วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปผล Admissions 2554

สรุปผล Admissions 2554

สถาบันที่ร่วมการคัดเลือกปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนรับและจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ประจำปี 2553
พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 15 % คือ จำนวนรับนักศึกษาในปี 2554

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัด/กำกับสกอ. รวม 82,292 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 74,523

แบ่งเป็น
มหาวิทยาลัย/สถาบัน 24 แห่ง
จำนวนรับ 59,075 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 61,921 คน

ม.ราชภัฎและม.ราชมงคล จำนวนรับ 23,217 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 12,602 คน

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดหน่วยงานอื่น จำนวนรับ 3,550 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 477 คน

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวนรับ 36,920 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 3,096 คน

ส่วนในปี 2553 มีจำนวนรับทั้งสิ้น 121,266 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ รวมทั้งสิ้น 70,003 คน
ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัด/กำกับสกอ.รวม จำนวนรับ80,551 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 67,133คน แบ่งเป็น มหาวิทยาลัยสถาบัน 24 แห่ง จำนวนรับ 51,538 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 55,962คน ม.ราชภัฎ/ม.ราชมงคล จำนวนรับ 29013 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 11,171 คน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดหน่วยงานอื่น จำนวนรับ 3,965 คน
ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 324 คน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวนรับ 36,750 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 2,546 คน

คณะ/สาขาวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 10 อันดับแรก ในปีการศึกษา 2554 ได้แก่
1 คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์จำนวนรับ 50 คน จำนวนผู้สมัคร 3,032 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:61 คน,
2.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ,อุตสาหกรรม,เคมี,เครื่องกล,คอมพิวเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์ รับ 280 คน ผู้สมัคร 2,449 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:9 ,
3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับ 450 คน ผู้สมัคร 1,975 คน คิดเป็นสัดส่วน1:4 ,
4.คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รับ 245 คน ผู้สมัคร 1,884 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:8 ,
5.คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ รับ 60 คน ผู้สมัคร 1,781 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:30
6.คณะวารสารศาสตร์สื่อสารมวลชน พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ม.ธรรมศาสตร รับ 200 คน ผู้สมัคร 1,767 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:9 ,
7.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ ม.ศิลปากร รับ 350 คนผู้สมัคร 1,689 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:5
8.คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกาชาดไทย รับ 60 คน ผู้สมัคร 1,617 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:27,
9 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีวเคมี ม.เกษตรศาสตร์ รับ 35 คนผู้สมัคร 1,578 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:45 และ
10. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนาร รับ 780 คน ผู้สมัคร 1,514 คน คิดเป็นสัดส่วน 1:2

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก "สอท.ประกาศผลแอดมิชชั่นส์ ประจำปี 54" 

ผลการจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking 2011 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย


ข้อมูลจาก http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2011

Rank
School Name
Country
Score
1
Hong Kong
100.00
2
Hong Kong
99.80
3
Singapore
99.30
4
Japan
97.40
5
Hong Kong
97.20
6
Korea, South
96.90
7
Japan
96.30
8
Japan
96.09
9=
Japan
94.30
9=
Japan
94.30
34
Thailand
77.09
47
Thailand
69.90
67=
Thailand
56.70
88
Thailand
51.60
95
Thailand
48.90

จิตแพทย์กับนักจิตวิทยาต่างกันตรงไหน



นักจิตวิทยาไม่ใช่แพทย์ ส่วนแพทย์ที่รักษาเฉพาะทางด้านจิตเวชนั้น คือ จิตแพทย์

จิตแพทย์เป็นสาขาเฉพาะทางอย่างหนึ่งของแพทยศาสตร์ หรือหมอตามที่เข้าใจกันทั่วไป คนที่จะเป็นจิตแพทย์ต้องจบคณะแพทย์ ซึ่งเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพของมนุษย์ เรื่องเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หัวใจ ระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ โดยหลังจากที่จบปริญญาตรีจากแพทย์แล้ว จึงค่อยมาต่อเฉพาะทางเกี่ยวกับจิตประสาท โดยจิตแพทย์จะศึกษาโครงสร้างของ สมอง และระบบประสาทนั่นเอง

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคจิต นั้น ก็เป็นหน้าที่ของจิตแพทย์นี่เองที่เป็นผู้รักษา โรคจิตส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความผิดปกติของสมอง เช่น ความผิดปกติของสารเคมี ซึ่งเป็นความผิดปกติทางกายภาพ หน้าที่ของจิตแพทย์จึงเป็นการบำบัดทางยา ให้สมองและระบบประสาทคืนสู่ภาวะปกติ

ส่วนนักจิตวิทยานั้น จบจากคณะจิตวิทยาหรือคณะชื่ออื่นๆที่เป็นสาขาจิตวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและความคิดของมนุษย์ เช่น การกิน การสื่อสาร การนอน ความรัก อารมณ์ ฯลฯ เกิดขึ้นจากอะไร มีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเหล่านี้ ที่สำคัญคือจิตวิทยาศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม ไม่ได้เจาะจงไปถึงกลไกทางกายภาพเช่นเดียวกับแพทย์

จิตวิทยามีหลายสาขา และไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาลทั้งหมด บางสาขาอยู่กับองค์กรต่าง ๆ ในแผนกทรัพยากรบุคคล (Human Resource นิยมเรียกกันว่า HR) บางสาขาเป็นนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยการตลาด บางสาขาอยู่ในโรงเรียน ส่วนสาขาที่ทำงานร่วมกับแพทย์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิก และจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งทำหน้าที่ต่างกับจิตแพทย์โดยนักจิตวิทยามีวิธีการบำบัดที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ ยา เช่น การปรึกษา และการปรับพฤติกรรม

อย่างไรก็ตามแม้จะต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมอยู่บ้าง เช่น จิตแพทย์ต้องมีความรู้จิตวิทยาในบางส่วนเช่นกัน และนักจิตวิทยาบางสาขาก็เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของสรีระมนุษย์

นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องเกี่ยวกับนักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่า รักษาเฉพาะ “คนบ้า” ซึ่งความเป็นจริงแล้ว อาการที่ผิดปกติเกี่ยวกับทั้งพฤติกรรม และระบบประสาท มิได้มีแค่อาการในลักษณะของ จิตเภท หรือ “บ้า” เพียงอย่างเดียว คนปกติในบางครั้งก็ต้องพึ่งการบำบัดจากนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เช่นกัน

ดังนั้น นักจิตวิทยาต่างจากจิตแพทย์ตรงที่ นักจิตวิทยานั้นเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม ความนึกคิดของมนุษย์ โดยที่ไม่ได้เจาะลึกทางด้านพยาธิสภาพทางสมองมากเท่ากับจิตแพทย์ (ที่เรียนจบแพทยศาสตร์ แล้วเรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวช) แม้ว่าจะมีบางสาขาวิชาทางจิตวิทยาที่เรียนเน้นเรื่องการทำงานของสมองที่มีผลต่อพฤติกรรม เช่น สาขา neuropsychology, biological psychology เป็นต้น 
สาขาจิตวิทยานั้นมีมากมายหลายสาขา แต่ในประเทศไทย สาขาที่ทำงานเกี่ยวกับคนไข้จิตเวชโดยตรง คือ สาขาจิตวิทยาคลินิก ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาจิตวิทยาสาขาเดียวในประเทศไทยที่มีการสอบเพื่อเอาใบประกอบโรคศิลป์ และผู้ที่ได้รับใบประกอบโรคศิลป์นี้ จะถูกเรียกว่า นักจิตวิทยาคลินิก 

พระราชกฤษฎีกา ปี 2546 ได้กำหนดความหมายของ จิตวิทยาคลินิก ดังนี้ “การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดความผิดปกติทางจิต อันเนื่องจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ ระดับเชาวน์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรม การปรับตัว ความเครียดหรือพยาธิสภาพทางสมอง รวมทั้งการวิจัย การส่งเสริมและประเมินภาวะสุขภาพทางจิตด้วยวิธีการเฉพาะทางจิตวิทยาคลินิก หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทดสอบทางจิตวิทยาคลินิก ที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางจิตวิทยาคลินิก“

นักจิตวิทยาคลินิกทำหน้าที่ต่างจากจิตแพทย์ตรงที่ จิตแพทย์สามารถจ่ายยาให้คนไข้จิตเวชได้ ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกในเมืองไทยทำไม่ได้ (เพราะไม่ใช่หมอ) จิตแพทย์จะรักษาคนไข้โดยเน้นเรื่องของพยาธิสภาพของสมองเป็นสำคัญ ส่วนนักจิตวิทยาคลินิกจะช่วยเหลือคนไข้โดยการพูดคุยเรียกว่าการทำจิตบำบัด แต่จิตแพทย์บางท่านก็เน้นการบำบัดคนไข้โดยการพูดคุยด้วยเช่นกัน หน้าที่ของนักจิตวิทยาคลินิกที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในประเทศไทย คือ การทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา (ซึ่งจิตแพทย์ทำไม่ได้) จะทำหน้าที่คล้ายๆ เป็นห้อง lab ส่งผลตรวจทางจิตวิทยาให้จิตแพทย์เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคอีกทีหนึ่ง โดยผลจากแบบทดสอบทางจิตวิทยาจะสามารถช่วยบ่งชี้ได้ว่าคนไข้ป่วยอย่างไร มีแนวโน้มเป็นโรคอะไร (ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ สอบถามอาการคนไข้) โดยรวมแล้วนักจิตวิทยาคลินิกและจิตแพทย์ต้องทำงานประสานกันในการช่วยเหลือคนไข้

สำหรับที่เนเธอร์แลนด์นั้น กว่าจะได้ชื่อว่าเป็นนักจิตวิทยาคลินิก ต้องเรียนต่อเพิ่มเติมหลังจากจบปริญญาโทด้านจิตวิทยาคลินิกอีกห้าถึงหกปี (ซึ่งมีการแข่งขันสูงเพราะจำกัดจำนวนคนเรียนต่อปี) โดยที่สองปีแรกนั้นเรียนเพื่อให้จบเป็น GZ-psycholoog หรือ Gezonheidszorgpsycholoog ในภาษาดัชต์ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็จะประมาณ ‘นักจิตวิทยาดูแลสุขภาพ’ หลังจากได้เป็น GZ-psycholoog แล้วก็เรียนต่ออีกสามถึงสี่ปีเพื่อเป็น ‘นักจิตวิทยาคลินิก’ นักศึกษาที่จบปริญญาโททางด้านจิตวิทยาคลินิกที่เนเธอร์แลนด์จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นนักจิตวิทยาคลินิกโดยอัตโนมัติ แต่เป็นเพียงแค่นักจิตวิทยาเฉยๆ ซึ่งนักจิตวิทยาที่นี่จะต้องมีการลงทะเบียนเพื่อเป็นนักจิตวิทยาอย่างถูกต้อง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.psychola.com/wordpress/allblog/study/are-psychologist-is-docto/ 
 

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ

รวมเทคนิคการอ่านหนังสือสอบมาฝากค่ะ
เป็นเทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีเยี่ยม ต้องใช้เวลาเตรียมตัว และปฏิบัติตามอย่างน้อย 1 เดือน … แต่นี่เด็ก ๆจะสอบแล้ว อาจจะช้าไปนิด แต่ไม่ถึงกับสายเกินไป ลองทำดูค่ะ
1 .เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ อาทิเช่น ต้องเลิกเที่ยว เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะอ่านหนังสือได้ดีเห็นผล
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเป็นพนักงานบัญชี ในระดับสูง จะได้มีเงินเดือนสูงๆ มีเวลามากพอไปเที่ยว ไปพักผ่อน ได้รับการยอมรับในสังคม อะไรทำนองนี้ เขียนติดเป็นป้ายบอก หรือมีภาพประกอบด้วยได้ยิ่งดีเลย เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ และแนะนำค่ะว่าในแต่ละวิชา เด็ก ๆ ควรมีหนังสือหลัก 1 เล่ม และหนังสือประกอบอีกสัก 2-3 เล่มนะคะ เพื่อให้ได้เนื้อหาครบถ้วนและโชคดีอ่านเจอหนังสือดีๆ ที่ทำให้เราอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือมีโจทย์ ตรงตามข้อสอบเลยก็ได้
เตรียม ดินสอ ยางลบ ปากกา ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายสี ถ้ามีเงินก็ลงทุนซื้อ ๆมาเถอะค่ะ เวลาเขียนอาจจะมีความสุขกับสีสันที่มากขึ้น ปากกาเน้นข้อความ ตลอดจนสมุดจด บางคนเลือกเอาประเภทที่น่าเขียน น่าเก็บไว้อ่านก็ได้ค่ะ
อาจหาอาจารย์ติว (ไม่ใช่ครูนะคะ เพราะไม่มีเวลาค่ะ) หาเพื่อนคนเก่งๆ ก็บอกกับเค้าล่วงหน้าหน่อย ให้เข้าได้เตรียมตัว หรือหาเพื่อนสนิทให้ช่วยเป็นกำลังใจ ว่าเขาว่าเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย และเตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน หรือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เริ่มต้นการทำสิ่งที่เราชอบจะมีโอกาสสำเร็จ เห็นผลดีมากกว่า ถ้าเด็กทำได้ดี เห็นผล ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้อ่านวิชาอื่นๆ ต่อไป และจะดีที่สุดหากมีการสรุปสาระสำคัญใส่สมุดเล่มเล็ก ๆ หรือกระดาษอะไรก็ได้ เพื่อให้สะดวกแก่การพกพา การสรุปจะน่าอ่านมากยิ่งขึ้นถ้าเราทำด้วยความเข้าใจ และตั้งใจ ถ้าทำเป็นMind Mapping ได้ก็จะช่วยให้อ่านง่ายขึ้น ใส่รูปแบบ ลูกเล่น ที่น่าสนใจ น่าอ่าน นอกจากเวลาอ่านจะได้ความรู้ แล้วยังได้ความภาคภูมิใจในผลงานเราด้วยนะคะ
เวลาอ่านถ้ามีแนวข้อสอบก็ทำข้อสอบไปด้วย ถ้าไม่มีอย่างง่ายสุด ก็ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง !!!
แล้วจะทำได้ไง ??? ไม่ยากค่ะ วิธีการคือ อ่านทุกครั้งเมื่อที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
6. ตรวจผลของการอ่าน ดูได้จากการที่ว่า ทำข้อสอบ หรือการบ้านได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ ขอแนะนำว่า ในการตรวจสอบผลงานให้ทำทุก ๆ ระยะ เช่นทุกครั้งที่จบหัวข้อ ก็หาข้อสอบหรือแบบฝึกหัดทำตรวจสอบความรู้กันเลย หรือถ้าไม่มีแบบฝึกหัด ก็หลับตานึกทบทวนเรื่องที่เพิ่งอ่านจบว่ามีอะไรบ้าง ถ้าตอบตัวเองได้ครบถ้วน ถือว่าผลงานดีแล้ว ทำข้อสอบได้แน่ค่ะ
7. อ่านจริงจังเมื่อเข้าสู่ 1 สัปดาห์ก่อนสอบ หยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป
และก็กลัยมาอ่านวิชาที่จะสอบในวันพรุ่งนี้ก่อน 1 วัน การอ่านรอบนี้เป็นการอ่านเพื่อทบทวนในความแม่นย่ำ หรือเพิ่มความแม่นย่ำแล้วหล่ะค่ะเพราะอย่างน้อยก็เป็นรอบที่ 3 ของเราแล้ว บางคนอาจเลือกอ่านเฉพาะที่จดบันทึกสำคัญ ๆ ไว้ ก็ได้ค่ะ หรือบางคนอาจจะใช้วันนี้ในการเก็งข้อสอบ ก็จะฝึกความแม่นย่ำตรงจุดที่คิดว่าจะออกเป็นพิเศษ เพื่อที่ว่าเวลาทำข้อสอบจะได้ทำได้เร็วมากขึ้น สิ่งสำคัญอย่าหักโหมใส่ความรู้จนเกินไปในวันก่อนสอบนะคะ เพราะนอกจากมันจะไม่เข้าสมองแล้วอาจจะทำให้เครียดได้ค่ะ
8. อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย บางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมี ปัญหาเลยก็ดีไป ส่วนคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อย ทำให้ต้องนอนดึก ตื่นแต่เช้าหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะค่ะ หาอาหารดี ๆ มีประโยชน์ให้รางวัลกับตัวเอง หานมอุ่นๆหรือของว่างไว้ทานสักนิดนึงช่วงดึก ๆ หรือหากมีตังค์ ลงทุนแบรนด์สักวันละขวดก็ได้ค่ะ ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะค่ะ เพราะเดี๋ยวอาจป่วยได้ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะค่ะ และสำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะค่ะ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าค่ะ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะค่ะ
9.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีอาจารย์คนหนึ่งเป็นกำลังใจให้เด็ก ๆ เสมอ นะคะ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต และต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที
เทคนิคทั้งหมดที่รวบรวมมาให้ คงไม่ยากเกินไป และาช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปนะคะหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ คนที่จะได้คือคนที่ปฏิบัติจริงจังเพื่อให้ได้มันมา หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ แต่เราหลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือตัวเราเองนี่แหละค่ะ เราทำอะไรเราย่อมรู้ ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่ดี ๆ คนที่จะได้รับในสิ่งที่ดี ก็คือตัวเราเองนั้นและค่ะที่ได้ แต่ถ้าเราไม่ได้ทำ เช่นกันค่ะที่ว่าตัวเราเองนั้นแหละค่ะที่จะไม่ได้
เวลาไม่เคยหยุดเพื่อที่จะรอใคร โอกาสที่ได้รับในแต่ละวันไม่ใช่ว่าจะได้ในทุก ๆ วัน ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะคะ ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จค่ะ

เทคนิคดีดี เตรียมตัวก่ิอนสอบ

วันนี้เก็บเรื่องดีดีมาให้อ่านกันเช่นเคยครับ สำหรับการเตรียมตัวก่อนสอบนั่นเอง
เทคนิคการจำ
  


1. พยายามทำความเข้าใจเสียก่อน อย่าจำสิ่งที่ไม่เข้าใจ

2. พยายามสัมพันธ์สิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับสิ่งที่เรียนมาแล้วให้ได้

3. พยายามหาเนื้อหาใจความสำคัญให้ได้แล้วจำไว้ก่อน ส่วนย่อยจะมาเอง

4. พยายามบันทึกเนื้อหาอย่างมีระเบียบเป็นลำดับตามขั้นตอนที่เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้

5. บทเรียนใดที่ยาวให้แบ่งเป็นส่วน ๆ เสียก่อนอ่าน ทำบันทึก

6. พยายามใช้ขั้นตอนอันเป็นเหตุเป็นผลแก่กันในการช่วยจำ

7. พยายามเรียนให้มาก ถ้าเป็นได้ควรให้มากกว่าที่กำหนดไว้เป็นการขยายความรู้ประสบการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. พยายามอย่าหยุดโดยเฉพาะการเรียนวิชาใหม่ หรือวิชายาก โดยแสวงหาความรู้เบี้องต้น และความรู้ก้าวหน้าตลอดเวลา

9. การท่องเป็นจังหวะจะช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น

10. พยายามทบทวน หรือ ทำซ้ำ ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เท่าที่โอกาสจะอำนวย

การแก้ความเปลี้ยจากการอ่านหนังสือ เมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ อาจเกิดความอ่อนเพลียทางกายและทางสมองรวมไปถึง
สายตาด้วย ที่มักเรียกกันว่า เกิดความเปลี้ย ผู้รู้ได้แนะวิธีการแก้ (หลังพักพอควร)เพื่อสร้างความสดชื่นขึ้นใหม่ ดังนี้
 1.แก้ร่างกายเมื่อยขบ เปลี้ยล้า
ใช้การบริหารร่างกาย หรือวิธีโยคะเข้าช่วย เช่น บิดตัวไปทางซ้าย หมุนกลับ
มาทางขวาช้า ๆ เมื่อยคอให้เงยหน้าช้า ๆ ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้า
เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอแรง ๆ แล้ว นวดบางจุดเบา ๆ หรือใช้น้ำลูบหน้าหากอยู่
ที่บ้านอาจใช้วิธีดัดตน เช่น นั่งคุกเข่าข้างฝาห้อง หันหน้าออกก้มหัวยันพื้น
ใช้เท้าไต่ขึ้นบนฝาผนังห้อง จนตัวตั้งตรง ปล่อยเท้าทีละข้างให้เอนไปข้างหน้า
ช้า ๆ สลับไปมาเลือดจะเข้าสมองมากขึ้น ออกซิเจน จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาท
เพิ่มขึ้นช่วยแก้ความเปลี้ยล้าได้มาก

2.แก้ความง่วง เบื่อ ไม่อยากอ่านใช้การหายใจช่วย ครั้งแรงพ่นอากาศออกจากปอดผ่านจมูกให้แรงที่สุด จนหมดสิ้น
ห่อปากให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วพ่นอากาศเสียที่หลงเหลืออยู่ออกไปจนหมด ค่อย ๆ สูด
อากาศดีผ่านจมูกเข้าปอดช้า ๆ อาจนับ ถึง 15 ช้า ๆ ให้อากาศอัดแน่น เต็มปอด
จนสุดจะหายใจเข้าได้อีก แล้วหายใจออกช้า ๆ เหมือนข้างต้น ทำดังกล่าว 2-3 ครั้ง
จะแก้ความง่วง เบื่อการอ่านลงไปได้ 
(แนะนำว่าถ้าง่วงมาก ๆ ก็อย่าฝืนนะคะ เพราะหากเรารู้สึกทึบ ๆ หรือไม่สบายในวันสอบก็ทำข้อสอบไม่ได้ดีหรอกค่ะ ให้ฟุบลงซักพัก หรือนอนพักสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ดีนะคะ)

3.แก้ความเปลี้ยของการใช้สายตา
เมื่อใช้สายตานานควรพักเสียบ้าง ให้มองสิ่งที่อยู่ไกลโล่ง ๆ ดูยอดไม้เขียว ๆ 
มองภาพหรือทิวทัศน์ (ทัศนียภาพ) ที่ห่างออกไปมาก ๆ ถ้าเป็นเวลากลางคืน 
ให้มองท้องฟ้า ดูดาวอันระยิบระยับ กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ คลายตัว 
ถ้าอยู่ในห้องใช้การมองผนังห้องติดรูปภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ จะช่วยได้มาก 
หรือดูทิวทัศน์จากหน้าต่าง มองให้ไกลออกไปให้เต็มที่ (เต็มตา) แล้วหลับตา 
ทำจิตให้สงบสร้างสมาธิด้วยการหายใจเข้าออกช้า ๆ หายใจเข้าให้เต็ม (ปอด) 
หายใจออกให้หมด จะช่วยแก้ความเปลี้ยและอาการปวดตาลงได้
***ขอเพิ่มอีกนิดนะคะสำหรับการเตรียมตัวสอบในระยะยาว***-ให้เก็บความรู้ในห้องเรียนให้ได้มากที่สุดและทวนเป็นประจำ
-หัดสรุปโน๊ตย่อสาระสำคัญในแต่ระเรื่องจะช่วยให้ความจำดีขึ้น
-พอใกล้ถึงเวลาสอบก็ทบทวนกับสาระที่เราสรุปไว้เอา
-วันสุดท้ายก่อนสอบนอนให้เต็มอิ่มที่สุด

ขอขอบคุณความรู้ดีดีจาก : http://www.tutorhouse.org/view.php?ctg_id=3&ct_id=16&PHPSESSID=ed2efc78b18ffd798b9832ba698cf3e1

ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ศึกษาต่อ ป.ตรีที่ต่างประเทศ สมัคร 4-20 ม.ค 2555


ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดรับสมัครสอบชิงทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นม.ปลายไปศึกษาต่อต่างประเทศ  โดยเปิดรับในวันที่ 4-20 มกราคม 2555  ทุนการศึกษาที่เปิดรับ 2 ทุนดังนี้
1. การรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อรับทุนประเภทบุคคลที่สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทุน ม. ปลาย) ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
ทุนที่รับสมัคร : ไปศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ทุน เพื่อกลับมาปฏิบัติงานที่ ธปท. ได้แก่
- สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จานวน 1ทุน(Mechatronic Engineering)
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือ การเงิน จานวน 1 ทุน
2. การรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อรับทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
ทุนที่รับสมัคร : ไปศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดก็ได้ ที่ประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา จำนวน 1 ทุน ซึ่งเป็นทุนที่ไม่มีข้อผูกพันต้องกลับมาทางานชดใช้ ธปท. แต่ต้องกลับมาทางานในประเทศไทย และหากประสงค์ จะเข้าทางานกับ ธปท. ธปท. จะพิจารณารับเข้าทางานเฉพาะสาขาวิชา ที่เป็นประโยชน์ต่องาน ธปท. โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก
คุณสมบัติของผู้ที่สมัครขอรับทุน
  • อายุไม่เกิน20 ปีนับถึงวันที่1 เมษายน2555
  • เป็นผู้ที่มีรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมในการรับทุนเล่าเรียนหลวงประจาปี2555
  • และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า3.5
การสมัครสอบ
ระหว่างวันที่4 – 20 มกราคม2555
การสอบคัดเลือก
1. วิธีการคัดเลือก
  • การประเมินความเหมาะสมในการรับทุน พิจารณาจาก
    * คะแนนสอบข้อเขียนทุนเล่าเรียนหลวง ร้อยละ 70
    * คะแนนสัมภาษณ์โดย ธปท. ร้อยละ 30
  • ผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อรับทุนจะต้องได้คะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60และได้คะแนนสูงสุดลงมาตามลาดับเท่ากับจานวนทุน
2. กำหนดการสอบคัดเลือก
  • ธปท. จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์ วัน เวลา และสถานที่สอบ ทาง BOT Website www.bot.or.thหัวข้อสมัครงาน ฝึกงานและทุน  ภายในวันที่ 30 มกราคม 2555
  • สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการและใบสมัครได้จากเอกสารประกอบข่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่
273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
เบอร์กลาง โทร. 0-2283-5353       โทรสาร : 0-2280-0449
photo credit : asiancorrespondent.com

โครงการบัณฑิตคืนถิ่น โพธิวิชชาลัย มศว.


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มีความประสงค์จะรับสมัคร
เพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2555
() หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี)
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554

สอบชิงทุน วิศวะ ม.ธรรมศาสตร์

โครงการ TEP&TEPE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  แจกทุนเรียนฟรีจำนวน 30 ทุน แบ่งเป็น

1. ทุนเต็มจำนวน ผู้ได้รับทุนได้รับยกเว้นค่าหน่อยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาต่างๆ (เทอมละประมาณ 78,000 บาท)
2. ทุนบางส่วน ผู้ได้รับทุนได้รับยกเว้นเฉพาะค่าหน่อยกิต (เทอมละประมาณ 50,000 บาท)
โครงการ TEP&TEPE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. มี 5 ภาควิชาดังนี้
1. Chemical Engineering
2. Mechanical Engineering
3. Electrical Engineering
4. Industrial Engineering
5. Civil Engineering

คุณสมบัติของผู้สมัคร
เป็นผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา  หรือ  สำเร็จการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิตฯ จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยซึ่งเป็นโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ  หรือ  สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ  ต้องยื่นใบเทียบวุฒิหรือใบรับพิจารณาเทียบวุฒิ ซึ่งออกโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยก่อนวันขึ้นทะเบียนนักศึกษา ปีการศึกษา 2555 เท่านั้น

กำหนดการสมัคร

รายละเอียด
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
ช่วงการสมัคร
3 ต.ค. 2554 – 2 ม.ค. 2555






อาจเปิดรับสมัครสอบครั้งที่สอง ในกรณีที่อาจมีผู้สละสิทธิ์หรือโครงการฯ พิจารณาแล้วเห็นควรดำเนินการ โปรดติดตามจากเว็บไซต์ของโครงการฯwww.tep.engr.tu.ac.th
สรุปรายชื่อผู้สมัครที่ยืนยัน (submit) การสอบข้อเขียน
(พ.) 4 ม.ค. 2555***
สอบข้อเขียน
วิชาวิทยาศาสตร์ (09:00 - 10:30 น.),
วิชาภาษาอังกฤษ (11:30 - 13:00 น.), 
วิชาคณิตศาสตร์ (13:30 - 15:00 น.)

(ส.) 7 ม.ค. 2555
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ทางเว็บไซต์ www.tep.engr.tu.ac.th
(อา.) 8 ม.ค. 2555
สอบสัมภาษณ์ (13:00 - 15.00 น.)
(ศ.) 13 ม.ค. 2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาทางเว็บไซต์www.tep.engr.tu.ac.th
(จ.) 16 ม.ค. 2555
ช่วงการยืนยันสิทธิ์รับทุนและเข้าศึกษากับโครงการฯ
(โปรดอ่านเงื่อนไขอย่างละเอียด)***
(อ.) 17- (ศ.) 20 ม.ค. 2555
 
รายละเอียดทั้งหมด
TEP&TEPE 2012 Admission Schedule
TEPE SCHOLARSHIP 2012

เว็บไซต์หลัก http://58.64.30.184/teptepe/main