1 การสอบ O-NET สามารถสอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัถธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยโรงเรียนจะสมัครให้ แต่ถ้าเป็น เด็ก กศน ปวช หรือ เทียบเท่า ต้องสมัครสอบเอง ช่วยเดือน พฤษจิกายน
2 คะแนน O-NET สามารถนำคะแนนไปใช้ได้ตลอดกาล ( ก็เพราะสอบได้รอบเดียว )
3 คะแนน O-NET สามารถนำไปใช้ยื่นรับตรงตามแต่มหาวิทยาลัยกำหนด และ ยื่น Admissions จ้า โดยใน Admissions กลางจะนำคะแนนไปใช้ แบ่งเป็น GAT-PAT 50 % , GAPAX 20 % และ ONET 30 %โดยคิดสัดส่วนย่อยดังนี้
ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ วิชาละ 5 % รวมเป็น 25 %
ศิลปะ สุขศึกษา และ วิชการงาน 5 %
4 ข้อนี้จะสำคัญที่สุดละ นั่นก็คือ การนำคะแนน O-NET ใปใช้ ยื่่น Admissions กลาง บางคณะ บางสถาบันมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำนะครับ อย่างเช่ เภสัช จุฬา ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่ละวิชาจะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ 30 คะแนน ขึ้นไป นะครับ ดังนั้นแล้ว โดยสามารถเอาไปตรวจสอบ เกณฑ์ต่าง ๆ ของปีการศึกษา 2554 ได้ที่ http://www.cuas.or.th/admbook54/document/all_bookadm54.rar ถ้าน้องเกิดคะแนนไม่ถึงขั้นต่ำ น้อง
5 วิชาที่อันตรายที่สุด ทำให้ได้คะแนนไม่ถึง 30 คือ คณิตศาสตร์ และอังกฤษ
วิชาที่น่าจะเก็บคะแนนได้ ไทย สังคม และ สุขศึกษา นะครับ
6 ใครที่สอบติดรับตรงไป ขอบอกเลยว่าห้ามทิ้งคะแนน O-NET เด็ดขาดนะครับ เพราะ มีหลายคนสอบตรงติดไปแล้ว หลายคนเข้าห้องสอบโดยทำแบบนี้
แต่พอได้เข้าเรียนแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ หรือ เรียนไม่ไหว อยากมาเริ่มต้นใหม่ แต่ พอกลับมาดูคะแนนที่เคยกามั่วไว้ ................. สรุปแม้นจะตอบติดไปแล้วก็ไม่ควรทิ้ง O-NET
7 มหาวิทยาลัยหลายแห่ง จะนำคะแนน O-NET ภาษาอังกฤษ มาเป็นคะแนนในการวัดระดับความรู้ทางด้านภาษา ถ้าใครได้คะแนน ภาษาอังกฤษน้อย ๆ น้องก็ต้องเรียนปรับพื้นฐานเยอะ ดังนั้นดังใจข้อสอบ O-NET กันหน่อย สำหรับมหาวิทยาลัยที่นำคะแนน O-NET ไปใช้แน่นอน ได้แก่ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น