UniGang ข้อนำเสนอบทความดีๆมาให้อ่านกันอีกแล้ว แต่ครั้งนี้จะเป็นบทความแนะแนว ที่ไม่ค่อยจะเหมือน และไม่มีใครเหมือน เพราะได้มีการนำปรัชญา กลยุทธ์ ผมอ่านแล้วอึ้ง ยุทธวิธีแห่งการ “สอบ” ให้ผ่่าน มันซ่างลึกซึ้งจริงๆ
1. สอบเพื่อต้องการสัมผัสความเจ็บปวด
เมื่อครั้งประเทศจีนเริ่มเป็นคอมมิวนิสตม์ทำสงครามกับเกาหลี นายพลฝั่งจีนใช้วิธีหฤโหดมากในการวัดกำลังกองทัพเกาหลีคือการส่งทหารเปล่าๆ ไม่มีอาวุธไปเป็นจำนวนมาก วิ่งเข้าไปในที่รบ ทหารเกาหลีที่ประเมิณว่าทหารจีนด้อยกว่าในเรื่องอาวุธ ตกใจแทบสิ้นสติ มีอะไรงัดออกมายิงจนหมด ปรากฎว่า ยิงไปเสียเปล่า โดนแต่คนที่ไม่มีปืน พอทหารจีนเอาคนเปล่าๆ ออกมารับลูกกระสุนได้หมด รู้กลยุทธ รู้ที่ตั้งอาวุธของฝั่งเกาหลี เกือบหมด ก็เอาอาวุธจริงกับกองทัพจำนวนมากเข้าไปรบ แล้วก็ชนะศึกนั้น สรุปคือทหารจีนชนะในตอนหลัง แต่แลกมาด้วยเลือดเนื้ออันมหาศาลของทหารที่วิ่งไปตัวเปล่า
เวลาที่เราเดินเข้าไปสอบ ถ้าเราต้องการเพียงเข้าไปลองทำ ขอแนะนำว่า ไม่ต้องอ่านหนังสือไป ถ้าอยากวัดความสามารถจากเส้นหมายเลขศูนย์ของชีวิต โดยที่ไม่มีการเตรียมตัว ขอให้เดินเข้าไป เหมือนกับเดินเข้าไปให้นักมวยมืออาชีพอัดจนน่วม รับความเจ็บปวดอันนั้นมาให้หมด เพื่อให้จำไปใช้ในโอกาสต่อไป อาจจะเรียกได้ว่า ตั้งใจแพ้เพื่อเรียนรู้ก่อนที่ขนะในวันข้างหน้า
เมื่อตอนที่ผู้เขียนเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในยุคนั้นเป็นยุคที่แฟชั่นการสอบเทียบรุ่งเรือง การสอบเทียบนั้นคือการที่นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมต้น ไปเข้าเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อให้ได้วุฒิมัธยมปลายในเวลาอันสัน ก่อนที่ตัวเองจะจบ มัธยมปลายจริงๆ หลายๆ คน การเข้าเรียนก็มักจะจบภายในปีเดียว และเท่ากับว่า คนที่เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่สี่ ก็สามารถไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
ผมเองกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ยินตำนานหลายเรื่องที่ เด็กมัธยมศึกษาปีที่สี่ สอบติดคณะแพทย์ วิศวะ ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ เข้าไปเป็น ปีหนึ่งด้วยอายุเพียงสิบห้าปี ก็็อยากจะลองดูบ้าง เลยไปสอบ พอผ่านก็สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย
แฟชั่นอีกเรื่องตอนนั้นที่กำลังเริ่มมาแรงคือการเปิดโรงเรียนกวดวิชา สมัยนั้น มีโรงเรียนชั้นนำเพียงสองหรือสามโรงเรียน และกำลัังเป็นช่วงที่เริ่มมีการเปิดมากขึ้นเป็นดอกเห็ด ผมเองก็ไปสมัครเรียน ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ก็อยู่แถวๆ สยามสแควร์ พอเวลาที่ควรจะไปเรียนก็ดันไม่เรียน โดดบ้าง ไปดูหนังบ้าง ไปซื้อการืตูนมาอ่านบ้าง ไปเล่นสนุ๊กเกอร์บ้าง โดยในใจมีความผยองพอสมควร คิดว่าเป็นนักเรียนเตรียม เรียนหนังสือเก่ง ไม่ต้องอ่านหนังสือ ก็น่าจะเอ็นท์ติดอันดับรองๆ บ้าง อาจจะไม่ติดอันดับหนึ่ง แต่อาจจะติดสามหรือสี่น่า
สรุปคือ แม่จ่ายเงินให้ไปเรียนพิเศษก็ไม่เรียน ไปเที่ยวเตร่
