วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

10 อันดับของมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ

จะพิจารณาจากด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านคุณภาพการสอน จำนวนนักเรียนและอาจารย์ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม ความทันสมัยและเพียงพอของอุปกรณ์ หลักสูตรการเรียน กิจกรรม การสนับสนุน ความสะดวกการใช้บริการต่างๆ ทุนการศึกษา ความคุ้มค่าและประโยชน์กับค่าลงทะเบียน ผลงานวิจัย ความเชื่อมั่น ชื่อเสียง การยอมรับจากองค์กรต่างๆ
10  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2479 เริ่มตั้งเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม” โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม รับเฉพาะนักเรียนหญิง เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้รับการสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทยมีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง

8 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ตั้งอยู่เลขที่ 439 ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เยื้องศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ บนเนื้อที่ 297 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา เดิมที่ดินแปลงนี้กองทัพอากาศใช้เป็นสนามบิน เมื่อเลิกใช้แล้วกองทัพอากาศก็ยกที่ดินส่วนทางด้านทิศตะวันตกให้หน่วย ปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์และสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท บุรีรัมย์ ส่วนด้านทิศตะวันออกได้มอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อเป็นสถานที่ตั้งของ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์



7 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เริ่มก่อตั้งจากโรงเรียน ลวะศรีในปีพ.ศ. 2463 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีในปีพ.ศ.2547



6 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" โดยเปิดสอนในสาขาวิชาครุศาสตร์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2528 ได้เพิ่มการเรียนการสอนในสาขาอื่น ๆ นอกจากครุศาสตร์ และได้รวมกับกลุ่มวิทยาลัยครูทางภาคใต้ 5 แห่ง จัดตั้ง "สหวิทยาลัยทักษิณ" โดยมีสำนักงานของสหวิทยาลัยครูอยู่ที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี" และยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา



5 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีประวัติค่อนข้างยาวนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2464 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้ เรียนหนังสือ ความต้องการครูเพิ่มขึ้น มณฑล พิษณุโลก จึงผลิตครูโดย เพิ่มหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นในโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก “พิษณุโลกพิทยาคม” ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6เมื่อสำเร็จ แล้ว ทางราชการจะบรรจุให้เข้ารับราชการครูทันทีได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครู มูล




4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษมได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 เดิมเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ตั้งอยู่ในเขตวัง จันทรเกษม บนถนนราชดำเนิน และได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2501 ปรับการเรียนการสอนจากประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ได้ย้ายจากสถานที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ซอยสังขะวัฒนะ 2 (ซอยลาดพร้าว 23) ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยครูจันทรเกษม” ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานสถาบันการศึกษาดีเด่นระดับอุดมศึกษา จากกระทรวง ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามใหม่เป็น “สถาบันราชภัฏจันทรเกษม” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสังคมในทุกสถานการณ์ คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับจากสังคมอย่างภาคภูมิ

 


3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 โดยได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยน สถาบันมาโดยลำดับ เป็นระยะเวลากว่า 74 ปี
 



2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดาและเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดอยู่ 6 ตำหนัก เนื่องจากมีผู้นำบุตรีและหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดาเป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้างโรงเรียนนิภาคารสอนตามหลักสูตรการศึกษาสมัยนั้น รวมทั้งอบรมมารยาทและการฝีมือด้วยดำเนินกิจการไปโดยปริยาย พ.ศ. 2480 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีลงมติให้ใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา ของรัฐกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน


 

1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กว่า 60 ปีมาแล้วที่ “โรงเรียนการเรือน” ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยราชดำริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้ตระเตรียมความชำนาญให้แก่สตรีในยุคนั้น และในขณะเดียวกัน ก็เตรียมให้พวกเธอได้นำความรู้มาใช้ในการสอนด้วย หลายพันครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็เนื่องมาจากการมาเรียนที่โรงเรียนการเรือนแห่งนี้ นักศึกษาและคณาจารย์ทุกท่านภูมิใจในความสำเร็จที่ผ่านมา จากโรงเรียนการเรือนในสมัยนั้น ซึ่งได้พัฒนาการศึกษาเรื่อยมา จนเป็น “วิทยาลัยครูสวนดุสิต” และจึงมาเป็น “สถาบันราชภัฎสวนดุสิต” ใน ปัจจุบัน อนุบาลละอออุทิศ เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดสอนมาแล้วกว่า 50 ปี และเป็นโรงเรียนที่รับเด็กการศึกษาพิเศษ (เด็กที่มีความพิการทางหู ตา และสมอง) ในระดับอนุบาล เพื่อให้ได้เรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไป (Leaning Disability หรือ L.D.)

 

Credit  http://toptenthailand.com/display.php?id=2089

ไม่มีความคิดเห็น: