วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รอบรู้เรื่องสถาปัตย์ รู้ไว้ก่อนเรียน



ฝึกไว้ให้เนียน ก่อนเรียนถาปัด ภาค ปรับทัศนคติ อิ อิ อิ (ยัง....ยังไม่เลิก)
.
.
ก่อนอื่นทำแบบทดสอบกันก่อนดีกว่า
ให้ตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ เท่านั้นนะคะ
.
1 คุณอยากเรียนถาปัดเพราะมันเท่ค่อดๆ สาวมองหนุ่มเหลียว
2 คุณคิดว่าการเขียนแบบไม่น่าจะมีอะไร เรียนๆ ไปเดี๋ยวก็ทำได้เอง
3 คุณคิดว่าถาปัดจบมาแล้วรวย
4 คุณว่าเรียนถาปัดแล้วมีสิทธิ์เข้าวงการบันเทิง
5 สถาปนิกทำงานสบายๆ นั่งในห้องแอร์ แต่งตัวบูติค
6 สถาปนิกจบใหม่ ไฟแรง อาคารเก๋ๆ สวยๆ ไฮโซ เป็นฝีมือเค้าล่ะ
7 คุณคิดว่าหน้าที่ออกแบบอาคารเป็นของสถาปนิก ให้สวยเท่เก๋ โชว์เก๋า น้ำ ไฟ แอร์ โครงสร้าง ก็โยนให้วิศวกรเค้าไปสิ
8 คุณคิดว่าลางสังหรณืของคุณแม่นโคตรๆ ถ้าอยากให้อาคารหน้าตาแบบไหน รับรอง รุ่งแหงแซะ
.
.
ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ของคุณคือ.... ใช่
ว๊าว.......... หันหัวเรือไททานิกของคุณกลับซะนะคะ .... ถ้ายังแล่นข้างๆ คูๆ ต่อ คงต้องชนภูเขาน้ำแข็งและอัปปางไปอยู่กับแจ๊ก ดอสั้น เป็นแน่แท้ (แจ๊กเข้าฝันฝากมาบอกว่า..ขอโทษที่ไม่ยาวค่ะ ...กร่ากกกก ลามกกกก)
.
.
เว้นแต่คุณจะปรับทัศนคติ....เพราะข้าพเจ้ากำลังจะเผยไต๋สถาปนิก ณ บัดเดี๋ยวนี้..เชิดดดดด
.
.
1 คุณอยากเรียนถาปัดเพราะมันเท่ค่อดๆ สาวมองหนุ่มเหลียว
ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ก้ำกึ่งทั้งจริงและไม่จริงค่ะ  เพราะถ้าได้เข้าโรงเรียนถาปัดแล้ว คุณจะพูดอย่างภาคภูมิใจว่า "กรูเรียนถาปัดเว่ยยยยยยย" นอกจากพ่อแม่จะยืดอกภูมิใจในตัวลูกแล้ว กิ๊หรือแฟน ก็พร้อมจะเดินควงเราไปอวดกับชาวบ้านว่า "แฟนชั้นเรียนถาปัด" แล้วก็จะตามมาด้วย "อู้ววว ว๊าววววว เก่งจังลยยยย......เท่มั่กมากกกก" เราก็แจกยิ้มปายยยย ถึงปากจะบอกว่า เราไม่เก่งเท่าไหร่..แต่ใจก็ออกหลงตัวเอง (มั่งล่ะน่า)
แต่คุณไม่รู้ใช่มั้ยคะ เคยมีคนพูดว่า "เด็กถาปัด เข้าเรียนปีหนึ่งเป็นเด็ก จบออกมาเป็นลุง" เพราะมันงานหนักสิ้นดี .... นอนก็ไม่ได้นอน ... โด๊ปกาแฟ ลิโพ แล้วแต่ถนัด ...ซัดเหล้า เมาบุหรี แล้วแต่ชอบ.... วันๆ ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง..... จนหลายเป็นหมีแพนด้าตัวอ้วนบวมเบียร์.......คุณอาจจะสงสัยว่า เรียนตั้ง 5 ปี มันจะหนักอะไรนักหนาวะ? .....
เพราะ"สถาปัตยกรรมศาสตร์" เป็นศาสตร์ ที่ไม่เชิง "ศิลป์" และไม่เชิง "วิทย์" ..... คุณอยากจะติสท์แตกแบบอาจารย์เฉลิมชัย ไม่มีอารมณ์ไม่ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ ไม่ได้....นอกจากนั้นทุกเส้นที่เราเขียน ทุกจุดที่เราจรดปากกา ทุกสิ่งที่เราออกแบบ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ทั้งในเรื่องทุนทรัพย์ วัสดุ เทคโนโลยี กฎหมาย และ ความพอใจของเจ้าของงาน
ดังนั้นกว่าจะปั้น "วุ้น" ให้เป็น "สถาปนิก" (ที่เกือบจะทำงานได้) 1 คน .... ต้องค่อยๆ เอามือตะล่อมๆ ให้เข้าที่เข้าทางและต้องไม่ขวางความคิดสร้างสรรค์......... พึงระลึกไว้เสมอว่า สถาปนิกและวิศวกรโยธา.... ขาข้างหนึ่งก้าวเข้าไปอยุ่ในตารางแล้วเสมอ
.
2 คุณคิดว่าการเขียนแบบไม่น่าจะมีอะไร เรียนๆ ไปเดี๋ยวก็ทำได้เอง
ข้อเท็จจริง : ถ้าทำได้ง่ายขนาดนั้น คงไม่ต้องใช้เวลาร่ำเรียนถึง 5 ปี ... การเขียนแบบเขียนได้โดยสายวิชาชีพ (ปวช, ปวส) ก็จริง แต่ความงามของแบบ เป็นหน้าที่โดยตรงของสถาปนิก ...
ก่อนจะได้แบบ 1 เล่ม ที่ไปขออนุญาตที่สำนักงานเขต หรือเทศบาลนั้น ... มันเริ่มจากไม่มีอะไรเลย แล้วค่อยๆ บรรจุความจริงด้านต่างๆ ... ได้แก่ ความต้องการของเจ้าของบ้าน กฎหมายและความเป็นไปได้ โครงสร้าง การเลือก ระบุ วัสดุ .... ทั้งสี กระเบื้อง ไม้ หลังคา .... การออกแบบงานระบบสุขาภิบาล ไฟฟ้า .... รายละเอียดรูปแบบประตูหน้าต่าง ราวกันตก บัวผนัง บัวพื้น ฝ้าเพดาน....
เยอะขนาดนี้......... วันหลังให้คนที่พูดว่า "เขี่ยๆ ก็ได้ แป๊บเดียวเอง" ลองทำดูนะคะ..... แล้วจะแซ่บไปถึงถุงน้ำดีเลยทีเดียว  
.
3 คุณคิดว่าถาปัดจบมาแล้วรวย
ข้อเท็จจริง : สำหรับโครงการใหญ่ๆ หรืออยู่ในสำนักงานสถาปนิกใหญ่ๆ ก็คงรวยล่ะค่ะ ... แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าจะทำได้สักกี่คนกัน ยิ่งสถาปนิกจบใหม่เดี๋ยวนี้ความอดทนน้อย อยากเป็นเจ้าของออฟฟิศเอง... ขอบอกว่ายิ่งยาก
ถ้าคุณเป็นสถาปนิกโนเนม ไม่มีคอนเน็คชั่น ไม่มีคนหางานเก่งๆ ... คุณจะได้งานแบบ "เอาไว้ก่อน" นั่นหมายถึง อะไรก็ได้ เงินน้อย งานจุกจิก เจ้าของจู้จี้ และเราต้องเป็นทุกอย่าง....
ค่าบริการที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าก่อสร้างนั้น เหมือนจะเยอะ แต่รู้ไหมคะ มันต้องเจียดไปทำอะไรบ้าง
ค่าคนเขียนแบบ (ถ้าไม่ได้เขียนเอง) ,ค่าปรินต์แบบ (ก่อนจะขออนุญาตนี่ ปรินต์ไปตรวจกับลูกค้าไม่รู้กี่ครั้ง) , ค่าวิศวกร (โยธา ไฟฟ้า สุขาภิบาล) , ค่างาน presentation เช่น พวก 3D ..... กันเองๆ ก็รูปละ 3000 เข้าไปแล้ว....ไหนจะต้องบริการลูกค้า เลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้งทุกครั้งที่เจอกันข้างนอก ... หรือค่าเดินทางไปไซต์ ไปพบลูกค้า ...
บางงานก็เกือบจะควักเนื้อ.... แถมกว่าจะได้เงินมาแต่ละงวด.....ทำงานก็ใช้เวลา พอเสร็จก็ต้องทวงลูกค้า ทวงแล้ว ทวงอีก
ยังคิดว่าจะรวยอีกมั้ยคะ?
.
4 คุณว่าเรียนถาปัดแล้วมีสิทธิ์เข้าวงการบันเทิง
ข้อเท็จจริง : อันนี้คุณต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 คุณสมบัตินี้ค่ะ
ข้อหนึ่ง คุณต้องหน้าตาดีโคตรแบบพ่อแม่ให้มา ข้อสอง คุณต้องแปลกประหลาดอย่างเหลือล้น ...แบบที่แปลกออกมาจากก้นบึ้งของจิตวิญญาณ ไม่ใช่เสแสร้ง หรือ ข้อสาม..... คุณต้องมีคนรู้จักเป็นเจ้าพ่อวงการบันเทิง (จะให้ดีต้องจบถาปัด เช่น เสียตา ณ เวิร์คพอยน์... เสี่ยดู๋ ... พี่ดี้)...... ทำตัวเด่นๆ เข้าไป เจ้าพ่อพวกนี้จะเรียกใช้บริการคุณเอง
แต่ถ้าคุณไม่มี....... ทำใจไว้เถอะค่ะ...................
และถึงกระนั้น คุณก็ไม่เห็นต้องเรียนถาปัดให้ยุ่งยาก....เพราะเดี๋ยวนี้มีช่องทางสายอื่นอีกมากมาย เช่น อคาเดมี่ แฝ่นเท๊เชีย, เดอะ สตาร์, บิ๊กบราเต้อร์
.
5 สถาปนิกทำงานสบายๆ นั่งในห้องแอร์ แต่งตัวบูติค
ข้อเท็จจริง : หลายคนมีภาพติดตาว่าเป็นเช่นนั้น แต่ความเป็นจริงจะเป็นเฉพาะช่วงพัฒนาแบบค่ะ แถมในระหว่างนั้น คุณยังมีหน้าที่ต้องพาลูกค้าไปเลือกวัสดุ ไปเทคแคร์ สุดแล้วแต่
และถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่สถาปนิกคุมงานในสัญญา (หน้าที่สถาปนิกมี 2 แบบค่ะ คือ ออกแบบ และคุมงาน) ถ้าคุณคิดว่าออกแบบแล้วก็จบ... คุณก็คิดผิดอีก.... เพราะคุณจะต้องลงพื้นที่ก่อสร้างเพื่อคุมงานด้วยตัวเองในช่วงต้น หรือช่วงรายละเอียดเอง แม้ว่าจะไม่ได้เงิน หรือไมใด้ระบุในสัญญา เพราะ... คุณคงไม่อยากให้งานออกแบบของคุณที่คิดจนหัวแตก ถูกเปลี่ยนไปจนกลายเป็นอาคารสถุล เพียงเพราะ คุณไม่เจียดเวลาลงไปกำกับงานก่อสร้างเลย...
(อันนี้ประสบการณ์ตรงค่ะ.... อาคารหลังนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยใส่ลงใน portfolio ของตัวเองเลย...อายจัง)
แน่นอน.... ถึงไม่เหนื่อยมาก ..... แต่สภาพคงไม่ใช่เสื้อเรียบกริ๊บ ใส่น้ำหอมฟุ้ง นั่งไขว่ห้างบนชุดเฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ ในออฟฟิศแอร์เย็นฉ่ำหรอกค่ะ
.
6 สถาปนิกจบใหม่ ไฟแรง อาคารเก๋ๆ สวยๆ ไฮโซ เป็นฝีมือเค้าล่ะ
ข้อเท็จจริง : สถาปนิกจบใหม่ ต่อให้ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็ยังทำงานจริงไม่ได้ค่ะ ... จนกว่าคุณจะมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ใบ กอ สอ" (ของวิศวกรเรียก "ใบ กอ วอ" ค่ะ) ซึ่งต้องสอบเอา 6 วิชา และระดับแรกที่จะได้เป็นคือ "ภาคีสถาปนิก" มีข้อจำกัดเรื่องขนาด ความสูง และประเภทของอาคาร เช่น สูงไม่เกิน 15 เมตร พื้นที่รวมกันไม่เกิน 1000 ตารางเมตร ระดับภาคีฯ จึงจะสามารถออกแบบได้
และถึงแม้ว่าคุณจะมีใบ ก.ส. แล้ว .. ใช่ว่าคุณจะมีโอกาสได้ออบแบบอาคาร 1000 ตารางเมตรอย่างที่ว่า... โดยเฉพาะถ้าคุณเข้าไปอยู่ในองค์กรสถาปนิกใหญ่ๆ ... คุณอาจจะได้ทำแค่ ออกแบบห้องน้ำขนาด 2 x 3 ตารางเมตร ... ลองวางลายหระเบื้องในห้องน้ำ ลองออกแบบทางเดินในสวนขนาดเล็ก
อยู่เป็นปีๆ.......
คุณมีพลังใจที่หนักแน่นและอดทนได้ขนาดนั้นหรือเปล่าคะ?
.
7 คุณคิดว่าหน้าที่ออกแบบอาคารเป็นของสถาปนิก ให้สวยเท่เก๋ โชว์เก๋า น้ำ ไฟ แอร์ โครงสร้าง ก็โยนให้วิศวกรเค้าไปสิ
ข้อเท็จจริง : ถูกส่วนหนึ่งค่ะ เพราะ"สถาปนิก" ไม่ใช่ "เทพเจ้า" .... ไม่อย่างนั้นจะมีอาชีพวิศวกรที่ต้องเรียนตั้งสาขาละ 4 ปี ไว้ทำไม?
แต่เป็นสิ่งที่สถาปนิกไม่สามารถละทิ้งได้ค่ะ
งานระบบทุกชนิด ต้องการพื้นที่ในการติดตั้ง จัดวาง ไม่ใช่ว่าเราออกแบบอะไรไป วิศวกรเค้าทำได้ทุกอย่าง... ของอย่างนี้น้ำพึงเรือ เสือพึ่งป่าค่ะ.... คุณต้องคิดว่า .... พื้นที่ตรงนี้ใช้วางแอร์นะ..... ห้องนี้ใส่ปั๊มน้ำ ..... ตรงนี้ใช้ซ่อนท่อ.....
ซึ่งถ้าคุณไม่สนใจ ไม่เตรียมพื้นที่ประเภทนี้ไว้... อาคารของคุณจะไม่ต่างอะไรกับผู้ป่วยโคม่าในห้องไอซียู... จะมีสิ่งไม่พึงปรารถนาติดตั้งระโยงระยางในตึกของคุณเต็มไปหมด เพื่อให้สามารถเข้าไปใช้งานได้จริง....
ดังนั้น ถึงจะไม่เข้าใจในรายละเอียด แต่สถาปนิกต้องรู้จักทุกระบบในเบื้องต้น โดยเฉพาะในแง่ของการเตรียมพื้นที่ไว้รองรับ.... ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยค่ะ.... มิเช่นนั้น..... อาคารของคุณคงดูไม่จืดเลยล่ะ
.
8 คุณคิดว่าลางสังหรณ์ของคุณแม่นโคตรๆ ถ้าอยากให้อาคารหน้าตาแบบไหน รับรอง รุ่งแหงแซะ
ข้อเท็จจริง : ฟู่วววว์...ข้อสุดท้ายล่ะ...
สิ่งที่เจอจั๋งๆ เวลาที่เด็กๆนักเรียนพรีเซนต์ คิอคำว่า "หนูอยากให้" "หนูคิดว่า" "หนูช๊อบชอบ".................
พึงระลึกไว้ค่ะ เราไม่ใช่เจ้าของเงิน .... เราเป็นลูกจ้าง
และสิ่งที่ต้องคำนึงยิ่งกว่า "เงินและนายจ้าง" คือ...
"ผู้ใช้อาคาร"ค่ะ...... ถ้าตึกสวย ดูดี แต่ไม่มีคนใช้... จะถือว่าสถาปัตยกรรมชิ้นนั้น "ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า" เผลอๆ อาจกลายเป็นอาคารอาถรรพ์ไปเลยก็ได้ ... ทุกสิ่งอย่าง มันเริ่มตั้งแต่ทำเลที่ตั้ง การวางตำแหน่งอาคาร กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น วิถีชีวิตของผุ้ใช้อาคาร....
ถ้าคุณไม่สนใจ... ไม่เข้าใจ .... และ "ยัดเยียด" สิ่งที่คุณคิด ชอบ อยากให้เป็นลงไป........จงเรียกตัวเองใหม่ว่า "เผด็จการ"ค่ะ...อย่าเสนอหน้าเรียกว่า "สถาปนิก" โดยเด็ดขาด........
.
.
.
พอจะจูนทัศนคติเบื้องต้นได้หรือยังคะ.... อย่างน้อยคงคลายสงสัยไปได้บ้างว่าไอ้คณะนี้เรียนไปมากมายทำไมตั้ง 5 ปีฟระ?
ถ้าใครคิดว่า.... ชั้นยังไม่เปลี่ยนใจ..... ยังไงก็จะเป็นสถาปนิก.... และเริ่มสงสัยว่า จะเตรียมตัวอย่างไร คนที่จะเรียนถาปัดได้อย่างประสบความสำเร็จ ต้องเป็นคนแบบไหน
...........................................................................................................................................................
ตอนต่อไป จะเป็นภาคที่ 2 : เตรียมกายและใจให้พร้อม
สำหรับผู้ที่ต้องการเรียน เป็น สถาปนิก นั้น..... ควรต้องฝึกตนให้มีนิสัยเหล่านี้ (บางข้ออาจไม่ใช่การฝึกตน แต่ถือว่าเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ละกันนะคะ ว่าต้องรับมือกับอะไรบ้าง
.
