การสอบเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โอกาสหน้าเรายังสามารถแก้ตัวใหม่ได้อีก ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมและพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเวลา ก็ยังมีสถาบันการศึกษาอื่นให้เลือกเรียนอีกมาก
ผลพวงต่อเนื่องอันเกิดจากการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา(Admissions กลาง) ประจำปีการศึกษา 2553 นั้น ต้องบอกว่ามีหลากหลายอารมรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้วันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ซึ่งตามปฏิทิน Admissions มีกำหนดจะประกาศผลในวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 และหากวิเคราะห์จากข้อความที่ปรากฎออกมาจากสื่อเว็บไซต์ก็พอจะสะท้อนให้เห็นถึงความ "วิตกกังวล" และ "ความเครียด" กับผลที่จะออกมา
ข้อความต่อไปนี้ คือ อารมณ์ส่วนหนึ่งที่ปรากฎในเว็บไซต์ "ทุกคนกำลังคิดถึงสิ่งได้เลือกไป ทุกคนกำลังคิดถึงวันที่ผ่านมา ทุกคนกำลังคิดถึงใครบางคนที่รอเราอยู่ข้างหลัง ทุกคนกำลังคิดถึงตนเอง ทุกคนกำลังคิดถึงว่าติดไหม ทุกคนกำลังคิดถึงว่าติดแล้วจะเรียนได้ไหม ทุกคนกำลังคิดถึงเรียนแล้วจบออกมาจะเป็นไป ทุกคนกำลังคิดถึงความฝันที่สำเร็จแล้ว ทุกคนกำลังคิดถึงวินาทีนี้ได้มหาวิทยาลัยแล้ว ทุกคนกำลังคิดถึงวันสุดท้ายของปี 1 ปี 2 ปี 3 และวันสุดท้ายของปี 4 ทุกคนกำลังคิดถึงวันรับปริญญา ทุกคนกำลังคิดถึงสมัครงาน ทุกคนกำลังคิดถึงเงินเดือนเดือนแรก ทุกคนกำลังคิดถึงว่า เราประสบผลสำเร็จในชีวิตแล้ว"
การสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Admissions) แม้จะเป็นเส้นทางสำคัญเส้นทางหนึ่งของชีวิตของเยาวชน ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเส้นทางที่จะต้องมีทั้งคนสมหวังและผิดหวัง สำหรับคนที่พลาดตรงนี้ อย่าเพิ่งเสียใจ หมดหวัง เพราะการสอบเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โอกาสหน้าเรายังสามารถแก้ตัวใหม่ได้อีก ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมและพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเวลา ก็ยังมีสถาบันการศึกษาอื่นให้เลือกเรียนอีกมาก อย่าคิดสั้นหรือทำร้ายตัวเอง เพราะอนาคตไม่ได้วัดกันที่เรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว
ผลการสำรวจสภาวะจิตใจของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น ( Admission) ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจ ระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2549 ซึ่งแม้ว่าผลวิจัยจะเก่า แต่ก็ยังคงเป็นความจริงทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมถึงอนาคต โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากปัญหาการคัดเลือกเยาวชนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาในระบบแอดมิสชั่น ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ สภาพจิตใจของเยาวชน ที่รอการประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจนหาทางออกไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต จึงได้ร่วมมือกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจสภาวะจิตใจของเยาวชน ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการดำเนินงาน เฝ้าระวัง และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนต่อไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวถึงผลสำรวจว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 รู้สึกเครียดและเมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด พบมาจากตนเองมากที่สุด ถึงร้อยละ 73.0 รองลงมาเป็นแม่ ร้อยละ 22.6 และพ่อ ร้อยละ 21.7 โดยกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 ระบุพ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้น เนื่องจากตั้งความหวังไว้สูง ร้อยละ 32.3 ระบุพ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดลดลง เนื่องจากคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ให้คำแนะนำและไม่ว่าอะไร ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุพ่อแม่ไม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นหรือลดลง
นอกจากนี้เมื่อถามถึงอนาคต ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่นออกมาว่า สอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้จะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 ระบุจะเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 24.7 จะ เข้ามหาวิทยาลัยเปิด ร้อยละ 10 รอสอบปีหน้า ใขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.5 คาดว่าพ่อแม่จะให้คำแนะนำ ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่นไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ รองลงมาร้อยละ 48.0 คาดว่าพ่อแม่จะปลอบใจ ร้อยละ 36.1 หาทางออกอื่นให้ ร้อยละ 19.6 เสียใจ ร้อยละ 12.8 เงียบ ร้อยละ 11.00 ตำหนิและมีเพียง ร้อยละ 0.9 ที่คาดว่า พ่อแม่จะให้กำลังใจ และเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อกรณีการฆ่าตัวตาย จากความผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 82.2 บอกว่าไม่น่าทำ เนื่องจากมีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย หาสถานที่เรียนใหม่ ไม่ใช่ความคิดที่ดี สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต ฯลฯ
นอกจากนี้เมื่อถามถึงอนาคต ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่นออกมาว่า สอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้จะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 ระบุจะเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 24.7 จะ เข้ามหาวิทยาลัยเปิด ร้อยละ 10 รอสอบปีหน้า ใขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.5 คาดว่าพ่อแม่จะให้คำแนะนำ ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่นไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ รองลงมาร้อยละ 48.0 คาดว่าพ่อแม่จะปลอบใจ ร้อยละ 36.1 หาทางออกอื่นให้ ร้อยละ 19.6 เสียใจ ร้อยละ 12.8 เงียบ ร้อยละ 11.00 ตำหนิและมีเพียง ร้อยละ 0.9 ที่คาดว่า พ่อแม่จะให้กำลังใจ และเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อกรณีการฆ่าตัวตาย จากความผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 82.2 บอกว่าไม่น่าทำ เนื่องจากมีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย หาสถานที่เรียนใหม่ ไม่ใช่ความคิดที่ดี สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต ฯลฯ
"จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลที่สำคัญ อย่างน้อย 3 ประเด็น คือ ประการแรก นักเรียนที่มีประสบการณ์สอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบแอดมิสชั่น ส่วนใหญ่กำลังเครียด ประการที่สอง นักเรียนเหล่านี้คิดว่าตนเองเป็นสาเหตุของความเครียดเหล่านั้น ซึ่งการคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ถ้าไม่รู้จักบริหารจัดการความเครียดและคิดโทษตัวเอง และประการที่สาม สังคมรอบข้างนักเรียนที่ส่วนใหญ่ระบุว่า มีความเอื้ออาทรในระดับค่อนข้างมากถึงมากนั้น มีข้อสังเกตว่า ถ้าความเอื้ออาทรที่มาจากพ่อแม่และคนใกล้ชิดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดทอนความเครียดลงได้ แต่ถ้าความเอื้ออาทรนั้นมีมากเกินไป อาจทำให้นักเรียนเหล่านี้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าหรืออึดอัดไปได้เช่นกัน "
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในอนาคตเมื่อเยาวชนทราบผลแล้วว่า ตนเองเข้ามหาวิทยาลัยที่คาดหวังไม่ได้ กว่า 40% คาดว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาไปในทางลบ เช่น เงียบ เสียใจ ตำหนิ ซึ่งเป็นข้อคิดที่พ่อแม่พึงระลึกไว้ ทั้งนี้ ควรแสดงท่าทีทางบวก เช่น ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและช่วยหาทางออกแทน สำหรับท่าทีต่อสังคม จะเห็นได้ว่าเยาวชนมีทัศนคติ ในทางบวก เพราะเยาวชน 2 ใน 3 ยังมีความรู้สึกว่าสังคมรอบตัวมีความเอื้ออาทร ซึ่งน่าจะเป็นเพราะท่าทีของสื่อต่างๆ ที่ผ่านมา ที่แสดงออกถึงความเห็นใจ พยายามนำเสนอปัญหาและหาทางออก และมีจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่ารัฐบาล มีความจริงใจต่อเยาวชน แต่ทั้งนี้ควรจริงจัง กับการแก้ไขปัญหาเยาวชนให้มากขึ้น
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับคนที่พลาดตรง อย่าเสียใจ อย่าหมดหวัง เพราะการสอบเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ไม่ใช่ทั้งหมด โอกาสยังมี ยังสามารถแก้ตัวใหม่ได้อีก ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมและพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเวลา ก็ยังมีสถาบันการศึกษาอื่นให้เลือกเรียนอีกมาก ทั้งสถาบันฯ ของรัฐและเอกชน ขอแจ้งให้ทราบกันอีกครั้ง ย้ำกันอีกหน สำหรับข้อคิดในการเลือกคณะและสาขา โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง www.eduzones.com นักวิชาการและวิทยากรพิเศษ เปิดเผย ว่า 7 กระแสที่จะก่อให้เกิดอาชีพในอนาคต ประกอบด้วย
- กระแสที่ 1 ความนิยมอินเตอร์ โดยให้เหตุผลว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้โลกกลายเป็นดวงดาวที่ไร้พรมแดน ผู้คนสามารถทำการค้าขายได้ทั่วโลก ดังนั้นการเรียนการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกด้านนี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพล่าม มัคคุเทศก์ อาชีพนักแปล อาชีพนักธุรกิจระหว่างประเทศ นักกีฬาอาชีพ อาชีพเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
- กระแสที่ 2 E-commerce ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย กระแส E-commerce สามารถปฏิวัติการค้าขายแบบเก่า ๆ ได้อย่างชิ้นเชิง เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ แต่รายได้สูง จึงเป็นสาขาและอาชีพที่จำเป็นต่อโลกนี้อย่างแน่นอน อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพ Webmaster อาชีพ Programmer อาชีพ Graphic Design อาชีพวิศวกร ซอฟต์แวร์ อาชีพนักบิน
- กระแสที่ 3 การขาดแคลนพลังงาน Energy ทรัพยากรของโลกมีจำนวนจำกัด และกำลังจะมีปัญหาขาดแคลน การศึกษาในเรื่องการจัดการทรัพยากร การค้นคว้าพลังงานใหม่ ๆ และการจัดการสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาขาที่มีอนาคตอย่างยิ่ง อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพวิศวกร ปิโตรเคมี อาชีพวิศวกร นาโน อาชีพนักธรณีวิทยา อาชีพวิศวกร เครื่องกลและอาชีพนักเทคโนฯ ชีวภาพ
- กระแสที่ 4 ความนิยม Center กระแสที่เกิดจากการรวมกลุ่มเป็นศูนย์กลางแรงงานและศูนย์กลางแรงงานและศูนย์กลางผลิตสินค้า เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้า จะทำให้เกิดการสร้างการผลิตสินค้านานาชาติขึ้น อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพผู้นำเข้าและส่งออก อาชีพนักการฑูต อาชีพนักกฎหมายระหว่างประเทศ
- กระแสที่ 5 ความความตื่นตัวภูมิปัญญาท้องถิ่น คนไทยเริ่มตื่นตัวในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เริ่มตระหนักถึงของดีที่บรรพชนคิดไว้ให้และนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งวัฒนธรรม กีฬา วิถีชีวิตของคนไทยจะกลายเป็นอาชีพที่หารายได้เข้าประเทศ อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพนักวิทยาศาสตร์ อาชีพนักวิจัยอาชีพนักออกแบบผลิตภัณฑ์ แพทย์แผนไทย-จีน
- กระแสที่ 6 กระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Social เมื่อวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้า คนในสังคมรู้จักการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ผู้สูงอายุจะก้าวทันเทคโนโลยีและคำนึงถึงคุณภาพชีวิตตนเองมากขึ้น ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะสามารถทำเงินได้ในอนาคต อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล อาชีพด้านสุขภาพ และ
- กระแสที่ 7กระแสนวัตกรรม กระแสนี้จะเป็นการศึกษา วิจัย บูรณาการ ศาสตร์ด้านการสื่อสาร คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การจัดการเชิงธุรกิจ ศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิดการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ สาขานี้จึงเป็นที่ต้องการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาชีพในอนาคตของสาขานี้ ได้แก่ อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาวิทยาศาสตร์ อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาการออกแบบภายใน อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาภาพยนต์และวีดีโอ อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาการศึกษาการออกแบบ
รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เป็นสถาบันการศึกษาภาคเอกชน ที่มิได้แสวงหากำไร มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นให้เป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและชำนาญทักษะภาคปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมในการ เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นปณิธานอันแรงกล้าของสถาบัน นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างสรรค์มหาวิทยาลัย ให้เป็นสถาบันเอกลักษณ์ด้านจีนศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยวางเป้าหมายผลักดันสู่ความเป็นผู้นำด้านจีนศึกษาและธุรกิจจีนในไทย ภายใน 2 ปี และมีแนวทางการบริหารให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งความพอเพียง อย่างเป็นรูปธรรม จะอย่างไรก็ตามในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา สถาบันได้ผลิตนักศึกษาที่เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนกว่า 18,000 คน ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 9,000 คน เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ทั้งหมด 12 คณะ รวม 37 สาขาวิชา นอกจากนี้ ยังมีระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี รวมถึง หลักสูตรนานาชาติและปริญญาโท โดยมีคณะที่โดดเด่น คือ คณะการแพทย์แผนจีน คณะทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิ เภสัชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด สาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษา -วัฒนธรรมจีนและคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งเน้นธุรกิจจีน นอกจากนี้ยังมีคณะน้องใหม่ทางสายสังคมศาสตร์ อย่างนิติศาสตร์และนิเทศศาสตร์อีกด้วย
ผศ.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เปิดเผยกับ "การศึกษาอัพเกรด" ว่า ขอให้กำลังใจเยาวชนทุกคนและอยากให้ข้อคิดว่า ความสำคัญในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ที่ Admissions อย่างเดียว ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ที่เปิดรับสมัครตรงค่อนข้างมาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียว ก็เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่กระจายโอกาสนี้เช่นเดียวกัน จะอย่างไรก็ตาม หลังประกาศผล Admissions ประจำปีการศึกษา 2553 แล้ว ทางมหาวิทยาลัย ก็ยังเปิดรับสมัครนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาที่สนใจทาบด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาษาจีน บริหารธุรกิจจีน หากสนใจให้มาสมัครได้ และอยากบอกว่าคุณภาพของการศึกษาไม่ได้อยู่ที่มหาวิทยาลัยอย่างเดียว มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยเปิดก็อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้น นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาในสาขาที่ตัวเองชอบ และคงไม่จำเป็นต้องเลือกมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้น มหาวิทยาลัยเอกชนก็มีหลายแห่งที่กำลังเปิดรับสมัครและให้โอกาสทุกคน
"สำหรับจุดเด่นของหลักสูตรที่เกี่ยวกับภาษาจีนและจีนศึกษา ขอเรียนว่า "ภาษาจีน" ได้รับความนิยมเรียนกันมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน นักเรียนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของภาษาจีนต่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต เพราะจีนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นทุกที คณะศิลปศาสตร์ มฉก.ทำการเปิดสอนถึง 9 สาขาวิชา มีทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ มีให้เลือกทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาจีน สาขาการท่องเที่ยวและบริการและสาขาจีนศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท"
อาจารย์พิษณุ เหรียญมหาสาร รองอธิการบดี คณบดีคณะบริหารธุรกิจและผู้อำนวยการสถาบันธุรกิจไทย-จีนภิวัฒน์ กล่าวถึงความโดดเด่นของคณะบริหารธุรกิจว่า มฉก.ได้เปรียบที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือโดยตรงกับจีน จึงสามารถสร้างองค์ความรู้ด้านธุรกิจจีนและผลิตบัณฑิตที่มีทั้งคุณภาพและประสบการณ์ ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจไทย-จีน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย โดยคณะบริหารธุรกิจ ของ มฉก.เปิดสอนทั้งสิ้น 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาบัญชี การจัดการ การตลาด การเงิน ธุรกิจระหว่างประเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานและบริหารธุรกิจภาคภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนจะเน้นการสัมมนา ดูงานและฝึกอบรมในประเทศจีน ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์ อธิการบดี วิทยาลัยราชพฤกษ์ เปิดเผยว่า วิทยาลัยราชพฤกษ์ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระดับสถาบัน ระดับกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยวและเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2552 เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ มุ่งเน้นคุณภาพ คุณธรรม นำหน้าสู่สากล และเป็นสถาบันที่เข้าร่วมในระบบ Admissions ปีการศึกษา 2553 ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่สอบ Admissions ปีนี้
"ในส่วนของวิทยาลัยราชพฤกษ์ มีหลักสูตรให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย โดยปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบัญชี สาขาวิชาการบัญชี คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ โดยผู้สนใจติดต่อสอบถามและสมัครเรียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปที่ วิทยาลัยราชพฤกษ์ เลขที่ 9 หมู่ 1 ถนนนครอินทร์ (พระราม 5-ราชพฤกษ์) ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โทร.0 2432 6101-5www.rc.ac.th"
ดร.ปัทมา รูปสุวรรณกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2553 หลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 คณะ ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขากราฟฟิกและแอนนิเมชั่น สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการตลาด สาขาการเงิน สาขาการจัดการ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ และคณะศิลปศาสตร์ สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขานิเทศศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ สาขาภาษาจีนธุรกิจ สาขาภาษาไทยธุรกิจ ผู้สนใจสมัครได้ที่ศูนย์รับสมัครส่วนกลาง ศูนย์รับสมัครกรุงเทพฯ และศูนย์รับสมัครต่างจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 6/999 ซ.พหลโยธิน 52 แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร.0 2972 7200
ดร.พรพิมล ประวัติรุ่งเรือง Director Human Resources Department โรงเรียนสยามคอมพิวเตอร์และภาษา กล่าวฝากเป็นข้อคิดว่า มีรายงานการวิจัยระบุว่าประชากรสูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและวัยแรงงานก็จะมีจำนวนลดลง โดยปัจุจบันมีแนวโน้มในหลายประเทศและประเทศเหล่านั้น ก็ต้องมีการปรับระบบบริหารและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจจะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อแนวโน้มจะเป็นอย่างนี้ กลุ่มวัยแรงงานก็จะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มทักษะอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้เมื่อมีการเปิดเสรีทางด้านแรงงาน ก็จะมีแรงงานจากประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนเข้ามาหรือแรงงานไทยออกไปทำงาน แน่นอนว่าจะต้องมีการสื่อสาร นอกเหนือจากภาษาอังกฤษอาจจะมีภาษาท้องถิ่นเข้ามาด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องมีทักษะ ใครได้ก็จะมีโอกาสและได้เปรียบในการไปทำงานต่างประเทศหรือได้ทำงานร่วมกับนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนจากการเปิดเสรีการค้า
โรงเรียนสยามคอมพิวเตอร์และภาษา เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ มายาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ได้จัดหลักสูตรอบรมประชากรวัยแรงงาน เพื่อรองรับการเปิดเสรีแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยได้เน้นหลักสูตรวิชาชีพคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เบื้องต้นจนถึงระดับสูงแล้ว ยังมีหลักสูตรภาษาจีน เพื่อการสื่อสารเบื้องต้นจนถึงระดับสูง หลักสูตรการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น เพื่อการสื่อสาร เบื้องต้นจนถึงระดับสูง สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเพิ่มทักษะให้กับตนเอง สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.siamcom.co.th โทร.0 2247 2345-54
เผยอาชีวะฯ อัตราตกงานน้อยสุด
ดร.ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน กระทรวงศึกษาธิการ (กรอ.ศธ.) ว่า ที่ประชุมมีมติปรับแก้ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนกับการศึกษาอีกครั้ง ให้สอดคล้องกับโครงสร้างกำลังแรงงานของประเทศ ซึ่งพบว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาตกงานน้อยที่สุด ส่วนผู้ที่จบปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์ ตกงานมากที่สุดและที่น่าตกใจก็คือ แรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่า เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสูงที่สุดและขาดแคลนมากที่สุด
"เมื่อวิเคราะห์ลงลึกระดับกลุ่มจังหวัดพบว่า ความต้องการแรงงานในภาคตะวันออก เช่น อุตสาหกรรม การเกษตร การท่องเที่ยว มีความต้องการแรงงานมากในทุกระดับการศึกษา แต่กลับมีคนตกงานในทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการจึงตกงาน ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข คือ คุณภาพการศึกษาของแรงงานทุกระดับ ต้องยกระดับให้ได้ถึงเป้าตามที่ตลาดต้องการ โดยที่ประชุม กรอ.ศธ.เห็นว่า จะต้องกำหนดกรอบคุณวุฒิแห่งชาติหรือ National Qualification Framework (NQF) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับชาติในทุกสาขาวิชา ให้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา"
"เมื่อวิเคราะห์ลงลึกระดับกลุ่มจังหวัดพบว่า ความต้องการแรงงานในภาคตะวันออก เช่น อุตสาหกรรม การเกษตร การท่องเที่ยว มีความต้องการแรงงานมากในทุกระดับการศึกษา แต่กลับมีคนตกงานในทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการจึงตกงาน ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข คือ คุณภาพการศึกษาของแรงงานทุกระดับ ต้องยกระดับให้ได้ถึงเป้าตามที่ตลาดต้องการ โดยที่ประชุม กรอ.ศธ.เห็นว่า จะต้องกำหนดกรอบคุณวุฒิแห่งชาติหรือ National Qualification Framework (NQF) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับชาติในทุกสาขาวิชา ให้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา"
ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า ขณะนี้พบว่า แรงงานที่ใช้อยู่มีคุณวุฒิระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่า เป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งคงต้องมีการพิจารณากันถึงนโยบายชาติว่าเราต้องการใช้แรงงานเหล่านี้ตลอดไปหรือไม่ จะอย่างไรก็ตาม ได้มีการกำหนดกรอบมาตรฐานระดับชาติ ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการ 6 เดือน จากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นำไปใช้ เพื่อปรับการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรง งาน หากปล่อยไว้ผลผลิตของแต่ละองค์กรหลักก็จะตกงานและนำระบบแนะแนวเข้ามาใช้ เพื่อแนะแนวให้เด็กเห็นว่าการเรียนด้านอาชีวศึกษามีอัตราการตกงานน้อย ดังนั้น ก็ควรเลือกเรียนด้านอาชีวศึกษา หากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น แนวโน้มการตกงานก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย
นิตยสารการศึกษาอัพเกรด ฉบับ 144
Credit : meedee.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น