วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

รับมือ 7 วิชาสามัญไม่ให้เดี้ยงเหมือน GAT PAT


 เพื่อเรียกกำลังใจกลับคืนมา ในเมื่อเรารู้แนวข้อสอบของ สทศ. และจุดพลาดของตัวเองแล้ว เอาวิกฤติที่ผ่านมา มาสร้างเป็นโอกาสในสนามสอบต่อไปดีกว่า พี่มิ้นท์ก็เลยมาเสนอแผนรับมือ 7 วิชาสามัญ ที่จะสอบกันในวันเสาร์ - อาทิตย์ที่จะถึงนี้ เพื่ออุดรอยรั่ว ทำคะแนนให้ได้ดีๆ เพราะ 7 วิชาสามัญครั้งนี้สำคัญมาก ใช้ยื่นคะแนน ได้ทั้งสอบตรง กสพท. ไม่มีสอบแก้ตัวด้วย

เทคนิคที่ 1 รู้ทันข้อสอบ         เรื่องความยากง่ายดูจะกลายเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด ณ จุดจุดนี้ เพราะหลังจากที่สอบ GAT/PAT กันไป น้องๆ ได้ตะลึงงันกันไปสามวันติด เลยผวากับข้อสอบ 7 วิชาสามัญด้วย เพราะคนออกข้อสอบเป็นคนเดียวกัน!!
         แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ข้อสอบทั้งสองฉบับแตกต่างกันแน่นอน โดย 7 วิชาสามัญจะเน้นความรู้ใน ม.ปลายทั้งหมด แต่เข้มข้นกว่าโอเน็ต ไมได้เน้นทักษะวิชาชีพเหมือน GAT/PAT  เมื่อรู้ทันข้อสอบแล้ว มาหาวิธีรับมือกัน

            >> อ่านให้ละเอียดขึ้น               เมื่อรู้แล้วว่าข้อสอบเป็นเนื้อหา ม.ปลาย ล้วนๆ แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตและข้อสอบโรงเรียน น้องๆ ก็ต้องใส่ใจกับการอ่านหนังสือให้มากขึ้น เรียกว่าอ่านให้ครบทุกบรรทัด
อย่าให้ตกหล่น เพราะทุกๆ บรรทัดคือข้อสอบ ที่เค้าสามารถเอามาตั้งเป็นคำถามได้ อ่านแล้วก็ต้องจำให้ได้ เจอข้อสอบแล้วก็ต้องดึงออกมาใช้ให้เป็น มาถึงตรงนี้แล้ว ต้องทุ่มเทให้เต็มที่ที่สุดนะคะ อย่าเพิ่งยอมแพ้ :)
               นอกจากนี้อย่างที่น้องๆ รู้กันอยู่ว่า 7 วิชาสามัญ แยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็น วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา 3 วิชา ดังนั้นเมื่อแยกเป็นวิชาขนาดนี้แล้ว รายละเอียดต้องเยอะกว่าเดิมแน่นอน เพราะฉะนั้นนอกจากจะต้องรู้ทุกเรื่องแล้ว ยังต้องรู้แนวลึกด้วยนะจ๊ะ

เด็กดีดอทคอม :: รับมือ 7 วิชาสามัญ ไม่ให้เดี้ยงเหมือน GAT/PAT !!
เทคนิคที่ 2 รู้ทันเวลาสอบ          เวลาสอบระหว่าง GAT/PAT กับ 7  วิชาสามัญต่างกันชัดเจน GAT/PAT 3 ชม. แต่ 7 วิชาสามัญ ตกวิชาละ 1.30 ชั่วโมง เรียกว่าห่างกันครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นเราจะนั่งทำชิวๆ หรือเอาเวลาไปหลับแบบเดิมไม่ได้แล้ว เรามารับมือกับการสอบที่มีเวลาน้อยลง ดังนี้ 

