สวัสดีค่ะ^^ งงกันอยู่ใช่มั้ยล่าว่าทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่นปีนี้สอบอะไรกันเยอะแยะ
ทั้ง โอเน็ต แกท/แพท ไหนจะมี 7 วิชาสามัญอีก อะไรเป็นอะไร
ต่างกันยังไงยังไม่รู้เลย มาทำความเข้าใจพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ
จะได้หายปวดหมองกันซักที
ข้อสอบเป็นยังไง ?
O-NET : ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นลักษณะข้อสอบจึงเป็นเนื้อหาที่เรียนกันในระดับม.ปลาย เป็นความรู้พื้นฐานตามหลักสูตรค่ะ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ
GAT-PAT : จะเริ่มเป็นข้อสอบที่เน้นเรื่องวิชาชีพและความถนัดในแต่ละอาชีพมากขึ้น เช่น ความถนัดทางวิชาชีพครู ความถนัดทางวิศวกรรม เป็นต้น โดยเป็นความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถ การคิดวิเคราะห์ต่างๆ จะได้คัดเด็กกันแบบเน้นๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบฉบับนี้ก็จะยากขึ้นด้วย
7 วิชาสามัญ : เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรที่อยู่ในบทเรียนตั้งแต่ ม.4-6 แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาจะออกให้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก
O-NET : ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นลักษณะข้อสอบจึงเป็นเนื้อหาที่เรียนกันในระดับม.ปลาย เป็นความรู้พื้นฐานตามหลักสูตรค่ะ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ
GAT-PAT : จะเริ่มเป็นข้อสอบที่เน้นเรื่องวิชาชีพและความถนัดในแต่ละอาชีพมากขึ้น เช่น ความถนัดทางวิชาชีพครู ความถนัดทางวิศวกรรม เป็นต้น โดยเป็นความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถ การคิดวิเคราะห์ต่างๆ จะได้คัดเด็กกันแบบเน้นๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบฉบับนี้ก็จะยากขึ้นด้วย
7 วิชาสามัญ : เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรที่อยู่ในบทเรียนตั้งแต่ ม.4-6 แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาจะออกให้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก
สอบตอนไหน ?
O-NET : สอบช่วงเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี
GAT-PAT : ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะสอบได้เพียง 2 ครั้ง คือ ในเดือนตุลาคมและมีนาคม
7 วิชาสามัญ : ต้นเดือนมกราคม
O-NET : สอบช่วงเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี
GAT-PAT : ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะสอบได้เพียง 2 ครั้ง คือ ในเดือนตุลาคมและมีนาคม
7 วิชาสามัญ : ต้นเดือนมกราคม
ใครเป็นคนออกข้อสอบ ?
O-NET : อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ (อาจจะเป็นคุณครูของน้องๆ ก็ได้ แต่เค้าปิดเป็นความลับขั้นสุดยอดว่าใครเป็นคนออก) โดยมี สทศ.เป็นหน่วยงานจัดสอบ
GAT-PAT : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
7 วิชาสามัญ : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
สอบอะไรบ้าง ?
O-NET : มี 6 ฉบับ 8 วิชา คือ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
GAT-PAT : GAT แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทใหญ่ๆ คือ พาร์ทเชื่อมโยงวัดการวิเคราะห์และทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ อีกพาร์ทนึง คือ พาร์ทภาษาอังกฤษ ส่วน PAT วัดความถนัดในสาขาต่างๆ มีอีก 7 ฉบับ คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์, ความถนัดทางวิทยาศาสตร์, ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์, ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์, ความถนัดทางวิชาชีพครู, ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ และความถนัดภาษาต่างประเทศอีก 6 ภาษา คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับและภาษาบาลี
7 วิชาสามัญ : มีทั้งหมด 7 วิชา คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ โดยไม่มีวิชาหมวดศิลปะ สุขศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นความแตกต่างจากข้อสอบโอเน็ต
O-NET : อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ (อาจจะเป็นคุณครูของน้องๆ ก็ได้ แต่เค้าปิดเป็นความลับขั้นสุดยอดว่าใครเป็นคนออก) โดยมี สทศ.เป็นหน่วยงานจัดสอบ
GAT-PAT : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
7 วิชาสามัญ : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
สอบอะไรบ้าง ?