.
1 เรียนถาปัด ต้องอัฐเยอะ!
อัฐ ในที่นี้ คือ เงิน ค่ะ ..... ทรัพย์สฤงคาร ที่สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้เป็นสากล
เพราะถึงไม่อยากพูดเกินความจริง แต่จำเป็นต้องให้รับทราบกันไว้ก่อนว่า การเรียนถาปัด หรือ วิชาทางศิลปะด้านอื่นๆ ต้องใช้เงินมากจริงๆ โดยเฉพาะ การต้องซื้อพวกอุปกรณ์ต่างๆ
พูดเป็นเล่นไป ... นักเรียนของข้าพเจ้าหลายคนต้องจบช้า หรืออาจจะไม่จบ เพราะปัญหาด้านการเงินของทางบ้าน ครั้นจะหางานพิเศษทำเพื่อแบ่งเบาภาระ ก็ไม่มีเวลาอีก เพราะไอ่คณะนี้มันก็สั่งงานจั๊ง...... เวลาว่างที่เหลือจากทำงานแทบจะมีไว้นอนยังไม่พอเลย
อันนี้ซีเรียสนะคะ เพื่อนรุ่นเดียวกับข้าพเจ้าหลายคนซิ่วมาจากคณะถาปัดมหาวิทยาลัยเอกชน เอนทรานซ์ใหม่เพื่อให้เข้ามหาวิทยาลัยรัฐให้ได้ ลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ แต่ก็ยังแพงอยู่ดี เพราะในจะมีค่าธรรมเนียมวิชาพิเศษอยู่ ซึ่งถ้าเรียนพวก ครุศาสตร์ คงไม่มีมั้ง... ตลอดไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ... เช่น เทปกาวที่ติดกระดาษ ปาเข้าไปม้วนละเกือบ 35 .. สีน้ำคุณภาพดี หลอดละ 40-60 บาท.... สารพัดเครื่องมือเขียนแบบ ... อุปกรณ์ตัดโมเดล (ที่ต้องซื้อเพิ่มเติมทุกโปรเจกต์) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดี๋ยวนี้ชอบทำแบบในคอม แล้วเอาไปอัดเป็นรูป.... ขนาด A0 ก็ตกรูปละ 300 ถ้าเป็น plot ด้วยกระดาษธรรมดา (แต่เป็นสี) ก็แผ่นละ 500
(บ้าที่สุด....ทำไมไม่พล๊อตเป็นขาวดำแล้วพรีเซนต์มือวะ)
ดังนั้น.... คนที่ไม่มั่นใจในเรื่องฐานะการเงิน... ลองหาวิธีช่วยเหลือตัวเองไว้แต่เนิ่นๆ  เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือทำงานพิเศษที่ไม่เบียดเบียนเวลาเรียน เช่น การเป็น TA (Teacher Assistant : ผู้ช่วยอาจารย์) เป็นต้น
.
.
2 อยากเรียนเต็ก (ควร)ต้องเป็นเด็ก"ติว"
เมื่อก่อนไม่ค่อยเชื่อค่ะ ว่าอะไรก๊าน...... ทุกอย่างมันสอนกันตอนเรียนนี่นา ไม่เห็นต้องไปติวให้ยุ่งยากเลย
แต่พอมาเป็นครูถึงได้รู้ว่า การ "ติว" นั้น เป็นการสร้างฐานให้แข็งแรงได้เร็วขึ้นทางหนึ่ง แม้ว่าผลจากการติวเราอาจจะทิ้งมันตั้งแต่สอบความถนัดทางถาปัดเสร็จไปแล้ว แล้วพอเรียนจริงๆ แทบจะต้องทิ้งความคิดแบบเด็กติวไปเลยก็ตาม
สาระสำคัญของการติวคือ ติวเพื่อสอบความถนัดค่ะ ถึงส่วนนี้จะแบ่งเป็นไม่กี่ส่วนใหญ่ๆ 
ส่วนแรกคือ หัดเขียนมุมมองทัศนียภาพ เพื่อเตรียมพร้อมในการทดสอบการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น มุมมองคนธรรมดา มุมมองหมา มุมมองหนอน มุมมองนก ... ส่วนใหญ่ข้อสอบก็จะเป็นพวกตีความจากข้อความออกมาเป็นภาพ .... ส่วนนี้ถ้าน้องเริ่มติวแต่เนิ่นๆ เท่าไหร่ ก็จะได้ฝึกลายเส้น ฝึกการเขียนรูปให้สัมพันธ์กับสายตาและความคิดได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ... ข้อเสียเปรียบสำหรับน้องที่ไม่เคยฝึกแบบนี้คือ ไม่สามารถเขียนภาพที่แสดงความคิดเราออกมาได้...แม้ว่าภาพที่เรานึกออกจะสมบูรณ์เพอร์เฟค นั่นคือประเด็นค่ะ
ส่วนที่สอง ไอโซเมตริก (Isometric drawing) จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การให้ทายรูปภาพระหว่าง ด้านบน ด้านข้าง ด้านหน้า ให้สัมพันธ์กัน กับ การคลี่กล่องออกมาแผ่ หรือการประกอบกล่องแผ่ให้เป็นรูปร่าง ... อันนี้จะเป็นการฝึกการมองชิ้นงานให้เป็นสามมิติ การติวคือการได้ลองมองภาพเหล่านี้ดู เหมือนเราต่อตัวต่อละคะ ... ต่อแบบนี้แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร ... ถ้าได้ลองฝึก ลองทดสอบ ก็จะมีเซนส์เรื่องนี้ได้ไวขึ้น... อ้อ... ข้อสอบไอโซนี่มีอยู่ในข้อสอบความถนัดทางวิศวกรรมด้วยเช่นกันนะคะ
ส่วนที่สาม Sketch Design ชื่อก็บอกอยุ่แล้วว่าคือการออกแบบร่าง โดยฝึกทำให้สามารถสื่อแนวความคิดออกมาเป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด ในระยะเวลาที่จำกัด โดยข้อสอบก็อาจจะไม่ใช่อาคารเสมอไป ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อะไรซักอย่าง... ข้อนี้เวลาตัดสินดูที่ไอเดียบรรเจิดค่ะ ... ดังนั้น ไม่ต้องการความเนี้ยบ แต่ต้องการความสมบูรณ์ของไอเดียมากกว่า
ที่เล่ามาทั้งหมดก็เป็นแนวทางของข้อสอบความถนัดทางสถาปัตยกรรม 3 ส่วนหลัก ซึ่งมันก็จะมีย่อยๆ อย่างอื่นอีก แต่จะไม่พูดถึงนะคะ ...โดยการตัดสินของกรรมการให้คะแนนเค้าจะทำแบบนี้ค่ะ คือ เอางานข้อเดียวกันทุกชิ้นมาวางเรียงๆ กัน... อันไหนเด่น สะดุดตา ก็จะดึงออกเข้ารอบไปก่อน ดังนั้น ขอแนะว่า ต้องเด่นโดนใจ (แต่ไม่ใช่โอเวอร์นะคะ)  ซึ่งถ้าน้องติวได้เวลาพอสมควร พี่ติวอาจให้น้องลองฝึกลงสีด้วย เพื่อให้งานสมบูรณ์ขึ้นได้
ข้อนี้ยังไม่จบค่ะ ... จะบอกเสริมอีกว่า 3 ส่วนดังกล่าว ยังมีเรียนในชั้นปีที่ 1 ... ซึ่งถ้าน้องๆ ไม่มีพื้นฐานมาเลย จะทำให้เรียนได้ช้า และพาลจะรู้สึกว่าไม่สนุก (เพราะจะมีเพื่อนบางส่วนที่ติวมาแล้ว และไปได้เร็วกว่า) ดังนั้น... ถ้าไม่ลำบากเกินไปนัก น้องๆ ควรติวถาปัดก่อนนะคะ เพื่อฝึกมือให้ชิน...หรืออย่างน้อย ... ยืมหนังสือติวของเพื่อน หรือตามห้องสมุด มาหัดก่อนก็ได้ค่ะ .... ดีกว่าไปเริ่มนับหนึ่งตอนเข้าเรียนได้แล้ว มันอาจจะไม่ทันการณ์
.
.
3 หมั่นมองทุกอย่างเป็น 3 มิติ
นี่คือปัญหาหลักเหมือนกัน ของนักเรียนถาปัดสมัยนี้ คือ การคืดอะไรเป็นก้อนๆ แยกกัน ... แล้วพอรวมกันออกมาแย่ ....
หลายคนเวลาคิดแบบ ชอบคิดเป็นอย่างๆ เช่น แปลน.... ก็ คิด... คิ๊ดดดดดด คิดวนแต่แปลนอยู่นั่นแหละ ว่าจะเวิร์คหรือเปล่า ... โดยที่ไม่เคยคิดว่า ถ้าวางเฟอร์นิเจอร์แบบนี้ ช่องหน้าต่างเป็นแบบไหน เสาจะอยู่อย่างไร รับหลังคาแบบไหนได้
คนที่ทำงานแบบที่กล่าวข้างต้นเนี่ย ส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาในการแก้รูปด้าน รูปตัด หรือแม้กระทั่งเวลาในการออกแบบหลังคา ซึ่งสุดท้ายก็จะออกมาเป็นหลังคาคอนกรีต แบนๆ .... (แล้วพวกแม่งก็ชอบหลอกตัวเองว่า เป็นหลังคายอดนิยม ใครๆ ก็ทำอย่างงี้ทั้งนั้น .... แต่จริงๆ แล้ว คือไม่ได้ออกแบบ หลังคาสแลบแบนๆ แบบนั้นวางอย่างไรก็ได้) หรือแม้แต่ช่องเปิด ที่ไม่เคยเห็นจนเป็นโมเดล.... แล้วใช้น้อง ใช้มือปืนตัด.... ออกมาหน้าต่างเรียงๆๆ กันอย่างกะโรงเรียนประชาบาลกันทุกคน...ฮ่วย
วิธีการฝึกสำหรับน้องๆ ก่อนเข้าเรียนคือ Isometric (ไอโซเมตริก) ค่ะ ....   ถ้าน้องที่เคยติวความถนัด จะรู้ว่าคืออะไร
มันคือการฝึกการดู top (Plan) , front, side คือ ด้านบน ด้านหน้าและด้านข้าง  วิธีนี้จะฝึกให้น้องมองภาพออกเป็น 3 มิติ รู้ว่าถ้าเจาะแบบนี้ ด้านหน้าเป็นอย่างไร ด้านข้างจะเป็นอย่างไน มีผลต่อแปลนอย่างไร
 
..........................................................................................................................................................
ภาคที่ 3 :  สลักไว้ในกมล
ปฐมภาค : ปรับทัศนคติ เพื่อทำความเข้าใจการเรียนและวิชาชีพสถาปนิก  ต่อด้วย ภาคที่สอง : เตรียมกายและใจให้พร้อม สำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นที่จะเรียนถาปัดได้เตรียมตัวก่อนสอบ
มาถึงภาคที่สาม...  ภาคสุดท้าย : สลักไว้ในกมล .. สำหรับน้องๆ ที่หลวมตัวก้าวล่วงมาอยู่ในวงจรโรงเรียนถาปัดแล้วอย่างช่วยไม่ได้ ฉุดไม่อยู่ ... จะมีวิธีการฝึกวิทยายุทธตัวเองอย่างไร ให้เรียนได้สบายๆ สนุกๆ
.
.
1. พกสมุดไม่มีเส้นเล่มเล็กๆ หนาเหมาะๆ มือ ไว้กับตัวเสมอ
ฝึกเป็นคนช่างสังเกต บันทึก จดจำ รายละเอียดที่น่าสนใจไว้ จดสิ่งน่าสนใจที่แว่บผ่านเข้ามาโดยไม่ทันตั้งตัวไว้ ถ้าจะให้ดี ควรบันทึกด้วยการสเก็ตช์ ลายเส้นง่ายๆ ชี้โยงบรรยายสั้นๆ ช๊อตโน้ต... เป็นการฝึกมือไปด้วย ฝึกสื่อความหมายด้วย graphic ไปด้วย เพราะต้องใช้เวลาสั้นๆ แต่เมื่อกลับมาดูอีกครั้งต้องเข้าใจง่าย ... หรือเมื่อคิดงานไม่ออก พักสมองด้วยการเดินเตร็ดเตร่แถวทองหล่อ.. แล้วอยู่ๆ เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมา....ตายละวา.... จะเก็บไว้ไหน... ก็จดลงไอ้สมุดทำมาหากินเล่มนี้ล่ะค่ะ....น้องๆ จะได้สร้างคลังสมบัติสมองเล่มเล็กๆ
แล้วทำไมไม่ใช้กล้องถ่ายรูปล่ะ?
กล้องดิจิมอนตัวเล็กๆ พกไว้ก็ดีค่ะ ...ข้าพเจ้าเองก็พก ...เวลาไปไหนเจออะไรเจ๋งๆ พวก space สวยๆ ... ตกแต่งเทพๆ ... วัสดุใหม่ๆ ... โครงสร้างไฮโซว ... ข้าพเจ้าก็จะเมมโมรี่ ตรู๊ดๆ ลงกล้องทันที...... เห็นภาพของจริงด้วย
แต่ข้อเสียของมันก็คือ สมมติว่า น้องบางคนยังไม่สามารถพกกล้องได้ด้วยตัวเอง หรือมีแต่กล้องไซส์บิ๊กเบิ้ม ไม่สะดวกต่อการพกพา ... การพกสมุดก็ช่วยได้เยอะค่ะ ... อีกอย่าง เวลาที่เราอยากบันทึกส่วนไอเดียของเราลงไป กล้องดิจิม่อนทำไม่ได้นะคะ ... เก็บอย่างเดียว ... จัดการไม่ได้......   
ทางที่ดี พกทั้ง 2 อย่างค่ะ ถ้าเป็นไปได้
.
.
2. เสพ.....ติด.......สิ่งเสพติด
สิ่งเสพติดในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง เครื่องดื่มบำรุงกำลังจำพวกกระทิงเถื่อน คาราบาวม่วงนะคะ (นั่นหน่ะ หาเสพกันเองตอนทำแบบไฟนอลกันทุกชิ้นอยู่แล้วหนิ)  แต่หมายถึง เสพสื่อทุกชนิดที่มีงานสถาปัตยกรรมดีดีอยู่ รวมถึงการท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แม้กระทั่ง..... การเดินเที่ยวห้างสวยๆ ในบางกอกเรา
สิ่งที่พึงกระทำเป็นนิจศีล ก็คือ... ถ้าเข้าห้องสมุด เปิดเว็ป เปิดหนังสือ เจอของที่สนใจ .... จด วาด ให้เป็นนิสัย .... ขอบอกเลยว่าปัญหาของการเรียนถาปัดอย่างหนึ่งคือ "การแปลแนวความคิดให้เป็นงานสถาปัตยกรรม" ... ซึ่งส่วนใหญ่คอนเส็ปฮายโซว .... แต่พอออกมาเป็นตึก.....โอว..... สลัม.....
ข้อนี้ต่อเนื่องจากข้อ 1 ค่ะ .... เมื่อเจอ form ดีๆ mass สวยๆ space เจ๋งๆ..... จงจด วาด สเก็ตช์ ลงบนสมุดทำมาหากิน จะเป็นเล่มเดียวกับข้อ 1 (จะได้ไม่ต้องพกหลายๆ เล่ม) หรือจะเป็นเล่มใหม่ สำหรับสะสมไอเดียโดยเฉพาะก็ได้ ...
รู้ไหมคะ สมุดเล่มทั้งสองเล่มนี้จะเป็นเดชคัมภีร์เทวดาของเราเลยล่ะ ลองทำตั้งแต่ปี 1 นะ... พอถึงปีสูงๆ จะพบว่า... เฮ้ย เอามาใช้ได้เยอะเลย ทิปส์นี้ข้าพเจ้าได้มาจากรุ่นพี่ค่ะ .... คนเดียวกับไอ้ผนังหมีแบกในเอนทรี่เก่าเนี่ยแหละ ตอนนี้ได้ดิบได้ดีอยู่เมืองจีนแระ
.
.
3. รู้พอเพียง รู้จบ รู้จับเวลานับถอยหลัง
การเรียนถาปัดส่วนใหญ่จะมีวิชา project design เทอมละ 2 ชิ้น .... เริ่มเรียนตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 จนถึงปี 4 เทอม 2 หรือ ปี 5 เทอม 1 ก็แล้วแต่มหาลัยนะคะ แต่ดูสิคะ กว่าจะถึงทีสิส (วิทยานิพนธ์) .... เราทำไปกี่โปรเจ็ก 14-16 ชิ้นแหน่ะ......
ปัญหาของเด็กที่ทำทีสิสและโปรเจ็ก คือ ทำงานไม่ทัน .... ทำไมหนอ?
