พลาดแอดมิชชันไม่ต้องเสียใจ นายก สสอท.เผยสถาบันอุดมศึกษา ม.เอกชน 60 แห่ง เปิดรับ นศ.1 แสนกว่าคน ด้าน “กำจร” ย้ำ นักเรียนตรวจสอบหลักสูตรที่จะเข้าเรียนว่ามีคุณภาพ และผ่านการรับรองจาก สกอ.ก่อนเลือกเรียน
ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ในฐานะนายกรับเลือกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง (สสอท.) กล่าวว่า สำหรับนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2555 ที่ประกาศผลไปแล้วนั้น ไม่ต้องเสียใจ เพราะขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาอีกจำนวนมากที่เปิดรับนักศึกษา ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้น มั่นใจได้ว่าคุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐบาล มีการดูแล การเรียนการสอน อุปกรณ์ สภาพแวดล้อมที่ไม่แตกต่าง รวมถึงมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักศึกษา โดยหากนักศึกษาสนใจสามารถติดต่อไปยังสถาบันต่างๆ ได้โดยตรง
โดยขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มได้อีกจำนวนมาก รวมทั้งสิ้น 60 สถาบัน รับจำนวน 103,537 คน ดังนี้ ม.กรุงเทพ 7,498 คน ม.เกริก 522 คน ม.เกษมบัณฑิต 3,687 คน ม.จัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 1,177 คน ม.กรุงเทพธนบุรี 1,402 คน ม.คริสเตียน 654 คน ม.เจ้าพระยา 367 คน ม.ชินวัตร 150 คน ม.เซนต์จอห์น 197 คน ม.เทคโนโลยีมหานคร 1,925 คน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 4,991 คน ม.ธนบุรี 1,430 คน ม.นอร์ทกรุงเทพ 1,229 คน ม.นอร์ท-เชียงใหม่ 814 คน ม.นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 193 คน ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด466 คน ม.ปทุมธานี 1,683 คน ม.พายัพ 1,505 คน ม.พิษณุโลก 452 คน ม.ฟาร์อีสเทอร์น 902 คน ม.ภาคกลาง 100 คน ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,691 คน ม.เนชั่น 264 คน ม.รังสิต 7,795 คน ม.รัตนบัณฑิต 4,257 คน ม.ราชธานี 657 คน ม.วงษ์ชวลิตกุล 1,087 คน ม.เว็บสเตอร์ 75 คน ม.เวสเทิร์น 1,340 คน ม.ศรีปทุม 6,273 คน ม.สยาม 3,902 คน ม.หอการค้าไทย 4,637 คน ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,158 คน ม.หาดใหญ่1,961 คน ม.อัสสัมชัญ รับ 4,033 คน ม.อีสเทิร์นเอเชีย 849 คน
ม.เอเชียอาคเนย์ 3,539 คน ม.อิสลามยะลา 1,540 คน วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 1,000 คน วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 1,611 คน วิทยาลัยกาญจนาระยอง 671 คน วิทยาลัยเชียงราย 189 คน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 212 คน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2,887 คน วิทยาลัยดุสิตธานี 881 คน วิทยาลัยตาปี 535 คน วิทยาลัยทองสุข 267 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 464 คน วิทยาลัยนครราชสีมา 382 คน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา 298 คน วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 753 คน วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ 34 คน วิทยาลัยราชพฤกษ์ 1,802 คน วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง 333 คน วิทยาลัยสันตพล 750คน วิทยาลัยแสงธรรม 60 คน วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง 410 คน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,319 คน สถาบันรัชต์ภาคย์ 597 คน และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 980 คน
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า หลังจากที่สมาคมอธิการบดี (สอท.) ประกาศผลแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2555 ไปแล้ว จะมีนักเรียนที่พลาดหวังจากการแอดมิชชัน และต้องหาที่เรียนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) รวมถึงมหาวิทยาลัยเปิดที่มีคุณภาพ ที่จะสามารถรองรับนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ และคิดว่า ทุกคนจะมีที่เรียนแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเลือกสมัครเข้าเรียน ขอย้ำให้นักเรียนตรวจสอบหลักสูตรที่จะเข้าเรียนว่า มีคุณภาพและผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือไม่ โดยเฉพาะหลักสูตรที่เปิดสอนนอกสถานที่ตั้ง ซึ่งที่ผ่านมาจากการตรวจสอบ พบว่า หลายแห่งยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งหลักสูตรและคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ ส่วนของมหาวิทยาลัยเอง หากไม่แน่ใจสามารถสอบถามได้ที่ สกอ.โดยตรง แต่ขณะนี้เชื่อว่าหลายแห่งเริ่มปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานมากขึ้นแล้ว และตามนโยบายของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ชัดเจนว่า หากพบว่ามหาวิทยาลัยใดจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้นักศึกษาได้รับความเดือดร้อน จะดำเนินการตามกฎหมายทันที
ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ในฐานะนายกรับเลือกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง (สสอท.) กล่าวว่า สำหรับนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2555 ที่ประกาศผลไปแล้วนั้น ไม่ต้องเสียใจ เพราะขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาอีกจำนวนมากที่เปิดรับนักศึกษา ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้น มั่นใจได้ว่าคุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐบาล มีการดูแล การเรียนการสอน อุปกรณ์ สภาพแวดล้อมที่ไม่แตกต่าง รวมถึงมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักศึกษา โดยหากนักศึกษาสนใจสามารถติดต่อไปยังสถาบันต่างๆ ได้โดยตรง
โดยขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มได้อีกจำนวนมาก รวมทั้งสิ้น 60 สถาบัน รับจำนวน 103,537 คน ดังนี้ ม.กรุงเทพ 7,498 คน ม.เกริก 522 คน ม.เกษมบัณฑิต 3,687 คน ม.จัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 1,177 คน ม.กรุงเทพธนบุรี 1,402 คน ม.คริสเตียน 654 คน ม.เจ้าพระยา 367 คน ม.ชินวัตร 150 คน ม.เซนต์จอห์น 197 คน ม.เทคโนโลยีมหานคร 1,925 คน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 4,991 คน ม.ธนบุรี 1,430 คน ม.นอร์ทกรุงเทพ 1,229 คน ม.นอร์ท-เชียงใหม่ 814 คน ม.นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 193 คน ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด466 คน ม.ปทุมธานี 1,683 คน ม.พายัพ 1,505 คน ม.พิษณุโลก 452 คน ม.ฟาร์อีสเทอร์น 902 คน ม.ภาคกลาง 100 คน ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,691 คน ม.เนชั่น 264 คน ม.รังสิต 7,795 คน ม.รัตนบัณฑิต 4,257 คน ม.ราชธานี 657 คน ม.วงษ์ชวลิตกุล 1,087 คน ม.เว็บสเตอร์ 75 คน ม.เวสเทิร์น 1,340 คน ม.ศรีปทุม 6,273 คน ม.สยาม 3,902 คน ม.หอการค้าไทย 4,637 คน ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,158 คน ม.หาดใหญ่1,961 คน ม.อัสสัมชัญ รับ 4,033 คน ม.อีสเทิร์นเอเชีย 849 คน
ม.เอเชียอาคเนย์ 3,539 คน ม.อิสลามยะลา 1,540 คน วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 1,000 คน วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 1,611 คน วิทยาลัยกาญจนาระยอง 671 คน วิทยาลัยเชียงราย 189 คน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 212 คน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2,887 คน วิทยาลัยดุสิตธานี 881 คน วิทยาลัยตาปี 535 คน วิทยาลัยทองสุข 267 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 464 คน วิทยาลัยนครราชสีมา 382 คน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา 298 คน วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 753 คน วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ 34 คน วิทยาลัยราชพฤกษ์ 1,802 คน วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง 333 คน วิทยาลัยสันตพล 750คน วิทยาลัยแสงธรรม 60 คน วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง 410 คน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,319 คน สถาบันรัชต์ภาคย์ 597 คน และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 980 คน
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า หลังจากที่สมาคมอธิการบดี (สอท.) ประกาศผลแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2555 ไปแล้ว จะมีนักเรียนที่พลาดหวังจากการแอดมิชชัน และต้องหาที่เรียนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) รวมถึงมหาวิทยาลัยเปิดที่มีคุณภาพ ที่จะสามารถรองรับนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ และคิดว่า ทุกคนจะมีที่เรียนแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเลือกสมัครเข้าเรียน ขอย้ำให้นักเรียนตรวจสอบหลักสูตรที่จะเข้าเรียนว่า มีคุณภาพและผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือไม่ โดยเฉพาะหลักสูตรที่เปิดสอนนอกสถานที่ตั้ง ซึ่งที่ผ่านมาจากการตรวจสอบ พบว่า หลายแห่งยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งหลักสูตรและคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ ส่วนของมหาวิทยาลัยเอง หากไม่แน่ใจสามารถสอบถามได้ที่ สกอ.โดยตรง แต่ขณะนี้เชื่อว่าหลายแห่งเริ่มปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานมากขึ้นแล้ว และตามนโยบายของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ชัดเจนว่า หากพบว่ามหาวิทยาลัยใดจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้นักศึกษาได้รับความเดือดร้อน จะดำเนินการตามกฎหมายทันที
Credit Manager.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น