รับตรงม.ธรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติGSSE
หมดเขตรับสมัคร วันที่1 กุมภาพันธ์58
GSSE เป็นหลักสูตรนานาชาติป.ตรีเปิดใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เน้นสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้เป็น
1) ผู้นำ
2) นักเปลี่ยนแปลง
3) นักธุรกิจเพื่อสังคม
GSSE ต้องการสร้างเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจใส่ใจและอยากที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นหลักสูตรจึงเป็นการบูรณาการสาขาวิชาที่หลากหลายทั้งด้านสังคมการสื่อสารภาวะผู้นำการบริหารจัดการการสร้างนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อที่นักศึกษาที่จบจาก GSSE จะได้มีมุมมองที่หลากหลาย มีทักษะในการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆในสังคม และทักษะในการสร้างสรรค์ทางออกใหม่ๆเพื่อการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
ธุรกิจเพื่อสังคมคืออะไร
ธุรกิจเพื่อสังคมคือองค์กรเอกชนมุ่งหวังผลกำไร ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิธีการทางธุรกิจเข้ามาบริหารจัดการตัวอย่างเช่น
ดอยตุง องค์กรที่ช่วยพัฒนาชุมชนชาวไทยภูเขา จากเดิมที่หาเลี้ยงชีพด้วยการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกฝิ่น ให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ ปลูกกาแฟ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านต่างๆแทน เมื่อดอยตุงลงทุนทางการตลาดนำผลผลิตเหล่านั้นไปขาย ดอยตุงจึงสามารถนำกำไรจากการขายดังกล่าวไปพัฒนาชุมชนชาวไทยภูเขาอย่างยั่งยืนได้
Toms ยี่ห้อรองเท้าชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ที่มีรูปแบบการทำธุรกิจแบบ One for One โดยที่รองเท้าหนึ่งคู่ที่ลูกค้าซื้อ ทางบริษัทจะบริจาครองเท้าอีกคู่หนึ่งให้กับเด็กด้อยโอกาสที่ไม่มีรองเท้าใส่
จะเห็นได้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมเช่นนี้ ยิ่งเติบโต ยิ่งมีกำไรมาก ก็จะสามารถขยายผลกระทบที่ดีต่อสังคมในวงกว้างได้มากขึ้นเท่านั้น
นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้ จะเป็นคนที่ใส่ใจและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นโดยใช้หลักการของการประกอบธุรกิจ
จุดเด่นของหลักสูตร
· ความเป็น “ผู้นำ” ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านGlobal Studies and Social Entrepreneurship ในระดับปริญญาตรีเป็นที่แรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหลักสูตรนี้ กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งฝั่งยุโรป และอเมริกา เช่น Harvard University, MIT, Stanford University และ Oxford University
· นักศึกษาจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แสดงความคิดทั้งในและนอกห้องเรียน ผ่านการทำโปรเจค การคิดค้นนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาสังคม และการอภิปรายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิด กล้าทำ และ กล้าแสดงออก
· คณาจารย์ของ GSSE ประกอบด้วยนักวิชาการ และนักปฏิบัติการจากมหาวิทยาลัย และองค์กรชั้นนำระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เช่นHarvard University, Columbia Medical School ,United Nations UNICEF, World Health Organization และ Boston Consulting Group, เป็นต้น โดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ (70%) จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้ง อเมริกา อังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อินเดีย ออสเตรเลีย และ ไทย
เรียนจบแล้วทำงานอะไร
GSSE มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีมุมมองที่เปิดกว้างและการที่หลักสูตร GSSEมีลักษณะเป็นสหสาขา นักเรียนที่จบจากหลักสูตรนี้จะเป็นGlobal Citizen ที่มีทักษะการบริหารจัดการ มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้แขนงต่างๆ มาบูรณาการและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก
บัณฑิตจาก GSSEจะมีทักษะที่เหมาะสมกับงานใน Impact Sectors เป็นอย่างมาก ทั้งองค์กรชั้นนำในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น United Nations, UNDP, PricewaterhouseCoopers (PWC), ปตทและเครือสยามซีเมนต์ (SCG) นอกจากนี้นักศึกษาGSSEยังจะได้รู้จักและได้ฝึกงานร่วมกับธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ (Social Enterprise Ecosystem) ทักษะจากการได้ลงมือทำงานจริงต่างๆเหล่านี้จะทำให้บัณฑิตจาก GSSE มีความพร้อมที่จะเริ่มธุรกิจเพื่อสังคมของตนเองโดยได้รับการสนับสนุนทั้งจาก GSSEองค์กร Ashoka Thailand และ สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (TSEO)
รายละเอียดเพิ่มเติมใน GSSE Impact Career: http://www.sgs.tu.ac.th/images/BA-Data/GSSE-CareerPack2.jpg
Admission Requirements
ผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรGSSE จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3. คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษ แนะนำ
· TOEFL iBT > 61
· IELTS > 5.5
· TU-GET > 500
· SAT Critical Reading > 400
GSSE จะประกาศผลผู้ติดสัมภาษณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ซึ่งการสอบสัมภาษณ์จะมีทั้ง การสอบข้อเขียน การวัดจากกิจกรรมกลุ่ม และการสัมภาษณ์เดี่ยว
(แนะนำให้ผู้สัมภาษณ์นำ portfolio ขนาดไม่เกิน 10 หน้า มาด้วย)
สมัครออนไลน์ที่: http://www.inbdbiz.com/sgs/
ข้อมูลเพิ่มเติม
A Day Magazine Interview: http://www.sgs.tu.ac.th/images/news-group/inside-news/GSSE_in_A_Day_Magazine.jpg
GSSE in the News: http://www.sgs.tu.ac.th/news-group
Facebook: www.facebook.com/GSSEThammasat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น