มช. ขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับที่ 3 ของ South East Asia อันดับที่ 280 ของ World Top 20000 จากผลการจัดอันดับล่าสุด โดย Ranking Web of Universities เดือนมกราคม พ.ศ. 2557
จากการจัดอันดับเว็บมหาวิทยาลัยทั่วโลก(Ranking Web of Universities หรือชื่อเดิม Webometrics) ซึ่งจะประกาศผลการจัดอันดับทุกเดือนมกราคมและกรกฎาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถในการผลิตผลงานวิชาการที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต (Web Publications) และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ของสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก (Open Access) การปรากฏชื่อหรือข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และวัดจากจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ Link มายังเว็บเพจ หรือแม้แต่การวัดผลกระทบการอ้างอิงตามจำนวนของ Link ที่ได้รับจากภายนอก ซึ่งจะแสดงถึงการเข้าถึงและผลกระทบของ Web publication นั้นๆ โดยเครื่องมือการวัดผลของ Ranking Web of Universities ตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับ ทั้ง 4 ข้อ ได้แก่
Presence จำนวนของเนื้อหาที่ทำการเผยแพร่บน webdomains ที่สามารถสืบค้นได้โดย google โดย ทำการนับจำนวนทุกหน้ารวมถึงที่บันทึกไว้ใน cache ของ google ทั้งที่เป็น static และ dynamic web เทียบได้กับ เกณฑ์เดิมคือ Size
Impact คุณภาพของเนื้อหาที่ทำการประเมินโดย "virtual referendum" ซึ่งเป็น external inlinks ที่ได้ ทำการนับจาก providers ได้แก่ Majestic SEO และ ahrefs เทียบได้กับเกณฑ์เดิมคือ Visibility
Openness เป็นการวัดปริมาณการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยที่ทำการเผยแพร่โดยวัดจากจำนวน rich files (pdf,doc,docx,ppt) ซึ่งจะต้องอยู่ใน format ที่ถูกต้องเท่านั้น วัดโดย Google scholar เทียบกับเกณฑ์เดิมคือ Rich files
Excellence ผลการการตีพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับใน International Journals โดยมี data provider คือ Scimago group ทำการชี้วัดคุณภาพ เทียบได้กับเกณฑ์เดิมคือ Scholar
ผลปรากฏว่า
อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 280 ของ World Top 20000
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 294 ของ World Top 20000
อันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 339 ของ World Top 20000
อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 341 ของ World Top 20000
อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 416 ของ World Top 20000
อันดับที่ 6 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันดับที่ 451 ของ World Top 20000
อันดับที่ 7 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 459 ของ World Top 20000
อันดับที่ 8 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 524 ของ World Top 20000
อันดับที่ 9 มหาวิทยาลัยนเรศวร อันดับที่ 601 ของ World Top 20000
และ อันดับที่ 10 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 731 ของ World Top 20000
Presence จำนวนของเนื้อหาที่ทำการเผยแพร่บน webdomains ที่สามารถสืบค้นได้โดย google โดย ทำการนับจำนวนทุกหน้ารวมถึงที่บันทึกไว้ใน cache ของ google ทั้งที่เป็น static และ dynamic web เทียบได้กับ เกณฑ์เดิมคือ Size
Impact คุณภาพของเนื้อหาที่ทำการประเมินโดย "virtual referendum" ซึ่งเป็น external inlinks ที่ได้ ทำการนับจาก providers ได้แก่ Majestic SEO และ ahrefs เทียบได้กับเกณฑ์เดิมคือ Visibility
Openness เป็นการวัดปริมาณการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยที่ทำการเผยแพร่โดยวัดจากจำนวน rich files (pdf,doc,docx,ppt) ซึ่งจะต้องอยู่ใน format ที่ถูกต้องเท่านั้น วัดโดย Google scholar เทียบกับเกณฑ์เดิมคือ Rich files
Excellence ผลการการตีพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับใน International Journals โดยมี data provider คือ Scimago group ทำการชี้วัดคุณภาพ เทียบได้กับเกณฑ์เดิมคือ Scholar
ผลปรากฏว่า
อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 280 ของ World Top 20000
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 294 ของ World Top 20000
อันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 339 ของ World Top 20000
อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 341 ของ World Top 20000
อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 416 ของ World Top 20000
อันดับที่ 6 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันดับที่ 451 ของ World Top 20000
อันดับที่ 7 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 459 ของ World Top 20000
อันดับที่ 8 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 524 ของ World Top 20000
อันดับที่ 9 มหาวิทยาลัยนเรศวร อันดับที่ 601 ของ World Top 20000
และ อันดับที่ 10 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 731 ของ World Top 20000
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เว็บไซต์ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนาถูกต้องตามหลัก SEO(Search Engine Optimization) จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักฯ ได้มีการจัดประชุมการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อให้คณะ/หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ Ranking Web of Universities และกระตุ้นให้การจัดอันดับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีอันดับที่สูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
"มช. มุ่งเน้นให้บุคลากรผู้พัฒนาเว็บไซต์ มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสำนักฯ ได้ติดตามและสรุปข้อมูลการประเมินผลคุณภาพเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงานด้วยเครื่องมือ Seo Quake และ SocSciBot นอกจากนี้ ได้ดำเนินการสร้าง external inlinks ให้เว็บไซต์ภายใต้ domain ของ cmu.ac.th เพื่อเป็นการเพิ่มการเชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่นมาสู่เว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยที่เชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูล MIS และฐานข้อมูลจากสำนักหอสมุด เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน ให้สามารถใช้อ้างอิงได้ตามมาตรฐานเดียวกับ SCOPUS ตลอดจนได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และแนะนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมาตรฐานของเว็บไซต์ รวมถึงการแนะแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้มีความเป็นมาตรฐานสากล"
รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอนพร กล่าวทิ้งท้ายว่า จากผลการจัดอันดับครั้งล่าสุดนี้ ถือเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยอย่างก้าวกระโดด ในการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจากความร่วมมือของคณะ และหน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นมาตรฐานสากล อันจะสนับสนุนความเป็นมหาวิทยาลัย ดิจิตัล (CMU Digital University) ตามนโยบายและเป้าหมายของมหาวิทยาลัยต่อไป
"มช. มุ่งเน้นให้บุคลากรผู้พัฒนาเว็บไซต์ มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสำนักฯ ได้ติดตามและสรุปข้อมูลการประเมินผลคุณภาพเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงานด้วยเครื่องมือ Seo Quake และ SocSciBot นอกจากนี้ ได้ดำเนินการสร้าง external inlinks ให้เว็บไซต์ภายใต้ domain ของ cmu.ac.th เพื่อเป็นการเพิ่มการเชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่นมาสู่เว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยที่เชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูล MIS และฐานข้อมูลจากสำนักหอสมุด เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน ให้สามารถใช้อ้างอิงได้ตามมาตรฐานเดียวกับ SCOPUS ตลอดจนได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และแนะนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมาตรฐานของเว็บไซต์ รวมถึงการแนะแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้มีความเป็นมาตรฐานสากล"
รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอนพร กล่าวทิ้งท้ายว่า จากผลการจัดอันดับครั้งล่าสุดนี้ ถือเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยอย่างก้าวกระโดด ในการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจากความร่วมมือของคณะ และหน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นมาตรฐานสากล อันจะสนับสนุนความเป็นมหาวิทยาลัย ดิจิตัล (CMU Digital University) ตามนโยบายและเป้าหมายของมหาวิทยาลัยต่อไป
Credit http://www.manager.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น