สวัสดีค่ะน้องๆ ตอนนี้เวลาในการเตรียมตัวสอบก็เหลือน้อยลงทุกทีๆ ยิ่งน้องม.6 คงรู้สึกประมาณว่า .... ทำไมเข็มนาฬิกามันเดินเร็วแบบนี้นะ แป๊บๆ จะสิ้นเดือนแล้วหรอ? เวลายิ่งบีบในการอ่านหนังสือมากเท่าไหร่ พี่แป้ง เชื่อว่าน้องๆ ก็ยิ่งเครียดมากเท่านั้น
นอกจากปัญหาที่เกิดกับการสอบบ่อยๆ คือ การอ่านหนังสือไม่ทันแล้ว อีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันเลยก็คือ "การทำข้อสอบไม่ทัน" เป็นปัญหาที่หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่า "ตอนทำข้อสอบเราควบคุมไม่ได้" หรือ "เราไม่รู้คำถามก่อนนิจะได้ตอบเร็ว ทำเร็ว" ....... คราวนี้พี่แป้งเลยเอาเทคนิคในการทำข้อสอบเร็วมาฝากค่ะ มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่าาาาาาาา
นอกจากปัญหาที่เกิดกับการสอบบ่อยๆ คือ การอ่านหนังสือไม่ทันแล้ว อีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันเลยก็คือ "การทำข้อสอบไม่ทัน" เป็นปัญหาที่หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่า "ตอนทำข้อสอบเราควบคุมไม่ได้" หรือ "เราไม่รู้คำถามก่อนนิจะได้ตอบเร็ว ทำเร็ว" ....... คราวนี้พี่แป้งเลยเอาเทคนิคในการทำข้อสอบเร็วมาฝากค่ะ มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่าาาาาาาา
>> ฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ (และมันจะชินไปเอง) : อันนี้ก่อนสอบ
การทำข้อสอบบ่อยๆ นั้นมันจะไม่เห็นผลภายในครั้งสองครั้งหรอกค่ะ มันต้องฝึกทำไปเรื่อยๆ บางทีถ้าลองทำบ่อยๆ จะรู้ได้เลยว่าข้อสอบจะเวียนๆ อยู่ไม่กี่แบบ แล้วสมองเราจะจำแบบข้อสอบเองโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยล่ะ บางทีลองทำไปทำมาอาจเจอข้อสอบซ้ำกันด้วยนะ เป็นการช่วยให้เราจำขึ้นไปอีก ยิ่งเราทำข้อสอบบ่อยมากแค่ไหน เราจะชินกับรูปแบข้อสอบมากขึ้นเท่านั้น เมื่อชินกับรูปแบบข้อสอบแล้วก็สบายเลยค่ะ ทำได้โดยไม่ต้องกังวลว่าถูกหรือเปล่า หรือมาแบบนี้ควรเลือกแบบไหน โดยเฉพาะข้อสอบ GAT พาร์ทเชื่อมโยง ยิ่งทำเยอะยิ่งมีประสบการณ์ในการเชื่อมโยงและรู้ว่าเราควรเลือกตอบอะไร เชื่อพี่ซิ!! (พี่ทำมาแล้ว)
>> ตัดสินใจให้แน่นอนไปเลย
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำข้อสอบคือการตัดสินใจนะคะ ถ้ายังตัดสินใจไม่แน่นอนว่าจะทำอะไรต่อ หรือสมมติว่าทำโจทย์แล้วเกิดอาการ "ตัน" ไปต่อไม่ถูกก็ต้องรีบบอกตัวเองเลยว่า หยุดก่อน แล้วค่อยกลับมาใหม่อีกครั้งไม่งั้นมันก็จะนิ่งอยู่อย่างนั้นล่ะค่ะ ทำอะไรไม่ได้เลย
อีกกรณีนึง คือ อ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจ อ่านรอบสองก็ยังไม่เข้าใจ หรือ มั่นใจแล้วละว่าทำไม่ได้ ก็ให้ข้ามไปก่อน ตัดสินใจข้ามมันไปเลยทำข้อที่เราได้แล้วค่อยย้อนกลับมาทำใหม่เผื่อจะได้ไอเดียอะไรดีๆ ก็เป็นได้นะ รวมทั้งไม่เสียเวลาเล็กๆ น้อยๆ ด้วย ถ้าเสียเวลาครั้งละ 5 วินาที 10 รอบ ก็ 50 วินาทีแล้วนะคะ ทำเพิ่มได้อีกข้อเลยละ!
โดยอาการตันอย่างที่บอกไปมันจะเกิดขึ้นในวิชา PAT 1 คณิตศาสตร์ และ PAT 3 วิศวกรรม นะคะ เพราะว่าเป็นข้อสอบคำนวณที่ข้อนึงใช้หลายเรื่องมารวมกัน เขียน ๆ คำนวณไปแล้วไปต่อไปถูกนี่นั่งมึนเลยนะคะ ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาก็ได้ค่ะ
>> ลองแบ่งเวลาดูซิ ช่วยบริหาร(เวลา)ได้นะ
ในการสอบ GAT/PAT จะมีจำนวนข้อสอบและเวลาในการสอบแตกต่างกัน ในที่นี้ พี่แป้ง ขอยกตัวอย่าง GAT Eng ละกันนะ คือตามที่ สทศ. ได้ประกาศรูปแบบข้อสอบ GAT PAT ต.ค.55 มาแล้วคือ 60 ข้อเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที(90 นาที) โดยเป็นปรนัยทั้งหมด ใน 60 ข้อนี้ก็จะแบ่งเป็นพาร์ทต่าง ๆ ดังนี้
ข้อสอบ GAT Eng มี 4 พาร์ท จะให้เฉลี่ยเวลาเท่ากันทุกข้อก็ไม่ได้ ก่อนอื่นเรามี 90 นาที แบ่งออกมาเลยค่ะให้เป็นเวลาทบทวนและฝนซ้ำ ปกติพี่แป้งทำข้อสอบพี่แป้งจะแบ่งไว้ 10 นาที ตอนนี้ก็จะเหลือ 80 นาที โดยพาร์ท Reading เป็นพาร์ทที่ผลาญเวลามากที่สุด กว่าจะตอบได้แต่ละข้อต้องอ่านแล้วอ่านอีก เราก็ให้เวลามากที่สุด ส่วนพาร์ท Vocabulary เป็นการวัดความรู้ศัพท์ รู้คือรู้ ไม่รู้ก็คือไม่รู้ เราก็ให้เวลาน้อยหน่อย ซึ่งเมื่อเรากำหนดเวลาได้แล้วมันจะทำให้เราสปีดตัวเองขึ้นมา และรู้ตัวว่่าถ้าช้าก็จะไม่ทันนะ ส่วน PAT 5 มี 150 ข้อ เวลา 3 ชั่วโมง(180 นาที) ก็ตีไปเลยค่ะข้อละ 1 นาที ที่เหลือเอาไว้เป็นเวลาฝนข้อสอบและทบทวนอีกรอบ (2 รอบก็ดี)
>> อ่านทีละพารากราฟ ไม่ลืมแน่!
การทำข้อสอบที่ต้องอ่านนานๆ โดยเฉพาะ GAT เชื่อมโยง และ GAT Eng ส่วน Reading อ่านยาวมาก พออ่านบรรทัดสุดท้ายจบ แน่นอนเลยว่าลืมบรรทัดแรก (เป็นเหมือนกันไหม?) เพราะฉะนั้นทริคง่ายๆ คือ อ่านทีละพารากราฟ ถ้าเป็นข้อสอบ Reading คำถามจะเรียงข้อจากพารากราฟแรกลงมาเลยค่ะ ส่วน GAT เชื่อมโยงอ่านทีละพารากราฟแล้วเขียนประเด็นไว้ กันลืมได้ด้วยและให้เราเห็นภาพได้ด้วยค่ะ ลองเอาไปใช้ดูตอนฝึกทำโจทย์ก่อนก็ได้นะคะ รับรองเร็วขึ้นจริง ๆ
.
"
>> ถ้าข้อสอบไม่ได้ห้ามขีดเขียน ก็เขียนโลดดดดด....
