หลังโดนพิษการเมืองเล่นงาน จนเป็นเหตุให้นิสิต นักศึกษา ทั้ง 2 สถาบัน อย่าง “จุฬา-ธรรมศาสตร์” จำต้องประกาศเลื่อนงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 ออกไป จากเดิมมีกำหนดจัดงานในวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพ เป็นวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองสถาบันยังคงเตรียมสีสันและความสุขไว้เช่นเคยภายใต้คอนเซ็ปต์ “Get Give & Go(al)" เมื่อพูดถึงงานฟุตบอลประเพณีฯแน่นอนว่าต้องมีการขึ้นแสตนด์เชียร์และเพื่อให้แสตนด์เชียร์มีความสวยงามพร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกันสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือเสื้อเชียร์ ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีทุกปีนั้น ทั้งสองสถาบันจะจัดทำเสื้อเชียร์เพื่อให้นิสิตนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปได้ซื้อไปสวมใส่ เพื่อแสดงถึงความสามัคคี ทั้งยังสร้างสีสันและความสวยงามให้แก่แสตนด์เชียร์อีกด้วย ในแต่ละปีนั้นจะมีความสวยงามแตกต่างกันออกไปโดยมีความหมายบอกความเป็นจุฬา-ธรรมศาสตร์และสะท้อนความคิดต่อสังคมในช่วงนั้นๆ ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นเสื้อสวยๆในแต่ละปี ต้องเกิดจากมันสมองของเพื่อนๆหลายคนที่ส่งแบบเสื้อและโลโก้เข้ามาประกวดกัน จนกระทั่งถูกคัดสรรออกมาเป็นแบบเสื้อที่สวยงามที่สุด สำหรับในปีนี้ ผู้ออกแบบเสื้อเชียร์ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 เป็นฝีมือของ“นายสรนภ โพธารส” นิสิตชั้นปีที่ 1คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนผู้ออกแบบโลโก้นั้น คือ นายสิทธิโชค น้อยสี นิสิตชั้นปีที่ 2คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |||
“แทบสีสลับสีแดง-เหลือง ถือเป็นความหมายสีของเสื้อนักฟุตบอลธรรมศาสตร์ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งแรกในปี 2477 ซึ่งได้นำมาพาดไว้บนบ่าและด้านบนของหลัง ของผู้เชียร์ เป็นการประยุกต์จากลักษณะสำคัญของเสื้อนักฟุตบอลธรรมศาสตร์ นำไปเป็นลักษณะที่โดดเด่นของเสื้อเชียร์ (ซึ่งหากทำเป็นลายทางทั้งหมดจะทำให้ซ้ำกับเสื้อนักฟุตบอลและเสื้อที่ธรรมศาสตร์เคยจำหน่ายก่อนหน้านี้) ซึ่งนำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกับทุกโอกาส ทันสมัยและมีความแปลกตา ในตัวของเสื้อนั้น จะทำให้ผู้สวมใส่ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เหมาะกับลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน และยังทำให้สมส่วน กระฉับกระเฉงและมีความโดดเด่นเมื่ออยู่บน Stand เชียร์ | |||
ด้านหลังของเสื้อ มีรูปสกรีนโดมและตัวอักษรลักษณะไทย “เป็นธารทางธำรงไทยให้เป็นชาติ ๘๐ ปี ธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร์ไทย” เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับปีที่ ๘๐ ของการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใช้ตัวอักษรที่ไม่ทันสมัยจนเกินไปและมีความเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ใส่ที่ แตกต่างกัน ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดความฉูดฉาดของลายเสื้อให้ สมดุล ระหว่าง ความเป็นนักฟุตบอล กับความเป็นธรรมศาสตร์ อย่างลงตัว | |||
TAG ข้างเสื้อ หมายถึง วันที่จัดการแข่งขัน ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งแรก ในวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งลูกแม่โดมหลายคนทราบแต่ ปี พ.ศ. 2477 แต่ไม่ทราบวันที่ของการแข่งขัน อีกฝั่ง เป็นเลข ๗๐ แสดงครั้งที่ 70 ของการแข่งขันในปีนี้ สำหรับโลโก้นั้นมีที่มาด้วยConcept จากสัญลักษณ์ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 ประกอบด้วย ตัวเลข 2 ตัวคือ เลข 7 เเละ เลข 0 บ่งบอกถึงจำนวนครั้งในการจัดงานฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ดำเนินมาช้านานเป็นเวลาถึง 70 ปี ประกอบกับรูปสามเหลี่ยมอันหมายถึง 3บูรพาจารย์ที่ชาวธรรมศาสตร์ทุกคนเคารพรัก คือ อ.ปรีดี พนมยงค์ อ.ป๋วย อึ๊งภากร เเละ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทจิตวิญญาณธรรมก่อเกิดเป็น ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของประชาชนทุกคนเฉกเช่นทุกวันนี้ โดยจัดวางให้มองภาพรวมคล้ายรูป ตึกโดม สัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวเลข 70 เป็น สีเหลืองเเละสีเเดง สีประจำมหาวิทยาลัย โดยเลข 0 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายประตูฟุตบอลภายในประกอบด้วยสัญลักษณ์ลูกฟุตบอล บนพื้นสีเหลืองอันหมายถึง ธรรม ที่นักบอลธรรมศาสตร์เเละชาวธรรมศาสตร์ทุกคนยึดมั่น ดังคำที่ว่า เหลืองของเราคือ ธรรมประจำจิต เเสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นเเละตั้งใจของนักบอลธรรมศาสตร์ที่ทุ่มเททั้งเเรงกายเเละเเรงใจหวังทำประตูชัยให้ชื่อ ธรรมศาสตร์ประกาศก้อง ซึ่งทั้งนักบอลธรรมศาสตร์ เเละพวกเราชาวธรรมศาสตร์ทุกคนก็ต่างทำหน้าที่ไม่ต่างกันคือ ร่วมเเรงร่วมใจนำลูกบอลกลมๆ ที่รวมทุกจิตวิญญาณธรรมศาสตร์เข้าประตูเเห่งชัยชนะไปพร้อมกัน | |||
Credit http://www.manager.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น