำข้อสอบ 2.เราจะรู้จุดด้อยจุดอ่อนของเราว่าบทนี้เราอ่อน ควรเพิ่มควรเน้นตรงไหน และ 3.เราจะสามารถประเมินตนเองได้ ส่วนการเรียนพิเศษนั้นก็มีเรียนบ้างครับ เรียนเก็บมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ขึ้น ม.ปลาย ก็มีของโอพลัส อ.โต้ง อ.สมัย และ อ.ทนงศักดิ์ แต่หลักๆ ก็จะเน้นตะลุยโจทย์ตามสูตรที่บอกครับ




(อย่าด่าพี่นะ หากจะถามคำถามนี้)
หากไปสอบคณิต แล้วเกิดทำข้อสอบไม่ได้ มีเทคนิคการเดายังไงครับ ?
5555 แหม ก็ต้องมีบ้างแหละครับ ที่ทำข้อสอบไม่ได้ สำหรับผมมี 2 วิธีครับ 1.ตัดข้อที่เป็นไปไม่ได้ออกครับ 2.ข้ามไปก่อน-ทำข้อสอบทั้งหมดให้เสร็จ-ตรวจทานอย่างละเอียด-ดูว่า Choiceไหนเราตอบน้อยที่สุด ฝนลงไปเลยครับ 555+ ปล.แอบบอก ผมใช้วิธีที่ 2 อิอิ สำหรับอัตนับเติมคำหากทำไม่ได้จริงๆ ไม่ฝน 1 ก็ 2 อะครับ อิอิ

ฝากอะไรถึงเพื่อนๆ ชาวเด็กดีที่อ่านบทความนี้อยู่หน่อย
ไม่ว่าคะแนนเพื่อนๆ จะดีหรือไม่ดีอย่างไรก็ตาม ก็ขอให้เพื่อนๆ สู้ต่อไปนะครับ เลือกคณะดีๆ มีที่เรียนแน่นอน สำหรับน้องๆ ที่จะ Admissionปีหน้าก็ขอให้น้องวางแผนชีวิตของน้องได้แล้วนะครับ ทั้งด้านการอ่านหนังสือ การไปสอบตรงที่ต่างๆ การไปโรงเรียน ฯลฯ ติดตามข่าวให้ดี แล้วมุ่งมั่นตั้งใจให้เต็มที่ แล้วน้องจะภูมิใจในผลคะแนนที่ออกมาซึ่งเกิดจากหยาดเหงื่อของน้องเอง โชคดีนะครับ

บอกได้คำเดียวครับว่า "อิจฉามากกกกกกกกกกกก" อยากจะยืมคะแนนที่เกินเกณฑ์ กสพท.มาจังเลย เอาเป็นว่า พี่ลาเต้ และเว็บไซต์เด็กดีดอทคอมก็ขอแสดงความชื่นชมน้องพีซ ที่มุมานะมีวินัยกับตัวเองจนคว้า 100 คะแนนเต็มจาก O-NET คณิตมาได้ นอกจากนี้ก็ขอแสดงความยินดีที่สามารถสอบตรงติด วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า(ชาย) ผ่านระบบ กสพท.อย่างเต็มตัวด้วยนะครับ จากวันนี้นับไปอีก 6 ปีประเทศเราจะมีแพทย์ทหารที่ขึ้นชื่อว่าเก่งเลขที่สุดครับ เย้ เย้

นอกจาก น้องพีช แล้ว ยังมีน้องอีกหนึงคนที่ทำคะแนน O-NET ม.6 คณิตเต็ม 100 คะแนน นั้นคือ
นายพงษ์เทพ เสนานุช ม.6 จากโรงเรียนเลยพิทยาคม จ.เลย ซึ่งตอนนี้ได้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบร้อยแล้ว เก่งมากๆ



นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามารถทำคะแนนโอเน็ต วิชาคณิตศาสตร์ ได้คะแนนร้อยละ ๑๐๐ จำนวน ๗ คน ดังรายนามต่อไปนี้ 

น.ส.แก้วตา จีระประดิษฐ นายคณิน ภาวศุทธิวงศ์ น.ส. ชนัดดา วัชรวิรุฬห์ นายชินภัทร ชัยวัฒนธีรากร นายซัน อัศว์ไชยตระกูล น.ส.เมธาวี เกียรติปานอภิกุล และนายรณภพ คงเปีย

นอกจากนี้ มีนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามารถทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ ๙๗.๕๐ (ผิด ๑ ข้อ) จำนวน ๖๔ คน

ไม่มีความคิดเห็น: