เพราะชีวิต "เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นได้" เส้นทางชีวิตของใครหลายคนอาจแตกต่าง และเกิดคำถามหลายอย่างว่าทำไมถึงเลือกทางนี้...เส้นทางที่ไม่สะดวกสบาย สวยหรู เหมือนกับที่ใครๆ ปรารถนา เพราะอะไรและทำไมถึงเลือกที่จะเดินสวนทางกับคนส่วนใหญ่...
น้องหนูดี หรือ นางสาวจิตชนก ต๊ะวิชัย อายุ 24 ปี สาวน้อยจากรั้วแม่โดม บัณฑิตหมาดๆ คณะสังคมสงเคราะศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกเส้นทางชีวิตในแบบของเธอเอง แต่กลับสร้างความประหลาดใจให้กับหลายๆ คน เพราะอาชีพที่เธอเลือกนั้น เป็นแค่ชนชั้นเกษตรกร เป็นชาวนา ที่คนมีการศึกษาส่วนใหญ่ไม่สนใจ และคนรุ่นใหม่อย่างเธอควรหันเหชีวิตมุ่งหน้าเข้าสู่เมื่อกรุงมากกว่าที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ในบ้านนอกคอกนา อยู่กับฝูงวัวฝูงควาย เช่นนี้ แต่เธอก็เลือกที่จะทำมัน ก้าวเดินมาอย่างมั่นใจ และทำได้สำเร็จจนกลายมาเป็นชาวนาที่สวยที่สุดในประเทศไทยที่ได้รับการกล่าวถึงอยู่ขณะนี้...
ต้นทุนจากพื้นดินของครอบครัว
ครอบครัวของน้องหนูดี อาศัยอยู่ที่จังหวัดเลย เป็นบุตรสาวคนเดียวของคุณแม่อุบล ต๊ะวิชัย อายุ 59 ปี อดีตข้าราชการครู คุณพ่อเสียชีวิตไปแล้ว อยู่กับคุณแม่สองคน และมีธุรกิจของครอบครัวคือ “ภูเรือเรือนไม้รีสอร์ต” รีสอร์ทและร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเลย เรียกได้ว่ามีพื้นดินเป็นทุนมาก่อนอยู่แล้วกว่า 15 ไร่ ได้เปิดเป็นร้านอาหารและรีสอร์ท มีพื้นที่ในการทำนากว่า 8 ไร่ ที่เหลือยังเป็นพื้นที่ทำการเกษตรประเภทผักสวนครัว โรงสีข้าว ยุ้งข้าว และอาคารไม้เก่าเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง เรียกว่าครบวงจรในบ้านของน้องหนูดีแห่งนี้ เพราะนี้คือต้นทุนจากครอบครัวที่เธอได้รับมา แล้วก็ต้องมาคิดกันต่อว่าจะทำอย่างไรกับมรดกชิ้นนี้ เธออาจเลือกที่จะไม่ทำอะไรกับมันเลย ไปทำตามความฝันของเธอ แล้วปล่อยให้พื้นที่ต้นทุนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่เป็นอาชีพเสริมของเธอและครอบครัวต่อไปก็ได้ แต่ทุกอย่างกลับลงตัวเพราะความฝันของเธอและครอบครัวคือเป้าหมายเดียวกัน...นั่นก็คือที่บ้านแห่งนี้
น้องหนูดี หรือ นางสาวจิตชนก ต๊ะวิชัย อายุ 24 ปี สาวน้อยจากรั้วแม่โดม บัณฑิตหมาดๆ คณะสังคมสงเคราะศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกเส้นทางชีวิตในแบบของเธอเอง แต่กลับสร้างความประหลาดใจให้กับหลายๆ คน เพราะอาชีพที่เธอเลือกนั้น เป็นแค่ชนชั้นเกษตรกร เป็นชาวนา ที่คนมีการศึกษาส่วนใหญ่ไม่สนใจ และคนรุ่นใหม่อย่างเธอควรหันเหชีวิตมุ่งหน้าเข้าสู่เมื่อกรุงมากกว่าที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ในบ้านนอกคอกนา อยู่กับฝูงวัวฝูงควาย เช่นนี้ แต่เธอก็เลือกที่จะทำมัน ก้าวเดินมาอย่างมั่นใจ และทำได้สำเร็จจนกลายมาเป็นชาวนาที่สวยที่สุดในประเทศไทยที่ได้รับการกล่าวถึงอยู่ขณะนี้...
ต้นทุนจากพื้นดินของครอบครัว
ครอบครัวของน้องหนูดี อาศัยอยู่ที่จังหวัดเลย เป็นบุตรสาวคนเดียวของคุณแม่อุบล ต๊ะวิชัย อายุ 59 ปี อดีตข้าราชการครู คุณพ่อเสียชีวิตไปแล้ว อยู่กับคุณแม่สองคน และมีธุรกิจของครอบครัวคือ “ภูเรือเรือนไม้รีสอร์ต” รีสอร์ทและร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเลย เรียกได้ว่ามีพื้นดินเป็นทุนมาก่อนอยู่แล้วกว่า 15 ไร่ ได้เปิดเป็นร้านอาหารและรีสอร์ท มีพื้นที่ในการทำนากว่า 8 ไร่ ที่เหลือยังเป็นพื้นที่ทำการเกษตรประเภทผักสวนครัว โรงสีข้าว ยุ้งข้าว และอาคารไม้เก่าเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง เรียกว่าครบวงจรในบ้านของน้องหนูดีแห่งนี้ เพราะนี้คือต้นทุนจากครอบครัวที่เธอได้รับมา แล้วก็ต้องมาคิดกันต่อว่าจะทำอย่างไรกับมรดกชิ้นนี้ เธออาจเลือกที่จะไม่ทำอะไรกับมันเลย ไปทำตามความฝันของเธอ แล้วปล่อยให้พื้นที่ต้นทุนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่เป็นอาชีพเสริมของเธอและครอบครัวต่อไปก็ได้ แต่ทุกอย่างกลับลงตัวเพราะความฝันของเธอและครอบครัวคือเป้าหมายเดียวกัน...นั่นก็คือที่บ้านแห่งนี้
กลับมาทำตามความฝัน...
หลังจากที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2555 เธอก็ได้เลือกทำตามความฝันของเธอต่อไป หลังจากที่ความฝันแรกคือ เรียนให้จบเพื่อเป็นของขวัญให้กับคุณแม่และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัว สิ่งที่ทำให้เธอกลับมา...เพราะความฝันของเธออยู่ที่นี่ ที่บ้านและผืนแผ่นดินแห่งนี้ ต้องการที่จะเป็น “เกษตรกร” ทำการเกษตรแบบพอเพียง ตามรอยพระราชดำริของในหลวง เป็นสิ่งหนึ่งที่น้องหนูดีจดจำมาโดยตลอด และมีความคิดว่าจะนำคำสอนเหล่านั้นกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของเธอให้จงได้
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่เคยเป็นเกษตรกรชาวนาจะทำได้เลยในทันที ชาวนารุ่นใหม่ที่ไม่มีทักษะอะไรเลยก็ต้องผ่านการลองผิดลองถูก ค่อยคิดค่อยทำ ใช้ความรู้ที่เรียนมาช่วยในการพัฒนาปรับปรุง สะสมประสบการณ์ จนประสบความสำเร็จ และสามารถนำมาสอนน้องๆ โดยเริ่มจากที่นา 8 ไร่ มาปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จนประสบความสำเร็จ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงศูนย์การเรียนรู้เป็นอาคารไม้เก่าที่ได้ปรับปรุงไว้ให้เป็นที่เรียนรู้วิถีชีวิตคนไทย เก็บสะสมสิ่งของเก่าๆ หาดูยาก เอาไว้ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เช่น เครื่องโม่ข้าว ที่ทำมาจากไม้ไผ่และดินเหนียว อุปกรณ์เครื่องครัว และอุปกรณ์การจับปลาต่างๆ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เธอก็ผ่านทุกอย่างไปด้วยดี โดยมีกำลังใจสำคัญคือคุณแม่ที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ ตลอดเวลา
ชีวิตและจิตใจเราอยู่ที่นี่...บ้านของเรา
คำถามที่หลายคนสงสัยว่าทำไมเรียนจบก็สูง สถาบันก็ดี ทำไมไม่หางานทำที่กรุงเทพฯ งานดีๆ เงินเดือนเยอะๆ อยู่ในเมืองกรุงแสนศิวิไลที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันหา แต่กลับเลือกมาอยู่ที่บ้านนอก มีแต่กลิ่นโคลนสาบควาย ปลูกผัก ดำนาปลูกข้าว ทำไมกัน? คำตอบของเธอเป็นเพียงประโยคง่ายๆ สั้นๆ ว่า “ตัวตน และจิตใจของเธออยู่ที่นี่ เพราะนี่คือบ้านของเรา ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามที่ในหลวงเคยสอน อยู่กับธรรมชาติ แค่นี้ชีวิตก็มีความสุขมากแล้ว การใช้ชีวิตไฮโซอยู่ในเมืองหลวง มีวิถีชีวิตที่วุ่นวาย แม้จะมีความสะดวกสบาย แต่นั่นไม่ใช่ตัวตนของเธอ..."
อยากใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ เอาความรู้ที่เราได้ร่ำเรียนมาถ่ายทอดให้กับเด็กรุ่นใหม่ ให้รักความเป็นไทย มีวิถีชีวิตที่พอเพียง ช่วยกันพัฒนาบ้านเรา พลิกฟื้นผืนดินมรดกของปู่ย่าตายาย ให้เป็นประโยชน์ ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ แบบพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อประโยชน์ของลูกหลานต่อไป แทบไม่เชื่อเลยว่านี่จะเป็นความคิดของเด็กรุ่นใหม่ที่น้อยคนนัก จะรักและลงมือทำเหมือนเธอ
หลังจากที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2555 เธอก็ได้เลือกทำตามความฝันของเธอต่อไป หลังจากที่ความฝันแรกคือ เรียนให้จบเพื่อเป็นของขวัญให้กับคุณแม่และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัว สิ่งที่ทำให้เธอกลับมา...เพราะความฝันของเธออยู่ที่นี่ ที่บ้านและผืนแผ่นดินแห่งนี้ ต้องการที่จะเป็น “เกษตรกร” ทำการเกษตรแบบพอเพียง ตามรอยพระราชดำริของในหลวง เป็นสิ่งหนึ่งที่น้องหนูดีจดจำมาโดยตลอด และมีความคิดว่าจะนำคำสอนเหล่านั้นกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของเธอให้จงได้
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่เคยเป็นเกษตรกรชาวนาจะทำได้เลยในทันที ชาวนารุ่นใหม่ที่ไม่มีทักษะอะไรเลยก็ต้องผ่านการลองผิดลองถูก ค่อยคิดค่อยทำ ใช้ความรู้ที่เรียนมาช่วยในการพัฒนาปรับปรุง สะสมประสบการณ์ จนประสบความสำเร็จ และสามารถนำมาสอนน้องๆ โดยเริ่มจากที่นา 8 ไร่ มาปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จนประสบความสำเร็จ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงศูนย์การเรียนรู้เป็นอาคารไม้เก่าที่ได้ปรับปรุงไว้ให้เป็นที่เรียนรู้วิถีชีวิตคนไทย เก็บสะสมสิ่งของเก่าๆ หาดูยาก เอาไว้ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เช่น เครื่องโม่ข้าว ที่ทำมาจากไม้ไผ่และดินเหนียว อุปกรณ์เครื่องครัว และอุปกรณ์การจับปลาต่างๆ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เธอก็ผ่านทุกอย่างไปด้วยดี โดยมีกำลังใจสำคัญคือคุณแม่ที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ ตลอดเวลา
ชีวิตและจิตใจเราอยู่ที่นี่...บ้านของเรา
คำถามที่หลายคนสงสัยว่าทำไมเรียนจบก็สูง สถาบันก็ดี ทำไมไม่หางานทำที่กรุงเทพฯ งานดีๆ เงินเดือนเยอะๆ อยู่ในเมืองกรุงแสนศิวิไลที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันหา แต่กลับเลือกมาอยู่ที่บ้านนอก มีแต่กลิ่นโคลนสาบควาย ปลูกผัก ดำนาปลูกข้าว ทำไมกัน? คำตอบของเธอเป็นเพียงประโยคง่ายๆ สั้นๆ ว่า “ตัวตน และจิตใจของเธออยู่ที่นี่ เพราะนี่คือบ้านของเรา ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามที่ในหลวงเคยสอน อยู่กับธรรมชาติ แค่นี้ชีวิตก็มีความสุขมากแล้ว การใช้ชีวิตไฮโซอยู่ในเมืองหลวง มีวิถีชีวิตที่วุ่นวาย แม้จะมีความสะดวกสบาย แต่นั่นไม่ใช่ตัวตนของเธอ..."
อยากใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ เอาความรู้ที่เราได้ร่ำเรียนมาถ่ายทอดให้กับเด็กรุ่นใหม่ ให้รักความเป็นไทย มีวิถีชีวิตที่พอเพียง ช่วยกันพัฒนาบ้านเรา พลิกฟื้นผืนดินมรดกของปู่ย่าตายาย ให้เป็นประโยชน์ ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ แบบพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อประโยชน์ของลูกหลานต่อไป แทบไม่เชื่อเลยว่านี่จะเป็นความคิดของเด็กรุ่นใหม่ที่น้อยคนนัก จะรักและลงมือทำเหมือนเธอ
“ฉันเชื่อมาตลอดว่า ธรรมชาติ ไม่เคยทำร้าย มนุษย์ เว้นเสียแต่ว่า มนุษย์เอง จะเป็นฝ่ายลงมือทำร้ายธรรมชาติเสียก่อน ชนบท...สอนให้เรา เรียนรู้ที่จะปรับตัว พึ่งพิงธรรมชาติ ไม่ใช่ไปปรับเอาธรรมชาติมาเอื้อประโยชน์ให้กับเรา ลองหยุดคิด แล้วกลับมามองเสียก่อน น้ำท่วมมาจากอะไร ถ้าไม่ใช่มือของพวกเรานี่แหละ...ขอโทษพระแม่ธรณี พระแม่คงคา ที่พวกเราเองนำสารเคมีลงสู้ แผ่นดินที่มีพระคุณโลกมันไม่ได้อยู่ยากขึ้น แค่พวกเราเองที่ทำให้มันยุ่งยากขึ้น ธรรมชาติมันสร้างขึ้นมาใหม่ได้หรือคะ? สร้างมาจากอะไร? อีกกี่ร้อย กี่พันปี มันถึงจะเป็นเหมือนเดิม ที่ผ่านมา
ฉันพยายามรักษาธรรมชาติรอบตัวที่ฉันมี ให้คงไว้เพียงหวังว่าวันนึงฉันมีลูก เพื่อนๆ มีลูก ลูกฉันจะเติบโตมาในแบบที่ฉันเคยโตมาไม่ได้อยากสวนกระแสโลกาภิวัตน์หรอกนะ แต่ส่วนไหนที่มันข้ามไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์แล้วก็ปล่อยมันไปตามวัฏจักรนั้นเถอะ อะไรที่เราควรรักษาไว้ ก็แค่ช่วยกันเท่านั้นเอง พ่อหลวงสอนพาลูกๆปลูกป่า แล้ววันนี้ถ้าจะมีลูกบางคนคิดจะตัดป่าของพ่อ...ภาพนั้นคงจะเป็นภาพที่ เจ็บ ปวด . . .๒๔ ก.ย. ๒๕๕๖”