พอวันไปสอบก็ไปสอบ พอได้ทำข้อสอบก็ต้องชะงักเพราะรู้ตัวเลยว่าทำไม่ได้ แต่เวลาผ่านไปก็ยังคิดว่า ถึงจะทำไม่ได้ แต่ก็น่าจะติดอยู่ดี เพราะคนอื่นก็คงจะทำไม่ได้เหมือนๆกัน
แล้วเวลาสำคัญก็มาถึง วันที่ได้รับ จดหมายผลสอบ
ผล: สอบไม่ผ่าน – แปลเป็นภาษาชาวบ้าน คือ Ent ไม่ติด
จำได้ว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ เหมือนฟ้าผ่าเข้าตัว เปรี้ยงใหญ่ๆ อึ้งไป ค่อยๆ เดินข้ามาในบ้าน แม่ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ บอกมาว่า “คิดไรมาก แค่ ม.4 ปีหน้าค่อยลองใหม่” แม่ถึงจะพูดปลอบใจ แต่ตัวเองจำได้ว่า คืนนั้นนอนไม่หลับ ความหยิ่งผยองที่ตัวเองมีเป็นความกลัว กลัวไปถึงวันข้างหน้า วันต่อมาเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ ไม่ออกไปไหน เครียด คิด คิด คิด ไปต่างๆ นาๆ เป็นสิบๆ คำถามในหัว ว่า
- ในอนาคตอีกหนึ่งไปจะเป็นอย่างไร
- ถ้าปีหน้าซึ่งจบ ม.5 เด็กเตรียมอุดม ส่วนใหญ่จะ Ent ติดหมด ถึงขนาดเป็นคำพูดที่ว่า ม.5 ห้องแน่น ม.6 ห้องว่าง - แล้วเกิดเราเอ็นท์ไม่ติดอีกจะทำอย่างไร??
- ถ้าเกิด Ent ติด แล้วไม่ติดจุฬาฯ พ่อแม่จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน (ไม่ได้ดูถูกสถาบันใดๆ นะครับ แต่ ณ เวลานั้น คุณพ่อกับคุณแม่ก็เป็นนิสิตเก่า เพราะฉะนั้นไม่มีทางเลือกนอกจากต้องสอบให้ติดจุฬาฯ เท่านั้น – ณ เวลานั้นคิดแบบนั้นจริงๆ)
- ถ้าตัวเองสอบไม่ติดอีก แล้วเพื่อนๆ ในกลุ่มสอบติดหมดจะเป็นอย่างไร
คำถามแนวนี้เป็นสิบๆ คำถาม โผล่ขึ้นมาในหัว แทบจะไม่หยุด ไม่หย่อน
ความกลัว ความเครียดเหมือนกับไม่มีทางถอยตรงนี้ ทำให้เกิดเป็นความตั้งใจที่จะต้องทำให้ได้ และแทบจะไม่หลุดออกไปจากสมองอีกเลย ตื่นขึ้นมาก็คิด ก่อนนอนก็คิด เวลาเล่นฟุตบอลจบ นั่งๆเหนื่อยๆ ก็คิด เวลาเห็นนิสิตนักศึกษาในชุดเครื่องแบบเดินไปมาก็คิด (อิจฉาเขา)
มัธยมศึกษาปีที่ห้าป็นปีที่เรียนหนักมาก เรียนพิเศษเกือบทุกๆ วัน ไปแสวงหาครูมาสอนเป็นส่วนตัว เรียนๆ ไม่หยุดไม่หย่อน หนังสือคู่มืออะไร ซื้อหมด อ่านหมด ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความกลัวทั้งสิ้น และความกลัวนี้เกิดมาจากความเจ็บปวดที่สอบไม่ผ่านในตอน มัธยมปีที่สี่อย่างแท้จริง
นั่นคือประสบการณ์ส่วนตัวของ การปลุก Sense of Competition ที่ตื่นอย่างชัดเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม
คำถามที่ท่านต้องถามตัวเองคือ หากท่านเิดินเข้าสอบ ไม่ได้เตรียมตัวแล้วท่านสอบตก ท่านรู้สึกอย่างไร ความพ่ายแพ้ที่เกิดต่อท่าน มันทำให้ท่านเจ็บปวด มันทำให้ท่านเคียดแค้น มันทำให้ท่านกลัวจนลนลานหรือไม่ ถ้าท่านรู้สึกแบบนั้น แสดงว่า Sense of Competition ของท่านตื่นแล้ว ขอให้จำความเจ็บวดเหล่านั้นไว้ให้แม่่นยำ แต่ถ้าท่านไม่ได้รู้สึกอะไร แค่หัวเราะเล็กๆ แล้วก็โทรหาเพื่อน ไปหาเหล้ากินดีกว่า เราก็อาจจะต้องหาวิธีอื่นๆ เพื่อปลุก Sense of Competition ต่อไป
เวลาที่เราเดินเข้าไปสอบ ถ้าเราต้องการเพียงเข้าไปลองทำ ขอแนะนำว่า ไม่ต้องอ่านหนังสือไป ถ้าอยากวัดความสามารถจากเส้นหมายเลขศูนย์ของชีวิต โดยที่ไม่มีการเตรียมตัว ขอให้เดินเข้าไป เหมือนกับเดินเข้าไปให้นักมวยมืออาชีพอัดจนน่วม รับความเจ็บปวดอันนั้นมาให้หมด เพื่อให้จำไปใช้ในโอกาสต่อไป อาจจะเรียกได้ว่า ตั้งใจแพ้เพื่อเรียนรู้ก่อนที่ขนะในวันข้างหน้า
เมื่อตอนที่ผู้เขียนเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในยุคนั้นเป็นยุคที่แฟชั่นการสอบเทียบรุ่งเรือง การสอบเทียบนั้นคือการที่นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมต้น ไปเข้าเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อให้ได้วุฒิมัธยมปลายในเวลาอันสัน ก่อนที่ตัวเองจะจบ มัธยมปลายจริงๆ หลายๆ คน การเข้าเรียนก็มักจะจบภายในปีเดียว และเท่ากับว่า คนที่เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่สี่ ก็สามารถไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
ผมเองกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ยินตำนานหลายเรื่องที่ เด็กมัธยมศึกษาปีที่สี่ สอบติดคณะแพทย์ วิศวะ ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ เข้าไปเป็น ปีหนึ่งด้วยอายุเพียงสิบห้าปี ก็็อยากจะลองดูบ้าง เลยไปสอบ พอผ่านก็สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย
แฟชั่นอีกเรื่องตอนนั้นที่กำลังเริ่มมาแรงคือการเปิดโรงเรียนกวดวิชา สมัยนั้น มีโรงเรียนชั้นนำเพียงสองหรือสามโรงเรียน และกำลัังเป็นช่วงที่เริ่มมีการเปิดมากขึ้นเป็นดอกเห็ด ผมเองก็ไปสมัครเรียน ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ก็อยู่แถวๆ สยามสแควร์ พอเวลาที่ควรจะไปเรียนก็ดันไม่เรียน โดดบ้าง ไปดูหนังบ้าง ไปซื้อการืตูนมาอ่านบ้าง ไปเล่นสนุ๊กเกอร์บ้าง โดยในใจมีความผยองพอสมควร คิดว่าเป็นนักเรียนเตรียม เรียนหนังสือเก่ง ไม่ต้องอ่านหนังสือ ก็น่าจะเอ็นท์ติดอันดับรองๆ บ้าง อาจจะไม่ติดอันดับหนึ่ง แต่อาจจะติดสามหรือสี่น่า
สรุปคือ แม่จ่ายเงินให้ไปเรียนพิเศษก็ไม่เรียน ไปเที่ยวเตร่
พอวันไปสอบก็ไปสอบ พอได้ทำข้อสอบก็ต้องชะงักเพราะรู้ตัวเลยว่าทำไม่ได้ แต่เวลาผ่านไปก็ยังคิดว่า ถึงจะทำไม่ได้ แต่ก็น่าจะติดอยู่ดี เพราะคนอื่นก็คงจะทำไม่ได้เหมือนๆกัน
แล้วเวลาสำคัญก็มาถึง วันที่ได้รับ จดหมายผลสอบ
ผล: สอบไม่ผ่าน – แปลเป็นภาษาชาวบ้าน คือ Ent ไม่ติด
จำได้ว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ เหมือนฟ้าผ่าเข้าตัว เปรี้ยงใหญ่ๆ อึ้งไป ค่อยๆ เดินข้ามาในบ้าน แม่ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ บอกมาว่า “คิดไรมาก แค่ ม.4 ปีหน้าค่อยลองใหม่” แม่ถึงจะพูดปลอบใจ แต่ตัวเองจำได้ว่า คืนนั้นนอนไม่หลับ ความหยิ่งผยองที่ตัวเองมีเป็นความกลัว กลัวไปถึงวันข้างหน้า วันต่อมาเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ ไม่ออกไปไหน เครียด คิด คิด คิด ไปต่างๆ นาๆ เป็นสิบๆ คำถามในหัว ว่า
- ในอนาคตอีกหนึ่งไปจะเป็นอย่างไร
- ถ้าปีหน้าซึ่งจบ ม.5 เด็กเตรียมอุดม ส่วนใหญ่จะ Ent ติดหมด ถึงขนาดเป็นคำพูดที่ว่า ม.5 ห้องแน่น ม.6 ห้องว่าง - แล้วเกิดเราเอ็นท์ไม่ติดอีกจะทำอย่างไร??
- ถ้าเกิด Ent ติด แล้วไม่ติดจุฬาฯ พ่อแม่จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน (ไม่ได้ดูถูกสถาบันใดๆ นะครับ แต่ ณ เวลานั้น คุณพ่อกับคุณแม่ก็เป็นนิสิตเก่า เพราะฉะนั้นไม่มีทางเลือกนอกจากต้องสอบให้ติดจุฬาฯ เท่านั้น – ณ เวลานั้นคิดแบบนั้นจริงๆ)
- ถ้าตัวเองสอบไม่ติดอีก แล้วเพื่อนๆ ในกลุ่มสอบติดหมดจะเป็นอย่างไร
คำถามแนวนี้เป็นสิบๆ คำถาม โผล่ขึ้นมาในหัว แทบจะไม่หยุด ไม่หย่อน
ความกลัว ความเครียดเหมือนกับไม่มีทางถอยตรงนี้ ทำให้เกิดเป็นความตั้งใจที่จะต้องทำให้ได้ และแทบจะไม่หลุดออกไปจากสมองอีกเลย ตื่นขึ้นมาก็คิด ก่อนนอนก็คิด เวลาเล่นฟุตบอลจบ นั่งๆเหนื่อยๆ ก็คิด เวลาเห็นนิสิตนักศึกษาในชุดเครื่องแบบเดินไปมาก็คิด (อิจฉาเขา)
มัธยมศึกษาปีที่ห้าป็นปีที่เรียนหนักมาก เรียนพิเศษเกือบทุกๆ วัน ไปแสวงหาครูมาสอนเป็นส่วนตัว เรียนๆ ไม่หยุดไม่หย่อน หนังสือคู่มืออะไร ซื้อหมด อ่านหมด ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความกลัวทั้งสิ้น และความกลัวนี้เกิดมาจากความเจ็บปวดที่สอบไม่ผ่านในตอน มัธยมปีที่สี่อย่างแท้จริง
นั่นคือประสบการณ์ส่วนตัวของ การปลุก Sense of Competition ที่ตื่นอย่างชัดเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม
คำถามที่ท่านต้องถามตัวเองคือ หากท่านเิดินเข้าสอบ ไม่ได้เตรียมตัวแล้วท่านสอบตก ท่านรู้สึกอย่างไร ความพ่ายแพ้ที่เกิดต่อท่าน มันทำให้ท่านเจ็บปวด มันทำให้ท่านเคียดแค้น มันทำให้ท่านกลัวจนลนลานหรือไม่ ถ้าท่านรู้สึกแบบนั้น แสดงว่า Sense of Competition ของท่านตื่นแล้ว ขอให้จำความเจ็บวดเหล่านั้นไว้ให้แม่่นยำ แต่ถ้าท่านไม่ได้รู้สึกอะไร แค่หัวเราะเล็กๆ แล้วก็โทรหาเพื่อน ไปหาเหล้ากินดีกว่า เราก็อาจจะต้องหาวิธีอื่นๆ เพื่อปลุก Sense of Competition ต่อไป
2. สอบให้ “ผ่าน”
“If you shoot for the star, at least, you will hit the Moon”
ถ้าท่านเล็งที่จะไปสู่ดวงดาว ถ้าพลาด อย่างน้อยท่านก็ตกลงบนดวงจันทร์
ปรัชญาของการสอบให้ผ่านนั้นมีเคล็ดลับอยู่ที่การเตรียมพร้อมให้ “เกิน” เส้นมาตรฐานที่เป็นเกณฑ์ในการสอบเอาไว้
การสอบให้ผ่านนั้น เ็ป็นการเข้าสอบโดยมีตัวแปรของการแข่งขันเพียงสององค์ประกอบ คือ ข้อสอบและตัวท่าน ไม่เกี่ยวกับคนอื่นๆ ที่นั่งข้างท่านแต่อย่างใด เปรียบเสมือนกับการเล่นวิดีโอเกม ท่านเล่นของท่านคนเดียว ท่านเล่นผ่าน ก็ผ่าน ท่านเล่นไม่ผ่านก็ ต้องเล่นใหม่ คนอื่นๆ รอบๆ ตัวก็เล่นเกมเดียวกับท่าน คนที่เล่นมากกว่าก็มีทักษะมากกว่า สนุกได้มากกว่า คนที่เล่นไม่เก่งก็จะเครียด ไม่สนุก
การสอบให้ผ่านเป็นสิ่งที่เราทุกๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด เราสอบแบบนี้กันมาตลอดชีวิต เราสอบทั้งในโรงเรียน สอบไล่ สอบเอาใบประกอบวิชาชีพ สอบใบขับขี่ ทั้งหลายแหล่ แต่ที่เราสอบตกกันบ้างนั้น เป็นเพราะอะไร ?
