บทความนี้รวบรวมโดยคุณ [-_-]][][][] จากบทความ
และขอขอบคุณหลายๆความเห็นจากพี่ ๆ ใน pantip ทุกคน
เรียบเรียงใหม่โดย UniGang.com
ผมได้ลองรวบรวมข้อมูลมหาวิทยาลัยไทย (ของรัฐ) โดยเน้นเฉพาะมิติที่สามารถวัดได้โดยตรง เช่น จำนวนผล นศ. อาจารย์ เป็นต้น แล้วลองนำมาเรียงลำดับให้ดูครับ เผื่อที่ข้อมูลจะเล่าเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อน หรือแสดงให้เห็นข้อสังเกตที่ไม่เคยสังเกตได้ครับ มาดูกัน...
ปล. ส่วนเรื่องที่วัดเปรียบเทียบได้ยาก เช่น ความสวยงาม ชื่อเสียง ความเป็นที่รู้จัก บรรยากาศ ขอละไว้ก่อนนะครับ
งบประมาณแผ่นดิน
ในการดำเนินการบริหารงานมหาวิทยาลัย งบประมาณหลักมีสองส่วน ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน และ งบรายได้ (ค่าเทอม ค่าบริการวิชาการ งบวิจัยจากภายนอก ฯลฯ) ในตารางนี้แสดงงบประมาณแผ่นดินเท่านั้นครับ ไม่ได้รวมงบรายได้
ในการดำเนินการบริหารงานมหาวิทยาลัย งบประมาณหลักมีสองส่วน ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน และ งบรายได้ (ค่าเทอม ค่าบริการวิชาการ งบวิจัยจากภายนอก ฯลฯ) ในตารางนี้แสดงงบประมาณแผ่นดินเท่านั้นครับ ไม่ได้รวมงบรายได้
ข้อสังเกตคือ ม.มหิดล ได้รับงบประมาณแผ่นดินสูงที่สุด อาจเนื่องมาจากเป็นงบดำเนินการโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งของมหาวิทยาลัยนั่นเอง
ที่มาจาก
งบประมาณโดยสังเขป พ.ศ. 2554 http://www.mua.go.th/~budget/doc/budget_54.pdf
งบประมาณโดยสังเขป พ.ศ. 2554 http://www.mua.go.th/~budget/doc/budget_54.pdf
จำนวนนักศึกษา
ตัวเลขเหล่านี้รวมทุกวิทยาเขตนะครับ ใหญ่ที่สุดได้แก่ เกษตรศาสตร์ รองลงมาได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลานครินทร์ และบูรพา
ตัวเลขเหล่านี้รวมทุกวิทยาเขตนะครับ ใหญ่ที่สุดได้แก่ เกษตรศาสตร์ รองลงมาได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลานครินทร์ และบูรพา
ข้อมูลจาก สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ. ปี 2553
จำนวนอาจารย์
จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยใหญ่และเก่าแก่ของไทยล้วนมีจำนวนอาจารย์เกิน 2000 คน (เกษตร มหิดล จุฬาฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น) ในส่วนมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านศิลปะและการเมืองการปกครอง อย่าง ศิลปากรและ มธ. มีจำนวนอาจารย์น้อยกว่า แม้ว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเก่าแก่ก็ตาม
จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยใหญ่และเก่าแก่ของไทยล้วนมีจำนวนอาจารย์เกิน 2000 คน (เกษตร มหิดล จุฬาฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น) ในส่วนมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านศิลปะและการเมืองการปกครอง อย่าง ศิลปากรและ มธ. มีจำนวนอาจารย์น้อยกว่า แม้ว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเก่าแก่ก็ตาม
ข้อมูลจาก สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ. ปี 2553
แก้ไขเมื่อ 21 พ.ค. 55 07:31:42
ร้อยละอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
เป็นตัวบ่งชี้ศักยภาพการวิจัยของอาจารย์ได้ โดยมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มที่มีดัชนีตัวนี้สูงกว่าด้านศิลปะ ห้าอันดับแรกได้แก่ สุรนารี มหิดล จุฬาฯ บางมด และเชียงใหม่
เป็นตัวบ่งชี้ศักยภาพการวิจัยของอาจารย์ได้ โดยมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มที่มีดัชนีตัวนี้สูงกว่าด้านศิลปะ ห้าอันดับแรกได้แก่ สุรนารี มหิดล จุฬาฯ บางมด และเชียงใหม่
ข้อมูลจาก สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ. ปี 2553
จำนวนบทความวิชาการ
เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนอาจารย์มากและสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนบทความวิชาการต่อปีมากกว่า
สังเกตได้ว่า 10 อันดับแรกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง
เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนอาจารย์มากและสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนบทความวิชาการต่อปีมากกว่า
สังเกตได้ว่า 10 อันดับแรกเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง
ตัวเลขในตารางนี้ได้มาจากจำนวนบทความที่ปรากฏในฐานข้อมูล SCOPUS ในปี 2010 ครับ
จำนวนบทความตีพิมพ์ต่ออาจารย์
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีจำนวนอาจารย์ตั้งแต่ 3000 คน ไปจนถึงไม่กี่ร้อยคน ดังนั้นหากนำจำนวนบทความหารด้วยจำนวนอาจารย์ ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ ห้าอันดับแรกได้แก่ สุรนารี บางมด ลาดกระบัง จุฬาฯ มหิดล
ข้อสังเกตคือสามอันดับแรกเป็นสถาบันเฉพาะทางเทคโนโลยีทั้งสิ้น
10 อันดับแรก เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง ดูมาหลายตาราง ผมคิดว่า ลาดกระบัง สมควรเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติครับ ติดเพียง %ดร. ไม่ถึง 40% ตามที่ปรากฏในข่าวเมื่อสองสามปีก่อน
ข้อสังเกตคือสามอันดับแรกเป็นสถาบันเฉพาะทางเทคโนโลยีทั้งสิ้น
10 อันดับแรก เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง ดูมาหลายตาราง ผมคิดว่า ลาดกระบัง สมควรเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติครับ ติดเพียง %ดร. ไม่ถึง 40% ตามที่ปรากฏในข่าวเมื่อสองสามปีก่อน
ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำหรือเรียนต่อ
อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ได้มาจากเวปไซต์ สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ.
ห้าอันดับแรกได้แก่ สุรนารี มหิดล จุฬาฯ บางมด ลาดกระบัง
ห้าอันดับแรกได้แก่ สุรนารี มหิดล จุฬาฯ บางมด ลาดกระบัง
อัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์
เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าห้องเรียนในมหาวิทยาลัยจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าใด (ยิ่งน้อยยิ่งดี) ห้าอันดับแรกได้แก่ มหิดล จุฬาฯ มศว. เชียงใหม่ สงขลา
เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าห้องเรียนในมหาวิทยาลัยจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าใด (ยิ่งน้อยยิ่งดี) ห้าอันดับแรกได้แก่ มหิดล จุฬาฯ มศว. เชียงใหม่ สงขลา
จำนวนอาจารย์ จำแนกตามตำแหน่งวิชาการครับ
อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐของไทย จำแนกตามคุณวุฒิ
ข้อมูลจาก สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ.
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2554
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2554
ในตอนต้นผมไม่ได้รวม มหาวิทยาลัยเปิด (รามฯ, มสธ.) มหาวิทยาลัยชุมชน (นครพนม, นราธิวาส) นิด้า ไว้ เนื่องจากมีโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการค่อนข้างแตกต่างจากในกลุ่มที่เสนอไปพอสมควร เช่น มสธ. มีนักศึกษานับแสนคน, NIDA มีอาจารย์คุณวุฒิสูงมากเพราะสอนแต่ระดับปริญญาโทเอก เป็นต้น แต่เมื่อมีผู้สนใจ ผมจึงนำมารวมไว้ในตารางนี้นะครับ
Unigang ปล มหาวิทยาลัยเอกชน ผมว่าข้อมูลอาจจะไม่ตรงสักทีเดียว เพราะบางครั้ง ม.เอกชนขนาดเล็ก จะดึงอาจารย์จาก มอื่น ๆ มาสอนด้วยครับ
จำนวนนักศึกษา จำแนกตามเพศของแต่ละมหาวิทยาลัยครับ
ที่มา: สารสนเทศอุดมศึกษา สกอ.
http://www.info.mua.go.th/information/index.php
ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2555
http://www.info.mua.go.th/information/index.php
ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2555
ข้อสังเกต
- ภาพรวม มีนักศึกษาหญิงมากกว่าชายพอสมควร 60.5 : 39.5 ไม่ใช่เรื่องที่รู้สึกไปเอง แต่ข้อมูลจาก CIA - The World Factbook ระบุว่า
Sex ratio
at birth: 1.05 male(s)/female
under 15 years: 1.05 male(s)/female
15-64 years: 0.98 male(s)/female
65 years and over: 0.82 male(s)/female
total population: 0.98 male(s)/female (2012 est.)
ที่มา
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
ผู้ชายหายไปไหนกันหมด...???
- ภาพรวม มีนักศึกษาหญิงมากกว่าชายพอสมควร 60.5 : 39.5 ไม่ใช่เรื่องที่รู้สึกไปเอง แต่ข้อมูลจาก CIA - The World Factbook ระบุว่า
Sex ratio
at birth: 1.05 male(s)/female
under 15 years: 1.05 male(s)/female
15-64 years: 0.98 male(s)/female
65 years and over: 0.82 male(s)/female
total population: 0.98 male(s)/female (2012 est.)
ที่มา
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
ผู้ชายหายไปไหนกันหมด...???
- มีเพียง 4 มหาวิทยาลัย/สถาบัน ที่มีนักศึกษาชายมากกว่าหญิง ล้วนเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันเทคโนโลยีทั้งสิ้น (บางมด ลาดกระบัง พระนครเหนือ สุรนารี)
- มหาวิทยาลัยที่มีร้อยละนักศึกษาหญิงมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยที่มีร้อยละนักศึกษาชายมากที่สุดคือ มจพ.
- มหาวิทยาลัยที่มีร้อยละนักศึกษาหญิงมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยที่มีร้อยละนักศึกษาชายมากที่สุดคือ มจพ.
ตารางรวมครับ ข้อมูลของ ม.พะเยา ยังไม่สมบูรณ์ครับ กดขยายภาพได้
ข้อมูลที่ระบุว่ามาจาก สารสนเทศอุดมศึกษา มาจากเวปไซต์ของ สกอ. ครับ
http://www.info.mua.go.th/information/index.php
ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการที่แต่ละมหาวิทยาลัยส่งข้อมูลให้กับ สกอ. ซึ่งชุดข้อมูลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดคือปี 2553 (2554 ยังขาดหลายมหาวิทยาลัย) สำหรับภาวะการมีงานทำมาจากปี 2552
http://www.info.mua.go.th/information/index.php
ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการที่แต่ละมหาวิทยาลัยส่งข้อมูลให้กับ สกอ. ซึ่งชุดข้อมูลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดคือปี 2553 (2554 ยังขาดหลายมหาวิทยาลัย) สำหรับภาวะการมีงานทำมาจากปี 2552
ข้อมูลจำนวนบทความสืบค้นจากฐานข้อมูล SCOPUS เมื่อปลายปี 2011 โดยระบุปีที่ต้องการสืบค้นคือ 2010 หากสืบค้น ณ วันนี้ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ไม่มากครับ อนึ่งฐานข้อมูลบทความตีพิมพ์อื่นก็มี เช่น ISI web of science เป็นต้น ซึ่งไม่ได้นำมาเสนอในที่นี้ ดูเพิ่มเติมได้ใน (จะเห็นได้ว่าตัวเลขคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย ขึ้นกับวันเวลาที่สืบค้น)
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/12/K11422209/K11422209.html
หากผู้ใช้ต้องการนำไปอ้างอิงควรสืบค้นด้วยตนเองเพื่อให้ได้ตัวเลขล่าสุด และควรใช้คำค้นที่เหมาะสมครับ
กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยรวม เนื่องจากมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องนำมารวม ท่านที่สนใจควรสืบค้นหาอันดับที่มีการจัดไว้แล้วโดยหลายสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น