O-NET : มี 6 ฉบับ 8 วิชา คือ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
GAT-PAT : GAT แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทใหญ่ๆ คือ พาร์ทเชื่อมโยงวัดการวิเคราะห์และทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ อีกพาร์ทนึง คือ พาร์ทภาษาอังกฤษ ส่วน PAT วัดความถนัดในสาขาต่างๆ มีอีก 7 ฉบับ คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์, ความถนัดทางวิทยาศาสตร์, ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์, ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์, ความถนัดทางวิชาชีพครู, ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ และความถนัดภาษาต่างประเทศอีก 6 ภาษา คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับและภาษาบาลี
7 วิชาสามัญ : มีทั้งหมด 7 วิชา คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ โดยไม่มีวิชาหมวดศิลปะ สุขศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นความแตกต่างจากข้อสอบโอเน็ต
สมัครสอบยังไง ?
O-NET : ทางโรงเรียนเป็นผู้สมัครสอบให้ แต่ในกรณีของนักเรียนเทียบเท่าจะต้องสมัครสอบเอง ประมาณเดือนพฤศจิกายน ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th
GAT-PAT : สมัครด้วยตัวเองทางเว็บไซต์ www.niets.or.th โดยจะเปิดรับสมัครกัน 2 รอบ รอบแรกสมัครสอบช่วงเดือน ก.ค.(ปิดรับสมัครแล้ว) และรอบสองสมัครสอบช่วงเดือนพฤศจิกายน โดย GAT จะต้องสอบทุกคน PAT สามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ได้
7 วิชาสามัญ : สมัครด้วยตัวเอง ตลอดเดือนตุลาคม เลือกเฉพาะวิชาที่จะสอบ
มีเวลาทำข้อสอบกี่นาที ?
O-NET : ไม่มากไม่น้อยเกินไป วิชาละ 2 ชั่วโมงถ้วนค่ะ
GAT-PAT : จัดไปเต็มๆ วิชาละ 3 ชั่วโมง
7 วิชาสามัญ : 1 ชั่วโมง 30 นาที
คะแนนเต็มเท่าไหร่ ?
O-NET : วิชาละ 100 คะแนน
GAT-PAT : วิชาละ 300 คะแนน
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 คะแนน
สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี ?
O-NET : สอบได้ครั้งเดียวตอน ม.6 หลังจากนั้นคะแนนจะอยู่กับเราไปตลอดกาลนาน
GAT-PAT : อยู่ได้ 2 ปี
7 วิชาสามัญ : ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่ค่ะ
O-NET : ทางโรงเรียนเป็นผู้สมัครสอบให้ แต่ในกรณีของนักเรียนเทียบเท่าจะต้องสมัครสอบเอง ประมาณเดือนพฤศจิกายน ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th
GAT-PAT : สมัครด้วยตัวเองทางเว็บไซต์ www.niets.or.th โดยจะเปิดรับสมัครกัน 2 รอบ รอบแรกสมัครสอบช่วงเดือน ก.ค.(ปิดรับสมัครแล้ว) และรอบสองสมัครสอบช่วงเดือนพฤศจิกายน โดย GAT จะต้องสอบทุกคน PAT สามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ได้
7 วิชาสามัญ : สมัครด้วยตัวเอง ตลอดเดือนตุลาคม เลือกเฉพาะวิชาที่จะสอบ
มีเวลาทำข้อสอบกี่นาที ?
O-NET : ไม่มากไม่น้อยเกินไป วิชาละ 2 ชั่วโมงถ้วนค่ะ
GAT-PAT : จัดไปเต็มๆ วิชาละ 3 ชั่วโมง
7 วิชาสามัญ : 1 ชั่วโมง 30 นาที
คะแนนเต็มเท่าไหร่ ?
O-NET : วิชาละ 100 คะแนน
GAT-PAT : วิชาละ 300 คะแนน
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 คะแนน
สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี ?
O-NET : สอบได้ครั้งเดียวตอน ม.6 หลังจากนั้นคะแนนจะอยู่กับเราไปตลอดกาลนาน
GAT-PAT : อยู่ได้ 2 ปี
7 วิชาสามัญ : ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่ค่ะ
เอาคะแนนไปทำอะไรได้บ้าง ?
O-NET : เป็นองค์ประกอบนึงในการคัดเลือกเข้าในระบบแอดมิชชั่นกลาง รวมถึงใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสอบ กสพท. นอกจากนี้ยังใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมด้วย ดังนั้น โรงเรียนจะคุณภาพทางการศึกษาดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับน้องๆ ด้วยนะ
GAT-PAT : เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกทั้งในระบบสอบตรงและแอดมิชชั่นกลาง (เลือกคะแนนที่ดีที่สุด แต่สอบตรง ส่วนใหญ่จะใช้ GAT/PAT รอบตุลาคม)
7 วิชาสามัญ : เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)
O-NET : เป็นองค์ประกอบนึงในการคัดเลือกเข้าในระบบแอดมิชชั่นกลาง รวมถึงใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสอบ กสพท. นอกจากนี้ยังใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมด้วย ดังนั้น โรงเรียนจะคุณภาพทางการศึกษาดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับน้องๆ ด้วยนะ
GAT-PAT : เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกทั้งในระบบสอบตรงและแอดมิชชั่นกลาง (เลือกคะแนนที่ดีที่สุด แต่สอบตรง ส่วนใหญ่จะใช้ GAT/PAT รอบตุลาคม)
7 วิชาสามัญ : เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)
จะสมัครสอบ ต้องจ่ายเท่าไหร่ ? O-NET : ฟรี! ฟรี! ฟรี!
GAT-PAT : วิชาละ 140 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
GAT-PAT : วิชาละ 140 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
ข้อสอบนี้ มันยากหรือง่าย ?
O-NET : เมื่อเทียบกับข้อสอบ 3 ชุด ง่ายที่สุด เพราะเป็นเนื้อหาระดับพื้นฐาน
GAT-PAT : ยาก!! เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออก แต่อาจจะใช้เซ้นส์พอเดาทางได้
7 วิชาสามัญ : ยาก!! เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกและมีความเข้มข้นทางด้านเนื้อหา ดังนั้นจึงมีระดับความยากใกล้เคียงกับ PAT หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ (เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจ คิดว่าจะชิวนะ หึหึ)
O-NET : เมื่อเทียบกับข้อสอบ 3 ชุด ง่ายที่สุด เพราะเป็นเนื้อหาระดับพื้นฐาน
GAT-PAT : ยาก!! เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออก แต่อาจจะใช้เซ้นส์พอเดาทางได้
7 วิชาสามัญ : ยาก!! เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกและมีความเข้มข้นทางด้านเนื้อหา ดังนั้นจึงมีระดับความยากใกล้เคียงกับ PAT หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ (เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจ คิดว่าจะชิวนะ หึหึ)
เลือกสนามสอบเองได้ปะ ?
O-NET : เลือกไม่ได้ ผู้จัดสอบจัดสนามให้ ถ้าโชคดีก็จะได้อยู่ในโรงเรียนตัวเอง ถ้าโชคร้ายก็ไปโรงเรียนอื่น (ที่ไม่ไกลมาก)
GAT-PAT : เลือกเองได้
7 วิชาสามัญ : เลือกเองได้ (แต่เท่าที่ประกาศออกมาตอนนี้ เปิดเพียงแค่ 4 สนาม คือ กทม., เชียงใหม่, ขอนแก่นและสงขลา ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเปิดเพิ่มมั้ย)
O-NET : เลือกไม่ได้ ผู้จัดสอบจัดสนามให้ ถ้าโชคดีก็จะได้อยู่ในโรงเรียนตัวเอง ถ้าโชคร้ายก็ไปโรงเรียนอื่น (ที่ไม่ไกลมาก)
GAT-PAT : เลือกเองได้
7 วิชาสามัญ : เลือกเองได้ (แต่เท่าที่ประกาศออกมาตอนนี้ เปิดเพียงแค่ 4 สนาม คือ กทม., เชียงใหม่, ขอนแก่นและสงขลา ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเปิดเพิ่มมั้ย)
ชี้ให้เห็นกันจะจะทีละข้อแบบนี้ นักเรียน น่าจะเข้าใจข้อสอบ 3
ฉบับนี้มากขึ้น แม้ว่าโดยรวมจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
แต่ก็สำคัญทั้ง 3 อย่างเลยนะ
โดยเฉพาะโอเน็ตที่สอบได้เพียงครั้งเดียวไม่มีโอกาสแก้ตัวและยังต้องใช้ในระบบแอดมิชชั่นกลางด้วย
ส่วน GAT/PAT ก็สำคัญเช่นกัน ใช้ยื่นได้ทั้งสอบตรงและแอดกลาง
แถมมีโอกาสแก้ตัวได้ถึง 2 รอบ
และใครที่คิดจะสอบตรงในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์
อย่าลืมสมัครสอบข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดอย่าง 7 วิชาสามัญ
ในเดือน ต.ค.นี้ด้วยนะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนนนน!! อิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น