ส่วนใหญ่ก็คือเป็นเพราะเราเตรียมตัวไม่พร้อม เราไม่ได้ใส่ใจในตัวแปรเพียงสองตัวแปรที่อยู่ในการสอบประเภทนี้มากเพียงพอ ซึ่งเราจะไปพูดถึงการเตรียมตัวกันในรายละเอียดลำดับต่อไป
ภาพรวมของการสอบประเภทนี้ เราจำเป็นต้องทราบว่า ข้อสอบนั้น เขามีเกณฑ์ผ๋านที่เท่าไหร่ 50%, 60%, 70%, 80% ส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 70% (สอบวิชาชีพโดยส่วนใหญ่ในสหรัฐอยู่ในเกณฑ์นี้ ไม่แน่ใจว่าของ กส. คือเท่าใด ขอท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายด้วย)
ถ้าเราทราบว่าเส้นแบ่งความเป็นความตาย คือ 70% การเตรียมตัวของเราต้องเตรียมตัวเพื่อให้ อัตรามาตรฐานของเราอยู่สูงกว่านั้น อย่างน้อยๆ ก็ต้องได้ 80% ขึ้นไป (เล็งไปที่ดวงดาว) หากการซ้อมทำข้อสอบเก่าๆ (จะอธิบายต่อไป) ของท่าน ได้ออกมา ไม่ถึง 80% แสดงว่าท่านยังไม่พร้อม ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น กลับไปเตรียมตัวใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นตัวที่บอกสถาณภาพของท่านได้ว่า ท่านควรไปสอบหรือ ควรจะรอไปก่อน
ตัวอย่างคือ ถ้าท่านกำลังจะสอบในอีกสี่เดือนข้างหน้า วันสุดท้ายของการสมัครคือสามเดือนข้างหน้า ท่านก็ควรจะเริ่มเตรียมตัว พอผ่านไปหนึ่งเดือน ท่านอ่านครบ ลองทำข้อสอบเก่า ถ้าท่านได้สัก 60% ก็อาจจะต้องกลับไปอ่านใหม่ ถ้าเดือนถัดมา ได้ 65 % ก็ควรจะอ่านอีก ถ้าเดือน ถัดมาได้ 70% ท่านก็อาจจะต้องเตรียมตัว ศึกษาให้หนัก แล้วไปสมัครสอบ เพราะท่านยังไม่ถึงเป้า 80% ที่วางไว้ แต่อีกหนึ่งเดือน ถ้าเตรียมตัวอย่างต่อเนื่องก็ “อาจจะ”ถึงได้ ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการรับสมัคร ท่านยังทำได้แค่ 50% ท่านก็ควรจะรู้ตัว แล้วไปเตรียมตัวใหม่ อย่าไปสมัครสอบให้เปลืองเิงินเปลืองเวลา
ในทางตรงข้ามถ้าท่านได้ 80% หรือ 90% อันนี้ึโอกาสผ่านของท้านก็สูง ท่านก็ควรจะลดความเครียดในการเตรียมตัวลง ใช้ชีวิตอย่างสมดุลย์ไปใช้เวลากับครอบครัว ทำหน้าที่ การงานต่างๆ ตามความเหมาะสมได้บ้าง แต่อย่าห่างหายไปจากการอ่านอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นคือความประมาท ในความเป็นจริงการที่ท่านเตรียมพร้อมเกินไปจากมาตรฐาน ประโยชน์ที่ได้อีกประการคือ ถ้าท่านไปเจอข้อสอบที่ เปลี่ยนไปพอสมควรจากปีที่ผ่านๆ มา อย่างน้อยท่านก็มี 20% หรือ 10% ที่ จะเป็นตัวเผื่อเสียระหว่างทางได้
“If you shoot for the star, at least, you will hit the Moon”
ถ้าท่านเล็งที่จะไปสู่ดวงดาว ถ้าพลาด อย่างน้อยท่านก็ตกลงบนดวงจันทร์
ปรัชญาของการสอบให้ผ่านนั้นมีเคล็ดลับอยู่ที่การเตรียมพร้อมให้ “เกิน” เส้นมาตรฐานที่เป็นเกณฑ์ในการสอบเอาไว้
การสอบให้ผ่านนั้น เ็ป็นการเข้าสอบโดยมีตัวแปรของการแข่งขันเพียงสององค์ประกอบ คือ ข้อสอบและตัวท่าน ไม่เกี่ยวกับคนอื่นๆ ที่นั่งข้างท่านแต่อย่างใด เปรียบเสมือนกับการเล่นวิดีโอเกม ท่านเล่นของท่านคนเดียว ท่านเล่นผ่าน ก็ผ่าน ท่านเล่นไม่ผ่านก็ ต้องเล่นใหม่ คนอื่นๆ รอบๆ ตัวก็เล่นเกมเดียวกับท่าน คนที่เล่นมากกว่าก็มีทักษะมากกว่า สนุกได้มากกว่า คนที่เล่นไม่เก่งก็จะเครียด ไม่สนุก
การสอบให้ผ่านเป็นสิ่งที่เราทุกๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด เราสอบแบบนี้กันมาตลอดชีวิต เราสอบทั้งในโรงเรียน สอบไล่ สอบเอาใบประกอบวิชาชีพ สอบใบขับขี่ ทั้งหลายแหล่ แต่ที่เราสอบตกกันบ้างนั้น เป็นเพราะอะไร ?
