วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการอ่านหนังสือเร็วปึ๊ด



วันนี้ขอนำเสนอวิธีที่ไม่ควรลอกเลียนแบบที่สุด แต่มีคนทำเป็นเรื่องปกติกันมาก
ก็คือเทคนิคการอ่านเร็วปึ๊ด คืนเดียวจอด
สำหรับวิธีที่ดีกว่านี้ให้อ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือเบื้องต้น
คอร์สนี้เฉพาะคนที่จำเป็นจริงๆ และเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกฝนระดับเบื้องต้นมาแล้ว
(แต่คิดว่าอย่างเด็กมหาลัยคงอ่านกันมหาประลัยอย่างเคยชินอยู่แล้ว คงไม่น่าจะมีปัญหา)

การเตรียมตัวก่อนถึงเวลาที่จะอ่าน
1. เตรียมข้อมูลอะไรให้พร้อม ให้ดี การอ่านเร็วปึ๊ด แปลว่าต้องเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดมา 1-2 ข้อมูล อย่าเอาทุกข้อมูลมากอง จะทำให้เสียกำลังใจ และบั่นทอนกำลังของตัวเองเปล่าๆ ชีวิตต้องเลือก ข้อมูลที่ดีที่สุดก็คือ อันที่สมบูรณ์สุดๆ อาจจะเป็นเลคเชอร์เพื่อน หรือหนังสือพื้นฐานที่ต้องอ่านก็ว่ากันไป ....
2. กะเวลาให้ถูก ... ไม่ใช่หวังว่าอ่านหนังสือ 100 หน้า ภายใน 4 ชั่วโมงจะจบลงอย่างมีประสิทธิภาพได้ง่ายๆ ลองเทียบเคียงความสามารถของตัวเองควบคู่กับการกะเวลาด้วย  โดยทั่วไปแบบจดจำได้ดีนั้น (และแบบเร็วปึ๊ดด้วย) หน้าภาษาไทยจะใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที และภาษาอังกฤษไม่เกิน 3-5 นาที (depend on English skill)
3. สร้างบรรยากาศที่สดใสจิ๊ดจ๊าด ... อ่านโต้รุ่งก็คงไม่พ้นห้องนอน ถ้าเป็นห้องนอน ต้องทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทมากที่สุด ห้องใครติดหน้าต่างโชคดีไป เปิดหน้าต่างรับลมบ้างก็ดีนะจ๊ะ ถ้าห้องแอร์จะทำให้ความเชื่องช้าบังเกิดได้โดยง่าย  อย่านอนอ่าน ไม่งั้นจบเห่
... อ่านแบบเร่งด่วนแต่ไม่โต้รุ่งนั้น ก็ตามสถานที่ที่เหมาะสม แต่ที่สำคัญต้องมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก มีกั้นฉาก หรือนั่งโต๊ะแบบหันหลังจากผู้คน (ไม่เหมือนการอ่านทั่วไป ที่อาจจะอยู่ในที่ผู้คนพลุกพล่านได้) เพราะอ่านเร่งด่วน ต้องเล่นกับเวลา ถ้ากะเวลาไว้เรียบร้อยแล้ว เกิดมีอะไรมาสะดุด เดี๋ยวจะยุ่งกันพอดี !!
.....แต่บางคนก็สามารถอ่านโต้รุ่งในที่ public (ตอนนี้ฮิตกันที่แม็คโดนัลด์ มากๆ เพราะเปิด 24 ชั่วโมง) ถ้ามั่นใจว่าไม่วอกแวกได้ก็ทำไป อย่าไปอ่านเพราะตามเพื่อนเด็ดขาด ไม่งั้นจะอ่านไม่จบ เท่าที่รับฟังการอ่านโต้รุ่งในที่public มานั้น พบว่ามีปัญหาอ่านไม่จบเป็นเนืองนิจ  มีแค่ 1 ใน 20 คนเองนะที่ทำได้จริงๆจังๆ
............แต่การโต้รุ่งแล้วก็มาสอบเลย ไม่แนะนำมากๆๆๆๆ  ปรากฏน๊อคกลางอากาศขึ้นมาจะว่าไงลูก  ถ้าโต้รุ่งแล้วยังมีพักหลับตา ลัลล้า ผ่อนคลายบ้างมันก็คงดี
4. วางแผนการพักผ่อน  การตั้งเป้าเพื่อให้รางวัลตัวเองนั้นสำคัญมาก อย่าลืมพูดคุยกับตัวเองว่า จะพักก่อนอ่าน จะอ่านก่อนพัก หรือ จะพักระหว่างอ่าน  ต้องมีพักบ้าง ไม่งั้นมึน สายตาเสีย กล้ามเนื้อหด เป็นตะคริว เมื่อยคอ แก่ตัวมาจะแย่นะ (เวิ่นจริงๆ จขบ.เนี่ย 555+) สรุปคือ อย่าดุ่มๆ อ่านลูกเดียว จำไว้ๆ ถ้าเกิดปวดตามาให้เอามือป้องลูกตาไว้จะดีขึ้น
 5. ระวังอย่าให้ความเครียดมากดดันตัวเอง สำคัญมากที่สุดคือเรื่องอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ ถ้าทำข้อ 1-4 ได้แล้ว ให้สบายใจได้ อย่าเครียดเด็ดขาด ไม่งั้นจะสมาธิหลุดและเกิดความท้อแท้ระหว่างทางได้ จขบ.เคยกดดันเมื่อครั้งมัธยม ถึงขั้นร้องไห้ ตัวสั่น มือสั่น  อันนีจำเป็นมากกับเรื่องอารมณ์
...... ถ้าอารมณ์ขณะนั้นไม่ไหวแล้วจริงๆ อย่าฝืนอ่านเด็ดขาด มีแต่จะทำให้อารมณ์ดาวน์ลงเรื่อยๆ ให้หาอย่างอื่นที่ชอบทำ หรืออาจจะนอนพักสักเล้กน้อย จิบน้ำหวานให้สดชื่น หรือเข้าห้องน้ำไปอาบน้ำเลยก็ดี
...... ถ้าอกหักอยู่ นี่ก็หนัก จากประสบการณ์คือ ร้องไห้ไปให้หมดก่อน ร้องไปเลยเป็นชั่วโมงๆ และก็อ่านโต้รุ่ง คิดในใจซะว่า อย่าให้ใครหน้าไหนมาบั่นทอนชีวิตของชั้น ใครไม่แคร์ แคร์ตัวเองก็ได้  แต่ต้องร้องไห้ก่อนจริงๆ ไม่งั้นมันจะตัวโยนๆ ขณะอ่านหนังสือ เสียมู้ดหมด
.......ใครไม่สบาย นอนไปดีกว่านะ สุขภาพสำคัญที่สุด นอนก่อน ส่วนใครที่ไข้ขึ้นก็ไปหาหมอให้หมอฉีดยาที่ก้นซะ ถ้าไม่อยากจะลาสอบนะจ๊ะ แต่ต้องนอนจริงๆจังๆ
 6. การกินข้าวและอาบน้ำนั้น ส่วนตัวว่ามันจำเป็นมาก อย่างที่เคยบอกคือ กินข้าวพอดีๆ อย่าอิ่มมาก หยิบของหวาน หรือน้ำหวานมาประกอบการอ่านด้วย เพราะสมองใช้งานหนัก อาจต้องการน้ำตาลเสริม และถ้าใครโต้รุ่งที่บ้าน ก็ควรจะอาบน้ำก่อนอ่าน เพื่อความสดชื่น ช่วยได้จริงๆนะจ๊ะ
** อย่าลืมว่า ต้องเก็งข้อสอบมาก่อนแล้ว ยิ่งมีเวลาไม่เยอะ การเก็งข้อสอบยิ่งจำเป็น **

เทคนิคการอ่านปื๊ดๆ
1. กวาดสายตาให้ดี สายตาต้องแม่นยำ ไม่พลาดบรรทัด อาจจะใช้นิ้วหรือปากกาช่วยไล่ตามตัวอักษร หรือ ไม้บรรทัด กรณีที่ตัวหนังสือมันเล็กหรือกระดาษมันเบี้ยวๆ ใช้สายตาในการไล่ดู อย่าใช้หัวหันตามไปมามาก เพราะถ้าความเมื่อยล้ามันเกิดขึ้นแล้ว จะเพลียง่ายมาก
2. การMark จุดสำคัญ ให้ใช้ปากกาด้ามเดียวพอ ใช้ปากกาเพียงสีเดียวในการขีดเขียน  อาจจะจดโน้ตเอาไว้ข้างๆ เพื่อแปลหรือตีความ และวงKeywords หรือประโยคสำคัญไว้ โดยเลือกประโยคที่สำคัญจริงๆ เพราะถ้าขีดบ่อยจะเสียเวลามาก และอาจจะไม่ได้อ่านซ้ำที่ขีดไว้ก็ได้
3.วิธียกหนังสือ การอ่านแบบnon-stop นั้น ถ้าวางหนังสือหรือชีทแบบแบนราบจะนำมาซึ่งความอ่อนล้าได้โดยง่าย  หนังสือนั้นควรจะยกเอียงขึ้นมาสัก 30 องศา กำลังเหมาะ  ...... ถ้าเป็นชีทขอแนะนำให้หาแฟ้มแข็งๆ ที่เรียกว่า "แฟ้มสัน" แบบไม่ใช่ห่วง มาหนีบชีทและเปิดอ่านเสมือนหนังสือ และยังสามารถยกแฟ้มเอียงขึ้นมาได้ แต่ถ้าชีทนั้นดันซีร็อกซ์มาสองหน้าก็อาจจะอาศัยแฟ้มนี้ก็ได้ แต่ไม่ต้องหนีบ ก้พลิกเอาเอง แต่ถ้าชีทมีรูห่วง ก็อาศัยแฟ้มสันแบบห่วงก็สบายไป 
4.อย่าลืมพื้นฐานการอ่านที่สำคัญ คือ "อย่าสักแต่อ่าน จงอ่านไปคิดไป" ไม่งั้นที่อ่านแบบปึ๊ดๆ จะไร้ความหมายจริงๆ แม้สายตากวาดแต่สมองต้องตามไปด้วย (ถ้าสมองเหนื่อยก็อาจจะกินจุกจิกหรือพักก่อนได้) บางทีถ้าอ่านไปคิดไป อาจจะอ่านโดยไม่ต้องมีรอบสอง ไม่ต้องขีดอะไรเลยก็ได้ ตามความสามารถเลยจ้า
5. อย่าเงยมองเวลาบ่อยๆ เงยบ่อยๆแล้วจะเสียอารมณ์ กดดันเปล่าๆ ให้ใช้วิธีตั้งเป้าเช่นกัน อย่างจบ section ใดก่อนแล้วค่อยเงยมอง แต่การมองเวลาก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อที่จะประเมินความสามารถของความเร็วในการอ่าน และก็จะได้ดูว่าทันรึป่าว ถ้าเวลาพอก็พักบ้างก็ได้นะ
6. พึมพำตามไป กรณีที่กลัวไม่เข้าหัว ถ้าอยู่คนเดียว หรือปลีกตัวจากผู้คนอยู่ ก็พึมพำออกเสียงเบาๆ ตามที่อ่านบ้าง จะช่วยได้ พออ่านจบบทใดบทนึงให้ลองคุยกับตัวเอง ติวกับตัวเองดูว่าจำได้จริงๆ เข้าใจจริงๆ หรือป่าว
7. อ่านแต่ละรอบที่ไม่เหมือนกัน  รอบแรก ปื๊ดๆไป อาจมีขีดเขียนบ้าง  ถ้ามีเวลาก็ลองอ่านรอบสองแบบรีบเร่งรีบเร่งระดับนี้ นี่มากจริงๆ แบบแค่สายตาผ่าน และต้องปิ๊งไอเดียออกมาให้ได้ว่าอะไรเชื่อมโยงกัน และต่อไปจะมีอะไรบ้าง ถ้าไอเดียไม่ปิ๊งออก ก็ทบทวนใหม่ ขอเน้นว่ารอบสองต้องแค่สายตาผ่านแล้วปิ๊งออกจริงจัง อย่าลืมเมื่ออ่านจบทั้งหมดแล้วต้องตั้งคำถามกับตัวเองดู หรือลองให้เพื่อนช่วยถาม

เทคนิคอื่นๆ ไว้ดัดแปลงได้
1. จดจำหน้ากระดาษ
    ใช้สมองมากหน่อยแต่ช่วยในการจำระยะสั้นได้ดี ให้มองหนังสือหรือชีทเป็นรูปภาพ (ถ้าเป็นคอมฯ ก็โปรแกรม pdf นั่นแหละ จากปกติถ้าอ่านเราคงจำกันเหมือนโปรแกรม word)  เหมาะสำหรับการไปตอบอัตนัยที่คำตอบเสมือนการลอกจากเลคเชอร์หรือหนังสือ จำเป็นภาพว่าเนื้อหาส่วนไหนอยู่ตำแหน่งตรงไหน อยุ่ใต้หัวข้ออะไร และหัวข้อใกล้เคียงมีอะไรบ้าง อันไหนมาก่อนหลัง (อันนี้ จขบ.ใช้บ่อย)
2. การพึ่งพาแบบฝึกหัด
    สำหรับน้องมัธยม ข้อสอบปรนัยน่าจะพึ่งแบบฝึกหัดได้รวดเร็วกว่า ลองหยิบข้อสอบเก่าๆหรือแบบฝึกหัดเก่าๆ เท่าที่หาได้มาดู ถ้ามีเวลาบ้างให้ปิดเฉลยและลองตอบ ถ้าตอบได้ก็ผ่าน แสดงว่าใช้วิธีนี้ได้ ถ้าไม่ได้ก็อ่านดีกว่า ส่วนถ้าเวลาไม่ทันก็อ่านเฉลยไปเลย และจำดูรูปแบบคำถามคำตอบ  ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ เอาแบบฝึกหัดที่เคยทำมาดูให้หมดจะดีมากกว่าการอ่านทฤษฎี
3. ถามเพื่อน
    อ่านไม่ทันก็ถามเพื่อน ให้เพื่อนช่วยเล่าเลย  และประมวลความคิด ย้อนถามเพื่อนกลับไป โต้ไปมาบ้าง แต่ใช้วิธีนี้บ่อยๆไม่ดีนะ รบกวนคนอื่นมากไป เพื่อนจะหนีไปหมดซะก่อน

ไม่มีความคิดเห็น: