ขณะนี้นักศึกษาใหม่หลายท่านคงจะกำลังอยู่ในบรรยากาศ แห่งความสุขใจที่ตนเองได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาศึกษาในสถาบันแห่งนี้ ได้ เปลี่ยนชีวิตใหม่จากชีวิตนักเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นนักศึกษาอุดม ศึกษา ได้พบเห็นและได้รับความรู้สึกใหม่ ๆ เช่น
ได้เปลี่ยนมาสู่สภาพแวดล้อมใหม่ จากสถาบันที่มีพื้นที่เพียง ไม่กี่ไร่สู่สถาบันที่มีพื้นที่กว่า 9,000 ไร่ ที่กอปรไปด้วยสำนักวิชา ต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น มีตึกและอาคารเรียนที่ทันสมัยมากมาย
ได้มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเป็นผู้ ที่มาจากโรงเรียนชายล้วน หญิงล้วน ก็จะรู้สึกว่าชีวิตมันช่างมีสีสันเพราะ ได้รู้จักเพื่อนต่างเพศมากขึ้น
มีความรู้สึกตื่นเต้นกับบรรยากาศการต้อนรับน้องใหม่จาก พี่ ๆ ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและอบอวลไปด้วยมิตรไมตรีซึ่งไม่พบเห็นมาก นักในสมัยเป็นนักเรียน
- รู้สึกเป็นอิสระและเสรีภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งในด้านความคิดและการ แสดงออก ไม่มีกรอบทางด้านกฎระเบียบมาคอยควบคุมเหมือนสมัยเป็นนักเรียน
ได้เปลี่ยนมาสู่สภาพแวดล้อมใหม่ จากสถาบันที่มีพื้นที่เพียง ไม่กี่ไร่สู่สถาบันที่มีพื้นที่กว่า 9,000 ไร่ ที่กอปรไปด้วยสำนักวิชา ต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น มีตึกและอาคารเรียนที่ทันสมัยมากมาย
ได้มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเป็นผู้ ที่มาจากโรงเรียนชายล้วน หญิงล้วน ก็จะรู้สึกว่าชีวิตมันช่างมีสีสันเพราะ ได้รู้จักเพื่อนต่างเพศมากขึ้น
มีความรู้สึกตื่นเต้นกับบรรยากาศการต้อนรับน้องใหม่จาก พี่ ๆ ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและอบอวลไปด้วยมิตรไมตรีซึ่งไม่พบเห็นมาก นักในสมัยเป็นนักเรียน
- รู้สึกเป็นอิสระและเสรีภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งในด้านความคิดและการ แสดงออก ไม่มีกรอบทางด้านกฎระเบียบมาคอยควบคุมเหมือนสมัยเป็นนักเรียน
ความแตกต่างจากชีวิตเดิมสมัยเป็นนักเรียนนี่เองทำให้เรามี ความรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกสดชื่นกับความแปลกใหม่ และด้วยความรู้สึกเช่น นี้ จึงทำให้นักศึกษาใหม่มักเพลิดเพลินและใช้เวลาอย่างเต็มที่กับบรรยากาศ แห่งความสนุกสนานและความอิสระในช่วงต้นขณะเดียวกัน นักศึกษาหลายคนก็จะเกิด ความรู้สึกกังวลว่าตนจะเรียนไหวหรือไม่ จะเรียนสู้เขาได้หรือไม่ เพราะพื้น ฐานการเรียนสมัยเป็นนักเรียนไม่แข็งแรง เนื่องจากไม่เคยชินกับรูปแบบการ เรียนและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตในระดับอุดมศึกษา
ดังนั้นแม้ความสุขที่ได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยอาจยังมี อยู่แต่ควรพิจารณาความสำเร็จขั้นต่อไปซึ่งยังอีกยาวไกล ยังต้องเรียนรู้และ ฝ่าฝันอุปสรรคในอีกหลายขั้นตอนกว่าจะสำเร็จและได้รับปริญญา ความสำเร็จตาม เป้าหมายดังกล่าว ต้องมีการเริ่มต้นที่ดีตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งสิ่งแรกที่เรา ต้องคิดคือ เราควรจะปรับตัวของเราให้เข้ากับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ อย่างไรก่อน การปรับตนเองให้เข้าสู่สังคมใหม่จะยุ่งยากหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ลักษณะส่วนบุคคลของแต่ละคน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะปรับตัวได้ง่ายเหมือนกันหมดกับ สภาพแวดล้อมทางการเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักศึกษาหลายคนมีผลการเรียน ที่ดีในสมัยเป็นนักเรียนแต่อาจจะไม่ประสบความสำเร็จทางการเรียน และจำเป็น ต้องออกกลางคัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากปรับตัวไม่ได้กับการเรียนในระดับนี้ ดัง นั้นนักศึกษาที่รักทุกคนต้องถือหลักแห่งความไม่ประมาทในชีวิตสติปัญญาดี เพียงใดแต่หยิ่งผยองลำพองตนในความเก่ง มัวแต่สนุกสนานเพลิดเพลินมักพบกับ ความผิดพลาดเสมอ
ในช่วงใหม่นี้นักศึกษาทุกคนจึงต้องฝึกที่จะเรียนรู้กับสภาพ ชีวิตใหม่ และหันมามองตนเองว่าจะปรับตัวอย่างไรกับชีวิตใหม่ใน มหาวิทยาลัย ก่อนอื่นนักศึกษาต้องเข้าใจว่ารูปแบบการเรียนในระดับมัธยมศึกษา มีความแตกต่างจากระดับอุดมศึกษาอยู่หลายประการเช่น
หลักสูตรการเรียนจะมีลักษณะเป็นหมวดวิชา ที่มีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว ผู้เรียนจึงต้องรู้จักวางแผนการเรียนของตนเองในแต่ละภาคการ ศึกษา
รูปแบบการเรียนจะมีความหลากหลายทั้งภายในชั้นเรียนและภายนอก ชั้นเรียน ขณะที่การเรียนในระดับมัธยมจะเน้นการเรียนภายในชั้นเรียนเป็น หลัก
การเรียนในระดับมัธยมศึกษาจะมีอาจารย์คอยเช็คและตรวจสอบการ เข้าเรียนอย่างเข้มข้น แต่ในระดับมหาวิทยาลัยความเข้มข้นในเรื่องดังกล่าวจะ ลดน้อยลงมาก
ถึงแม้จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาแนะนำเหมือนสมัย เรียนในโรงเรียนแต่การตัดสินใจเป็นตวามรับผิดชอบของนักศึกษาเองภายใต้กรอบ เงื่อนไขที่แต่ละคณะกำหนดไว้
การเรียนในระดับมัธยมศึกษาถึงแม้จะสอบไม่ผ่านรายวิชานั้น ก็ ยังมีโอกาสที่จะสอบซ่อมได้ในภาคการศึกษานั้น แต่ระดับมหาวิทยาลัยจะไม่มี โอกาสสำหรับการซ่อม หากได้ F วิชาใดก็ถือว่าต้องเรียนใหม่ และมีการคิดคะแนน เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 นอกจากนี้ ยังต้องดูระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละ ภาคการศึกษาอีกด้วยว่าเป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยหรือไม่ ( ต่ำกว่า 2 ระตัวจะโดนเชิญออก T__T )
การเรียนในระดับมัธยมศึกษาจะต้องเรียนอย่างต่อเนื่องตลอด ทั้งวันตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยจะพบว่าบาง วัน อาจจะมีเรียนเพียง 2-3 ชั่วโมง หรืออาจไม่มีเรียนเลยในบางวัน และจะพบ ว่ามีเวลาว่างมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อแรกเข้ามาศึกษามหาวิทยาลัยจึงเปรียบเสมือนโลกใบ ใหม่ที่กว้างขวาง จนนักศึกษาใหม่บางคนไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นกับตัวเองอย่าง ไร ยิ่งมาจากโรงเรียนในต่างจังหวัดอาจจะตั้งตัวไม่ถูก สับสนไม่รู้จะเริ่ม ต้นอย่างไรดี ดังนั้นการบริหารจัดการตนเอง เพื่อให้สามารถปรับตนเองให้เข้า กันได้กับสภาพแวดล้อมใหม่ ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับนักศึกษาทุกคน เป็นอย่างยิ่ง
ปรับตัวอย่างไรกับชีวิตใหม่ทางการศึกษา
ในระยะเริ่มต้นของการศึกษามักจะมีนักศึกษาที่กังวลกับการ เรียนของตนเองเพราะพื้นฐานการเรียนสมัยเป็นนักเรียนไม่แข็งแรง แต่ความกังวล จะลดลง หากนักศึกษาจะคิดเตรียมตนเองเพื่อสร้างความพร้อมของตนกับชีวิตทางการ ศึกษาในมหาวิทยาลัยซึ่งแนวทางดังกล่าว มีดังนี้ คือ
1. ปรับทัศนคติตนเองเพื่อให้เป็นผู้เรียนที่สอดคล้องกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
นักศึกษาต้องเข้าใจว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ออกแบบ สำหรับผู้ที่มีลักษณะของความเป็นผู้ใหญ่ คือ มีความรับผิดชอบในตนเองเพื่อ ให้สอดคล้องกับความเป็นผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งกอปรด้วยคุณลักษณะดัง ต่อไปนี้
รู้จักกำหนดเป้าหมายทางการศึกษาของตนเอง
รู้จักวางแผนการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่ใช่วางเฉพาะภาคการศึกษา ต้องศึกษาภาพรวมของหลักสูตรเพื่อจักได้วางแผนตนเองอย่างถูกต้อง
ให้ความสำคัญต่อการบริหารเวลา เพื่อให้การศึกษาเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด
รักการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่การเรียนรู้ เพราะมหาวิทยาลัยถือ เป็น " ขุมพลังทางความรู้ " มีแหล่งความรู้ให้นักศึกษาได้แสวงหาอย่างมากมาย ประกอบกับความรู้ในปัจจุบันมีอยู่มาก และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มีทัศนะคติแห่งการพึ่งพาตนเอง และรับผิดชอบตนเองได้
มีวินัยตนเอง คือ รู้ได้และคิดได้ด้วยตนเองว่า เมื่อไหร่ต้องทำอะไร หรือต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
2. ปรับพฤติกรรมทางการใช้ชีวิตทางการศึกษาใหม่
ระบบการศึกษาในมหาวิยาลัยมุ่งเน้นทั้งการศึกษาในชั้นเรียน และนอก ชั้นเรียน การศึกษาในชั้นเรียนเป็นการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ซึ่งนักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละสำนักวิชา กำหนด ส่วนการศึกษานอกชั้นเรียนนั้น มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีกิจกรรมนอกหลัก สูตรซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "กิจกรรมนักศึกษา" เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้ใช้ความรู้ความสามารถและพลังความคิดที่มีอยู่ในการสร้างสรรค์กิจกรรม ใด ๆ ตามความชอบ ความเชื่อ และความถนัดในรูปขององค์การนักศึกษาและชมรม การ ที่มหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมนักศึกษานั้นอยู่บนฐาน ความเชื่อที่ว่าระบบการศึกษาที่ก่อให้เกิดปัญญา ไม่อาจหาได้เฉพาะในห้อง เรียนเท่านั้น จะต้องผสมผสานร่วมกันระหว่างความรู้ทางวิชาการและความรู้ที่ เกิดจากการได้ปฏิบติจริง ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทาง การศึกษา เช่น
จากที่เคยเน้นทางการเรียนเพียงอย่างเดียว ---> แสวงหา ประสบการณ์ จากการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา หรือจากกิจกรรมทวีปัญญาอย่างอื่น ที่มหาวิทยาลัยหรือสำนักวิชาจัดขึ้น เช่น กิจกรรมบรรยายทางวิชาการ การจัด ฝึกอบรม หรือสัมมนาทางวิชาการ ตลอดจนกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการของนัก ศึกษา เช่นโครงการฝึกอบรมในลักษณะ Short Course ซึ่งสำนักวิชาหรือส่วน กิจการนักศึกษาได้จัดขึ้นในแต่ละปี
จากที่เคยวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ---> การฝึกวางแผน การใช้ชีวิตใน ลักษณะ Today Plan, Week Plan, Month Plan และ Semester Plan (แผนประจำการ ภาคการศึกษา) เพื่อให้ตนเองเห็นภาพรวมของกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในแต่ละ วัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน เพื่อเตือนตนเองและจะได้สามารถจัดการเวลาของตน เองได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นนักศึกษาใหม่จึงควรมีสมุดไดอารี่ประจำ ตัว เพื่อบันทึกกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ
จากที่ไม่ค่อยจะมีสังคมกับกลุ่มเพื่อนมากนัก ---> การ เปิดตนเองให้ขยายกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ทั้งเพื่อนในแต่ละสาขาวิชาตลอดจนเพื่อน จากต่างคณะและต่างสถาบัน เพราะการมีกลุ่มเพื่อนที่หลากหลายจะทำให้เราขยาย โลกทัศน์มากขึ้น เข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ การทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคต
จากเดิมที่เคยพึ่งพาเพื่อนในเรื่องการเรียน ---> การหัด เป็นคนพึ่งตนเองให้มากขึ้น การพึ่งตนเองได้นั้นจะต้องหัดเป็นคนวิเคราะห์ตน เองได้ ยอมรับตนเองได้ เตือนตนเองเป็น พยายามทำอะไรด้วยตนเอง หัดคิดแก้ ปัญหาด้วยตนเอง เพราะชีวิตในอนาคตนักศึกษาจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ใหญ่ขึ้น และซับซ้อนมากขึ้น การเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองจะทำให้เรามีความมั่นใจในการ ใช้ชีวิตทางการศึกษา และการใช้ชีวิตในอนาคตมากขึ้น
3. ปรับรูปแบบการเรียนรู้ใหม่
สถาบันอุดมศึกษาถือได้ว่าเป็นขุมพลังความรู้ที่ยิ่ง ใหญ่ แหล่งความรู้มากมายให้นักศึกษาได้แสวงหาเพื่อการเรียนรู้ ในยุคปฏิรูป การเรียนรู้จึงไม่ได้อยู่เพียงที่ครู อาจารย์ หรือตำราเรียน เหมือนดังเช่น ในอดีต ครู อาจารย์ จะเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ใหม่ ได้แก่
ปรับเปลี่ยนท่าทีการเรียนรู้จากเดิมที่เคยพึ่งพาความรู้จาก อาจารย์ ตำราเรียน และห้องสมุดเป็นหลัก ---> การเรียนรู้ด้วยตนเอง จาก แหล่งการเรียนรู้ทั่วโลกผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายอื่น
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้จากเดิมที่เน้นการฟัง จด ตาม และท่องจำ ---> การเรียนรู้ที่เน้นการฟัง การคิดตามวิเคราะห์และสรุป ประเด็น
ปรับการเรียนรู้จากวิธีการอ่านและท่องจำ? ---> การอ่าน การคิด วิเคราะห์และสรุปความ
ปรับการเรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในตำรา ---> การค้นคว้าจากหลากหลายแหล่งความรู้
ปรับท่าทีการเรียนรู้โดยเพิ่มการแสวงหาความรอบรู้จากสรรพ ศาสตร์ให้มากขึ้น เพื่อขยายโลกทัศน์ความรู้ของตนเองให้กว้างขวางขึ้น และให้ เกิดความเชื่อมโยงทางความรู้ระหว่างศาสตร์ที่ตนเองศึกษากับศาสตร์อื่น
พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน
พัฒนาพื้นฐานทักษะการเรียนรู้ของตนเอง ให้เหมาะสมกับการเรียน รู้ในยุคปัจจุบัน เช่น พัฒนาทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต ทักษะ การจับประเด็นทักษะการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูล เนื่องจาก ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานทักษะที่จำเป็นจะต้องใช้สำหรับการศึกษาในระดับอุดม ศึกษา
พัฒนาทักษะวิธีการเรียนรู้เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจากเอกสาร ตำราที่มีอยู่อย่างมากมายในขณะนี้
พัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อ สร้างศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพราะการเรียนในระดับนี้ยังต้องพึ่ง พาแหล่งความรู้จากต่างประเทศอยู่มาก
จึงเห็นได้ว่านักศึกษาต้องปรับและเตรียมตนเองใน หลายอย่าง ตั้งแต่บุคลิกภาพ การเรียน การใช้ชีวิต และที่สำคัญคือ ต้องปรับ วิธีคิดของเราให้พร้อมต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ เสมอคือ ถึงแม้ชีวิตการศึกษาจะดูมีอิสระมาก แต่ต้องคำนึงอยู่ในใจว่าความมี อิสระจะต้องควบคู่กับความมีวินัยในตนเอง นักศึกษาจะต้องควบคุมและดูแลตนเอง ได้ ให้ความอิสระเป็นเสมือนโอกาสที่จะเอื้ออำนวยให้เราสามารถแสวงหาสิ่งที่ จะเกื้อกูลและนำเราไปสู่ความสำเร็จของการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
เพราะฉะนั้น การศึกษาในมหาวิทยาลัย นอกจากมหาวิทยาลัยจะได้ จัดประสบการณ์ต่าง ๆ มากมายให้แก่นักศึกษาแล้ว นักศึกษายังมีหน้าที่จะ ต้องเตรียมตนเอง สร้างโอกาสและทางเลือกให้แก่ตนเอง และหาทางขวนขวายให้แก่ตน เองในการที่จะตักตวงสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุดความ สามารถ จะคอยรอให้อาจารย์ป้อนดังเช่นอดีตไม่ได้ นี่คือ พฤติกรรมและวิธีคิด ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป
ผู้เป็นนิสิตนักศึกษาล้วนยืนอยู่
ณ ทางแพร่งของชีวิต
ที่อาจก้าวล้ำไปสู่ เขตแดนของความสำเร็จ
ความเจริญก้าวหน้า หรือ ความผิดพลาด
ล้มเหลวได้ทั้งสิ้น ผู้เป็นนิสิตนักศึกษา
จึงควรมีอะไรบางอย่างที่สามารถเป็นคู่คิด
ที่ช่วยการตัดสินใจมองทิศทางของอนาคต
ให้ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมต่อการได้รับ
ความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : คณะทำงานฝ่ายวิชาการและอาจารย์พี่เลี้ยงโครงการบัณฑิตยุคใหม่. คัมภีร์ชีวิตนิสิตใหม่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น