การเขียนมันทำให้เราหาประเด็นสำคัญได้เร็วขึ้นจริงๆ นะคะ เวลาที่ทำข้อสอบเจออะไรที่คิดว่าสำคัญในโจทย์ก็ขีดไว้เลยค่ะ โดยใช้ดินสอ (ไม่ต้องเอาปากกาสีๆ เข้าไปนะ มันผิดกฎ) โดยเฉพาะโจทย์ที่ถามว่า ข้อใดไม่ใช่ข้อที่ถูกต้อง น้องๆ จะเผลอกันตลอด พอเจอคำว่าถูกต้องก็เล็งข้อที่ถูกเลย สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ อ้าว!!! มันถูกตั้ง 3 ข้อนิ แล้วฉันจะตอบอะไร และก็ต้องกลับไปอ่านโจทย์ใหม่ทำให้เสียเวลาค่ะ ถ้าเจอคำว่าไม่ใช่ให้เรารีบทำวงเอาไว้เลย เป็นการย้ำตัวเอง นอกจากจะช่วยเซฟเวลาแล้วเราก็ไม่พลาดในคำตอบด้วยนะเออ แต่!! ถ้าคำสั่งว่าห้ามขีดเขียนลงในข้อสอบ ก็อย่าไปเขียนอะไรนะคะ เดี๋ยวจะซวย ย ย ย .....
>> ฝึกในการฝนข้อสอบ อย่าปราณีต!
อีกเรื่องที่ทำให้ทำข้อสอบช้า คือ การฝนอย่างปราณีต มักจะเกิดกับน้องๆ ผู้หญิงด้วย (แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายไม่ปราณีตนะ) พี่แป้ง จะบอกว่าไม่ต้องปราณีตขนาดฝนคำตอบต้อง กลมป๊อก! หรอกค่ะ คืออาจจะเป็นวงกลมแบบนี้ (ดังรูป) ก็ได้ น้องบางคนต้องวาดแบบกลมเด๊ะ ถ้าเศษคาร์บอนหลุดออกมาจากเส้นเขียวรอบวงกลมนิดนึงก็นั่งเล็มอยู่นั่นแหละ เสียเวลาทำข้อสอบนะคะ หลายๆ คนชอบบอกว่าทำข้อสอบไม่ทันเพราะฝนไม่ทัน เพราะฉะนั้นรีบแก้ด่วน ๆ เลยค่าาาาาา
>> ถ้ารู้สึกตึงหรือง่วง แอบงีบ(แปบนึง)ได้นะ
อ่านอีกรอบนะคะว่า "งีบ" ไม่ใช่ "หลับ" ไม่งั้นมียาววววว ........ การงีบเป็นการพักสมองในเวลาสั้นๆ ค่ะ โดยน้องๆ ทำได้โดยการฟุบลงที่โต๊ะนั่นแหละค่ะ ปล่อยให้สมองโล่งๆ ไม่ต้องคิดอะไรเลยประมาณ 3-5 นาทีก็พอค่ะ เราจะรู้สึกสดชื่นขึ้น และสามารถทำข้อสอบได้ดีขึ้น ไม่ต้องมานั่งอึนให้เสียเวลา บางคนจะนั่งสมาธิเลยก็ได้นะคะ อาจารย์ผู้คุมสอบไม่ว่าหรอกค่ะ แต่ถ้าหลับอาจารย์ผู้คุมสอบก็ไม่ปลุกนะคะข้อหาหมั่นไส้ จะมาหลับอะไรในห้องสอบละนี่!! แต่ถ้าทำเสร็จแล้วก็หลับไปเลยค่ะเพราะยังไงก็ต้องรอหมดเวลาและออกพร้อมกันอยู่แล้ว
.
7 เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้น้องๆ ทำข้อสอบเร็วขึ้นนะคะ แต่เหนือสิ่งอื่นใดในการทำข้อสอบคือ "การตัดสินใจ" เป็นปัญหาที่ทำข้อสอบช้าเพราะตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรดี อย่าลืมลองฝึกทำข้อสอบก่อนเวลาจริงด้วยนะคะ จะได้เพิ่มความมั่นใจในการทำข้อสอบให้น้องๆ ด้วย สุดท้ายนี้ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยนำพาให้น้องๆ สอบได้คะแนนดีกันทุกคนเลยนะคะ สู้ไปด้วยกัน เย้!!!!!!
credit:dekd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น