ใกล้เข้าสู่เทศกาลรับปริญญาเข้ามาอีกแล้ว วันแห่งความสำเร็จที่บัณฑิตใหม่ต่างรอคอยที่จะได้สวมชุดครุยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญาหรือวิทยฐานะที่ได้จากการสำเร็จการศึกษา ถือเป็นเกียรติยศ และความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ชุดครุยจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุดครุยเป็นแบบโบราณพระราชพิธีไทย เนื้อผ้าโปร่ง สีขาว เรียกว่า “ครุยเทวดา” ซึ่งชุดครุยลักษณะนี้ นอกจากจุฬาฯ แล้ว ยังมีสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งที่สวมใส่ครุยประเภทนี้ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น ส่วนชุดครุยอีกประเภทที่นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะเป็นชุด “ครุยแบบตะวันตก” มีลักษณะเป็นชุดครุยคลุม และมีสีดำ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยในลักษณะนี้ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น รวมถึงมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ที่ใช้ชุดครุยแบบตะวันตกเช่นกัน ทั้งนี้ Life On Campus ถือโอกาสย้อนอดีตถึงต้นกำเนิด “ชุดครุย” เริ่มต้นที่สมัยใด มหาวิทยาลัยใดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและใช้ชุดครุยเป็นที่แรก และชุดครุยของแต่ละสถาบันเป็นอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกัน |
|
ประวัติชุดครุยสมัยก่อน |
|
|
เริ่มต้นที่ “ประวัติชุดครุย"ชุดครุยรับปริญญา เป็นเสื้อคลุมทับด้านนอก ใช้สวมเพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ แสดงถึงหน้าที่ในพิธีการ หรือแสดง วิทยฐานะ ธรรมเนียม การสวมเสื้อครุยของไทยเรานั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าได้รับแบบมาจากที่ใด แต่การคาดคะเนกันว่า การสวมเสื้อครุย น่าจะเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนที่พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ขณะนั้นท่านราชทูตแต่งกายด้วยการสวมเสื้อเยียรบับ มีกลีบทอง ดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่6 มีพระราชกำหนดเสื้อครุย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ. 130 กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ 3 ชั้น เรียกว่าครุยเสนามาตย์แบ่งเป็นชั้น ปริญญาเอก เรียกว่า”ดุษฎีบัณฑิต“ ปริญญาโท เรียกว่า “มหาบัณฑิต“ และปริญญาตรี เรียกว่า “บัณฑิต“ และนอกจากนี้ยังมีครุยวิทยฐานะ สำหรับผู้สำเร็จวิชาการจาก มหาวิทยาลับ หรือ วิทยาลัยชั้นสูง เสื้อครุยวิทยฐานะ มีขึ้นครั้งแรกใน ประเทศไทยประมาณ ร.ศ. 116 ในสมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์พระเจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 5 ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็น เนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย โดยเรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต |
ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ พระราชกำหนด เสื้อครุยบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2473 แก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แล้วหลังจากนั้นต่อมา บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จึงได้มีการสวมครุยในวันเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมากระทั่งทุกวันนี้ วันที่ 25 ตุลาคม 2473เมื่อ 84ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมา พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก (พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประเทศไทย) และนับเป็นต้นเค้าของ ประเพณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯไปใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยต่างๆในทุกวันนี้ ท้ายนี้ ไลฟ์ ออน แคมปัส จะพาไปดูชุดครุยของแต่ละมหาวิทยาลัยกันบ้างดีกว่า เริ่มต้นที่ |
|
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
|
|
3 พระจอม (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
|
|
|
|
สถาบันพลศึกษา |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยทักษิณ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยพายัพ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยพะเยา |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
|
|
|
|
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยรังสิต |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
|
|
|
|
มหาวิทยาลันยศรีปทุม |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยสยาม |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต |
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น