สภาอุตสาหกรรม เผยจุดอ่อนวิศวกรไทยด้อยภาษาอังกฤษ ผลิตคนไม่สอดคล้องความต้องการสถานประกอบการ จี้สภาวิชาชีพปรับตัวรับอาเซียน มึนระเบียบหยุมหยิมแข่งขันต่างชาติไม่ได้...
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. จากการสัมมนา "เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส" รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่น่าวิตกของวิศวกรไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 คือ ทักษด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องยอมรับว่าวิศวกรไทยต้องเร่งปรับตัว เพราะหากอ่อนภาษาอังกฤษก็จะลำบาก ขณะนี้ในหลายภาคส่วนมีความตื่นตัว และความเชื่อมโยงการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานวิศวกรไทย ยกเว้นสภาวิชาชีพที่น่าเป็นห่วง
ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรสภาวิชาชีพยังยึดถือมาตรฐานในการผลิตบัณฑิตแบบเดิม ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการผลิตบัณฑิตวิศวะเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน สภาวิชาชีพควรจะมีบทบาทในการร่วมมือพัฒนาบัณฑิตวิศวะทั้งประเทศ มีแนวคิดแบบใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิศวกรที่จบออกถือว่าเป็นวิศวกรไทย ไม่ได้ถูกมองว่าจบจากสถาบันใดสถาบันหนึ่งเหมือนที่ผ่านมา
ด้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันการศึกษา ผลิตคนไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาที่รวดเร็วของภาพอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ รัฐบาล ต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคนและพัฒนาระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยี ซึ่งไทยด้อยมาก นอกจากนี้ ไทยยังเสียเปรียบเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน เพราะขณะนี้คนพม่า ลาว กัมพูชา รู้ภาษาไทย แต่คนไทยเราไม่รู้ ขณะเดียวกันนโยบายเปิดเสรีทางการค้านั้น พบว่าประเทศต่างๆ ไม่มีกฎระเบียบยุ่งยาก แต่ไทยมีมากทำให้ไม่สามารถสู้ประเทศอื่นได้ เราต้องเปิดให้มีการแข่งขัน.
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. จากการสัมมนา "เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส" รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่น่าวิตกของวิศวกรไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 คือ ทักษด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องยอมรับว่าวิศวกรไทยต้องเร่งปรับตัว เพราะหากอ่อนภาษาอังกฤษก็จะลำบาก ขณะนี้ในหลายภาคส่วนมีความตื่นตัว และความเชื่อมโยงการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานวิศวกรไทย ยกเว้นสภาวิชาชีพที่น่าเป็นห่วง
ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรสภาวิชาชีพยังยึดถือมาตรฐานในการผลิตบัณฑิตแบบเดิม ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการผลิตบัณฑิตวิศวะเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน สภาวิชาชีพควรจะมีบทบาทในการร่วมมือพัฒนาบัณฑิตวิศวะทั้งประเทศ มีแนวคิดแบบใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิศวกรที่จบออกถือว่าเป็นวิศวกรไทย ไม่ได้ถูกมองว่าจบจากสถาบันใดสถาบันหนึ่งเหมือนที่ผ่านมา
ด้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันการศึกษา ผลิตคนไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาที่รวดเร็วของภาพอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ รัฐบาล ต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคนและพัฒนาระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยี ซึ่งไทยด้อยมาก นอกจากนี้ ไทยยังเสียเปรียบเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน เพราะขณะนี้คนพม่า ลาว กัมพูชา รู้ภาษาไทย แต่คนไทยเราไม่รู้ ขณะเดียวกันนโยบายเปิดเสรีทางการค้านั้น พบว่าประเทศต่างๆ ไม่มีกฎระเบียบยุ่งยาก แต่ไทยมีมากทำให้ไม่สามารถสู้ประเทศอื่นได้ เราต้องเปิดให้มีการแข่งขัน.
Credit ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น