ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ อะไรคือสาเหตุที่ผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียนชั้น ม.6 จึงคะแนนตกต่ำลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผลสอบล่าสุดปีการศึกษา 2554 ที่คะแนนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยเกือบทุกวิชาใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดย
เฉพาะครั้งนี้มีนักเรียนสอบได้คะแนนต่ำสุดเป็น "ศูนย์" ในทุกวิชา ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ นักวิชาการด้านการศึกษา และวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับข้อสอบโอเน็ตให้กับครูอาจารย์ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน ได้ให้ทรรศนะต่อปัญหาดังกล่าว
- เหตุใดผลการสอบโอเน็ตของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ จึงตกต่ำลงมาก ทั้งที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตั้งเป้าว่าจะต้องเพิ่มให้ได้อย่างน้อย 3% ในปีการศึกษา 2554 ?
สาเหตุมาจากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือระดับความรู้ของนักเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กำหนดไว้ กับการสอนจริงของผู้สอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงส่งผลให้ความรู้ที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียนอยู่ในระดับขั้นต่ำกว่าเกณฑ์ และยังส่งผลให้ผลการสอบวัดโอเน็ตไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไปด้วย
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด คือการกำหนดให้นักเรียนผ่านการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น การแสดงออกในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีแบบแผนด้วยตัวของผู้เรียนเอง ส่วนการสอนของครู ต้องออกแบบการสอนที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่นักเรียนต้องคิด ปฏิบัติ และแก้ปัญหา เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้สรุปความรู้ ความคิดรวบยอดจากการคิด การปฏิบัติ และสรุปเป็นหลักการด้วยตนเอง จึงจะตรงตามจุดประสงค์ที่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกำหนด
แต่ในสภาพจริงการสอนของครูไม่ได้มีการออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้คำถามนำไปสู่การพานักเรียนคิดและลงมือทำด้วยตัวของผู้เรียนเอง แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการสอนแบบอธิบาย บอกเล่า ให้ท่องจำเนื้อหาที่ครูต้องการให้จำให้ครบถ้วน ซึ่งไม่ได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การคิด การปฏิบัติ และการแก้ปัญหา สมองจึงไม่เรียนรู้ ไม่พัฒนา นักเรียนจึงสร้างความรู้เองไม่เป็น
- แสดงว่าโรงเรียนต่างๆ ยังไม่เข้าใจนิยามการให้นักเรียนสร้างความรู้เอง ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการเรียนการสอนอย่างไร จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ ?
"ยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจนว่า ความรู้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนรู้ผ่านขั้นตอนระดับการคิดวิเคราะห์ขึ้นไป ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนเหล่านี้กลายเป็นความรู้ในระดับต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนแต่ละคน ระดับความรู้ของนักเรียนแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน ไม่เท่ากัน แต่ครูผู้สอนส่วนใหญ่กลับเข้าใจว่า เนื้อหาต่างๆ ทั้งจากในหนังสือเรียนก็ดี จากสื่อต่างๆ รวมถึงสิ่งที่นักเรียนได้พบได้เห็นนั้น เป็นความรู้ที่นักเรียนสามารถท่องจำ เพื่อให้กลายเป็นความรู้ของนักเรียน ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ข้อมูลดิบทั้งสิ้น ยกเว้นข้อเท็จจริงบางส่วน ข้อมูลทั้งหลายจะกลายเป็นความรู้ก็ต่อเมื่อนักเรียนนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดกระทำให้เกิดความหมาย ด้วยการนำมาคิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติเอง หลังคิด หลังปฏิบัติ นักเรียนจึงเกิดความเข้าใจว่าผลนั้นเกิดจากการคิดแบบใด ปฏิบัติใช้กระบวนการและแบบแผนใด ผลของความเข้าใจถึงจะกลายเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียนแต่ละคน
- ผลการสอบโอเน็ตของนักเรียนที่ตกต่ำ เป็นเพราะข้อสอบยากเกินความรู้เด็กที่เรียนมาจริงหรือไม่ ?
ตอบได้เลยว่า ข้อสอบไม่ได้ยาก นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้ง่ายๆ ถ้าครูสอนให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูงได้ ข้อสอบโอเน็ตนั้น วัดความรู้ตามระดับที่ตัวชี้วัดกำหนด ซึ่งความรู้ตามตัวชี้วัด ก็คือความรู้อันเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการที่ครูผู้สอนออกแบบ ตามแนว Backward Design (กระบวนการที่ครูผู้สอนตั้งเป้าหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการไว้ก่อน แล้วย้อนกลับไปหาแนวทางและวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้) ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ และเรียกวิธีสอนหรือกระบวนการที่นำมาออกแบบแล้วนั้นว่า กิจกรรมการเรียนรู้
ดังนั้น ครูผู้สอนจึงต้องให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนรู้ให้มากที่สุดกับการสอนจริง นักเรียนก็จะเกิดความรู้อย่างมีคุณภาพแน่นอน
แต่ถ้าไปมุ่งสอนแต่ให้จำเพียงเนื้อหา จำตัวอย่าง จำรูปแบบ หรือจำแบบแผนเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงความรู้ ปัญหาจึงไม่สามารถแก้ที่ตัวนักเรียนเพียงด้านเดียว แต่ต้องช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีวิธีสอนให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าวข้างต้น จึงจะสนองเป้าหมายของหลักสูตร และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้อย่างยั่งยืน
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการใช้อยู่ในขณะนี้ โรงเรียนได้นำมาใช้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ ?
โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแล้ว นักเรียนยังไม่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก็ถือว่ายังใช้หลักสูตรไม่สมบูรณ์ ขอให้ยึดหลักการสำคัญว่า เรียนอะไรคือเนื้อหา เรียนอย่างไรคือการออกแบบวิธีเรียนโดยใช้ผ่านกระบวนการ
เกิดความรู้ใดคือเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปความรู้ ความคิดรวบยอดครบทุกมิติคุณภาพ และสรุปหลักการได้ตรงตามที่ตัวชี้วัดกำหนดด้วยตนเอง คุณภาพระดับใดคือการจัดทำเกณฑ์มิติคุณภาพเพื่อเป็นเป้าหมายของการพัฒนาให้นักเรียน
มีคุณภาพในระดับที่สูงขึ้น โอเน็ตวัดความรู้ใด ก็คือวัดความรู้ตามตัวชี้วัด ซึ่งเป็นความรู้อันเกิดจากกระบวนการ แต่อาจจะวัดความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงในเนื้อหาประมาณ 10-20% เท่านั้น
นอกนั้นเป็นการวัดความรู้ตั้งแต่ระดับการคิดวิเคราะห์ขึ้นไป ดังนั้น ถ้าการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนใดยังมุ่งสอนแต่เนื้อหา แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังไม่รู้จักหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 อย่างแท้จริง จึงเป็นโรงเรียนที่ยังไม่ได้ใช้หลักสูตรอย่างสมบูรณ์นั่นเอง ต้องช่วยส่งเสริมและสนับสนุนเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนให้มาก
- จะทำอย่างไรให้ผลสัมฤทธิ์การสอบโอเน็ตของนักเรียนเพิ่มขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ?
ขอให้โรงเรียนตรวจสอบศักยภาพที่แท้จริงของตนเองว่า มีศักยภาพหรือไม่ ถ้ามี อยู่ระดับใด ศักยภาพนั้นต้องเป็นภาพที่แท้จริง ไม่ใช่ภาพลวงตา เช่น ถ้าดูศักยภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ดูศักยภาพนักเรียนทุกคนว่า มีความรู้ครบทั้งด้านเก่งคิด เก่งดี เก่งปฏิบัติ มีค่านิยมมุ่งมั่นให้ผลนั้นส่งประโยชน์ไปถึงสังคมได้จริงหรือไม่ ค่าเฉลี่ยของผลการสอบโอเน็ตของนักเรียนทุกคนทั้งโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ระดับใด ค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ระดับชาติหรือไม่ ถ้าต่ำกว่าแสดงว่ามาตรฐานระดับโรงเรียนยังต้องพัฒนาอีกมาก และยังต้องยกระดับคุณภาพให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับเขตพื้นที่การศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติ อีกทั้งยังมีเกณฑ์มาตรฐาน
อีกหลายระดับที่โรงเรียนต้องไปให้ถึง เช่น มาตรฐานระดับอาเซียน และมาตรฐานระดับสากลที่เป็นเป้าหมายสำคัญ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจังและเร่งด่วน
เครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมครูผู้สอนอย่างเป็นระบบได้ ก็คือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design โดยใช้กระบวนการ GPAS และมีเกณฑ์มิติคุณภาพ เพื่อใช้ประเมินคุณภาพการแสดงออกของนักเรียนตามสภาพจริง ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กำหนด จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ อีกทั้งการยกระดับคุณภาพผู้เรียนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ทุกโรงเรียนต้องเร่งพัฒนา เพื่อให้คุณภาพนักเรียนมีมาตรฐานระดับสากล ซึ่ง
ขณะนี้มีโรงเรียนจำนวนมากยังไม่มั่นใจว่าจะไปถึงได้อย่างไร ใช้เวลาอีกนานเท่าใด และจะสายเกินไปหรือไม่
′ผอ.หอวัง′ชี้ครูขาดแคลน ต้นเหตุนร.สอบตกโอเน็ต ปูดเด็กกว่า 1.65 แสนคน ทำคณิตได้แค่ 0-10 คะแนน
จากกรณีคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติเห็นชอบให้จัดทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) รอบพิเศษ สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ม.3 และ ป.6 ที่เกิดเหตุสุดวิสัย เพื่อเยียวยาให้นักเรียน ม.6 มีคะแนนโอเน็ตไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางหรือแอดมิสชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2555 โดยเปิดรับสมัครโอเน็ตรอบพิเศษ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 3 เมษายน ขณะเดียวกันสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วิเคราะห์พบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนชั้น ม.6 ทำคะแนน โอเน็ตตกต่ำ เนื่องจากโรงเรียนจำนวนหนึ่งใช้ครูอัตราจ้างทดแทนครูประจำที่ขาดแคลน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ไม่แน่นพอนั้น
นายพชรพงศ์ ตรีเทพา ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคมว่า ยอมรับว่าส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้คะแนน โอเน็ตของนักเรียนตกต่ำนั้น เกิดจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรอัตราครู ปัจจุบันครูที่มีความรู้ความสามารถ เกษียณอายุราชการไปประมาณ 70,000 คน ทำให้โรงเรียนต้องใช้ครูอัตราจ้าง ซึ่งมีความรู้ไม่เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดว่าครูอัตราจ้างจะได้รับเงินเดือนตายตัว คือเดือนละ 9,140 บาท ทำให้ไม่มีกำลังใจและสอนหนังสือไปวันๆ เท่านั้น นอกจากนั้นยังพบปัญหาระเบียบการสอบบรรจุครูของ ศธ. ไม่เอื้อให้โรงเรียนคัดคนเก่งที่ตรงตามความต้องการมาบรรจุเป็นครูได้ โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษา คัดเลือกจากบัญชีของตัวเองก่อน หากจำนวนรายชื่อที่ขึ้นบัญชีไว้ไม่พอ ให้ไปดึงจากบัญชีของเขตพื้นที่ฯ อื่นมา ขณะที่ครูที่สอบได้ในอันดับแรกๆ มักจะเลือกไปลงโรงเรียนดังหมดแล้ว เมื่อไม่มีครู จำเป็นต้องไปดึงมาจากผู้ที่สอบได้ในลำดับท้ายๆ ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยเก่งมาก และบัญชีเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อมาเป็นครูได้ไม่เกิน 2 ปีจะขอย้ายกลับไปยังภูมิลำเนา
"ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2546-2547 ที่รัฐบาลมีนโยบายลดอัตรากำลังคนภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนครูต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่ง สพฐ.เอง ก็รู้ปัญหาดี แต่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนหนึ่งเพราะเอาการศึกษาไปผูกติดกับการเมือง และที่ผ่านมา ศธ. มีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ. บ่อย การดำเนินการต่างๆ ก็ไม่เกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ บางปีก็ใช้ บางปีก็ไม่ใช้ เด็กก็ไม่เห็นความสำคัญของการสอบโอเน็ต ผมเห็นว่า ศธ.ควรจะทำเป็นนโยบายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเลยว่าทุกโรงเรียนจะต้องใช้คะแนนโอเน็ต ในการเข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4" ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวังกล่าว
นายพชรพงศ์กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นยังมีบางโครงการที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาครูไม่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น อาทิ โครงการครูคืนถิ่น ที่เปิดให้ครูขอย้ายกลับภูมิลำเนาได้ หากย้ายครูไม่ตรงตามวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการ จะเกิดปัญหา เช่น ถ้าย้ายครูคหกรรม มาแทนครูคณิตศาสตร์ แบบนี้ไม่สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพ ต้องเปิดสอนตามหนังสือ และส่วนตัวยังเห็นด้วยว่าอีกสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตตกต่ำ เป็นเพราะครูที่สอนจริงๆ ไม่ใช่คนออกข้อสอบ แต่คนที่ออกข้อสอบกลับเป็นผู้ที่นั่งอ่านตำราแล้วมาออกข้อสอบ จึงไม่ตรงตามเนื้อหาสาระการเรียนรู้จริงๆ ทั้งที่จริงแล้วเด็กไทยไม่ได้ด้อยคุณภาพขนาดนั้น เพราะถ้าดูจากการสอบแข่งขันระดับโลก เด็กไทยก็ติดอันดับแทบทุกครั้ง
ด้านนายองอาจ นัยพัฒน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า การสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ถือว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี โดยการสอบครั้งนี้ มีผู้เข้าสอบทั้งหมด 368,228 คน เกณฑ์กลางของคะแนนเฉลี่ยของแต่ละวิชาน่าจะอยู่ที่ 50% แต่ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของเด็กไทยเกือบทุกวิชา กลับไม่ถึง 50% โดยเฉพาะวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 คะแนน จากคะแนนเต็มแต่ละวิชาอยู่ที่ 100 คะแนน
นายองอาจกล่าวต่อว่า จากข้อมูลที่ตนมียังพบว่ามีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในช่วง 0-10 คะแนนถึง 46.45% หรือคิดเป็นนักเรียน จำนวน 165,646 คน จากนักเรียนที่เข้าสอบทั้งหมด ส่วนวิทยาศาสตร์ มีนักเรียนถึง 52% ที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 20-30 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ ก็แย่พอกัน คือ มีนักเรียนถึง 58.28% หรือ 206,611 คน ที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 10-20 คะแนน ขณะที่พบว่ามีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในช่วง 90-100 คะแนน เพียง 0.04% หรือคิดเป็นนักเรียนเพียง 148 คน ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับนักเรียนที่เข้าสอบทั้งหมดกว่า 3.5 แสนคน และส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่เก่งอยู่แล้ว ทั้งนี้มีเพียงวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และวิชาศิลปะ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงคะแนน 40-50 คะแนน แต่สรุปภาพรวมแล้ว ไม่มีวิชาใดที่นักเรียนทำคะแนนได้เกิน 50%
"เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าผลคะแนนที่ต่ำ เกิดจากปัญหาอะไร ซึ่งมี 2 ประเด็นใหญ่ที่ต้องคิด คือ 1.ข้อสอบของ สทศ.ยากเกินไป หรือคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอนของบ้านเราย่ำแย่ แต่ส่วนตัว เชื่อว่าข้อสอบของ สทศ.จะคละกันไประหว่างยากและง่าย คงไม่ใช่ยากทุกข้อ ส่วนการที่ สทศ.กำหนดจุดตัดขั้นต่ำไว้นั้น ถือว่าถูกต้องตามหลักการวัดผลประเมินผล ซึ่งจุดตัดที่กำหนด จะไปสัมพันธ์กับความยากง่ายของข้อสอบ ขณะเดียวกันทุกคนต้องยอมรับว่าการจัดการศึกษาของบ้านเรายังมีช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท ดังนั้น ข้อสอบกลางที่ใช้จึงต้องมีความยากระดับหนึ่ง แต่ช่องว่างของคะแนนที่ออกมา ก็ไม่ควรจะมากขนาดนี้" นายองอาจกล่าว
นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร สทศ. กล่าวต่อว่า เรื่องจุดตัดขั้นต่ำนั้น ตนเป็นคนให้นโยบายแก่ สทศ. ตั้งแต่รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สทศ.ว่า ให้ทำจุดตัดขั้นต่ำที่อิงเกณฑ์หรืออิงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะดีกว่าอิงคะแนนเฉลี่ย ไม่มีความหมายทางวิชาการเท่าใดนัก เพียงแต่ที่เพิ่งออกมาแถลงข่าว ตนเข้าใจว่าเพิ่งมาคิดคำนวณเสร็จ แต่จากการเทียบเคียงกับผลคะแนนโอเน็ตของปีที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ต่างกันมากจนมีนัยยะที่สำคัญ
"การที่จุดต่ำของวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อยู่ที่วิชาละ 25 คะแนนสะท้อนว่า 3 วิชานี้มาตรฐานสูงหรืออีกนัยหนึ่งข้อสอบยาก ฉะนั้นถ้าเด็กทำคะแนนผ่านที่ 25 พอว่าความรู้พื้นฐานใช้ได้ ทั้งนี้ จุดตัด เกิดจากผู้ออกข้อสอบคิดกับครูผู้สอนว่าแต่ละวิชา นักเรียนควรจะได้กี่คะแนน ถึงจะผ่านเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หมายถึงมีความรู้พื้นฐานพอใช้ ซึ่งต่อไปจะต้องสร้างความเข้าใจเรื่องนี้กับ ผู้ออกข้อสอบและครูผู้สอนให้มากขึ้น" นายสมหวังกล่าว
นายพชรพงศ์ ตรีเทพา ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคมว่า ยอมรับว่าส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้คะแนน โอเน็ตของนักเรียนตกต่ำนั้น เกิดจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรอัตราครู ปัจจุบันครูที่มีความรู้ความสามารถ เกษียณอายุราชการไปประมาณ 70,000 คน ทำให้โรงเรียนต้องใช้ครูอัตราจ้าง ซึ่งมีความรู้ไม่เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดว่าครูอัตราจ้างจะได้รับเงินเดือนตายตัว คือเดือนละ 9,140 บาท ทำให้ไม่มีกำลังใจและสอนหนังสือไปวันๆ เท่านั้น นอกจากนั้นยังพบปัญหาระเบียบการสอบบรรจุครูของ ศธ. ไม่เอื้อให้โรงเรียนคัดคนเก่งที่ตรงตามความต้องการมาบรรจุเป็นครูได้ โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษา คัดเลือกจากบัญชีของตัวเองก่อน หากจำนวนรายชื่อที่ขึ้นบัญชีไว้ไม่พอ ให้ไปดึงจากบัญชีของเขตพื้นที่ฯ อื่นมา ขณะที่ครูที่สอบได้ในอันดับแรกๆ มักจะเลือกไปลงโรงเรียนดังหมดแล้ว เมื่อไม่มีครู จำเป็นต้องไปดึงมาจากผู้ที่สอบได้ในลำดับท้ายๆ ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยเก่งมาก และบัญชีเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อมาเป็นครูได้ไม่เกิน 2 ปีจะขอย้ายกลับไปยังภูมิลำเนา
"ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2546-2547 ที่รัฐบาลมีนโยบายลดอัตรากำลังคนภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนครูต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่ง สพฐ.เอง ก็รู้ปัญหาดี แต่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนหนึ่งเพราะเอาการศึกษาไปผูกติดกับการเมือง และที่ผ่านมา ศธ. มีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ. บ่อย การดำเนินการต่างๆ ก็ไม่เกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ บางปีก็ใช้ บางปีก็ไม่ใช้ เด็กก็ไม่เห็นความสำคัญของการสอบโอเน็ต ผมเห็นว่า ศธ.ควรจะทำเป็นนโยบายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเลยว่าทุกโรงเรียนจะต้องใช้คะแนนโอเน็ต ในการเข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4" ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวังกล่าว
นายพชรพงศ์กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นยังมีบางโครงการที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาครูไม่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น อาทิ โครงการครูคืนถิ่น ที่เปิดให้ครูขอย้ายกลับภูมิลำเนาได้ หากย้ายครูไม่ตรงตามวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการ จะเกิดปัญหา เช่น ถ้าย้ายครูคหกรรม มาแทนครูคณิตศาสตร์ แบบนี้ไม่สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพ ต้องเปิดสอนตามหนังสือ และส่วนตัวยังเห็นด้วยว่าอีกสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตตกต่ำ เป็นเพราะครูที่สอนจริงๆ ไม่ใช่คนออกข้อสอบ แต่คนที่ออกข้อสอบกลับเป็นผู้ที่นั่งอ่านตำราแล้วมาออกข้อสอบ จึงไม่ตรงตามเนื้อหาสาระการเรียนรู้จริงๆ ทั้งที่จริงแล้วเด็กไทยไม่ได้ด้อยคุณภาพขนาดนั้น เพราะถ้าดูจากการสอบแข่งขันระดับโลก เด็กไทยก็ติดอันดับแทบทุกครั้ง
ด้านนายองอาจ นัยพัฒน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า การสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ถือว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี โดยการสอบครั้งนี้ มีผู้เข้าสอบทั้งหมด 368,228 คน เกณฑ์กลางของคะแนนเฉลี่ยของแต่ละวิชาน่าจะอยู่ที่ 50% แต่ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของเด็กไทยเกือบทุกวิชา กลับไม่ถึง 50% โดยเฉพาะวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 คะแนน จากคะแนนเต็มแต่ละวิชาอยู่ที่ 100 คะแนน
นายองอาจกล่าวต่อว่า จากข้อมูลที่ตนมียังพบว่ามีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในช่วง 0-10 คะแนนถึง 46.45% หรือคิดเป็นนักเรียน จำนวน 165,646 คน จากนักเรียนที่เข้าสอบทั้งหมด ส่วนวิทยาศาสตร์ มีนักเรียนถึง 52% ที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 20-30 คะแนน วิชาภาษาอังกฤษ ก็แย่พอกัน คือ มีนักเรียนถึง 58.28% หรือ 206,611 คน ที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 10-20 คะแนน ขณะที่พบว่ามีนักเรียนที่ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในช่วง 90-100 คะแนน เพียง 0.04% หรือคิดเป็นนักเรียนเพียง 148 คน ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับนักเรียนที่เข้าสอบทั้งหมดกว่า 3.5 แสนคน และส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่เก่งอยู่แล้ว ทั้งนี้มีเพียงวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และวิชาศิลปะ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงคะแนน 40-50 คะแนน แต่สรุปภาพรวมแล้ว ไม่มีวิชาใดที่นักเรียนทำคะแนนได้เกิน 50%
"เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าผลคะแนนที่ต่ำ เกิดจากปัญหาอะไร ซึ่งมี 2 ประเด็นใหญ่ที่ต้องคิด คือ 1.ข้อสอบของ สทศ.ยากเกินไป หรือคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอนของบ้านเราย่ำแย่ แต่ส่วนตัว เชื่อว่าข้อสอบของ สทศ.จะคละกันไประหว่างยากและง่าย คงไม่ใช่ยากทุกข้อ ส่วนการที่ สทศ.กำหนดจุดตัดขั้นต่ำไว้นั้น ถือว่าถูกต้องตามหลักการวัดผลประเมินผล ซึ่งจุดตัดที่กำหนด จะไปสัมพันธ์กับความยากง่ายของข้อสอบ ขณะเดียวกันทุกคนต้องยอมรับว่าการจัดการศึกษาของบ้านเรายังมีช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท ดังนั้น ข้อสอบกลางที่ใช้จึงต้องมีความยากระดับหนึ่ง แต่ช่องว่างของคะแนนที่ออกมา ก็ไม่ควรจะมากขนาดนี้" นายองอาจกล่าว
นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร สทศ. กล่าวต่อว่า เรื่องจุดตัดขั้นต่ำนั้น ตนเป็นคนให้นโยบายแก่ สทศ. ตั้งแต่รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สทศ.ว่า ให้ทำจุดตัดขั้นต่ำที่อิงเกณฑ์หรืออิงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะดีกว่าอิงคะแนนเฉลี่ย ไม่มีความหมายทางวิชาการเท่าใดนัก เพียงแต่ที่เพิ่งออกมาแถลงข่าว ตนเข้าใจว่าเพิ่งมาคิดคำนวณเสร็จ แต่จากการเทียบเคียงกับผลคะแนนโอเน็ตของปีที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ต่างกันมากจนมีนัยยะที่สำคัญ
"การที่จุดต่ำของวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อยู่ที่วิชาละ 25 คะแนนสะท้อนว่า 3 วิชานี้มาตรฐานสูงหรืออีกนัยหนึ่งข้อสอบยาก ฉะนั้นถ้าเด็กทำคะแนนผ่านที่ 25 พอว่าความรู้พื้นฐานใช้ได้ ทั้งนี้ จุดตัด เกิดจากผู้ออกข้อสอบคิดกับครูผู้สอนว่าแต่ละวิชา นักเรียนควรจะได้กี่คะแนน ถึงจะผ่านเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หมายถึงมีความรู้พื้นฐานพอใช้ ซึ่งต่อไปจะต้องสร้างความเข้าใจเรื่องนี้กับ ผู้ออกข้อสอบและครูผู้สอนให้มากขึ้น" นายสมหวังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น