คำถามคลาสสิคมากค่ะ จริงๆพวกพี่ๆคล่องกับคำถามนี้แล้วนะคะ แต่อาจารย์เข้ามาแจมละกัน
2 สาขานี้ นักเรียนมักสนใจใกล้ๆกัน คือคนที่เลือก โภชนาการและการกำหมดอาหาร ก็มักเลือก Food science เกษตร หรือ Food Tech คณะวิทย์ จุฬา ด้วย มันมีส่วนตรงกันบางจุดและต่างกันหลายจุดค่ะ
คือ โฟกัสคนละจุด โภชนาการและการกำหนดอาหารเราเรียนเกี่ยวกับอาหารที่เน้นไปทางสุขภาพ และการให้อาหารกับผู้ป่วยซึ่งเราต้องจัดเมนูอาหาร และกำหนดได้ว่าผู้ป่วยจะกินอะไรเท่าไร กี่แคลอรี
แต่ food science หรือ food tech 2 อันนี้เกือบเหมือนกันเลย จะเรียนเพื่อทราบกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งอาจารย์ว่ามันสนุกทั้งหมดเลยค่ะในสาขาทั้งหมดที่ว่ามา เพราะเมืองไทยมันเป็นครัวโลกโดยแท้ อาหารการกินบริบูรณ์ วัตถุดิบเยอะ และเป็นเมืองที่มีศิลปะการปรุงอาหารดังทั่วโลกค่ะเป็นที่ยอมรับ
จะตัดสินเรียนอะไรอยู่ที่ว่า เราชอบ lifestyle แบบไหน ถ้าชอบใช้ชีวิตดูแลผู้ป่วย อยู่ในโรงพยาบาลละก็ แน่นอน ต้องเลือกโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพราะถ้าไม่เรียนสาขานี้คงเข้าไปรับผิดชอบชีวิตผู้ป่วยไม่ได้ อย่างที่ว่าค่ะ ต่อไปในอนาคตเมืองไทยก็คงต้องให้มีใบประกอบโรคศิลปะ ถ้าเรียน food science ก็มาประกอบอาชีพนักกำหนดอาหารไม่ได้
ขณะเดียวกัน คนที่ชอบเป็นนักผลิตอาหาร ออกแนวบู๊ อยู่โรงงานอาหารก็จงเลือก food science หรือ food tech จะดีกว่า เพราะต้องเรียน ฟิสิกส์และเครื่องจักรกลในการผลิตอาหารมากทีเดียว เป็นวิชาที่สนุกค่ะ สำหรับคนชอบ อาจารย์จงจิตร สมัยสอบเอ็น ก็เลือก เภสัช(เพราะมันไม่มีโภชนาการให้เลือกในระดับปริญญาตรี) และเลือก food science เกษตร ด้วยและมีเพื่อนที่จบ food science ที่เก่งๆก็หลายคน
เพิ่มเติมรายละเอียดของการเรียนสาขาโภชนาการและการกำหมดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬา เช่น เราสอนเรื่องอาหารและโภชนาการ ถ้าต้องการลดน้ำหนักต้องจัดอาหารยังไง อะไรแบบเนี้ย นี่ตัวอย่างนะ จึงต้องเรียนโรคต่างๆ เรียนสรีระวิทยา กายวิภาค เมตาบอลิซึมของอาหาร ชีวเคมี เป็นพื้น แล้วเรียนการจัดเมนูอาหาร การปรับพฤติกรรม การจัดระบบบริการอาหาร กฏหมายอาหารในประเทศและระหว่างประเทศ ทำยังไงให้กินอย่างปลอดภัย มีคุณค่าราคาไม่แพง การจบทำงาน จะได้รับผิดชอบแผนกโภชนาการในโรงพยาบาลและสถานบริการอาหารได้ ปีสุดท้ายต้องฝึกงานในโรงพยาบาล ฝึกทำงานในบริษัทอาหารต่างๆ ฝึกจำหน่าย(detail ขายผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์)
CREDIT : รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงจงจิตร อังคทะวานิช
2 สาขานี้ นักเรียนมักสนใจใกล้ๆกัน คือคนที่เลือก โภชนาการและการกำหมดอาหาร ก็มักเลือก Food science เกษตร หรือ Food Tech คณะวิทย์ จุฬา ด้วย มันมีส่วนตรงกันบางจุดและต่างกันหลายจุดค่ะ
คือ โฟกัสคนละจุด โภชนาการและการกำหนดอาหารเราเรียนเกี่ยวกับอาหารที่เน้นไปทางสุขภาพ และการให้อาหารกับผู้ป่วยซึ่งเราต้องจัดเมนูอาหาร และกำหนดได้ว่าผู้ป่วยจะกินอะไรเท่าไร กี่แคลอรี
แต่ food science หรือ food tech 2 อันนี้เกือบเหมือนกันเลย จะเรียนเพื่อทราบกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งอาจารย์ว่ามันสนุกทั้งหมดเลยค่ะในสาขาทั้งหมดที่ว่ามา เพราะเมืองไทยมันเป็นครัวโลกโดยแท้ อาหารการกินบริบูรณ์ วัตถุดิบเยอะ และเป็นเมืองที่มีศิลปะการปรุงอาหารดังทั่วโลกค่ะเป็นที่ยอมรับ
จะตัดสินเรียนอะไรอยู่ที่ว่า เราชอบ lifestyle แบบไหน ถ้าชอบใช้ชีวิตดูแลผู้ป่วย อยู่ในโรงพยาบาลละก็ แน่นอน ต้องเลือกโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพราะถ้าไม่เรียนสาขานี้คงเข้าไปรับผิดชอบชีวิตผู้ป่วยไม่ได้ อย่างที่ว่าค่ะ ต่อไปในอนาคตเมืองไทยก็คงต้องให้มีใบประกอบโรคศิลปะ ถ้าเรียน food science ก็มาประกอบอาชีพนักกำหนดอาหารไม่ได้
ขณะเดียวกัน คนที่ชอบเป็นนักผลิตอาหาร ออกแนวบู๊ อยู่โรงงานอาหารก็จงเลือก food science หรือ food tech จะดีกว่า เพราะต้องเรียน ฟิสิกส์และเครื่องจักรกลในการผลิตอาหารมากทีเดียว เป็นวิชาที่สนุกค่ะ สำหรับคนชอบ อาจารย์จงจิตร สมัยสอบเอ็น ก็เลือก เภสัช(เพราะมันไม่มีโภชนาการให้เลือกในระดับปริญญาตรี) และเลือก food science เกษตร ด้วยและมีเพื่อนที่จบ food science ที่เก่งๆก็หลายคน
เพิ่มเติมรายละเอียดของการเรียนสาขาโภชนาการและการกำหมดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬา เช่น เราสอนเรื่องอาหารและโภชนาการ ถ้าต้องการลดน้ำหนักต้องจัดอาหารยังไง อะไรแบบเนี้ย นี่ตัวอย่างนะ จึงต้องเรียนโรคต่างๆ เรียนสรีระวิทยา กายวิภาค เมตาบอลิซึมของอาหาร ชีวเคมี เป็นพื้น แล้วเรียนการจัดเมนูอาหาร การปรับพฤติกรรม การจัดระบบบริการอาหาร กฏหมายอาหารในประเทศและระหว่างประเทศ ทำยังไงให้กินอย่างปลอดภัย มีคุณค่าราคาไม่แพง การจบทำงาน จะได้รับผิดชอบแผนกโภชนาการในโรงพยาบาลและสถานบริการอาหารได้ ปีสุดท้ายต้องฝึกงานในโรงพยาบาล ฝึกทำงานในบริษัทอาหารต่างๆ ฝึกจำหน่าย(detail ขายผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์)
CREDIT : รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงจงจิตร อังคทะวานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น