ภาควิชาเคมีเทคนิคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 ซึ่งนับเป็นภาควิชาแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการสอนและผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเคมี ภายใต้ชื่อสาขาเคมีวิศวกรรม (วท.บ. เคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาฯ เป็นที่ยอมรับจากวงการอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี อุตสาหกกรมพลาสติก อุตสาหกกรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
ได้ความรู้และทักษะที่สำคัญต่อการนำไปใช้ในการทำงานรวมถึงการศึกษาในระดับสูงขึ้น มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศในขณะที่เรียนอยู่ มีโอกาสเข้าฝึกงานและดูงานในบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำข องประเทศ
บัณฑิตจากภาควิชาเคมีเทคนิค ส่วนใหญ่ทำงานเป็นวิศวกรเคมีหรือวิศวกรกระบวนการในอุตสาหกรรมกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมซึ่งหมายถึงโรงกลั่นน้ำมัน เช่น ไทยออยล์, บางจาก , เอสโซ่ , Rayong Refinery อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง อันประกอบด้วย โรงแยกแก๊สของ ปตท. โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก เช่น ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) ไทยโพลีเอธิลีน (TPE) ของเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย , ไทยอะโรมาติกส์ (TAC) , ไทยโอเลฟินส์ (TOC) , ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (TPC) , อุตสาหกรรมไทยปิโตรเคมี(TPI) เป็นต้นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ยาสีฟัน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น น้ำตาก กระดาษ ยา วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
............................................................................................................................................................
เคมีวิศวกรรม เปิดสอนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา เมื่อราว 40 กว่าปีมาแล้ว ช่วงแรกจะเป็นหลักสูตร 5 ปี สมัยก่อนนิสิตที่เรียน ส่วนใหญ่ เป็น คนเรียนเก่งเช่นกัน แต่ไม่ชอบเรียนหมอ หรือสอบเข้าหมอไม่ได้ ก็มาเรียนวิทย์กัน และเมื่อเข้ามาเรียนในคณะวิทย์ ก็ต้องเรียนให้ได้คะแนนสูงๆ เพราะสาขานี้ รับปีละ 20 คนเท่านั้น จึงมีการแข่งขันสูงมากทีเดียว ต่อมาก็มีการปรับปรุงหลักสูตร เป็น หลักสูตร 4 ปี เหมือนปัจจุบัน คนที่จบสาขานี้ แรกๆ ก็ทำงานโรงกลั่นน้ำมันกันเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาสาขานี้มีความนิยมมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรม อื่นๆ เช่น น้ำตาล กระดาษ/เยื่อกระดาษ รวมทั้ง ปิโตรเคมี ต้องการวิศวกรด้านนี้มาก ทำให้ คณะวิศวะ จุฬา เปิดสอนสาขานี้เช่นกัน แต่เดิมมีความคิดที่จะรวมสาขานี้ ของคณะวิทย์ และ วิศวะ เข้าด้วยกัน แต่ ก็ ไม่สำเร็จ เพราะหลายเหตุผลด้วยกัน เอาว่าใหญ่ด้วยกันทั้งคู่ เลยต้องปล่อยเลย ตามเลยมาถึงปัจจุบัน หลักสูตรของทั้ง2คณะ คล้ายคลึงกันมาก ที่จริงก็เหมือนๆกัน อจ.ที่สอนอยู่ที่วิศวะ ส่วนหนึ่งก็จบมาจากวิดยา บางวิชานิสิตของทางวิดยา ก็ ต้องไปเรียน และ ทำแลบที่วิศวะ เช่น ไฟฟ้า ต่อมาสาขานี้ นิยมกันมากขึ้น ก็มีการเปิดสอนในหลายๆมหาลัยในคณะวิศวะ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น บางมด เกษตร ลาดกระบัง มหิดล พระนครเหนือ ธรรมศาสตร์ มศว สุรนารี สงขลา มอ หัวหน้าภาค วิชาวิศวเคมี และ อจ จำนวนมาก ของหลายๆมหาลัยในปัจจุบันก็จบมาจากที่วิดยา เป็นส่วนใหญ่...สมัยก่อนจบสาขานี้ที่วิดยา ก็จะได้รับ กว(ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม) เลย เป็น ภาคีวิศวกร สาขา อุตสาหการ เพราะกว สาขาเคมียังไม่มี จุฬาเป็นแห่งเดียว ที่เปิดสอนสาขานี้ 2 แห่ง มหาลัยอื่น เปิด เคมีอุตสาหกรรม ซึ่งต่างกับ เคมีวิศวกรรม อย่างมาก..จบสาขานี้ สามารถเรียนต่อโท เอกในหลายๆสาขา เช่น ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี วิศวอุตสาหการ วิศวสิ่งแวดล้อม บริหาร การเงิน..ปัจจุบัน นิสิต ที่จบสาขานี้ ไม่ว่า จากวิดยา หรือ วิศวะ ทำงาน เหมือนกัน ได้ เงินเดือนไม่ต่างกัน ความก้าวหน้าเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ปัจจุบัน ถ้าทำงานในอุตสาหกรรม โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี เงินเดือนตั้งต้นโดยเฉลี่ย ก็ ประมาณ 22000-28000บาท ไม่รวม โบนัส และ อื่นๆ ผู้บริหารระดับสูงมากๆ ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เหล่านี้ หลายๆคน จบเคมีวิศวกรรม ที่วิดยา เนื่องจากเป็นภาควิชาที่เก่าแก่ของ จุฬา จึงมี อจ ที่เก่งๆจำนวนมาก รวมทั้งเครื่องไม้ เครื่องมือ และ แลบ(unit operation)ที่ดีมากแห่งหนึ่งของประเทศ เทียบได้กับมหาลัยดังๆใน ต่างประเทศ ....ได้ไปลองดูคะแนนสอบเข้าของสาขานี้ย้อนหลัง2-3ปี แล้วรู้สึกแปลกใจว่า ทำไม คะแนนค่อนข้างต่ำ ดูเหมือนกับไม่ใช่ first choice ของ นร เลยลองไปถามเด็กๆดู ก็พอได้สาเหตุดังนี้
1.นร ที่อยากเป็นวิศวกร จะไม่เลือกเพราะมาเรียนวิดยา ไม่น่าจะเป็นวิศวกรได้ ได้วุฒิ วท.บ ไม่ใช่ วศ.บ ไม่ตรงใจชาวบ้านทั่วๆไป หรือไม่เท่ห์ เรื่องนี้ ความจริงไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะจบสาขา เคมีวิศวกรรม หรือ วิศวกรรมเคมี เหมือนกัน ถ้า เป็น ภาษาอังกฤษ ก็เป็น B.Sc (Chemical Engineering) ถ้าจบจากวิศวะก็ B.Eng (chemical Engineering) ในต่างประเทศ ไม่ว่า จะเป็น เมกา อังกฤษ ออสเตรเลีย หลายๆมหาลัยดังๆให้ B.Sหรือ B.Sc หรือบางแห่ง ก็เป็น B.E หรือ B.Eng ไม่ได้สำคัญอะไร อยู่ว่าจบสาขาอะไรมากกว่า ถ้าเป็น Chemical Engineering ก็เหมือนกันหมด ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จบสาขานี้ ของวิดยา จะเป็นวิศวกรไม่ได้ ส่วนเรื่องกว นั้น ได้ กว มาตั้งแต่จบ ไม่เคยนำไปใช้อะไรเลย ความสำคัญ ของ กว ในสาขานี้มีไม่มากนัก ถ้าเทียบกับวิศวะสาขาอื่นๆ เช่น โยธา หรือ เครื่องกล
2.ปัจจุบัน นร ที่เก่งมากๆ จะไปเลือก วิศวะ จุฬา กันส่วนใหญ่ ดังนั้นต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน วิศวเคมี จุฬา น่าจะมีเด็ก เก่งๆมากกว่าที่อื่น แต่ในอดีต ส่วนใหญ่ ที่มาเรียนของวิดยา เป็นเด็กเก่งที่ไม่ชอบหมอ หรือเข้าหมอไม่ได้ มาเรียนที่นี้เลย โดยไม่ได้เลือกวิศวะ จึงเป็นเด็กเก่งๆเยอะ ติดบอร์ด อันดับต้นๆของประเทศก็มาก เด็กเตรียม สวนกุหลาบ ที่ หนึ่งจว ต่างๆก็เยอะ สำหรับ นร ที่รองๆลงมาในปัจจุบัน ก็ไปเลือกวิศวะ ที่ อื่น ถึงแม้อยากเรียนวิศวเคมี ก็ไม่อยากมาเรียนที่นี้ เพราะคิดว่าจบมาแล้วไม่ได้เป็นวิศวกร ตามเหตุผลข้อ1
3. อยากแนะนำว่า ถ้าสนใจ อยากเรียน วิศวกรรมเคมี ที่ภาควิขา เคมีเทคนิค วิดยา จุฬา เป็นที่น่าเรียนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นภาควิชาที่ได้รับการยอมรับ จากทุกหน่วยงานทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ ขออย่าได้กังวล มากนัก กับ การที่ไม่ได้เรียนอยู่ในคณะวิศวะ เพราะจบมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และ ที่สำคัญ จบที่นี้ ถือว่า จบมาจากจุฬา ก็ได้ความเชื่อถือเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เนื่องจากความเก่าแก่ของสถาบัน และภาควิชา
1.นร ที่อยากเป็นวิศวกร จะไม่เลือกเพราะมาเรียนวิดยา ไม่น่าจะเป็นวิศวกรได้ ได้วุฒิ วท.บ ไม่ใช่ วศ.บ ไม่ตรงใจชาวบ้านทั่วๆไป หรือไม่เท่ห์ เรื่องนี้ ความจริงไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะจบสาขา เคมีวิศวกรรม หรือ วิศวกรรมเคมี เหมือนกัน ถ้า เป็น ภาษาอังกฤษ ก็เป็น B.Sc (Chemical Engineering) ถ้าจบจากวิศวะก็ B.Eng (chemical Engineering) ในต่างประเทศ ไม่ว่า จะเป็น เมกา อังกฤษ ออสเตรเลีย หลายๆมหาลัยดังๆให้ B.Sหรือ B.Sc หรือบางแห่ง ก็เป็น B.E หรือ B.Eng ไม่ได้สำคัญอะไร อยู่ว่าจบสาขาอะไรมากกว่า ถ้าเป็น Chemical Engineering ก็เหมือนกันหมด ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จบสาขานี้ ของวิดยา จะเป็นวิศวกรไม่ได้ ส่วนเรื่องกว นั้น ได้ กว มาตั้งแต่จบ ไม่เคยนำไปใช้อะไรเลย ความสำคัญ ของ กว ในสาขานี้มีไม่มากนัก ถ้าเทียบกับวิศวะสาขาอื่นๆ เช่น โยธา หรือ เครื่องกล
2.ปัจจุบัน นร ที่เก่งมากๆ จะไปเลือก วิศวะ จุฬา กันส่วนใหญ่ ดังนั้นต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน วิศวเคมี จุฬา น่าจะมีเด็ก เก่งๆมากกว่าที่อื่น แต่ในอดีต ส่วนใหญ่ ที่มาเรียนของวิดยา เป็นเด็กเก่งที่ไม่ชอบหมอ หรือเข้าหมอไม่ได้ มาเรียนที่นี้เลย โดยไม่ได้เลือกวิศวะ จึงเป็นเด็กเก่งๆเยอะ ติดบอร์ด อันดับต้นๆของประเทศก็มาก เด็กเตรียม สวนกุหลาบ ที่ หนึ่งจว ต่างๆก็เยอะ สำหรับ นร ที่รองๆลงมาในปัจจุบัน ก็ไปเลือกวิศวะ ที่ อื่น ถึงแม้อยากเรียนวิศวเคมี ก็ไม่อยากมาเรียนที่นี้ เพราะคิดว่าจบมาแล้วไม่ได้เป็นวิศวกร ตามเหตุผลข้อ1
3. อยากแนะนำว่า ถ้าสนใจ อยากเรียน วิศวกรรมเคมี ที่ภาควิขา เคมีเทคนิค วิดยา จุฬา เป็นที่น่าเรียนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นภาควิชาที่ได้รับการยอมรับ จากทุกหน่วยงานทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ ขออย่าได้กังวล มากนัก กับ การที่ไม่ได้เรียนอยู่ในคณะวิศวะ เพราะจบมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และ ที่สำคัญ จบที่นี้ ถือว่า จบมาจากจุฬา ก็ได้ความเชื่อถือเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เนื่องจากความเก่าแก่ของสถาบัน และภาควิชา
......................................................................................................................................................
วิศวกรรมเคมี กับ เคมีเทคนิค คิดว่ามันคงจะคล้ายกันมากพอสมควรครับ
เคมีเทคนิคจบมาแล้วสามารถไปสอบเอาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) ได้ครับ
แต่จริงๆ แล้วใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาเคมี ไม่มีนะ ถ้าอยากได้จริงๆ อาจจะไปสอบของ
เครื่องกล (ความจริงสำหรับวิศวกรเคมี พี่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใบ กว. หรอก)
ที่ทำงานเก่าพี่มีอยู่สองคนที่จบเคมีเทคนิคหรือเคมีประยุกต์ มาจากคณะวิทยาศาสตร์
แล้วมาทำงานเป็นวิศวกร ก็เห็นทำงานได้ดีนะ
เพื่อนพี่คนนึงจบเคมีเทคนิคที่จุฬาฯ ตอนนี้ก็ทำงานในตำแหน่งวิศวกรที่บริษัทแห่งหนึ่ง
ที่ต่างกันแน่ๆ ก็ใบปริญญาหน่ะครับ อันนึงเป็นวิศวะ อีกอันนึงจะเป็นวิทยาศาสตร์
แต่พี่คิดว่าความรู้สำคัญกว่าชื่อปริญญานะ ถ้ามาสมัครงานตำแหน่งวิศวกรกับพี่
ระหว่างคนจบวิศวะจบมาด้วยเกรด 2 จุด จุ๋มจิ๋ม กับคนจบเคมีเทคนิคเกรด 3 จุดกว่าๆ
พี่คงเลือกคนหลังอ่ะ
แต่ถ้าเป็นวิศวะเคมีกับวิทยาศาสตร์เคมี อันนี้ต่างกันเยอะครับ คนละเรื่องเลย
วิศวะเคมี เดิมคือสาขาหนึ่งของวิศวะเครื่องกล (ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมเคมี)
เพราะฉะนั้นจะเรียนหลายๆ อย่างคล้ายๆ วิศวะเครื่องกลครับ เช่นเรื่อง
Fluid Dynamics, Thermodynamics, Heat Transfer, Process Control, etc.
เคมีเทคนิคจบมาแล้วสามารถไปสอบเอาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) ได้ครับ
แต่จริงๆ แล้วใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาเคมี ไม่มีนะ ถ้าอยากได้จริงๆ อาจจะไปสอบของ
เครื่องกล (ความจริงสำหรับวิศวกรเคมี พี่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใบ กว. หรอก)
ที่ทำงานเก่าพี่มีอยู่สองคนที่จบเคมีเทคนิคหรือเคมีประยุกต์ มาจากคณะวิทยาศาสตร์
แล้วมาทำงานเป็นวิศวกร ก็เห็นทำงานได้ดีนะ
เพื่อนพี่คนนึงจบเคมีเทคนิคที่จุฬาฯ ตอนนี้ก็ทำงานในตำแหน่งวิศวกรที่บริษัทแห่งหนึ่ง
ที่ต่างกันแน่ๆ ก็ใบปริญญาหน่ะครับ อันนึงเป็นวิศวะ อีกอันนึงจะเป็นวิทยาศาสตร์
แต่พี่คิดว่าความรู้สำคัญกว่าชื่อปริญญานะ ถ้ามาสมัครงานตำแหน่งวิศวกรกับพี่
ระหว่างคนจบวิศวะจบมาด้วยเกรด 2 จุด จุ๋มจิ๋ม กับคนจบเคมีเทคนิคเกรด 3 จุดกว่าๆ
พี่คงเลือกคนหลังอ่ะ
แต่ถ้าเป็นวิศวะเคมีกับวิทยาศาสตร์เคมี อันนี้ต่างกันเยอะครับ คนละเรื่องเลย
วิศวะเคมี เดิมคือสาขาหนึ่งของวิศวะเครื่องกล (ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมเคมี)
เพราะฉะนั้นจะเรียนหลายๆ อย่างคล้ายๆ วิศวะเครื่องกลครับ เช่นเรื่อง
Fluid Dynamics, Thermodynamics, Heat Transfer, Process Control, etc.
............................................................................................................................
ข้อมุลอ้างอิงจาก จุฬาฯ , Dek-d , สภาวิศวกร , บอร์ดเด็กสวน , มอ.
UniGang Talk
1. หลักจากที่หาข้อมูลเพิ่มเติม ทั้ง 2 วิศวะเคมี และ เคมี วิศวะกรรม ก็ต้องสอบ ใบประกอบอาชีพวิศวกรรม ( เตมี ) เหมือนกันนะครับค่าสอบ 1500 บาท
1.1 ผมไม่แน่ใจนะครับว่า วิศวะ เคมี สามารถสอบ ใบ กว อุตสาหกรรมได้ แต่ วิทย์ เคมีวิศวกรรม จะสอบได้หรือป่าว T__T แต่ เคมีวิศวะ ก็สามารต่อโท ทางวิศวะได้เลยนะครับ
2 เงินเดือน โดย เฉลี่ย คนจบวิศวะ อานจะเยอะกว่า ( ค่าทางสถิติ ) แต่ก็ขึ้นกับความสามารถเป็นหลักนะครับ อย่าที่ด้านบนบอกไว้ วิศวะเคมี 3.00 + กับ วิศวะเคมี 2 จด จุ๋มจิ๋ม ยังไงก็น่าจะเลือก วิศวะเคมีุ
3 ก็พอสรุปได้ว่าใครไม่สอบเครื่อง กล ก็เรียน เคมีวิศวะ ใครชอบเครื่องกล ด้วย ก็เรียน วิศวะเคมี !!!
...........................................................................................................................................................
วิศวกรเคมีแตกต่างจากนักเคมีอย่างไร?
วิศวกรรมเคมี → วิศวกรเคมี
วิทยาศาสตร์เคมี → นักเคมี
วิศวกรเคมี จะมีหน้าที่ในการออกแบบและการปฏิบัติการในกระบวนการผลิตขั้นตอนต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเคมี หรือฟิสิกส์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย
นักเคมี มักทำงานเพื่อค้นคว้าหรือปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตด้วยเครื่องมือทดลองรวมทั้งการคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อนักเคมีได้ทำการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้นแล้ว วิศวกรเคมีจะเป็นผู้คิดวิธีที่จะนำไปปรับสภาวะต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตต่อไป
..........................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น