ฉันพยายามรักษาธรรมชาติรอบตัวที่ฉันมี ให้คงไว้เพียงหวังว่าวันนึงฉันมีลูก เพื่อนๆ มีลูก ลูกฉันจะเติบโตมาในแบบที่ฉันเคยโตมาไม่ได้อยากสวนกระแสโลกาภิวัตน์หรอกนะ แต่ส่วนไหนที่มันข้ามไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์แล้วก็ปล่อยมันไปตามวัฏจักรนั้นเถอะ อะไรที่เราควรรักษาไว้ ก็แค่ช่วยกันเท่านั้นเอง พ่อหลวงสอนพาลูกๆปลูกป่า แล้ววันนี้ถ้าจะมีลูกบางคนคิดจะตัดป่าของพ่อ...ภาพนั้นคงจะเป็นภาพที่ เจ็บ ปวด . . .๒๔ ก.ย. ๒๕๕๖”
ภาระกิจที่ลงตัว...
นอกจากจะเป็นชาวนามือใหม่ที่สวยและฉลาด สามารถทำตามพระราชดำรัสของในหลวงได้จนประสบผลสำเร็จแล้ว น้องหนูดียังได้มีโครงการดีๆ อีกมากมายที่ช่วยเหลือและพัฒนาหมู่บ้านและจังหวัดของเธอ นอกจากจะช่วยเหลือเด็กๆ ในหมู่บ้านให้รักความเป็นไทย และวิถีชีวิตแบบพอเพียง สอนให้รู้จักการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุข เธอยังมีธุรกิจขายผลผลิตจากนาที่เธอได้ลงมือปลูกเองแบบปลอดสารพิษ ในราคาถูกแบบไม่หวังผลกำไร หรือจะเป็นเพจที่ช่วยอนุรักษ์ควายไทย “Chamchoi” หรือ "แช่มช้อย" ที่น้องหนูดีได้สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ควายไทย และริเริ่มโครงการดีๆ ที่ช่วยเหลือน้องๆ จากชนบท จากเพจดีๆ แบบนี้ อีกมากมาย ใครสนใจก็สามารถเข้าไปติดตามกันได้ อาจจะพบภาพบรรยากาศดีๆ ของวิถีชีวิตชาวนา ความแตกต่างที่เราอาจหาไม่ได้จากเมืองกรุง...
นอกจากจะเป็นชาวนามือใหม่ที่สวยและฉลาด สามารถทำตามพระราชดำรัสของในหลวงได้จนประสบผลสำเร็จแล้ว น้องหนูดียังได้มีโครงการดีๆ อีกมากมายที่ช่วยเหลือและพัฒนาหมู่บ้านและจังหวัดของเธอ นอกจากจะช่วยเหลือเด็กๆ ในหมู่บ้านให้รักความเป็นไทย และวิถีชีวิตแบบพอเพียง สอนให้รู้จักการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุข เธอยังมีธุรกิจขายผลผลิตจากนาที่เธอได้ลงมือปลูกเองแบบปลอดสารพิษ ในราคาถูกแบบไม่หวังผลกำไร หรือจะเป็นเพจที่ช่วยอนุรักษ์ควายไทย “Chamchoi” หรือ "แช่มช้อย" ที่น้องหนูดีได้สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ควายไทย และริเริ่มโครงการดีๆ ที่ช่วยเหลือน้องๆ จากชนบท จากเพจดีๆ แบบนี้ อีกมากมาย ใครสนใจก็สามารถเข้าไปติดตามกันได้ อาจจะพบภาพบรรยากาศดีๆ ของวิถีชีวิตชาวนา ความแตกต่างที่เราอาจหาไม่ได้จากเมืองกรุง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น