ส่วนใหญ่ก็คือเป็นเพราะเราเตรียมตัวไม่พร้อม เราไม่ได้ใส่ใจในตัวแปรเพียงสองตัวแปรที่อยู่ในการสอบประเภทนี้มากเพียงพอ ซึ่งเราจะไปพูดถึงการเตรียมตัวกันในรายละเอียดลำดับต่อไป
ภาพรวมของการสอบประเภทนี้ เราจำเป็นต้องทราบว่า ข้อสอบนั้น เขามีเกณฑ์ผ๋านที่เท่าไหร่ 50%, 60%, 70%, 80% ส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 70% (สอบวิชาชีพโดยส่วนใหญ่ในสหรัฐอยู่ในเกณฑ์นี้ ไม่แน่ใจว่าของ กส. คือเท่าใด ขอท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายด้วย)
ถ้าเราทราบว่าเส้นแบ่งความเป็นความตาย คือ 70% การเตรียมตัวของเราต้องเตรียมตัวเพื่อให้ อัตรามาตรฐานของเราอยู่สูงกว่านั้น อย่างน้อยๆ ก็ต้องได้ 80% ขึ้นไป (เล็งไปที่ดวงดาว) หากการซ้อมทำข้อสอบเก่าๆ (จะอธิบายต่อไป) ของท่าน ได้ออกมา ไม่ถึง 80% แสดงว่าท่านยังไม่พร้อม ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น กลับไปเตรียมตัวใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นตัวที่บอกสถาณภาพของท่านได้ว่า ท่านควรไปสอบหรือ ควรจะรอไปก่อน
ตัวอย่างคือ ถ้าท่านกำลังจะสอบในอีกสี่เดือนข้างหน้า วันสุดท้ายของการสมัครคือสามเดือนข้างหน้า ท่านก็ควรจะเริ่มเตรียมตัว พอผ่านไปหนึ่งเดือน ท่านอ่านครบ ลองทำข้อสอบเก่า ถ้าท่านได้สัก 60% ก็อาจจะต้องกลับไปอ่านใหม่ ถ้าเดือนถัดมา ได้ 65 % ก็ควรจะอ่านอีก ถ้าเดือน ถัดมาได้ 70% ท่านก็อาจจะต้องเตรียมตัว ศึกษาให้หนัก แล้วไปสมัครสอบ เพราะท่านยังไม่ถึงเป้า 80% ที่วางไว้ แต่อีกหนึ่งเดือน ถ้าเตรียมตัวอย่างต่อเนื่องก็ “อาจจะ”ถึงได้ ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการรับสมัคร ท่านยังทำได้แค่ 50% ท่านก็ควรจะรู้ตัว แล้วไปเตรียมตัวใหม่ อย่าไปสมัครสอบให้เปลืองเิงินเปลืองเวลา
ในทางตรงข้ามถ้าท่านได้ 80% หรือ 90% อันนี้ึโอกาสผ่านของท้านก็สูง ท่านก็ควรจะลดความเครียดในการเตรียมตัวลง ใช้ชีวิตอย่างสมดุลย์ไปใช้เวลากับครอบครัว ทำหน้าที่ การงานต่างๆ ตามความเหมาะสมได้บ้าง แต่อย่าห่างหายไปจากการอ่านอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นคือความประมาท ในความเป็นจริงการที่ท่านเตรียมพร้อมเกินไปจากมาตรฐาน ประโยชน์ที่ได้อีกประการคือ ถ้าท่านไปเจอข้อสอบที่ เปลี่ยนไปพอสมควรจากปีที่ผ่านๆ มา อย่างน้อยท่านก็มี 20% หรือ 10% ที่ จะเป็นตัวเผื่อเสียระหว่างทางได้
3. สอบให้ชนะ
"ถ้าเล็บม้าไม่ตัด เกือกม้าย่อมจะใส่ได้ไม่พอดีถ้าเกือกมาใส่ได้ไม่พอดี ม้าย่อมจะวิ่งไม่สะดวกถ้าม้าวิ่งไม่สะดวก สาสน์ถึงแม่ทัพย่อมถูกส่งไม่ทันเวลาถ้าสาสน์ถูกส่งไม่ทันเวลา แม่ทัพย่อมตัดสินใจผิดพลาดถ้าแม่ทัพตัดสินใจผิดพลาด สงครามย่อมถึงกาลปราชัยถ้าสงครามถึงกาลปราชัย ประเทศชาติอาจถึงการอวสาน"
(หัวหน้า ยากุซ่า นำแสดงโดย ซอนนี่ ชิบะ จากภาพยนต์ เรื่อง The fast and the Furious: Tokyo Drift - 2006)
การสอบให้ชนะนั้น มีองค์ประกอบเหมือนกับการสอบเพื่อให้ผ่านเกือบทุกประการ แต่ตัวแปรที่เพิ่มเข้ามามีเพียงตัวเดียว และเป็นตัวแปรที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงกฎแห่งความอยู่รอดทั้งหมด ตัวแปรดังกล่าวคือ ผู้เข้าสอบคนอื่นๆ ที่นั่งข้างท่าน ที่ท่านมองเห็นและมองไม่เห็น ที่ท่านรู้จักและไม่รู้จัก คำที่เรารู้จักกันอีกคำของการสอบเพื่อเอาชนะ ก็คือการสอบแข่งขัน นั่นเอง
การสอบแข่งขันคือการสอบเข้าถึงจุดหมายโดยที่ว่างที่จะต้องไปให้ถึงนั้น มีจำนวนจำกัด เรือที่กำลังจะออกจากท่า มุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของชีวิตมีที่เพียงร้อยที่นั่งแต่มีคนวิ่งกรูเข้าไปหนึ่งพันคน ย่อมต้องมี 900 คนที่ต้องผิดหวังและมี 100 ร้อยคนที่สมหวัง
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของการสอบแข่งขันก็คือการสอบ Entrance (ผมเองอายุไม่น้อยแล้ว ก็ไม่ทราบว่า ปัจจุบันนี้เขาสอบอย่างไร) ในสมัยที่ผมสอบคือ การสอบตามรายวิชาที่กำหนดของคณะนั้นๆ เพียงครั้งเดียว แล้วก็เลิกกันไป จำได้ว่า เวลาที่เคยได้ยินเพื่อนที่จะสอบเข้าคณะแพทยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง ดูคะแนนแล้วบอกว่า เขารับ 200 คน แต่มีคนสมัครสอบ 40,000 คน แสดงว่า อัตราการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 200 พอเราฟัง เราไม่ค่อยแน่ใจว่าที่เขาคิดแบบนั้นถูกหรือเปล่า และต่อมาก็มั่นใจว่า วิธีการคิดแบบนั้นไม่ถูก เพราะมันจะทำให้เราไขว้เขว เหมือนกับว่าเรามีโอกาส 1 ใน 200 ที่ จะติดคณะนี้ได้หรือ ประมาณ ครึ่งเปอร์เซ็นต์ ซึ่งฟังดูมีความหวังมาก (บางคนอาจจะคิดว่าโอกาสน้อย ก็แล้วแต่)
ในความเป็นจริงแล้ว การแข่งขัน ถ้ามีที่นั่ง 200 ที่ แต่มีคนสอบ 40,000 คน คนที่จะเข้าไปนั่งใน 200 นั่นได้ คือคนที่ชนะ ผู้เข้าสอบ 39,800 คน ต่างหาก
บางคนอาจจะเห็นภาพนี้แล้วทำให้หดหู่ใจ อยากมองแบบ หนึ่งต่อสองร้อยมากกว่า ผมก็คงบังคับไม่ได้ แต่ท่านกำลังปฎิเสธความเป็นจริง และการปฎิเสธความเป็นจริงคือหนทางสู่ความหายนะ 100%
ถ้าท่านเชื่อว่าวิธีการมองในการสอบแข่งขันคือ เอาจำนวนที่นั่งลบออกจากจำนวนคนเข้าสอบ ได้เป็นจำนวนของคนที่ท่านจะต้องสอบให้ชนะ คำถามต่อมาคือ วันนี้ ท่านอยู่ในกลุ่มนั้นแล้วหรือยัง?
