เชื่อหรือไม่ว่า อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ มีผลต่ออุปนิสัยใจคออีกด้วย
เชื่อหรือไม่ว่า อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกายแล้ว ยังมีผลต่ออุปนิสัยใจคออีกด้วย
จากการศึกษาของแพทย์พบว่า อาหารมีอิทธิพลต่ออารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจู้จี้ขี้บ่น หงุดหงิดโมโหง่าย ขลาดกลัว แปรปรวน ซึ่งถ้าแสดงออกมาบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นนิสัยถาวร จริง ๆ แล้วเบื้องหลังของนิสัยเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างนั่นเอง
เชื่อหรือไม่ว่า อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกายแล้ว ยังมีผลต่ออุปนิสัยใจคออีกด้วย
จากการศึกษาของแพทย์พบว่า อาหารมีอิทธิพลต่ออารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจู้จี้ขี้บ่น หงุดหงิดโมโหง่าย ขลาดกลัว แปรปรวน ซึ่งถ้าแสดงออกมาบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นนิสัยถาวร จริง ๆ แล้วเบื้องหลังของนิสัยเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างนั่นเอง
ข้อมูลจากผลการวิจัย กล่าวว่าคนที่มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงุดโมโหง่าย นั้น มักจะขาดแคลเซียม
คนที่มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงุดโมโหง่าย มักจะขาดแคลเซียม ยิ่งถ้าขาดมาก ๆ ก็จะมีอาการเกรี้ยวกราดร่วมด้วย วิธีแก้ก็คือ เติมสิ่งที่ขาดหายไปโดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ปลาตัวเล็กที่รับประทานก้างได้ เป็นต้น
สำหรับคนที่ขาดวิตามินบี มักจู้จี้ขี้บ่น ทั้ง ๆ ที่วัยยังไม่สูงเท่าไรนัก ควรรับประทานอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ไข่ ตับ ถั่วเหลือง กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
ส่วนคนที่ขี้กลัว ไม่ค่อยกล้าแสดงออกในเรื่องที่ถูกต้อง ก็เนื่องมาจากขาดวิตามินซีและเอที่พบมากในผัก ผลไม้ต่าง ๆ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสารอาหารและแร่ธาติดังกล่าวมีผลต่อระบบการทำงานของสมองที่มีหน้าที่หลั่งสารแห่งความสุขออกมานั่นเอง
คนที่มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงุดโมโหง่าย มักจะขาดแคลเซียม ยิ่งถ้าขาดมาก ๆ ก็จะมีอาการเกรี้ยวกราดร่วมด้วย วิธีแก้ก็คือ เติมสิ่งที่ขาดหายไปโดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ปลาตัวเล็กที่รับประทานก้างได้ เป็นต้น
สำหรับคนที่ขาดวิตามินบี มักจู้จี้ขี้บ่น ทั้ง ๆ ที่วัยยังไม่สูงเท่าไรนัก ควรรับประทานอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ไข่ ตับ ถั่วเหลือง กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
ส่วนคนที่ขี้กลัว ไม่ค่อยกล้าแสดงออกในเรื่องที่ถูกต้อง ก็เนื่องมาจากขาดวิตามินซีและเอที่พบมากในผัก ผลไม้ต่าง ๆ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสารอาหารและแร่ธาติดังกล่าวมีผลต่อระบบการทำงานของสมองที่มีหน้าที่หลั่งสารแห่งความสุขออกมานั่นเอง
สิ่งเหล่านี้เป็นการย้ำว่าสารอาหารที่ครบถ้วนสำคัญต่อมนุษย์มากเพียงใด และคำว่า “you are what you eat” ยังใช้ได้อยู่เสมอจริง ๆ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น