สาเหตุแรก ::: เพราะเราไม่เคยรู้กำลังตัวเองค่ะ ว่าใช้เวลาเท่าไหร่ในการผลิตผลงานขั้นสุดท้ายจึงจำส่งทันเวลา
อย่างข้าพเจ้ารู้ตั้งแต่เรียนประมาณปี 3 ค่ะ เริ่มสังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่ตัวเองจะใช้เวลาผลิตงานประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนส่ง.... เริ่มตั้งแต่แก้แบบไป ดราฟท์แบบไป จนถึงพรีเซนต์ ทำโมเดล
ลองจับเวลาทำงานของตัวเองแต่เนิ่นๆ ค่ะ ปี 1 อาจจะไม่ได้ผลเท่าไหร่ เพราะอาจจะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดคิดงานและเริ่มผลิตแบบได้แล้ว...... ปี 1 เนี่ย บ้าพลัง.... เขียนแบบผิดเส้นนึงนี่ แทบจะเปลี่ยนกระดาษ (เจอเข้าไปแผ่นละ 35...... หลังๆ เลยใช้ขูด...... ยิ่งปีแก่ๆ นี่.... ลิขวิดเลยครับ ถ้าไม่ใช้สีน้ำ)
ซักปี 2 น่าจะรู้กำลังตัวเองแล้ว ... พอใกล้ๆ ส่งงาน ให้ทำตารางงาน schedule ของตัวเอง... วันนี้ทำแปลน พรุ่งนี้รูปด้าน มะรืนรูปตัด อีก 2 วันทำโมเดล.... แล้วก็พยายามทำให้ได้ตามกำหนด ยืดหยุ่นได้พอควร ก็จะทำงานเสร็จตามเวลาค่ะ .... ถ้ารู้กำลังขนาดนี้ รับรองทำงานเสร็จทันเวลาทุกโปรเจ็ก ถ้าโปรเจ็กไหนเวลางวดมากๆ ถึงขั้นต้องกำหนดกันเป็นชั่วโมงเลย 
อ่อ....... พยายามคิดซะว่ามือปืนอาจจะไม่ว่างนะคะ...... ถ้ามันว่างมาช่วยก็สบายไป แต่ถ้าไม่มา ทำเองก็ได้ (ไม่ชิลเท่าไหร่ แต่ก็พอไหวน่ะ)
สาเหตุที่สอง :::: ไม่รู้จักพอค่ะ
เวลาพัฒนาแบบเนี่ย คิดให้สุดๆ ..... แก้ไปเรื่อยๆ จนเหลือเวลาที่เราพอจะผลิตงานได้ทันให้หยุดค่ะ จบตรงนั้นแล้วผลิตอย่างเดียว....... มิฉะนั้น......ก็จะทำงานไม่ทันเหมือนเดิม ใครผลิตงานเร็ว ก้มีเวลาคิดสะระตี่ยาวกว่า ใครรู้ตัวว่าผลิตงานช้า ก็ต้องรีบจบไอเดียก่อน เป้นอย่างนั้น
อย่าลืมว่า ไม่มีอะไรที่สามารถตอบโจทย์ได้สมบูรณ์แบบ เพอร์เฟ็กต์ที่สุด ไม่มีวันผิด..... มีแต่..."ดีที่สุด เท่าที่ทำได้ ในเวลาเท่านี้" เท่านั้นค่ะ
สาเหตุที่สาม :::: ไม่รู้จักแบ่งเวลา
ที่ว่ามาข้างบนเนี่ย จริงๆ แล้วพูดได้ว่าเป็นเพราะอันนี้อันเดียวเลยค่ะ ..... บางทีคิดก็น้อย งานก็ห่วยแตก ทำไมยังทำไม่ทัน(ฟระ)..... ก็เพราะว่า กว่าจะตื่นก็บ่ายสอง กว่าจะกินข้าว เที่ยวเล่น เริ่มงานทุมนึงแระ....เอ้ากินข้าวเย็น...... พอจะเริ่มทำงาน...ละครหลังข่าวมาาาาา วางปากกา วางปากกา......ละครจบ..ไม่ได้แระ สงสัยอยู่ดึก โด๊ปๆๆ กาแฟๆ..... พอเริ่มจับปากกา...ฮึ้ย....บอลมา ขอเชียร์ก่อน....... พอบอลจบ....เฮ้ย ตีสี่แระ เอ้าพวกเราาาาา กินโจ๊กตลาดดต้รุ่งเร๊วววว....ฮิ้วววว.....กลับมาถึงโต๊ะ....แม่ง...หกโมงเช้าแระ ไม่ไหว ไม่ได้นอนเลย....ง่วง ไม่ไหวแล้ว นอนดีกว่า.......ตื่นบ่ายสอง.......
มันเป็นซะอย่างเงี้ย..........จะเสร็จมั้ยฮึงาน
พยายามแบ่งเวลาหน่อยค่ะ ทำงานให้เยอะกว่าเที่ยวเล่น...... ทำทุกวัน วันละ 3 ชม. ก็เหลือแหล่แล่ว
.
.
4. ไม่เคยมีสถาปนิกคนไหน ทำแบบครั้งเดียวผ่าน
ตามนั้นค่ะ .... ยังไม่มี แม้แต่ le corbusier หรือ frank lloyd wright แม้แต่เจี zaha hadid ที่งานออกจะสุดโต่งขนาดนั้น..... กว่าเค้าจะเป็น great เค้าผ่านการแก้แบบมามากมาย นับครั้งไม่ถ้วน
ดังนั้นมีความเข้าใจผิดของเด็กๆ ว่า ไม่ค่อยอยากจะยอมแก้แบบ....ชอบทำแบบกั๊กๆ ....กะจะมัดมือชกอาจารย์ตอนใกล้หมดเวลา ประมาณว่า จะหมดเวลาแล้ว ผ่านๆ ไปก็ได้วะ
แต่นั่นคือการตัดอนาคตตัวเองค่ะ เห็นว่าถึงไม่โดนล้มแบบตอนพัฒนาแบบ แต่ก็โดนล้มเละเทะตอนจูรี่ (ตรวจแบบขั้นสุดท้าย) อยู่ดี นั่นยิ่งซวย เพราะไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้ว....
การตรวจแบบ พัฒนาแบบ เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ได้ความรู้มากที่สุด ของการเป้นนักเรียนถาปัด...ที่ไม่สามารถหาจากสาขาอื่นได้อีกแล้ว.... เป็นการเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพราะครูจะทำหน้าที่แค่บอกสิ่งที่ถูกต้อง จำเป็น แนวทางความเป็นไปได้ โดยตั้งอยู่บนแนวคิดของเด็กๆ แต่ละคน โดยไม่บังคับ
ดังนั้น...อย่ากลัวที่จะแก้แบบ ล้มแบบ พัฒนาแบบ อย่ากลัวเหนื่อย อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวทำงานซ้ำซากค่ะ เดี๋ยวนี้มีคอมพิวเตอร์ แก้ไขง่ายนิดเดียว ...นึกถึงสมัยก่อนสิคะ เขียนใหม่ทุกครั้ง.....สุดยอดดดดดด
.
.
5. หวือหวาได้อย่างใจ ถ้าตอบคำถามได้ทุกข้อ
ย้อนกลับไปข้อตะกี้....พูดถึง zaha hadid ก็มีรูปผลงานเจ๊แกมาให้ดูค่ะ
นี่ก็เจ๊ zaha hadid ค่ะ ดูผลงานอื่นๆ ได้ที่นี่ค่ะ
เป็นไงคะ สุดยอดฟรีฟอร์ม .... แต่ถ้านักเรียนอย่างเราๆ ทำ ..โดนด่าค่ะ เพราะเราไม่เข้าใจกระบวนการของงานเลย พ่อจะโม้แต่คอนเส็ปอายโซวววว...  ดังนั้นอย่างแปลกใจทีอาคารส่วนใหญ่ที่เราออกแบบตอนเรียนไม่ค่อยหวือหวา... เพราะก่อนจะ advance เราต้องเรียน basic ก่อนใช่มั้ยคะ.... ถ้า basic เราแน่น ...ยากแต่ไหนก็ทำได้ค่ะ
ดังนั้น ออกแบบหวือหวาไม่ผิด แต่ต้องตอบเรื่อง "ผู้ใช้งาน(users)" และ "กิจกรรม (activities)" เป็นหลัก นอกจากนั้นต้องดูที่ตั้ง บริบท ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ด้านโครงสร้างด้วยนะคะ ถ้าคิดรอบด้านแบบนี้ ทำได้ไม่โดนด่า ฟันธง!!!!
.
.
6. เขียนทุกอย่างที่คิด มองทุกอย่างให้ทั่ว อุดรอยรั่วให้มิด
ทำความเข้าใจก่อนว่า "คอม" เป็นแค่อุปกรณือำนวยความสะดวกนะคะ ไม่ใช่เครื่องมือช่วยคิด
ไม่อยากจำกัดเทคโนโลยี แต่รู้มั้ยคะว่าการคิดแบบด้วยคอมโดยไม่มีพื้นฐานที่แน่นพอจะเกิดอะไรขึ้น
มุมมองจะแคบ เพราะจอคอมยังไงก็เห็นได้ไม่ครอบคลุมแบบทั้งหมด ต้องซูมดูเป็นส่วนๆ ทำให้มองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างห้องต่อห้อง
หลงสเกลง่าย ....เพราะซูมยังไงเราก็เห็นชัด แต่บางทีเราอาจออกแบบไม่ได้ขนาด เนื่องจากไม่สามารถอ้างอิงอะไรได้เลย จะเห็นบ่อยๆ ว่าเพลทที่ทำจากคอม บางทีต้นไม้ก็ใหญ่เวอร์... ตัวหนังสือใหญ่โคตรๆ ใหญ่กว่าแบบซะอีก
ดังนั้น....เวลาคิด ให้เขียนมือค่ะ   มองภาพรวมให้เห็นก่อน แล้วค่อยใช้คอมตบเอาอีกที จะแก้ปัญหาได้เยอะ และใส่ใจรายละเอียดได้เยอะขึ้น
.
.
7. เวลาสำคัญกว่าชีวิต
โคตรๆ สำคัญมากกกกกก สำหรับนักเรียนถาปัด สาย  1 วิ.....คุณอาจสอบตก ไม่มีสิทธิ์ส่งงาน คะแนนหาย ทั้งๆ ที่พัฒนาแบบมากว่าเดือน
งานที่ดี ไม่ใช่แค่เจ๋ง เนี้ยบ.... แต่ต้องตรงเวลาด้วย ...
โรงเรียนถาปัดหลายทีจึงมีวิชา sketch design คือการออกแบบตลอดกระบวนการในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ได้ งานที่ดีที่สุด ในเวลาเท่านี้ ..... รับโจทย์เช้า หาข้อมูล ออกแบบ พรีเซนต์ และส่งในเย็นวันเดียวกัน ... ตู้ส่งงานปิดเมื่อไหร่......ไม่ต้องมาพูดกัน......ดังนั้น ใกล้ๆ เวลาส่งงาน อย่าแปลกใจที่เห็นเด็กถาปัดกลายร่างเป็นนักวิ่งตีนหมา รองเท้าไม่ใส่ ล้มลุนคลุกลาน แต่รีบลุกขึ้นวิ่งต่ออย่างไม่คิดชีวิต
เพราะในชีวิตจริง....ลูกค้าจะซื้องานที่พอใช้ได้ในระดับดี ที่ตรงเวลา มากกว่างานที่ดีโคตรๆ แต่เลทแค่นาที...เพราะ 1 นาทีของลูกค้า อาจหมายถึง เงินพันล้าน..... จำไว้ใส่กมลนะคะ
.
.
สุดท้าย.......คิดอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างมีกระบวนการ และ ตอบคำถามด้วยเหตุผล
ข้อนี้เป็นไฮไลท์ของการเรียนถาปัดค่ะ
สังเกตว่าคนจบถาปัด แม้ไม่ได้เป็นสถาปนิก ทำไมส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในชีวิต (ยกเว้นหนู.....ฮือๆๆๆ)
เพราะโรงเรียนถาปัดสอนให้คิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ค่ะ  นี่เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดได้อย่างภูมิใจว่า 5 ปีในโรงเรียนถาปัด ได้อะไรกลับมา
การจะได้มาซึ่งโครงการใหญ่ 1 โครงการ อาคาร 1 หลัง  ห้อง 1 ห้อง เก้าอี้ 1 ตัว แม้แต่รองเท้า 1 คู่...ล้วนเกิดมาจากเหตุและผล.... และไม่ว่าผลจะมาก่อนเหตุ หรือเหตุจะมาก่อนผล ต้องสามารถคิดกลับไปกลับมาและตอบโจทย์ได้ทุกขั้นตอนโดยไม่หลุด
ต้อง"คิดอย่างสร้างสรรค์ ...และอยู่บนฐานของตรรกะ" นะคะ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร เรียนแบบไหน เอาหัวเป้นประกันว่าต้องประสบความสำเร็จชัวร์ๆ ค่ะ
.
.
เฮ่อออออ.....จบดีมั้ยนะ...........นึกไม่ออกแล้วอ่ะ..............
อยากเขียนเรื่องอื่นแล้วอ่ะ.....งั้น....จบดีกว่า..........
.......................................................................................................................................................

UniGang Talk   กราบขอบพระคุณงามๆ กับบทความดีดี  archmania.exteen.com

ไม่มีความคิดเห็น: