วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

แนะนำคณะในมหาวิทยาลัยศิลปากร

ช่วงนี้เชื่อว่าน้องๆ หลายคนคงหาข้อมูลแต่ละมหาวิทยาลัยกันจ้าละหวั่น เลยนำข้อมูลของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสถาบันที่
น้อง ๆ ใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนมาให้ดูกันก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะและสาขาที่ตนเองชอบมากที่สุด..............
 
*******************************
 
วังท่าพระ กรุงเทพฯ 

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะโบราณคดี
คณะมัณฑนศิลป์

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

คณะดุริยางคศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติ

ศูนย์ประสานงาน บางรัก กรุงเทพฯ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ
ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ


วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

คณะอักษรศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
คณะวิทยาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 - 3 
สาขา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
           
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 เปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาประติมากรรม โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก ต่อมาเปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 สาขาวิชา คือ พ.ศ. 2509 เปิดสาขาวิชาภาพพิมพ์ พ.ศ. 2520 เปิดสาขาวิชาศิลปไทย และเปิดสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ พ.ศ. 2530 

หลักสูตรการศึกษา
 อนุปริญญาศิลปบัณฑิต (อนุ.ศบ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
3 ปี
5 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา 

ระดับปริญญาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาจิตรกรรม 
          2. สาขาวิชาประติมากรรม 
          3. สาขาวิชาภาพพิมพ์ 
          4. สาขาวิชาศิลปไทย 
          5. สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ 

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาจิตรกรรม 
          2. สาขาวิชาประติมากรรม 
          3. สาขาวิชาภาพพิมพ์ 
          4. สาขาวิชาศิลปไทย 

สีประจำคณะ สีเหลือง 

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

          คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปกรรมทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และศิลปินที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเผยแพร่และเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนเสมอมา รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันที่มีการเรียนการสอนศิลปะทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ ตลอดจนคณาจารย์ของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ให้ความร่วมมือเป็นกรรมการตัดสินการประกวดผลงานศิลปกรรมให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนงานบริการทางวิชาการอื่นๆ

เว็บไซท์ http://www.finearts.su.ac.th

 

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
           
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร ใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "คณะสถาปัตยกรรมไทย" เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับอนุปริญญา 3 ปีการศึกษา ต่อมา พ.ศ. 2501 ขยายหลักสูตรการศึกษาถึงระดับปริญญา 5 ปีการศึกษา จนกระทั่ง พ.ศ. 2509 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีแผนใหม่ การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง เป็นสาขาวิชาแรก ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา ปริญญาโท 7 สาขาวิชา รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก อีก 1 สาขาวิชา 

หลักสูตรการศึกษา
 อนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (อนุ.สถ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) 
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) 
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณพิต (วท.ม.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณพิต (ปร.ด.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
3 ปี
5 ปี
2 ปี 
2 ปี 
2 ปี 
3 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา
          1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
          2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
          2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง
                    2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
                    3. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
          วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
                    2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา
                    3. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
          1. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

สีประจำคณะ สีเทาอ่อน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ การสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวเป็นการสนับสนุนทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับผู้วิจัย เพื่อให้งานวิจัยสำเร็จผลอันนำไปสู่การพัมนาองค์ความรู้และการประยุกต์ในสาขาวิชาที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการผลิตตำรา หนังสือ โดยการจัดสรรงบประมาณให้กับคณาจารย์ ผลิตตำราหนังสือที่มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอนต่อไป

          สำหรับงานบริการทางวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้การบริการในรูปแบบต่างๆ แก่สังคม อาทิ การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง การวางแผนและผังพัฒนาพื้นที่ การศึกษาเพื่อการพัฒนาในาสาขาวิชาต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การอนุรักษ์โบราณสถาน สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ฯลฯ นอกจากนั้นยังเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในรูปแบบการจัดนิทรรศการ การจัดประชุม สัมมนา การฝึกอบรม ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ 

เว็บไซท์ http://www.arch.su.ac.th


 

คณะโบราณคดี
           คณะโบราณคดีตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีคนแรก

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีก นอกเหนือจากผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา

 ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
4 ปี
1 ปี
2 ปี
5 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาโบราณคดี
          2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
          3. สาขาวิชามานุษยวิทยา
          4. สาขาวิชาภาษาไทย
          5. สาขาวิชาภาษาตะวันออก
          6. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
          7. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
          1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
          2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
          3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
          4. สาขาวิชามานุษยวิทยา
          5. สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
          6. สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
          7. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
          8. สาขาวิชาเขมรศึกษา
          9. สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
          ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
                    2. สาขาวิชาภาษาเขมร
          ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
                    2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

สีประจำคณะ สีม่วง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

          คณาจารย์คณะโบราณคดีปฏิบัติงานวิจัยในทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีโครงการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปของการจัดการอบรม สัมมนา บรรยาย นิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เปิดสอน และจัดทัศนศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป ตลอดจนสนับสนุนให้นักศึกษาจัดกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำ

เว็บไซท์ http://www.archae.su.ac.th


 

คณะมัณฑนศิลป์
           คณะมัณฑนศิลป์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ด้วยความริเริ่มของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการศึกษาในเรื่องของศิลปะและการออกแบบทุกลักษณะวิชาชีพ ทั้งในเรื่องของทฤษฎีและการปฏิบัติ เรียกว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์

          ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์จัดการเรียนการสอนสาขาศิลปะและการออกแบบ โดยผลิตนักออกแบบที่มีความรู้ ความสามารถ ในการสร้างงานออกแบบ ในสาขาวิชาต่างๆ

หลักสูตรการศึกษา

 ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)
4 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
          หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
                    1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
                    2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
                    3. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
                    4. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
                    5. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
                    6. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
          หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
                    1. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
                    2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
          2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
          3. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
          4. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา

สีประจำคณะ สีแสด

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

          คณะมัณฑนศิลป์ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ของคณะ และให้ความสำคัญต่อการบริการทางวิชาการแก่สังคม อาทิ การประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย การออกแบบตกแต่งอาคารอเนกนิทัศน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดโครงการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ (Young Designer OTOP Champion) ในโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ปี 2547 เขตภาคกลางและภูมิภาคตะวันตก และเป็นที่ปรึกษาวางแผนออกแบบและพัฒนาภูมิทัศน์ หมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น

เว็บไซท์ http://www.decorate.su.ac.th


 

คณะอักษรศาสตร์
           คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาที่ตั้งขึ้นจากนโยบายของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องการขยายคณะวิชาเพิ่มเติมจากสาขาศิลปะ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นสากลที่ครอบคลุมสาขาวิชาการหลายสาขา ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นจึงเสนอโครงการขยายมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งไปยังบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่จัดตั้งขึ้นที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการของสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นผู้ที่พึงประสงค์ของสังคม

หลักสูตรการศึกษา

 ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
4 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
          1. สาขาวิชานาฏศาสตร์
          2. สาขาวิชาสารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์
          3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
          4. สาขาวิชาปรัชญา
          5. สาขาวิชาภาษาเกาหลี
          6. สาขาวิชาภาษาจีน
          7. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
          8. สาขาวิชาภาษาไทย
          9. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
          10. สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
          11. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
          12. สาขาวิชาภูมิศาสตร์
          13. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
          14. สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
          15. สาขาวิชาเอเชียศึกษา

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา
                    2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    3. สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
                    4. สาขาวิชาภาษาไทย
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
          1. สาขาวิชาภาษาไทย

สีประจำคณะ สีฟ้า

การวิจัยและบริการวิชาการ

          คณะอักษรศาสตร์สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาค้นคว้าทำงานวิจัยมาโดยตลอด โครงการวิจัยของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์มีทั้งโครงการวิจัยส่วนบุคคลและวิจัยร่วม โครงการวิจัยที่บุคลากรของคณะอักษรศาสตร์ดำเนินอยู่ ได้แก่ "รัสเซียใหม่และลู่ทางความสัมพันธ์กับไทย" "มโนทัศน์เรื่องนาคในบริบททางสังคม" "การอภิปรายถกเถียงทางปรัชญาว่าด้วยความเป็นสมัยใหม่" "อนาคตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในภาคตะวันตก" นอกจากนี้คณะอักษรศาสตร์ยังสนับสนุนให้อาจารย์จัดทำตำรา เอกสารคำสอน และเขียนบทความทางวิชาการ โดยจัดทำวารสาร "อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ส่วนการบริการวิชาการแก่สังคม คณะอักษรศาสตร์จัดโครงการบริการทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมากเป็นประจำ เช่น การสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ และการจัดนิทรรศการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการจัดโครงการทางวิชาการอื่นๆ เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย 

เว็บไซท์ http://www.arts.su.ac.th


 

คณะศึกษาศาสตร์
           คณะศึกษาศาสตร์เริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2513 เป็นคณะวิชาลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระยะก่อตั้งระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2514 มีศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (อธิการบดีของมหาวิทยาลัยศิลปากรในสมัยนั้น) เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดี ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอก 4 สาขา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนสาธิต เพื่อประโยชน์สำหรับการฝึกสอนและฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษา

หลักสูตรการศึกษา

 ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรหมาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาปรัชาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
4 ปี
4 ปี
4 ปี
5 ปี
1 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
          หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
                    ศึกษาศาสตรบัณฑิต
                              1. สาขาวิชาการประถมศึกษา
                              2. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
                              3. สาขาวิชาภาษาไทย
                              4. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
                              5. สาขาวิชาสังคมศึกษา
                              6. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
                              7. สาขาวิชาเคมี
                              8. สาขาวิชาชีววิทยา
                              9. สาขาวิชาฟิสิกส์
                              10. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
          หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
                    ศึกษาศาสตรบัณฑิต
                              1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
                              2. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีพ
                    ศิลปศาสตรบัณฑิต
                              1. สาขาวิชาจิตวิทยา
                    วิทยาศาสตรบัณฑิต
                              1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
          1. สาขาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์
          2. สาขาวิชาชีพครู

ระดับปริญญษมหาบัณฑิต
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
                    2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
                    3. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
                    4. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
                    5. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
                    6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
                    7. สาขาวิชาการสอนสังคม
                    8. สาขาวิชาพัฒนศึกษา
                    9. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
          ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
                    2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
          ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
                    1. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์

สีประจำคณะ สีน้ำเงิน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

          คณะศึกษาศาสตร์มีโครงการพิเศษเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยด้วยวิธีพิเศษ (โครงการสืบสานภาษาไทย) เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 3 รอบ คณะศึกษาศาสตร์จัดให้มีการบริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชุม สัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ ฯลฯ นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะโครงการพิเศษ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 

เว็บไซท์ http://www.educ.su.ac.th 

ไม่มีความคิดเห็น: