ครูลิลลี่ ไม่เห็นด้วย ราชบัณฑิตเตรียมแก้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ บอกเป็นเรื่องโกลาหล และทำให้เด็กสับสน ชี้ควรสอนให้เด็กเข้าใจการออกเสียงภาษาอังกฤษ และแนะให้อ่านอย่างถูกต้องมากกว่า
กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก เมื่อทางราชบัณฑิตได้เตรียมเสนอแก้ไขคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน 176 คำ โดยเติมวรรณยุกต์ให้ตรงกับเสียงการอ่าน อาทิ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์, เทคโนโลยี เปลี่ยนเป็น เท็คโนโลยี่, คลินิก เปลี่ยนเป็น คลิหนิก, ไนต์คลับ เปลี่ยนเป็น ไน้ต์ขลับ เป็นต้น
ล่าสุดวันนี้ (1 ตุลาคม) นายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือครูลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องนี้ว่า ตนไม่เห็นด้วยในการเปลี่ยนคำเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ทางราชบัณฑิตเตรียมเสนอแก้ เนื่องจากว่าเด็ก ๆ จะเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าสาเหตุที่ราชบัณฑิตอยากให้เปลี่ยนนั้น เพราะเป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาอังกฤษ และการเขียนก็ยังออกเสียงไม่ตรงกับวรรณยุกต์ แต่ส่วนตัวตนคิดว่าไม่จำเป็นเลย เช่น คำว่า "คอมพิวเตอร์" ถึงแม้ว่าการออกเสียงจะต้องออกว่า คอม-พิ้ว-เต้อ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนคำเขียนให้เป็นคำอ่าน และคำที่ใช้เขียนกันนั้นคนยอมรับและเข้าใจกันอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ครูลิลลี่ ยังกล่าวต่อว่า ทุกวันนี้คำศัพท์แสลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก แทบจะทุกวันด้วยซ้ำ หากจะเปลี่ยนจริง ๆ แค่ 176 ตัว คงไม่ใช่ เพราะต้องเปลี่ยนเป็นพัน ๆ คำ และเด็กนักเรียนก็จะเกิดความสับสนขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในฐานะที่ตนเป็นครูภาษาไทย ตนคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดในการสอนเด็กก็คือการอ่านออกเสียงให้ถูกต้องมากกว่า เช่น การออกเสียงแบบนี้เรียกว่าการออกเสียงแบบภาษาอังกฤษ การอ่านออกเสียงเช่นนี้เรียกว่าการอ่านออกเสียงแบบภาษาไทย เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง สำหรับเรื่องการเปลี่ยนการเขียนนั้น คงจะต้องถามคนไทยทั่วประเทศ ไม่ใช่ถามคนแค่หลักร้อยหลักพัน เพราะหากสมมติต่อไปอีก 50 ปี มีคณะกรรมการจากราชบัณฑิตมาเปลี่ยนให้กลับไปใช้แบบเดิม ก็จะเกิดการสับสนโกลาหลอย่างแน่นอน
ครูลิลลี่ ยังได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทางราชบัณฑิตบอกว่า ต้องการเปลียนคำเขียนให้วรรณยุกต์ตรงกับการออกเสียงนั้น ตนไม่เข้าใจว่าจะไปห่วงนักเรียนชาวต่างชาติทำไม น่าจะมองคนในชาติเป็นหลักมากกว่า เพราะเวลาคนไทยไปเรียนภาษาต่างประเทศก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับภาษานั้น ๆ เช่นกัน
ส่วนทางด้าน นายบุญส่ง อุษณรัสมี อนุกรรมการประเมินผลงานครูวิชาภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตครูเชี่ยวชาญภาษาไทย โรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยเช่นกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนการเขียนใหม่ตามราชบัณฑิต เนื่องจากภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย ดังนั้นก็ไม่ควรนำการออกเสียงของไทยไปกำหนดรูปแบบบการเขียนทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ และควรจะคงเขียนรูปแบบเดิมเอาไว้ ไม่เช่นนั้นจะดูเป็นเรื่องประหลาดจนกลายเป็นเรื่องตลก เช่น คำว่า โควตา ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าออกเสียงว่า โคว-ต้า เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเขียน ซึ่งแต่ละชาติก็ออกเสียงคำในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
ขณะที่ นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การเปลี่ยนคำศัพท์ครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ง่ายขึ้น และส่วนตัวคิดว่าคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากหนัก และคงไม่กระทบกับเนื้อหาหลักในตำราเรียนด้วย
ด้าน นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเขียนทับศัพท์มักทำให้คนสับสนอยู่แล้ว ส่วนตัวการเปลี่ยนในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี อาทิ คำว่า "แคลอรี" จริง ๆ อ่านออกเสียงว่า "แค-ลอ-รี่" แต่เขียนแคลอรี เด็ก ๆ ก็จะเกิดความสับสน แต่ถ้าเปลี่ยนก็น่าจะเข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม
ส่วนนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเห็นด้วย โดยบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าทำ เพราะจะทำให้ช่องว่างของภาษาลดลง เป็นประโยชน์แก่การสะกดคำให้ตรงตัวมากขึ้น ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนจริง ช่วงแรกก็จะมีปัญหาในเรื่องพจนานุกรมเท่านั้น แต่หากประชาสัมพันธ์ทางด้านโซเชียลมีเดีย ตนคิดว่าจะเข้าถึงเด็ก ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะสมัยนี้การสื่อสารมีความรวดเร็วมาก ดังนั้นการเผยแพร่คำเหล่านี้ให้ใช้อย่างแพร่หลายจึงไม่ใช่เรื่องยาก และคงใช้เวลาไม่นาน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก เมื่อทางราชบัณฑิตได้เตรียมเสนอแก้ไขคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน 176 คำ โดยเติมวรรณยุกต์ให้ตรงกับเสียงการอ่าน อาทิ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์, เทคโนโลยี เปลี่ยนเป็น เท็คโนโลยี่, คลินิก เปลี่ยนเป็น คลิหนิก, ไนต์คลับ เปลี่ยนเป็น ไน้ต์ขลับ เป็นต้น
ล่าสุดวันนี้ (1 ตุลาคม) นายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือครูลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องนี้ว่า ตนไม่เห็นด้วยในการเปลี่ยนคำเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ทางราชบัณฑิตเตรียมเสนอแก้ เนื่องจากว่าเด็ก ๆ จะเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าสาเหตุที่ราชบัณฑิตอยากให้เปลี่ยนนั้น เพราะเป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาอังกฤษ และการเขียนก็ยังออกเสียงไม่ตรงกับวรรณยุกต์ แต่ส่วนตัวตนคิดว่าไม่จำเป็นเลย เช่น คำว่า "คอมพิวเตอร์" ถึงแม้ว่าการออกเสียงจะต้องออกว่า คอม-พิ้ว-เต้อ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนคำเขียนให้เป็นคำอ่าน และคำที่ใช้เขียนกันนั้นคนยอมรับและเข้าใจกันอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ครูลิลลี่ ยังกล่าวต่อว่า ทุกวันนี้คำศัพท์แสลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก แทบจะทุกวันด้วยซ้ำ หากจะเปลี่ยนจริง ๆ แค่ 176 ตัว คงไม่ใช่ เพราะต้องเปลี่ยนเป็นพัน ๆ คำ และเด็กนักเรียนก็จะเกิดความสับสนขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในฐานะที่ตนเป็นครูภาษาไทย ตนคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดในการสอนเด็กก็คือการอ่านออกเสียงให้ถูกต้องมากกว่า เช่น การออกเสียงแบบนี้เรียกว่าการออกเสียงแบบภาษาอังกฤษ การอ่านออกเสียงเช่นนี้เรียกว่าการอ่านออกเสียงแบบภาษาไทย เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง สำหรับเรื่องการเปลี่ยนการเขียนนั้น คงจะต้องถามคนไทยทั่วประเทศ ไม่ใช่ถามคนแค่หลักร้อยหลักพัน เพราะหากสมมติต่อไปอีก 50 ปี มีคณะกรรมการจากราชบัณฑิตมาเปลี่ยนให้กลับไปใช้แบบเดิม ก็จะเกิดการสับสนโกลาหลอย่างแน่นอน
ครูลิลลี่ ยังได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทางราชบัณฑิตบอกว่า ต้องการเปลียนคำเขียนให้วรรณยุกต์ตรงกับการออกเสียงนั้น ตนไม่เข้าใจว่าจะไปห่วงนักเรียนชาวต่างชาติทำไม น่าจะมองคนในชาติเป็นหลักมากกว่า เพราะเวลาคนไทยไปเรียนภาษาต่างประเทศก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับภาษานั้น ๆ เช่นกัน
ส่วนทางด้าน นายบุญส่ง อุษณรัสมี อนุกรรมการประเมินผลงานครูวิชาภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตครูเชี่ยวชาญภาษาไทย โรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยเช่นกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนการเขียนใหม่ตามราชบัณฑิต เนื่องจากภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย ดังนั้นก็ไม่ควรนำการออกเสียงของไทยไปกำหนดรูปแบบบการเขียนทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ และควรจะคงเขียนรูปแบบเดิมเอาไว้ ไม่เช่นนั้นจะดูเป็นเรื่องประหลาดจนกลายเป็นเรื่องตลก เช่น คำว่า โควตา ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าออกเสียงว่า โคว-ต้า เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเขียน ซึ่งแต่ละชาติก็ออกเสียงคำในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
ขณะที่ นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การเปลี่ยนคำศัพท์ครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ง่ายขึ้น และส่วนตัวคิดว่าคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากหนัก และคงไม่กระทบกับเนื้อหาหลักในตำราเรียนด้วย
ด้าน นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเขียนทับศัพท์มักทำให้คนสับสนอยู่แล้ว ส่วนตัวการเปลี่ยนในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี อาทิ คำว่า "แคลอรี" จริง ๆ อ่านออกเสียงว่า "แค-ลอ-รี่" แต่เขียนแคลอรี เด็ก ๆ ก็จะเกิดความสับสน แต่ถ้าเปลี่ยนก็น่าจะเข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม
ส่วนนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเห็นด้วย โดยบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าทำ เพราะจะทำให้ช่องว่างของภาษาลดลง เป็นประโยชน์แก่การสะกดคำให้ตรงตัวมากขึ้น ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนจริง ช่วงแรกก็จะมีปัญหาในเรื่องพจนานุกรมเท่านั้น แต่หากประชาสัมพันธ์ทางด้านโซเชียลมีเดีย ตนคิดว่าจะเข้าถึงเด็ก ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะสมัยนี้การสื่อสารมีความรวดเร็วมาก ดังนั้นการเผยแพร่คำเหล่านี้ให้ใช้อย่างแพร่หลายจึงไม่ใช่เรื่องยาก และคงใช้เวลาไม่นาน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น