วิธีการมอง เหมือนกับ การสอบให้ผ่านทุกประการ ท่านต้องตั้งเป้าหมายที่ท่านจะต้องให้ผ่านขึ้นมา ต้องประเมิณตัวเองว่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากเป้าหมายตรงนั้นแค่ไหน พอรู้แล้ว ก็ต้องเริ่มพัฒนาปรับปรุงตัวเอง แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างการสอบแข่งขันและการสอบเพื่อให้ผ่านจะอยู่ตรงนี้ คือ ท่านต้องทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง ทุกแรง ทุกกล้ามเนื้อ ทุกนาทีในชีวิต ทุกลมหายใจ เพื่อให้มั่นใจว่า คะแนนที่ท่านทำได้นั้น มีเป้าหมายอยู่ที่ 100% เท่านั้น
เป้าหมายของการเข้าสอบ คือการทำให้ได้ 100%
บางคนถึงตรงนี้อาจจะบอกว่า จะเป็นไปได้อย่างไร ผมคงไม่เถียงตรงนั้น เพราะเข้าใจเช่นกันว่า มันคงเป็นไปได้ยาก แต่ประเด็นที่ต้องการจะสื่อคือ การเตรียมตัวเพื่อการสอบแข่งขัน คือการเตรียมตัวในระดับถวายชีวิต ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างออกไป เพื่อกระทำการนี้ให้สำเร็จ
ไม่มีอะไรในชีวิตของท่านที่สำคัญกว่านี้อีกแล้ว ณ จุดนี้ โดยเฉพาะนี่คือการสอบเพื่อตัดสินอนาคตของท่าน ไม่ว่าจะเ็ป็นการสอบเข้าทำงานดีๆ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย สอบชิงทุน การสอบเพื่อเข้าสู่ผลประโยชน์ของชีวิตอันมีคุณค่าสูง เป็นการสอบแข่งขันที่มีการแข่งขันสูงทั้งสิ้น ยิ่งผลประโยชน์มาก การแข่งขันยิ่งรุนแรง และเมื่อการแข่งขันยิ่งรุนแรง “เล็บม้า” เล็กๆ ก็อาจจะทำให้ประเทศชาติถึงกาลอวสานได้
ในสมัยที่ผมสอบเข้าคณะสถาปัตย์ ในปี พศ.2537 นั้น ผมได้รับข้อมูลคะแนนต่ำสุดของคณะย้อนหลังไป เจ็ดปี โดยคณะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 280 จาก 500 คะแนน โดย ปีไหนข้อสอบยาก คะแนนก็น้อย ปีไหนง่ายคะแนนก็มาก แต่ประเด็นก็คือ ถ้าผมได้ 280 ในการทำข้อสอบเทียม ที่ตัวเองลองทำ ผมควรนอนใจ บอกว่าตัวเองสอบติดแน่ได้หรือไม่ ? คำตอบก็คือ ไม่มีทาง ถ้าได้ 280 ต้องเตรียมตัวไปให้ถึง 300 ถ้าได้ 300 ต้องไป ถึง 320 และต่อไปเรื่อยๆ ๆๆๆๆ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ 500 ซึ่ง แน่นอนว่า เราไม่มีทางไปถึง แต่ ถามว่า ถ้าเราอยู่ที่ 400 เรามีความสบายใจมากกว่า 280 หรือไม่ อันนี้ ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ต้องคิด
ถ้าปีนั้นข้อสอบออกมาง่ายแสนง่าย แล้วคะแนนทั้งกระดานดีดขึ้นหมด 400 จะกลายเ็ป็นตัวเลขปกติธรรมดา เพราะฉะนั้น ต่อให้ได้ 400 ก็อาจจะไม่พอ ตราบใดที่เวลาเหลืออยู่ ต้องพยายามอ่านหนังสือ เตรียมตัวอย่างหนักต่อไป
สิงโตเวลาเข้าจับเหยื่อ จะทุ่มกำลังทั้งหมดอย่างเต็มที่เพื่อขย้ำเหยื่อให้ตายภายในการเข้าโจมตีครั้งเดียว ไม่ว่าเหยื่อนั้นจะใหญ่เล็กแค่ไหนก็ตาม โดยจะไม่มีการประมาทใดๆ ทั้งสิ้น และนั่นคือเคล็ดลับหนึ่งของการครองตำแหน่งเจ้าป่า
เราในฐานะผู้สอบแข่งขันต้องจำ มุมมองเรื่อง เล็บม้ากับการสิ้นชาติ และ สิงโตที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทนี้ให้ขึ้นใจ
ขอขอคุณบทความดีจาก http://www.asa.or.th/?q=node/96724
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น