           >> เน้นทำโจทย์ "จับเวลา"              การทำข้อสอบเก่าไม่ได้ให้ประโยชน์แค่คุ้นชินกับข้อสอบเท่านั้น แต่ถ้าน้องๆ จับเวลาในการทำข้อสอบด้วย ก็จะทำให้เราควบคุมเวลาได้ กะเวลาเป็น รู้สปีด ในการอ่านโจทย์และการคิดของตัวเอง ว่าข้อนึงตกประมาณเท่าไหร่ ยิ่งบางวิชาจำนวนข้อสอบเยอะ แสดงว่าเราจะมีเวลาคิดน้อยลง ดังนั้น ยิ่งทำเยอะ ปัญหาเรื่องทำข้อสอบไม่ทันจะหมดไป
              ส่วนข้อสอบเก่า ก็ลองทำหลายๆ รูปแบบ ยากง่ายผสมกัน หรือพวกข้อสอบเก่าๆ อย่างเอนทรานซ์หรือเอเน็ตก็ได้ แม้จะไม่ได้ออกในนั้น แต่การทำข้อสอบเยอะ เราจะรู้แนวข้อสอบเยอะกว่า ได้เปรียบกว่าแน่นอน
            >> ข้ามข้อ              ถ้าเจอชุดข้อสอบอย่างภาษาอังกฤษและชีววิทยา ที่มี 100 ข้อ 100 คะแนน กับเวลา 90 นาที เฉลี่ยข้อละไม่ถึง 1 นาที น้องๆ ต้องระลึกเสมอว่า เวลาเป็นของมีค่า ถ้าเจอข้อไหนที่อ่านโจทย์รอบแรกแล้วยังไม่รู้เลยว่าเค้าถามอะไร ก็ให้ข้ามไปก่อน อย่าเพิ่งเสียดาย เพราะถ้าอ่านรอบแรกแล้วยังไม่เข้าใจ พี่มิ้นท์ว่าต้องมีต่อรอบ 2-3 แน่นอน มันจะเสียเวลามากๆ ดังนั้นข้อไหนที่ยังไม่เข้าใจ หรือเห็นโจทย์แล้วคิดว่าต้องใช้เวลาหาคำตอบนานแน่นอน ให้ข้ามไปก่อน เก็บแต้มข้อที่ง่ายๆ ไว้ก่อน ปลอดภัยสุด

เทคนิคที่ 3 รู้ทันคะแนนสอบ        เรียกว่าเป็นข้อสอบมีคะแนนที่หลากหลายมาก แต่ละวิชามี 100 คะแนนเท่ากัน แต่จำนวนข้อสอบต่างกัน มีตั้งแต่ 25, 30, 50, 100 ข้อ ดังนั้น อัตราคะแนน 1 ข้อ ในแต่ละวิชาย่อมไม่เท่ากัน ความยากง่ายก็ไม่เท่ากันแน่นอน
        ถ้าจำนวนข้อน้อย แสดงว่าอาจจะยาก และคิดหลายตลบ ต้องอ่านหนังสือให้เข้าใจจริงๆ แต่ถ้าจำนวนข้อเยอะ เราก็คิดน้อยหน่อย แต่ต้องแข่งกับเวลา ดังนั้น การรู้คะแนนข้อสอบ เป็นตัวช่วยสำคัญให้น้องๆ วางแผนการสอบและการอ่านหนังสือ ที่สำคัญ น้องๆ ยังตั้งเป้าหมายคะแนนที่ตัวเองอยากได้ได้อีกด้วย เช่น สมมติมี 50 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ติ๊ต่างเอาว่าจะต้องได้ 80 ก็ต้องทำให้ได้ 40 ข้อ เป็นต้น

          อีกแค่อาทิตย์เดียว ก็จะถึงเวลาวัดใจกันอีกครั้ง อย่าลืมพกอุปกรณ์จำเป็นๆ อย่างดินสอ 2B ยางลบ เข้าไปด้วย ที่สำคัญห้ามทำผิดกฎห้องสอบนะ ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนจับทุจริตได้

          ก่อนจบบทความนี้ พี่มิ้นท์มีข้อคิดอยากจะบอกกับน้องๆ ที่ท้อแท้กับการสอบอยู่ว่า "ในห้องสอบไม่ได้มีแค่ตัวเรา กับข้อสอบเท่านั้น ยังมีอนาคตอยู่ในห้องสอบนั้นด้วย อนาคตที่ว่า ก็อนาคตของเรานี่แหละ ถ้าเราท้อ เผลอหลับในห้องสอบ อนาคตเราอาจจะหยุดที่ตรงนั้น แต่ถ้าเราสู้จนสุดใจ อนาคตของเราก็ยังเดินได้ต่อค่ะ" จงเอาความท้อมาเป็นกำลังใจและทำมันให้ดีที่สุดนะคะ 

ไม่มีความคิดเห็น: